วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนะนำโคลงดั้น

แนะนำให้รู้จักโคลงดั้น

โคลงดั้น
---------------------

.............. คุยกันกับครูสอนภาษาไทยเรื่องการแต่งโคลงดั้น วิวิธมาลีและบาทกุญชร หาข้อสังเกตกันว่า มันคล้ายกัน ต่างกันตรงไหน ดูที่ไหนถึงรู้ว่าชื่ออะไร  คุยกันเสร็จก็บันทึกไว้ กันลืมครับ............โคลงดั้นเป็นโคลงที่เพิ่มกติกาให้แต่งยากมากขึ้น ไม่รู้เหมือนกันทำไมชอบทำให้มันยากกว่าปกติ แต่ก็ยังมีคนชอบแต่งแบบว่า ดันทุรังแต่งจนได้ โคลงสี่สุภาพมีกี่ชนิด โคลงดั้นก็มีพอ ๆ กันทั้ง โคลงสอง โคลงสามและโคลงสี่

ตัวอย่าง

โคลงสองด้ัน

......................... โคลงสองตรองแต่งดั้น............... โทคู่ตรงนี้นั้น จึ่งควร
................... หวนคิดคำวรรคท้าย......................... เดิมสี่โยกแล้วย้าย คู่คำ
                                                                                                   (ขุนทอง)

โคลงสามดั้น

......................... ตริแต่งคำเชื่อมโยง..................... โคลงสามยามแต่งดั้น
.................. โทคู่คงไว้ฝั้น..................................... ส่งเสียง
......................... จำเรียงโคลงเสนาะ................... คำเหมาะตกแต่งได้
................... สัมผัสจัดคล้องไว้............................. ว่างาม
                                                                                                  (ขุนทอง)

..........ข้อสังเกต ในโคลงสองดั้น คำเอกคำโท เท่ากันกับโคลงสองสุภาพคือ เอก 3 โท 3จำนวนคำวรรคท้ายตัดออก 2 คำ แล้วย้ายคำโท ไปไว้คำที่ 4 วรรคที่ 2 กลายเป็นคำโทคู่ส่วนสัมผัสบังคับ เหมือนกันกับโคลงสองสุภาพ

...........เมื่อดูโคลงสองดั้นออก เวลาแต่งโคลงสามดั้นก็ใช้วิธีเดียวกันกับโคลงสามสุภาพคือแต่งให้มีคำเพิ่มหน้าวรรคแรกของโคลงสองดั้น อีก 5 คำ ก็จะเป็นโคลงสามดั้น เท่านั้นเอง

โคลงสี่ดั้นวิวิธมาลี

.......... จับโคลงสี่สุภาพมาดัดแปลง ตรงไหนถึงเป็นโคลงดั้นวิวิธมาลี มีข้อสังเกต ดังนี้

..........1. ตัดจำนวนคำวรรคสุดท้าย เดิม 4 คำ เหลือสองคำ เป็นคำเอกและคำโท แล้วย้ายคำโทมาไว้ตำแหน่งคำที่ 4 ทำให้เกิดคำโทคู่่ในบาทที่ 4
..........2 ปรับสัมผัสบังคับในบท โดยคำท้ายบาทที่ 1 เดิมส่งสัมผัสไป 2 ที่คือ คำที่ 5 บาทที่ 2 และคำที่ 5 บาทที่ 3 ตัดสัมผัสบาทที่ 2 ออก ไม่ต้องส่งให้
.........3.ปรับสัมผัสคำท้ายบาทที่ 2 ซึ่งเป็นคำโท เดิมส่งให้คำที่ 5 คำโทในบาทที่ 4 ปรับนิดหน่อยให้ส่งสัมผัสให้คำที่ 4
.........4 สัมผัสระหว่างบท ให้ใช้คำสุดท้ายบท ส่งไปยังคำที่ 5 บาทที่ 2 ซึ่งเป็นคำที่เว้นว่างไว้ให้ (ตามที่กล่าวไว้ในข้อ 2)

................สืบสารโคลงสี่ดั้น................... ดูงาม
...........ลองแต่งวิวิธมาลี..........................ว่าไว้ (บทที่ 1 ไม่มีรับสัมผัส)
...........บาทสองบ่ผูกความ...................... สัมผัล แลนา (บาทที่สาม สัมผัสปกติ )
...........บาทสี่โทให้คล้อง........................ คู่กัน (คำโทคู่ คำที่อยู่หน้า รับสัมผัส)
                                                                 (ขุนทอง)
.................บทสองเพียงแต่งให้ ............. ครบความ (เริ่มบทสอง บาทที่ 1 ไม่มีสัมผัส)
...........เขาส่งคำสัมพันธ์.......................... คู่คล้อง (บาทที่ 2 คำที่ 5 รับสัมผัสคำท้ายบทแรก)
...........ปกติแต่งบาทสาม......................... สบจิต (บาทที่ 3 สัมผัสตามปกติ)
...........บาทสี่คำต้องแจ้ง......................... แจ่มจินตน์ (บาทที่ 4 คำโทคู่ คำโทแรก รับสัมผัส)
                                                                  (ขุนทอง)
............ข้องสังเกต
            บทแรกคำที่ 5 บาทที่ 2 ว่างไม่มีรับสัมผัส พอแต่งบทถัดไป จะใช้รับสัมผัสระหว่าง
บท  (คู่กัน.....ส่งให้....สัมพันธ์ )....
          ..คำโทคู่่ในบาทที่ 4 ต้องใช้คำที่ 4 รับสัมผัส  (ให้คล้อง...คำให้รับสัมผัส)
                                                                                (ต้องแจ้ง คำต้องรับสัมผัส)
โคลงดั้นบาทกุญชร
............สังเกตโคลงดั้นบาทกุญชร  ดูลักษณะคำที่ส่งและคำที่รับ จะเป็นคำที่มีลักษณะตรงกัน เช่น

บาทกุญชรบทที่ 1

............1. .บาทที่ 1 คำที่ 7 (คำสุภาพ) ส่งให้....บาท 3 คำที่ 5 (คำสุภาพ)
...........2.. บาทที่ 2 คำที่ 7 (คำโท) ส่งให้.....บาท 4 คำที่ 4 (คำโท)
....3....ระหว่างบท บทแรก ส่ง 2 คำ บทหลังรับ 2 คำ
...........4..บทแรก บาทที่ 3 คำที่ 7 (เอก)ส่งให้ ......บาทที่ 1 คำที่ 4 (เอก)
...........5..บาทที่่ 4 คำที่ 7 (คำสุภาพ)ส่งให้.....บาทที่2 คำที่ 5 (คำสุภาพ)

บาทกุญชร บทที่ 2
..........1... บาทที่ 1 คำที่ 7 (คำสุภาพ) ส่งให้....บาท 3 คำที่ 5 (คำสุภาพ)
..........2....บาทที่ 2 คำที่ 7 (คำโท) ส่งให้.....บาท 4 คำที่ 4 (คำโท)

...........หมายเหตุ คำเอกโทในบาทที่ 1 สลับตำแหน่งกันได้ เมื่อส่งสัมผัสระหว่างบท จากคำเอก
บาทที่ 3 ต้องตามส่งให้คำเอก ถ้าคำเอกสลับไปอยู่คำที่ 4 ก็ส่งให้คำที่ 4
..........คำโทคู่ในบาทที่ 4 พบว่ามีการใช้คำที่ 5 รับสัมผัส ต่างจากดั้นวิวิธมาลีที่ใช้คำที่ 4
ลองนำโคลงดั้นวิวิธมาลี มาแปลงเป็นบาทกุญชร ดังนี้เป็นบาทกุญชร ดังนี้

...................สืบสารโคลงสี่ดั้น..................... ดูงาม
...........ลองแต่งบาทกุญชร......................... ส่องไว้
...........บาทสองบ่ผูกความ...........................สัมผัล แลนา (คำสัมผัส ส่งไปบาทแรกบทถัดไป)
...........บาทสี่โทคล้องให้............................ คู่กัน (คำโท ให้ รับสัมผัส)

....................บทสองเพียงจัดให้.................ครบความ (คำจัด รับจากคำ.....สัมผัส)
...........เขาส่งคำสัมพันธ์............................คู่คล้อง (สัมพันธ์ รับสัมผัสจากคำ คู่กัน)
...........ปกติแต่งบาทสาม..........................สบจิต (สาม รับสัมผัสในบท....ความ)
...........บาทสี่คำแจ้งต้อง.......................... แจ่มจินตน์ (คำโท ต้อง รับสมผัสในบท...คล้อง)
............ข้อสังเกต บทที่ 2 โคลงดั้นวิธีมาลี มีการรับ-ส่งสัมผัส 3 แห่ง บาทแรกว่างอยู่
แต่บทที่ 2 โคลงดั้นบาทกุญชร จะมีรับ-ส่งสัมผัสครบทั้ง 4 บาท

เขียนโดย Sritong Sriprajong ที่ 21:33

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น