อัพไว้ก่อน ปรับแก้ทีหลัง
วันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560
นางผมหอม-กลอนกลบท
แนวคิดทำไมต้องแต่งกลอนกลบท
.........ผมแต่งกลอนมานานจนรู้สึกว่ามันวันเวียนอยู่กับถ้อยคำสำนวนเดิม ๆ แหวกวงล้อม | 6/9/2560 | |||||||
ความคิดตัวเองออกไปไม่ได้ กลอนเปล่า กลอนร่วมสมัย เคยศึกษานะแต่ไม่ติด กลอนท่าน | ||||||||
สุนทรภูติดเป็นกาวเลยแหละ วันหนึ่งก็เลยคิดหากลอนที่มันแหวกออกจากแบบเดิม ๆ น่าจะดี | ||||||||
พอดีไปได้หนังสือ กลบทศิริวิบูลย์กิต จากหอสมุดแห่งชาติ ขอสำเนาเขามา สมัยทำวิทยานิพนธ์ | ||||||||
ผมใช้บริการเขาประจำ เพาะเขามีงานวิจัยของทุกมหาวิทยาลัย อยากได้หนังสือหายาก เลย | ||||||||
ไปแวะ แล้วก็ได้มา อ่านดูแล้วโอ้โหเลย กลบทมากมายจริง ๆ กลอนกลบท 86 ชนิด ให้แต่ง | ||||||||
จนหมดแรงก็คงไม่หมด นี่ไงวิธีแก้เซ็งของกระผม ผมหยิบเอานิทานพื้นบ้านมาเป็นเค้าเรื่อง | ||||||||
จะแต่งกลอนเล่าเรื่องอิงนิทานพื้นบ้าน แต่ปัญหาคือมีหลายสำนวนเหลือเกิน ก็เลยตกเลงจะ | ||||||||
ยึดเอาโครงเรื่องเป็นแนวในการเล่า ส่วนรายเอียด เอาพอรู้ว่าเป็นนิทานเรื่องอะไรก็พอ ตกลง | ||||||||
หยิบเรื่องนางผมหอม เพราะคนเมืองเลยชอบเล่าให้ลูกหลานฟัง การเล่าจะใช้กลอนกลบท | ||||||||
เพื่อเป็นการแนะนำวิธีแต่งไปในตัว | ||||||||
ขุนทอง ศรีประจง | ||||||||
มิย.2558 | ||||||||
เนื้อเรื่องโดยย่อ | ||||||||
หมู่บ้านหนองบัวอยู่ติดเชิงเขาภูหอภูหลวง ปัจจุบันก็มีหมู่บ้านนี้อยู่ เรื่อเล่านาง | ||||||||
ผมหอมมักจะโยงใยมาหาหมู่บ้านนี้ เล่าว่าสามีภรรยาคู่หนึ่งแต่งงานกันมานาน | ||||||||
แต่ยังไม่มีบุตรธิดา ไปทำบุญก็ตั้งความปรารถนาขอให้มีบุตร ที่สุดก็ได้ธิดาตม | ||||||||
ที่หวังได้ตั้งชื่อให้ว่า เทวี เป็นเด็กใจดีชอบช่วยทำการงาน ช่วยเหลือแบ่งปัน | ||||||||
ของกินของใช้กับเพื่อน ๆ จึงมีเพื่อนรักมากมาย โตเป็นสาวก็ชวนกันไปเล่นทาง | ||||||||
ลำน้ำหากุ้งหอยปูปลา บาฃทีก็ชวนเข้าป่าหาเก็บเห็ด ผัก ของป่า | ||||||||
........วันหนึ่งชวนเพื่อนสี่ห้าคนไปหาเก็บเห็ดที่เชิงเขาภูหลวง เห็ดออกมาก | ||||||||
เก็บจนเพลิง หลงทางกับเพื่อนหากันไม่เจอ บ่ายมากแล้วร้อนและกระหายน้ำ | ||||||||
เห็นรอยเท้าโคมีน้ำขังอยู่ก็ก้มลงดื่มกิน เดินต่อเพื่อหาทางกลับบ้าน เย็นมากแล้ว | ||||||||
มาเห็นรอยเท้าช้างมีน้ำขังอยู่ ก็ดิมกินอีก รู้สึกมีกำลังวังชากลับมา ในที่สุดก็หา | ||||||||
ทางกลับบ้านได้ พ่อแม่ดีใจจัดทำพิธีรับขวัญให้ | ||||||||
---------------------นางผมหอมกลอนกลบท------------------------ | ||||||||
แต่งด้วยกลบทตะเข็บไต่ขอน | ||||||||
แบบกลบทจากหนังสือกลบทศิริวับูลย์กิตต์ของกลวงศรีปรีชา (เซ่ง) ลักษณะเด่น | ||||||||
กำหนดให้แต่โดยใช้คำ ลหุ-ครุ สลับกันไปตลอกวรรค บาทและบท จนจบเนื้อความ | ||||||||
ไหว้ครู | ||||||||
นะโมพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ม | กระพุ่มจำนงระลึกพระคุณ | |||||||
ถวายประทีปและเทียนเพาะบุญ | ก็หวังพระหนุนอุดมพลัง | |||||||
มโนขะเจ้าก็ตริจะขีดจะเขียน | จะเพียรลิขิตตริกลก็หวัง | |||||||
จะอ่านผิยากกุศลปะดัง | มโนก็ตั้งมิท้อดำเนิน | |||||||
ประสงค์ลิขิตสฤษดิ์ลุล่วง | เพราะปวงติรัตน์มิขัดมิเขิน | |||||||
ก็อวยสำเร็จประเสริฐเจริญ | จะเชิญพระพรหมสถิตนิรันดร์ | |||||||
----------------------- | ||||||||
งูกระหวัดหาง | ||||||||
.........แบบอย่างจากกลบทศิริวิบูลย์กิตต์ กำหนดให้คำท้ายวรรคกับคำแรกวรรคถัดไปสัมผัส | ||||||||
พยัญชนะกัน ต่อเนื่องไปจนจบเนื้อความ | ||||||||
----------------------- | ||||||||
อดีตกาลผ่านพ้นนับนานแล้ว | ลูกหลานแก้วเข้ามาพร้อมหน้าสรรพ์ | |||||||
สามสี่คนครบถ้วนชวนมาพลัน | พบยายนั้นอยากฟังนั่งให้ดี | |||||||
ได้เลยลูกเล่าปางนางผมหอม | หากมาพร้อมฟังยายอย่าหน่ายหนี | |||||||
นานมาแล้วแก้วตาใกล้ป่ามี | หมู่บ้านที่ยากจนคนทำนา | |||||||
หนองบัวบกบอกชื่อคือหมู่บ้าน | บนทางผ่านไปเนินเขาหลวง | |||||||
เล่าว่ามีครอบครัวสองเมียผัว | พากันกลัวขาดลูกไปวอนสรวง | |||||||
เสี่ยงทายบ้างบูชาการบำบวง | บนเสร็จล่วงผ่านมามิช้านาน | |||||||
นางเมียได้คลอดลูกตามที่หวัง | ว่าลูกชังลูกรักจักประสาน | |||||||
เสกสมรักครอบครัวได้เบิกบาน | บอกทั่วบ้านสูขวัญให้ธิดา | ----------------------- | ||||||
ได้นามหนูเทวีมีปรากฏ | ก็งามงดใครใครใผ่เรียกหา | |||||||
ให้เป็นเพื่อนเล่นกันนันทิยา | ยลโสภาชื่นชมภิรมย์ใจ | |||||||
----------------------- | ||||||||
กลอนลิลิต แบบจาก"กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดแต่งกลอน 5 ให้ส่ง | ----------------------- | |||||||
สัมผัสคำท้ายวรรคไปยังคำที่ 3 วรรคถัดไปและต่อเนื่องจนจบความ สามวรรคท้ายตอนจบ | ||||||||
จะส่งสัมผัสไปคำที่ 5 และว่างปล่อยวรรคสุดท้าย | ||||||||
O=อันป่าดงเขาหลวง | ยามเดินล่วงกังขา | |||||||
มีนานาพฤก์ไสว | มีต้นใหญ่สูงชัน | |||||||
ไม้โมกมันไม้พลวง | ไม้เต็งล่วงแลเห็น | |||||||
ยูงยางเช่นกระจาย | แลหลากหลายดงไผ่ | |||||||
แผ่กิ่งใบรกครึ้ม | ดงหวายทึมทบหนา | |||||||
เสียงชลธาธารตก | เสียงหมู่นกร่ำร้อง | |||||||
เสียงมันก้องกล่อมไพรสณฑ์ | เสียงดังคนเล่นดนตรี | |||||||
ไก่ป่ามีขานขัน | นกยูงมันบินร่อนร้อง | |||||||
ท่วงทำนองเพราะพริ้ง | งดงามจริงภูหลวง | |||||||
คนทั้งปวงชมชื่น | ภิรมย์รื่นแซ่ซร้อง | |||||||
ภูหลวงเป็นหนึ่งห้อง | แห่งบ้านชาวประชา ฯ | |||||||
----------------------- | ||||||||
กลบทอักษรคมในฝัก แบบเต็มสำนวน แบบ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน กำหนดให้สามคำแรกกับ | ||||||||
สามคำถัดไป เป็นคำเดียวกันเพียงอ่านย่อนกลับ ทุกวรรคจนจบ | ||||||||
O=หนองบัวงามงามหนองบัวชื่อหมู่บ้าน | ภารสมนายนายสมภารผู้ใหญ่เขา | |||||||
ผู้ใหญ่บ้านบ้านผู้ใหญ่มีนงเยาว์ | นามของเจ้าเจ้าของนามคือธิดา | |||||||
นามเทวีเทวีนามเพียงนัยน์ตา | นวลเติบกล้ากล้าเติบนวลทุกคืนวัน | |||||||
แม่พ่อรักรักพ่อแม่เฝ้าฟูมฟัก | รักห่วงหวงหวงห่วงรักเจ้าจอมจวัญ | |||||||
มีเพื่อนผองผองเพื่อนมีที่คุ้นกัน | สรรไปเที่ยวเที่ยวไปสรรตามทำนอง | |||||||
ไปเล่นน้ำน้ำเล่นไปก็สนุก | บุกเทียวป่าป่าเทียวบุกกันทั้งผอง | |||||||
ครุ้งทุกมีมีทุกครั้งตามทำนอง | จ้องเที่ยวกันกันเที่ยวจ้องชวนกันไป | |||||||
นี้ช่วงฝนฝนช่วงนี้ตกชุกมาก | ลำบากเดินเดินลำบากยากไฉน | |||||||
แต่บนเขาเขาบนแต่แน่กระไร | เห็ดเกิดได้ได้เกิดเห็นนานาพันธุ์ | |||||||
--------------------- | ||||||||
......ช้างประสานงา | ||||||||
......หรืออักษรบริพันธ์ก็เรียก จากหนังสือกลบทศิริวิบูลย์กิตตฺ กำหนดให้ สามคำท้ายวรรค กับ | ||||||||
สามคำแรกวรรคถัดไปสัมผัสพยัญชนะกัน ต่อเนื่องไปจนจบความ | ||||||||
สาวเทวีลูกนายบ้านประสานเพื่อน | ประสงค์เผื่อคงเหมือนเมื่อก่อนไข | |||||||
มักเกิดขึ้นเห็ดป่ามาจักไป | มาจักปองเก็บได้คงมากมี | |||||||
คนหมู่มากเข้าป่าแดนภูหลวง | เดินภูหลากทั้งปวงล้วนสาวศรี | |||||||
ลางสาวส่งเสียงเพลงจรลี | จะร้องลำเปรมปรีดิ์คงเพลินใจ | |||||||
คงพร้อมจิตเพื่อนยามาหลายสาว | หมายลองสู่ภูหลวงคราวเก็บเห็ดไข | |||||||
ก็หากข้องเห็ดจักมีในแนวไพร | นั่นหนาพุ่มลัดเลาะไปแยกย้ายกัน | |||||||
ยินอยู่เก็บสนุกนักเห็ดละโงก | หาลองง่อนหินตามโตรกเลียบเขาขัน | |||||||
ลางคนขึ้นเนินสูงเขาสูงชัน | คนเสาะเช่นเห็ดเผาะมันเกิดมากมี | |||||||
ก่อมุ่ยหมากเห็ดดินเก็บสนุก | ก็สนานลืมทุกข์ความเหนื่อยหนี | |||||||
ขาเหน็บนักพักก่อนสาวเทวี | ส่องทางไวมิเห็นมีเพื่อนสักคน | |||||||
พอสับขาเดินได้ตามไปหา | แต่แปลกเห็นผิดแผกไปมิรู้หน | |||||||
มาเรียกหาเงียบเสียงใจหน้ามน | จนหน้ามืดด้วยกังวลคงพลัดจร | |||||||
คงพลัดจากเพื่อนพ้องมองไม่เห็น | มองมิดหายเนื้อเย็นยิ่งสังหรณ์ | |||||||
ยังเสี่ยงหาอาจเห็นบางบังอร | บังบดเอื้อยซ่อนสาวเพื่อนเทวี | |||||||
เพื่อนเที่ยววนจงหลงกันไฉน | ก่นฉะนี้เป็นไฉนอยู่เดียวดาย | |||||||
ยอมดุ่มเดินเข้าป่าลึกทวี | หลงทางวนเทวีสุดกังวล | |||||||
สาวก็ไหว้เทวาช่วยลูกด้วย | ช่างลองดีหิวหาห้วยก็ไม่เห็น | |||||||
ก็เมื่อยหากมีน้ำคงดีหนา | คงเดินเหนื่อยลำบากแสนยากเข็ญ | |||||||
สุดยากแค้นเดินเดี่ยวเที่ยวมาเป็น | ทางมาปิดจวนเย็นลำบากใจ ฯ | |||||||
--------------------- | ||||||||
เทพชุมนุม | ||||||||
แบบอย่างจากประชุมจารึกวัดพระเชตุพน กำหนดให้แต่ละบทใช้มาตราสะกดเดียวกัน | ||||||||
ยกเว้นคำท้ายบทที่ทำหน้าที่ส่งสัมผัส ใช้มาตราอื่นได้ | ||||||||
เทวีมาแลหามิใช่ที่ | จะไปนี่มิเหมาะอะไรหนา | |||||||
ปีเก่าเล่าก็มีที่ไร่นา | ใกล้ภูผาประจำทำไมมน | |||||||
วอนท่านอินทร์ บนสวรรค์บันดาลก่อน | ฉันมันร้อนผันผ่านนานจนผล | |||||||
มันแสนร้อนเดินนานผ่านหาญทน | เตือนฉันจนท่านอินทร์บันดาลปัก | |||||||
ทุกข์ยากมากจากตกนักนึกหลาก | ชักแยกยากอยากปลีกบอกยากหัก | |||||||
จุกตกตากมรรคบากจิกลากรัก | รุกตกจักตากตุกติกตกจม | |||||||
--------------------- | ||||||||
กินนรรำ..... จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพน กลอน 9 มี 3 จังหวะ คำแรกให้เป็น ลหุ อีกสองคำ | ||||||||
ให้สัมผัสพยัญชนะกัน ระหว่างจังหวะให้มีสัมสระแบบสัมผัสแทรกด้วย | ||||||||
ฉวีวรรณสุนันท์นักพิทักษ์ถี | สะดวกเดินเจริญดีวิถีถม | |||||||
จะเก็บกันจะหันเห็ดจะเด็ดดม | เผือหลงแลแย่ขมขื่นจะยืนยล | |||||||
เก็บเห็ดแหนแดนขอนขาวสกาวหนอ | จะลุล่วงละอออวนละแห่งหน | |||||||
วิตกตริผิผองเพื่อนจะจากจน | กมลมานมิหาญหักประจักษ์ใจ | |||||||
จะเย็นย่ำจะค่ำคล้อยละห้อยหา | จะลีลาจะมาเมืองก็เคืองไข | |||||||
ระวังวนระคนคิดรึพิษภัย | รึใครคิดสะกิดแกล้งสำแดงดู | |||||||
ดำเนินเนิ่นเลาะเขินเขาลำเนาหนอ | ละอออวนก็ป่วนปั่นนะนวลหนู | |||||||
เพราะหลงเลือนมิเหมือนหมายจะร้ายรู้ | จำสู้เสาะจำเพาะไพรคะไลลา ฯ | |||||||
--------------------- | ||||||||
บัวบานกลีบ | ||||||||
.......แบบอย่างจากหนังสือกลบทศิริวิบูลย์กิตติ์ ด้วย จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพนด้วย | ||||||||
ลักษณะเด่นคือ ใช้สองคำเป็นกระทู้ยืนสำหรับทุกวรรค ต่อเนื่องไปจนจบความ | ||||||||
O=กลัวนัก..หลงทางแน่หนอเรา........ | กลัวนัก..หนอป่าเขาหาวิถี | |||||||
กลัวนัก..บ่ายคล้อยในพงพี............. | .กลัวนัก..พวกเปรตผีจะหลอกเรา | |||||||
กลัวนัก..น้ำจะดื่มก็มาหมด | กลัวนัก..แสนระทดมันเงียบเหงา | |||||||
กลัวนัก..รอยโคน้ำนงเยาว์ | กลัวนัก..ดื่มเอาจนหมดไป | |||||||
กลัวนัก..ยังมิหายหิวน้ำเลย | กลัวนัก..เดินต่อชักสงสัย | |||||||
กลัวนัก..คงลึกกลางพงไพร | กลัวนัก..ไหนทางกลับบ้านเรา | |||||||
กลัวนัก..จักกลับบ้านอย่างไร | กลัวนัก..เดินไปสุดหงอยเหงา | |||||||
กลัวนัก..รอยเท้าช้างใหญ่มิเบา | กลัวนัก..เห็นมีเงาน้ำในรอย | |||||||
กลัวนัก...ก้มดื่มน้ำในรอยช้าง | กลัวนัก..อิ่มบ้างมิท้อถอย | |||||||
กลัวนัก...พลันเห็นทางร่องรอย | กลัวนัก...จึงค่อยทวนความจำมา | |||||||
กลัวนัก...เห็นทางเดินกลับย้าน | กลัวนัก...รีบเดินนานกลับเคหา | |||||||
กลัวนัก...แม่พ่อแสนปรีดา | กลัวนัก..เทวีว่าหนูหลงทาง | |||||||
กลัวนัก...รีบเดินเพื่อนมิคอย | กลัวนัก...ลงจากดอยยากสะสาง | |||||||
กลัวนัก..เคยไปใยเลือนลาง | กลัวนัก..หิวทุกอย่างแทบวอดวาย | |||||||
--------------------- | ||||||||
อักษรสลับล้วน..... | ||||||||
จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้จังหวะกลอนสัมผัสพยัญชนะ | ||||||||
กลุ่มละ 1 เสียง จะหว่างกลุ่มจังหวะให้มีสัมผัสชิดด้วย | ||||||||
มองมืดมนจนจิตจริงยิ่งยุ่งยาก | ต้องตรากตรำกรรมก่อกิจผิดแผกไผ | |||||||
หลงลืมแล้วแถวทางถิ่นดินแดนใด | พงไพรแผกแปลกเป็นปมงมงุนงง | |||||||
อรอิดอ่อนวอนไหว้วานท่านเทพแถน | แสนโศกเศร้าเมามืดมนลนลานหลง | |||||||
ช่วยชี้ช่องปล่องเปิดป่าผ่าไพรพง | จงจุนเจือเอื้ออ่อนอวยทวยเทพไท | |||||||
หิวโหยหาหน้านวลน้องหมองหม่นหมาย | วุนวายเวียนเจียนเจ็บจิตคิดขุ่นไข | |||||||
น้ำหนอน้ำจำจดจ้องคลองโคใคร | รอยไรหรือคือขุ่นคล้ำน้ำนิดเดียว | |||||||
คงโคคลั่งยังเหยียบย่ำนำนึกหนอ | รีรอรู้ดื่มดูดีขี้โคเขียว | |||||||
ลืมเลยแลแย่อย่างยิ่งทิ้งทอดเทียว | รอเรี่ยวแรงแข็งคืนคงเดินดงดาย | |||||||
----------------- | ||||||||
ดวงเดือนประดับดาว.....แต่งเป็นกลอนเจ็ด จังหวะ 2-2-3 แต่ละจังหวะให้สัมผัสพยัญชนะ | ||||||||
ระหว่างจังหวะให้มีสัมผัสชิด | ||||||||
นวลนางย่างย้ายกรายใกล้ใกล้ | ได้ดื่มลืมเลยเคยขุ่นเขียว | |||||||
เมียงมองจ้องจับทับทางเทียว | เลี้ยวลดคดโค้งโล่งลับแล | |||||||
นับเนินเดินดูภูผาแผก | แปลกไปใข่ขมคมคำแข | |||||||
ส่องแสงแยงยลพนพอแผ่ | แปรป่าน่าเนินดุ่มเดินดี | |||||||
นานนักมักเมื่อยเฉื่อยโฉมฉาย | หิวหากมากมายภายพงพี | |||||||
นั่นน้ำช้ำช้างย่างเหยียบยี | ยังอยู่ดูดีมีมากมวล | |||||||
ดืมด่ำน้ำนั่นพลันเพ่งไพร | ใจจำนำนางสร่างโศกสรวล | |||||||
คงเขาเยาว์ผ่านนานนักนวล | จวนเจียนเวียนวนลนลานแล | |||||||
ดุ่มเดินเพลินพิศทิศถูกทาง | นางนึกดึกดื่นคืนคอยแข | |||||||
เลือนลางทางเทียวเดี่ยวดวงแด | แน่นอนก่อนกลับคับข้องใจ | |||||||
ทางเทียวเดี่ยวเดินเขินเขาคุ้น | ปุนแปลกแผกเผยเลยหลงไหล | |||||||
หลงลืมดื่มด่ำค่ำคลาไคล | ใยยุ่งนุงนังวังเวงวน | |||||||
----------------------- | ||||||||
รักร้อย.....กลอนแปด ให้ใช้คำซ้ำตรงรอยต่อจังหวะแรกกับจังหวะ 2 ส่วน | ||||||||
จังหวะสองกับสามใช้สัมผัสสระ เช่นนี้ทุกวรรคจนจบความ | ||||||||
กลับมาบ้านบ้านรอพ่อใจหาย | ความวายวุ่นวุ่นนักประจักษ์ไข | |||||||
ยินดีนักนักหนูเจ้าอยู่ไพร | มีภัยพาลพาลต้องน้องบ้างฤๅ | |||||||
ไหนแม่ดูดูหน้าดูตาหน่อย | เรียบร้อยดีดีล้นคนเขาถือ | |||||||
พวกผีป่าป่าใหญ่ให้ระบือ | จะยื้อแย่งแย่งเอาคนเราไป | |||||||
พักก่อนลูกลูกน้อยกลอยจิตแม่ | นับแต่นี้นี้ระวังนั่งนอนไหน | |||||||
แม่จักดูดูลูกผูกสายใย | มิให้มีมีเหตุเภทภัยพาล | |||||||
ทานข้าวเสร็จเสร็จแล้วแก้วตาแม่ | จะดูแลแลหนูอยู่ใกล้ขาน | |||||||
จะขับกล่อมพร้อมเพลงบรรเลงการ | สราญรื่นรื่นรมย์ชมลูกยา ฯ | |||||||
มธุรสวาที..... | ||||||||
แบบอย่างจากหนังสือกลบทศิริวิบูลย์กิตต์ กำหนดให้มีสัมผัสสระในวรรคแถวหน้า 2 แห่ง | ||||||||
ได้แก่คำที่ 3กับคำที่ 4 และคำที่ 5กับคำที่ 7 วรรคหลัง คำที่ 5 กับคำที่ 7 นิยมแทรก | ||||||||
สัมผัสพยัญชนะคำที่ 3กับ4 เพิ่มเข้าไป มิใช้กำหนดเดิม เพิ่มเพื่อให้เพราะเฉย ๆ | ||||||||
O= จนดึกดื่นคืนนั้นค่อยผันผาย...............บ้านวุ่นวายเวียนถามเที่ยวตามหา | ||||||||
ไปบ้านเพื่อนเหมือนมิรู้ยายหนูนา..............โอ้กานดาเดินเดี่ยวให้เสียวทรวง | ||||||||
จนดึกแล้วแก้วตาก็มาถึง........................ พ่อแม่จึงจักถามเพราะความหวง | ||||||||
เทวีเล่าเอาเรื่องที่เคืองใจ........................หลงกลางไพรแผกหลังระวังดี | ||||||||
ป่าเดิมเดิมเติมต่อชะลออยู่.......................แต่พอหนูนานไปรูปไพรหนี | ||||||||
มิเหมือนก่อนตอนไปจำได้มี.....................เป็นป่าที่ทำการมานานวัน | ||||||||
ไปเลี้ยงวัวมัวเล่นก็เย็นจิต.......................มิเคยคิดคาดหลงพะวงสรรพื | ||||||||
แต่วันนี้มีประหลาดมิคาดครัน....................ป่าหลอกฉันชวนหลงพะวงใย | ||||||||
พ่อกับแม่แท้จริงก็ยิ่งห่วง.........................ปลอบลูกล่วงเลยดีกก็ตรึกไฉน | ||||||||
ถึงวันพรุ่งรุงเช้าจัดเอามา........................เครื่องบูชาชักขวัญให้หันคืน | ||||||||
ลูกไปป่าน่าขวัญจะผันผาย......................หนีห่างกายกวนนักยากจักฝืน | ||||||||
พ่อหมอเพรียกเรียกขวัญให้มั่นยืน.............ค่อยสดชื่นฉับพลันล่วงวันเวลา ฯ | ||||||||
------------------- | ||||||||
เนื้อเรื่องย่อ | ||||||||
.............นางเทวีมีความสุขอยู่กับครอบครัวมาหลายเดือนเกิดอาการแพ้ท้อง พ่อแม่ถาม |
|
|||||||
ก็ตอบไม่ได้ จำได้ว่าเคยดื่มน้ำรอยเท้าโคกับรอยเท้าช้างในป่า แล้วจะเกี่ยวกับการมีท้อง | ||||||||
ได้อย่างไร พ่อแม่เข้าใจคิอว่าเรื่องบุญทำกรรมแต่ง อะไรจะเกิดก็จงเกิดมาเถอะ เพราะแน่ | ||||||||
ใจว่าลูกสาวมิใช่คนชอบเที่ยวเตร่ปล่อยกายปล่อยใจ ที่สุดเทวีก็คลอดลูกแฝด คนแรกให้ | ||||||||
ชื่อนางลุน คนหลังชื่อนางหล่า แฝดคลอดก่อนให้เป็นน้อง คนคลอดหลังให้เป็นพี่ เด็กสองคน | ||||||||
เลี้ยงง่าย เล่นกับเพื่อนฝูงลูกชาวบ้านคนอื่น ๆ คราวหนึ่งก็ล้อเลียนกันถูกด่าว่าลูกไม่มีพ่อ | ||||||||
สองคนจึงมาถามตายายและแม่ และได้รู้ความเป็นมา จึงตั้งใจว่าสักวันหนึ่งจะเข้าไปในป่า | ||||||||
เพื่อตามหาพ่อ | ||||||||
ก้านต่อดอก..... | ||||||||
แบบอย่างจากหนังสือกลบทศิริวิบูลย์กิตต์ กำหนดให้แต่งสองคำท้ายวรรคทุกวรรค | ||||||||
สัมผัสสระกัน ต่อเนื่องไปจนจบความ | ||||||||
O= ผ่านมาได้หลายเดือนเหมือนเรื่องเคือง | สาวเกิดแพ้จนเปลืองข้าวปลาหา | |||||||
กินเข้าไปโอ้กอ้ากยากนาค่า | เหมือนดังว่าคนท้องนั่นเจียวเชียว | |||||||
เชิญแม่หมอตำแยมาเข้าเช้า | แกบอกเล่าท้องแน่ทีเดียวเสียว | |||||||
อยู่แต่บ้านท้องกับใครจักเกี่ยวเหลียว | แม่ลองเที่ยวถามเพื่อนไม่รู้ดู | |||||||
สุดท้ายปลอบถามเทวีเป็นไรไหม | เธอบอกได้แค่มิทราบจริงอยู่หนู | |||||||
มันอึดอัดมิทราบหมดอดสูตู | อยากจักรู้เช่นกันมันไหนใคร | |||||||
จึงเล่าเรื่องหลงป่าครานั้นครั้น | กลางดงพลันหิวกระหายไฉนไข | |||||||
ดื่มน้ำรอยเท้าโคก่อนไปใน | อีกมิไกลรอยช้างน้ำดีสี | |||||||
ดื่มจนหมดสงสัยจะท้องน้อง | ดื่มน้ำต้องติดลูกฤดีศรี | |||||||
ใครจักเชื่อน่าอายวายชีวี | นับแต่นี้จะดูหน้าใครเขาเรา | |||||||
ยากจะบอกออกไปใยเหลือเชื่อ | จนนึกเบื่อโชคชตานงเยาเขลา | |||||||
จึงเก็บเรื่องปิดปกอกเยาว์เอา | ยากบรรเทาสุดอายสายใจใย | |||||||
สิบเดือนครบจบแล้วลูกน้อยสร้อย | เกิดมาพลอยลืมทุกข์สุขใยใส | |||||||
เป็นลูกสาวคราวนี้มีชัยไกร | เงินทองไหลหลั่งมาว่าบุญคุณ | |||||||
ยายตั้งชื่ออีหล่าว่าเหมาะเพราะ | ฟังเสนาะน่ารักเทพปุนหนุน | |||||||
รูปก็งามนามเพราะการุณจุน | ครอบครัวอุ่นสุขสันติ์ภิรมย์ชม | |||||||
--------------- | ||||||||
กินนรเก็บบัว..... | ||||||||
จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้แต่งโดยมีคำซ้ำ 1 คู่ในทุกวรรค | ||||||||
ไม่ระบุตำแหน่ง | ||||||||
แฝดผู้น้องคลอดก่อนน้องหลังพี่ | ประเพณีเช่นนี้มาแต่เดิม | |||||||
ตั้งชื่อลุนนางลุนมากบุญเสริม | เทพท่านเติมบุญเติมสุขสกาว | |||||||
นานนับวันถึงวันก็เติบใหญ่ | ก็ปลอดภัยปราศภัยได้ลูกสาว | |||||||
ชื่อหล่าลุนหนูลุนบุญดังดาว | งามราวเดือนดุจเดือนเหมือนดวงใจ | |||||||
เลี้ยงลูกน้อยหนูน้อยพลอยเติบกล้า | สองหน้ามนดังมนต์เสกสดใส | |||||||
เจ้างามพักตร์ผ่องพักตร์พิศพิไล | เติบใหญ่มีมากมีเสน่ห์นาง | |||||||
คนเขาล้อหยอกล้อพ่อมิมี | คนดีจ๋าหนูจ๋ามาสะสาง | |||||||
เคยสงสัยนึกสงสัยไฉนต่าง | เขาอ้างพ่อแล้วพ่อเรามิเห็นมี | |||||||
กลับไปบ้านถึงบ้านไปหาแม่ | ถามถึงแต่พ่อหนูพ่อนวลศรี | |||||||
เป็นใครแม่ใครคือบอกหนูที | เทวีนางนวลนางพลอยเศร้าใจ | |||||||
จำบอกเล่าแม่เล่าเท้าความหลัง | จับแต่ครั้งเมื่อครั้งเก็บเห็ดไฉน | |||||||
ดื่มน้ำขังที่ขังรอยโคไพร | รอยช้างใหญ่ยิ่งใหญ่มีน้ำนอง | |||||||
กระหายน้ำดื่มน้ำแก้กระหาย | ถายหลังมีครรภ์มีเจ้าทั้งสอง | |||||||
อาจเป็นลูกโคหรือลูกช้างตรอง | ทั้งผองนี้แค่นี้แม่จำมา | |||||||
--------------------- | ||||||||
อักษรสังวาส.....จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) | ||||||||
กำหนดให้สองคำแรกและสองคำท้ายวรรคสัมผัสสระกัน | ||||||||
ทางนางหล่าล่วงวันพลันใหญ่ใส | งามทรามวัยดังเดือนนิยมสม | |||||||
จำคำถามถึงบิดาตากลมคม | แม่แพ้ลมลูกถามตามคำจำ | |||||||
นางช่างคิดคำบอกฟังดูหนู | คิดคิดรู้เรื่องช้างช่างขำถลำ | |||||||
เป็นเช่นพ่อแผกคนเพราะกรรมนำ | หนูรู้ทำไฉนหนอพอดีมี | |||||||
จำคำแม่หมายใจวันหน้าหนา | ตามถามหาให้เห็นดูทีผี | |||||||
ในไพรพงคงอวยช่วยชีวี | ผูกลูกนี้พบบิดาป่าดงพง | |||||||
สองน้องและพี่หาแม่แล | อรวอนที่แท้ประสงค์ตรง | |||||||
ไปในป่าหาพ่อมันคงจง | คาดอาจทวยเทพคงปรานีมี | |||||||
อักษรนกกางปีก กลอักษรซ่อนคำ คือคำที่ 2-3 อ่านย้อนใช้เป็นคำที่ 4-5 | ||||||||
หล่าลุนน้อง(น้องลุน)วุ่นวายหนอ..........ขอไปป่า(ป่าไป)ไพรระหง | ||||||||
ตามหาพ่อ (พ่อหา) ตายายจง..................คงได้ไป(ไปได้)แม่ตามใจ | ||||||||
สองพี่น้อง(น้องพี่)ยินดีนัก....................จักเดินป่า(ป่าเดิน)เนินเขาไข | ||||||||
มุ่งดงหลวง(หลวงดง)พิศพงไพร...........ในภูหลวง(หลวงภู)ดูยากเย็น | ||||||||
เดินสบาย(สบายเดิน)เพลิดเพลินจิต......พิศพงหนา(หนาพง)ดงได้เห็น | ||||||||
หล่ากับลุน(ลุนกับ)สลับเป็น...................เล่นร้องรำ(รำร้อง)ก้องกลางไพร | ||||||||
ออกจากบ้าน(บ้านจาก)อยากเที่ยวป่า.......หาพ่อตนตนพ่อพ่ออยู่ไหน | ||||||||
สองพี่น้องน้องพี่ต่างมีใจ......................ไปเนินเขาเขาเนินเพลินอารมณ์ | ||||||||
งามไม้ดอกดอกไม้ไพรพิลาส.................สองนุชนาถนาถนุชสุดสุขสม | ||||||||
ลึกเข้าไพรไพรเข้าเจ้าเอวกลม................น่าชื่นชมชมชื่นยืนหยัดไป | ||||||||
เนื้องเรื่องย่อ | ||||||||
สองสาวน้อยอำลาตายายและแม่เข้าป่าภูหลวง เมื่อทุกคนทราบความตั้งใจแน่วแน่ก็ไม่ห้าม | ||||||||
เดินทางเข้าป่ามาหลายวัน ก็บังเอิญพบพญาช้าง เพราะรู้ว่าตนเองน่าจะเป็นลูกช้าง จึงอ้อนวอน | ||||||||
ช้างป่าอย่าได้ทำร้ายพวกตน พวกตนเข้าป่ามาตามหาพ่อ แม่เล่าว่าพ่อเป็นพญาช้างอยู่ในป่านี้ | ||||||||
พญาช้างได้ยินนึกสงสัย หรือจะเป็นสายเลือดของตน จึงให้เสียงทาย โดยไต่จากงวงไปนั่งหลัง | ||||||||
ช้าง ถ้าไม่หล่นก็แสดงว่าเป็นลูกพญาช้าง ไม่งั้นจะถูกฆ่าตาย นางหล่าเสี่ยงก่อน 3 รอบปีน | ||||||||
ไปนั่งได้สบาย ๆ ส่วนนางลุน หล่นแล้วหล่นอีกจึงถูกฆ่าตาย | ||||||||
.....พญาช้างนำนางหล่าไปอยู่อาศัยที่ถ้ำที่สร้างไว้อย่างงดงาม หาสิ่งอำนวยความสะดวกมา | ||||||||
ให้ หาผลไม้ให้รับประทานไม่ขาด นางอยู่อาศัยกับพ่อช้างมีความสุขสบายสืบมา | ||||||||
ดำเนินนางสระ แบบจากประชุมจารึกวัดพระเชตุพน กำหนดให้แต่งมีคำสัมผัสพยัญชนะ 3 คู่ในแต่ | ||||||||
ละวรรค และให้มีสัมผัสชิดจะหว่างจังหวะต่อจังหวะ | ||||||||
นวลน้องสองสาวผ่องพราวพักตร์ | จักจรร้อนแรงคงแข็งไข | |||||||
นานเนิ่นเดินดงเจาะจงใจ | ใคร่คบพบพ่อหนอเนื้อนวล | |||||||
ล่วงล้ำถ้ำถิ่นเดินดินดุ่ม | พุ่มพฤกษ์ลึกล่วงห้วงเหหวน | |||||||
แดงดู่ลู่ลมจันทน์จมจวน | มวลมีสีสันพรรณพฤกษ์ไพร | |||||||
เขาเขินเดินดงพงไพรพฤกษ์ | ลึกล้ำน้ำนองคลองคูไข | |||||||
นกหนูกู่ก้องร้องเรไร | เซ็งแซ่แน่ใจได้ดุ่มเดิน | |||||||
โขดหินดินแดงแทงเท้าถม | ตมติดชิดชัดขัดเขาเขิน | |||||||
ลัดเลาะเกาะแก่งแกล้งกีดเกิน | ยุ่งยากมากเมินดุ่มเดินไป | |||||||
หากเห็นเช่นช้างแตกต่างตรอง | น้องนางห่างเห็นขุกเข็ญไข | |||||||
เมียงมองตรองแต่งจึงแจ้งใจ | ใหญ่ยิ่งจริงเจียวเล็งเหลียวแล | |||||||
-------------------- | ||||||||
กบเต้นต่อยหอย จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) | ||||||||
คำ 1 2 3 สัมผัสพยัญชนะ ให้มีสัมผัสชิดระหว่างจังหวะ 1-2 | ||||||||
เห็นช้างป่าหาใช่เป็นดังเช่นหมาย | ช้างเจ้าขาช้าจงคลายเดือดดวงแข | |||||||
พวกหนูมาพาน้องมาดวาดดวงแด | ตามช้างลองตรองเช่นแลหาพ่อกัน | |||||||
เขาบอกช้างข้างบนชี้คีรีมาศ | เป็นพ่อน้องปองเพราะนาถเล็งแลสรรพ์ | |||||||
เห็นท่านหลากหากทักเล่นเป็นพ่อพลัน | หลงทักท้วงล่วงโทษทัณฑ์โปรดอภัย | |||||||
ช้างได้ฟังชั่งดูฝ่ายค่อยคลายโกรธ | นางลองดูหนูลองโดดป่ายปีนไหม | |||||||
ขี่หลังมั่นขั้นลองหมายสบายใจ | คือลูกช้างข้างหล่นใช่จะต้องตาย | |||||||
เสี่ยงลองดูสูลองได้จะได้สอบ | ชอบทำได้ใช่ทีเด็ดเสร็จโฉมฉาย | |||||||
จะลองมาจ้าลงมืองวงเสาะสาย | คงมิง่ายคล้ายมึนงงตกลงกัน | |||||||
หล่าเธอก่อนหลอนถูกกดทดลองป่าย | หากสบายหายสบบทกฏของฉัน | |||||||
ยากให้แกแย่หากกลคนแบ่งปัน | ตามนั้นหนาตานี่หนูหล่างลองเลย | |||||||
หล่าทำได้ไล่ถูกดีไต่ถึงหลัง | ลองนั่งพักลักนอนแผ่รู้สึกเฉย | |||||||
สามเที่ยวครบสบที่ควรนวยเสบย | ช้างเอ่ยว่าช้าออกเวียนเพียรพักนา | |||||||
เจ้าทำได้ใจเที่ยงดีมีมานะ | จะเป็นบุตรจุดเป็นบุญวาสนา | |||||||
รออีกนางร่างอ้วนนักจักลองมา | ลุนตั้งท่าล่าตรงที่ที่เห็นนวล ฯ | |||||||
------------------- | ||||||||
กบเต้นสลักเพชร จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กลอน 3 จังหวะ | ||||||||
แต่งสัมผัสพยัญนะกันทั้ง 3 กลุ่มจังหวะ ระหว่างกลุ่มจังหวะให้มีสัมผัสสระแบบสัมผัสชิด | ||||||||
เห็นน้องง่ายหายนวลงัดหัดน่างง | ปีนตรงงวงป่วงตกง่ายป่ายตัวหงอ | |||||||
ตกสามคราตาสบคิดติดสวมคอ | พอจักวับพับเจ็บไวภัยจับวาย | |||||||
นางลุนลองน้องหล่นลงนงเลยลับ | ถูกช้างโหดโทษชนหับทับฉิบหาย | |||||||
นางหล่าขี่นี้ลงคล่องน้องเลยคลาย | พ่อช้างหาพาชวนหายผายชิดเฮือน | |||||||
สร้างถ้ำใหญ่ใสถิ่นเย้าเสาทองใย | วอนลูกเนาว์เว้าลูกนัยรักใคร่เหมือน | |||||||
เพียงดวงตาพาได้ติดพิศดูเตือน | รักลูกเยาว์เร้าลูกเยือนเรือนหล่าเยาว์ | |||||||
หาผลไม้ให้พอมากหากผลามวล | สบายน้อยสร้อยบอกนวลส่วนบ้านเนาว์ | |||||||
สุขใจกายสายจิตก่องส่องแจ้งเกลา | หลายวันเคลื่อนเลื่อนวันเข้าเล่าวันคืน | |||||||
----------------- | ||||||||
พยัคฆ์ข้ามห้วย | ||||||||
จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้คำที่ 3 เป็นคำซ้ำกับคำท้ายวรรค | ||||||||
ทุกวรรคไป | ||||||||
ก่อถ้ำสร้างกลางเขาลำเนาสร้าง | ยากลูกฝืนพญาช้างยากจักฝืน | |||||||
ทุกวันชื่นนางหล่าพักตราชื่น | เช้ามากมีเมื่อยามตื่นของกินมี | |||||||
พ่อจัดให้มากมวลขวานขวายให้ | ผลหลากสีหมากไม้แลหลากสี | |||||||
สรงวารีเย็นค่อยลอยวารี | ลงน้ำเลยสายนทีนามน้ำเลย | |||||||
ชมบัวขาบนิลุบลยลเข้มขาบ | บัวบานเผยผ่องทราบยามกลีบเผย | |||||||
ชายฝั่งเตยตูมตั่งต้างต่างเตย | ลมพัดพานพรมรำเพยยามพัดพาน | |||||||
--------------------- | ||||||||
ละลอกแก้วกระทบฝั่ง จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) และประชุมจารึก | ||||||||
วัดพระเชตุพน แต่งกลอน 3 จังหวะ จังหวะที่ 1 สัมผัสพยัญชนะกับช่วงที่ 2 ให้มีสัมผัสแทรก | ||||||||
ระหว่างจังหวะที่ 1 กับ 2 และให้มีสัมผัสแทรก ระหว่างจังหวะ 2 กับ | ||||||||
.....มองมัจฉามวลมาช่อนสลอนสลิด | ตะพาบเวียนตะเพียนวิดประชิดสาน | |||||||
กระดี่โลดกระโดดไล่วิไลลาน | ปลาหลดคาดปลาหลาดคลานมุดผ่านตม | |||||||
ปลาซิวอ้วนปลาส่วนอ้างสำอางนัก | มองน่ารักมันนักรำสวยขำสม | |||||||
พวกปลากัดแผกปัดกรายแพรวพรายชม | ปลาหมูรอปลาหมอรมนิยมรำ | |||||||
กระทิงงงกระทงงามมาตามติด | ปลานิลควรปลานวลคิดสะกิดถลำ | |||||||
ฝูงปลากรายฝ่าปลายกลุ่มพวกกลุ่มดำ | กระโห้ควรก็หวนขำโอ้กรรมปลา | |||||||
----------------------- | ||||||||
ครอบจักรวาล กลบทนี้ ปรากฏทั้งใน "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" และ "จารึกวัดพระเชตุพนฯ | ||||||||
กำหนดให้คำแรกและคำท้ายวรรคเป็นคำซ้ำ ต่อเนื่องไปจนจบเนื้อความ | ||||||||
แจ้งแล้วพ่อพาไปในดงแจ้ง | หาชมแสงอรุณรุ่งมุ่งแลหา | |||||||
มาชมไม้มืดมนวนเวียนมา | ดูผลาหมากไม้ได้ชมดู | |||||||
หลากไผ่พงปรงเปราะลัดเลาะหลาก | หนูหล่าอยากชมไม้ได้เลยหนู | |||||||
ภูหลวงรกพ่อช้างย่างผ่านภู | ไพรชวนดูบุษบาบานเต็มไพร | |||||||
กุ่มแกมจันทน์เล็บเหยี่ยวเกี่ยวกกกุ่ม | ไหนฮางสุ่มเล็บมือนางอยู่ทางไหน | |||||||
ใยกระพ้อกระเจียวเที่ยวชมใย | ชมมิ่งไม้เพลิดเพลินดังเดินชม | |||||||
--------------------- | ||||||||
กบเต้นสามตอน แบบจาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้ แต่ง | ||||||||
กลอนหก สัมผัสพยัญชนะกันทั้ง 3 คู่ ระหว่างจังหวะให้มีสัมผัสสระแบบสัมผัสชิด | ||||||||
....ยามเช้าเยาว์ช้างย่างชวน | มาสาวมาสรวลเหมาะสม | |||||||
นกกกนกกาหน้ากลม | กระยางกลางยมก้มยืน | |||||||
กระสากาสรก่อนสรรพ์ | ยังใฝ่ใยฝันยันฝืน | |||||||
จับกบจบใกล้ใจกลืน | ควายชื่นคืนเช้าเขาเชย | |||||||
นกเขาเนาว์ขันนั่นใคร | กระเรียนเกรียนไรไก่เฉย | |||||||
กาบบัวกลัวบ้างกร่างเสบย | กระสากาเสยเกยซวนฯ | |||||||
------------------------ | ||||||||
สุรางค์ระบำ แบบจาก ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ แต่สัมผัสพยัญชนะสามคู่ในแต่ละวรรค | ||||||||
ระหว่างจังหวะให้มีสัมผัสสระแบบสัมผัสชิด ระหว่าจะงหวะ 1 กับ 2 ส่วน 2 กับ 3 ให้ใช้ | ||||||||
สัมผัสแทรก | ||||||||
.....นับนานเข้าเนาว์ข่วงนับหน่วงเข้า...… | สิบเจ็ดให้ใจหายขจายหวน | |||||||
เป็นสาวน้อยสร้อยองค์ประสงค์นวล......... | หอมกลิ่นยวนกวนยันหอมกัลยา | |||||||
ป่วนจิดได้ใจดอมเจ้าจอมแด | เฝ้ามองแน่แม้นึกระทึกหนา | |||||||
เจ้าเพียงเดือนเพื่อนดาวพะพราวสุดา........ | ดังเทพาถ้าพิศสถิตพรหม | |||||||
สงสัยนักสักหน่อยหนอสร้อยนวล........... | จับใจป่วนจวนป่นก็จนปม | |||||||
พารัญจวนรวนจิตเมาฤทธิ์จม | มากคนชมคมชื่นทุกคืนชาย | |||||||
-------------------------- | ||||||||
นารายณ์ทรงเครื่อง าก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้แต่งกลอน แปด | ||||||||
แต่แจกจังหวะเป็น 4 คู่ สองคูแรกสัมผัสพยัญชนะกัน สองคู่หลังเปลี่ยนคู่ใหม่ | ||||||||
จังหวะ 1 สัมผัสชิดกับจังหวะ 2 และจังหวะ 2 กับ 3 สัมผัสแทรก | ||||||||
.....นวลสาวน้าวศรีสะรีสุรางค์ | นางป่วนนวลปรางก็จางกระจาย | |||||||
พักตร์ผ่องพ้องพรรณกระสันกระสาย........ | ยลพิมพ์ยิ้มพรายมิคลายมิคลา | |||||||
งามองค์งงอรสมรสมาน | นวลคงนงคราญสวยนานสิหนา | |||||||
น่ารักนักรื่นควรตื่นคงตรา | สายใจใสจาคณาคะนึง | |||||||
ชายเห็นเช่นหายุพายุพิน | ดีใจได้จินต์ก็ทินก็ถึง | |||||||
สุขยิ่งสิ่งเย้าต่างเล้าตะลึง | .ต่างแจ้งแต่งจึงรำพึงรำพัน | |||||||
---------------------------- | ||||||||
นาคราชแผลงฤทธิ์ แบบจาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนด | ||||||||
สามคำท้ายวรรคกับสามแรกวรรคถัดไปสัมผัสพยัญชนะกัน จังหวะ 1 สัมผัสชิดกับจังหวะ 2 | ||||||||
จังหวะ 2 สัมผัสสระกับจังหวะ 3 มีทั้งแบบชิดและแทรก คำท้ายบทสัมผัสสระกับคำแรกบทถัดไป | ||||||||
.....ความในจ้าวสาวหล่าขุ่นคาจิต | คิดครุ่นใจใคร่สมหวังดังใฝ่ฝัน | |||||||
ดั้นเจตน์ส่งตรงชู้เคียงคู่กัน | ครั้นคิดกรรมทำพลันจะสรรลอง | |||||||
จองเสกล้วนควรคู่แลผู้เกิด | เลิศเพราะกรรมนำเกิดประเสริฐสอง | |||||||
ประสมส่วนล้วนบุญครุ่นคิดคลอง | ข้องคงควรนวลตรองทำนองกล | |||||||
ทนนั่งเก็บเส้นผมม้วนกลมได้ | ไม้กลัดดีสอดผอบจนจบผล | |||||||
จงจิตแผ่แต่บุญพระคุณดล | พลคงเดชเพทย์มนต์กุศลตรง ฯ | |||||||
-------------------- | ||||||||
กลบทบวรโตฎก แบบจาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) เป็นการเอาแบบฉันท์ | ||||||||
โตฏก มาเริ่ม 4 วรรคกลอน ถ้ารวม คำต้อนวรรค 12 คำ ก็จะตรงกับบังคับ ลหุครุโตฏกฉันท์ 12 | ||||||||
วรรคที่1 ให้ใช้ ล - ล - ค วรรคที่ 2 ให้ใช้ ล - ล - ค วรรคที่ 3 ให้ใช้ ล - ล - ค | ||||||||
วรรคที่1 ให้ใช้ ล - ล - ค | ||||||||
....ยุวดี ดีใจจะไปเที่ยว | ชลเชี่ยว น้ำเลยเคยประสงค์ | |||||||
ยุวภา ลาพ่อจะขอลง | ชลคง อาบน้ำในลำธาร | |||||||
คชพ่อ พาไปใกล้ลำน้ำ | คชพร่ำ รีบอาบทราบคำขาน | |||||||
คชบอก ไปธุระจะมินาน | คชท่าน มารับกลับถ้ำทอง | |||||||
สิรินุช อธิษฐานต่อเทพไท้ | สิรินาถ วอนไว้ได้สนอง | |||||||
สิรินวล วอนดูนวลละออง | สิรินง ขอให้พบผอบนาง | |||||||
---------------------- | ||||||||
บัวบานกลีบขยาย แบบจาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้แต่ | ||||||||
สองคำแรกทุกวรรคเป็นคำซ้ำ ต่อเนื่องไปจนจบเนื้อหา | ||||||||
....ดีใจ...มากพ่อช้างหากเดินจากไป | ดีใจ...ยิ่งน้ำเลยใสได้สะสาง | |||||||
ดีใจ...ล้ำชำระกายโฉมสะอาง | ดีใจ....พลางมองตามผอบทอง | |||||||
ดีใจ...หวังตั้งจิดสัมฤทธิ์ผล | ดีใจ.....จนอิ่มอกโอกทั้งผอง | |||||||
ดีใจ...ดูชมพูล้วนน่ามอง | ดีใจ....น้องนางหล่าสุขารมณ์ | |||||||
ดีใจ...พ่อมารับกลับถ้ำพัก | ดีใจ.....นักของกินยินดีสม | |||||||
ดีใจ...กลับพักผ่อนอ่อนยังจม | ดีใจ.....ปมอยากมีรักนวลพักตร์รอ | |||||||
---------------- | ||||||||
คุณบท จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้แต่งวรรคละ 3 คำ(อาจมี4 | ||||||||
พยางค์ได้) สัมผัสต่อเนื่องกันไปวรรคต่อวรรค แบบการต่อคำวรรคละ 3 คำ จนจบความ | ||||||||
เมืองฮ่มขาว | จ้าวปกครอง | |||||||
.หนองบัวงาม | ตามนที | |||||||
มีลูกชาย | อ้ายวรจิต | |||||||
.มิตรมากมาย | ชายใจดี. | |||||||
มีศีลธรรม | คำเขาลือ | |||||||
คือเจ้าเมือง.. | เรืองใจราษฎร์ | |||||||
ปราชญ์ชื่นชม | สมคำยอ | |||||||
พ่อเมืองพร้อม | ยอมยกให้ | |||||||
----------------------- | ||||||||
สะบัดสะบิ้ง จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหดนให้ สัมผัสสระ | ||||||||
คำท้ายจังหวะที่ 2 เป็นสัมผัสแทรก กับ สี่คำสุดท้ายวรรค ตกประมาณคำที่ 2 และให้ สี่คำสุดท้าย | ||||||||
เป็นสัมผัสพยัญชนะกันสองคู่ และคำแรกเป็นคำซ้ำ | ||||||||
....วรจิตคิดคลายทุกข์สนุกสนาน.....… | ใคร่ชมธารเขาเขินพินิจพินัย | |||||||
ลาบิดาชวนเพื่อนก็เคลื่อนก็ไคล......... | น้ำเลยใสหลากธารก็ลานก็แล | |||||||
ลงน้ำเก็บบัวแดงแสลงสลวย | บัวหลวงสวยงามดอกผิจอกผิแหน | |||||||
กระทุ่มน้ำกระเทือนก็เชื่อนก็แช......... | ลอยเป็นแพกอสวะกระจัดกระจาย | |||||||
แลลิบลิบหยิบได้ไฉนฉะนี้ | ผอบสีแปลกนะสหสหาย | |||||||
กลับถึงบ้านชอบกลกระวนกระวาย...... | แปลกเหลือหลายผอบมาศพิลาสพิไล | |||||||
เปิดเห็นผมชมชืนระรื่นระรวย........... | อกระทวยหลงนุชพิสุทธิ์พิสัย | |||||||
อยากพบนวนป่วนจิตประพิศประไพ..... | ตัดสินใจจักตามดูพธูผกา | |||||||
----------------------- | ||||||||
สิงหฬวาท จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้แต่งโดยมีคำบาลีอยู่ต้น | ||||||||
บาททุกบาท ควรเป็นวรรคแรกของบาท วรรคหลังว่างแต่งตามสบาย แต่กระผมแทรกวรรคหลัง | ||||||||
ด้วย จะได้ดูสมดุลกัน | ||||||||
......อหํ ข้าวรจิตคิดถึงเสน่ห์ | ตุมเห น้องกลางไพรอยู่ไหนหนา | |||||||
ภัทท พี่ได้พบผอบมา | เกสา นางสุดหอมกล่อมดวงใจ | |||||||
กนิฎฐา น้องเอ๋ยอยากเชยชิด | หทยัง พี่พินิจพิสมัย | |||||||
พนฺธนัง ผูกพันมั่นหมายใน | ทาริกา...ทรามวัยเพียงคนเดียว | |||||||
กุมารี ยอดพธูอยู่หนไหน | คจฉติ...จะไปป่าพนาเขียว | |||||||
จินเตติ หวังชมชื่นกลมเกลียว.......... | เคหํ เทียวจักรับเจ้ากลับมา | |||||||
คณฺหาติ...เก็บผอบดังพบรัก | ตกฺเกติ..ตรองตริสิเนหา | |||||||
คจฺฉสิ...ลอยไปในธารา | วนิดา คืนไวไปหานวล | |||||||
---------------------- | ||||||||
ฉัตรสามชั้น จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้สามคำแรก สลับที่ | ||||||||
แล้วใช้เป็นคำปลายวรรค ทุกวรรค ต่อเนื่องไปจนจบความ | ||||||||
มวลไผ่กอ .มากหนอ กอไผ่มวล | ซางแกมล้วน ไผ่นวล ล้วนแกมซาง | |||||||
หนามหนานัก ขีดข่วน นักหนาหนาม | ถางเงี่ยงดุก ลุมพุก ดุกเงี่ยงถาง | |||||||
กางเล็บเหยี่ยว เกาะเกี่ยว เหยี่ยวเล็บกาง | กุนทาง้าง...แหวกทาง ง้างกุนทา | |||||||
มากเถาววัลย์ ดงหวาย วันเถาว์มาก | หายากทาง เครือมุง ทางยากหา | |||||||
ยานางเครือ ส้มลม เครือนางยา | หลากหลายป่าเถาวัลย์มาป่าหลายหลาก | |||||||
-------------------------- | ||||||||
อักษรกลอนตาย (แก้ไขเสียงวรรณยุกต์ท้ายวรรค)จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) | ||||||||
กำหนดให้ใช้คำตายทั้งวรรค ทั้งบาทและบท | ||||||||
.......พระบาทออกสืบเสาะเกาะติดบก | ผอบตกหลุดติดคิดทุกข์มาก | |||||||
รกชัฏนักจักบุกทุกหุบหลาก | ผอบหากลับมิดติดขัดนัก | |||||||
เจ็บจุกอกวิตกมากหากลับหมด | สุดเก็บกดรุกอีกจำเพาะรัก | |||||||
เลาะเลียบหาดจุกเจ็บเหน็บจับกัก | แทบจะปักมุดมิดติดเดือดดูด | |||||||
ผอบวับลับอีกหลีกลัดเลาะ | ติดตรึกเกาะหกลุกกะโหลกปูด | |||||||
หลุดปลักเตะหลักแปลกแหลกยากพูด.......... | .เก็บผักกูดจับหลุดยวบมิดลด ฯ | |||||||
----------------------------- | ||||||||
เบญจวรรณห้าสี จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้แต่งสัมผัส | ||||||||
พยัญชนะ 5 คำติดกันในต้นวรรคทุกวรรค ต่อเนื่องไปจนจบ | ||||||||
.........หลุดแล้วลองเล็งแล ผอบหนอ | เพียงพบพอผ่องแผ้ว พอจักทด | |||||||
ติดตามต่อต่างตา ป่าปลงปลด | จวงจันทน์จดจิกจ่อง จ้องตูมกา | |||||||
พิศผองไผ่ไพรเพก ลำเล็กใหญ่ | แหนหันให้หากเห็น นุ่นหนามหนา | |||||||
ยลยางใหญ่ยืนยิ่ง ยามย่างมา | หลงแล้วหล่าหลากหลาย เจ้าสายใจ | |||||||
หุบห้วยหอมหากเห็น เป็นผอบ | พอพี่พบเพ่งพิศ จิตสงสัย | |||||||
นวลนางเนาว์แน่นอน ทางนั้นนัย | ทวยเทพไททิศทาง ช่างเมตตา ฯ | |||||||
--------------------- | ||||||||
จาตุรงคนายก จาก "กลบทศิริวิบุลกิตติ์" โดยหลวงศรีปรีชา (เซ่ง) กำหนดให้แต่งกลอนแปด วรรค | ||||||||
ละ 4 จังหวะ คำต้นจังหวะ ให้ใช้คำซ้ำ ตลอดจนจบเนื้อความ | ||||||||
O-ยามบ่ายยามหล่ายามมายามเที่ยว | ชมน้ำชมเดี่ยวชมเกี่ยวชมชลา | |||||||
ลอยล่องลอยล้ำลอยน้ำลอยมา | เห็นกล่องเห็นท่าเห็นน่าเห็นงาม | |||||||
หยิบดูหยิบอ่านหยิบผ่านหยิบมอง | รู้เรื่องรู้คลองรู้ช่องรู้ขาม | |||||||
เห็นแล้วเห็นหล่าเห็นหน้าเห็นนาม | ยิ้มยั่วยิ้มยามยิ้มตามยิ้มนำ | |||||||
พี่เหนื่อยพี่หายพี่ชายพี่พาน | นงนุชนงคราญนงต้านนงขำ | |||||||
รักเจ้ารักมากรักจากรักจำ | จักกอปรจักทำจักกำจักกอง | |||||||
สาวหล่าสาวนวลสาวชวนสาวสม | พี่ทุกพี่ตรมพี่งมพี่ผอง | |||||||
นวลรู้นวลชอบนวลตอบนวลตรอง | เรานี้เราสองเราต้องเราควร | |||||||
เป็นคู่เป็นบุญเป็นคุณเป็นปูรณ์ | เหมาะเพิ่มเหมาะพูนเหมาะคูณเหมาะหวน | |||||||
รักกันรักน้องรักครองรักป่วน | คู่เราคู่นวลคู่ชวนคู่กรรม | |||||||
------------------------- | ||||||||
อักษรบริพันธ์ หรือ ช้างประสานงา จากกลบทศิริวิบูลย์กิตต์และประชุมจารึกวัดพระเชตุพน | ||||||||
กำหนดให้สามคำท้ายวรรค กับสามคำแรกวรรคถัดไปสัมผัสพยัญชนะกัน ต่อเนื่องไปจนจบความ | ||||||||
O-วรจิตชิดน้องปองสวาท | ปองแสวงแต่งมาดอาจถลำ | |||||||
อรแถลงแปลงสารพี่อ่านจำ | เพราะอ่านเจอนางพร่ำร่ำพรรณนา | |||||||
เรื่องผองนางเสี่ยงทายหมายเลือกคู่ | มาเลือกคนคิดดูประกาศหา | |||||||
ประกาศให้พบคู่แต่ก่อนมา | ตรงกับหมายอักษราพี่ยานวล | |||||||
เพียงยลน้องปองรักอยู่เต็มอก | ยอมตามอ่อนไม่วกกลับคืนหวน | |||||||
กล้าขอให้รับรักพี่ชักชวน | พี่ชิดเชยรบกวนนวลตอบมา | |||||||
นางตอบหมายมอบใจให้พี่รัก | หากพี่รู้นวลภักดิ์วาสนา | |||||||
ว่าสองนี้คู่กันเพราะบุญญา | เพราะบุญใหญ่สองรามาพบกัน ฯ | |||||||
------------------------- | ||||||||
ดุริยางคจำเรียง จากกลบทศิริวิบูลย์กิตต์และประชุมจารึกวัดพระเชตุพน | ||||||||
กลอน 9 สองคำแรกทุกจังหวะใช้คำซ้ำ ให้มีสัมผัสชิดระหว่างจังหวะต่อจังหวะ | ||||||||
O-หนุ่มหนุ่มอึ้งถึงถึงหล่าข้าข้าเขิน | เจ้าเจ้าเกินเหินเหินห่างช่างช่างสรรค์ | |||||||
แผ่แผ่ให้ไมไมตรีดีดีพลัน | อ้ายอ้ายนั้นฝันฝันหรือคือคือจริง | |||||||
สาวสาวหยิกจิกจิกแขนแสนแสนสอด.......... | บ่าวบ่าวกอดยอดยอดชู้ดูดูหญิง | |||||||
ฮักฮักเจ้าเท่าเท่าฟ้ามามาอิง | ไม่ไม่ทิ้งนิ่งนิ่งนวลอวลอวลอร | |||||||
สองสองชื่นรื่นรื่นรมย์สมสมสวาท | เคียงเคียงคาดวาดวาดฝันสันติ์สรรพ์สมร | |||||||
หอมหอมนักพักตร์พักตร์นวลยวนยวนวอน........ | รักรักร้อนศรศรกามตามตามทะลวง | |||||||
----------------------- | ||||||||
วิสูตรสองไข แบบจากประชุมจารึกวัดพระเชตุพน กำหนดให้ช่วงแรกและช่วงท้ายช่วงละ 4 คำ | ||||||||
สองจังหวะ คำแรกจังหวะเป็นคำซ้ำ คำสองกับคำสี่สัมผัสพยัญชนะกัน คำท้ายช่วงกลางสัมผัส | ||||||||
สระกับช่วงท้าย | ||||||||
O=สนิทสนมชมชื่นระรื่นระรมย์ | พระชื่นพระชมสมซึ้งก็หีงก็หวง | |||||||
พระนุชพระน้องต้องใจมิไล่มิลวง | จะเหนี่ยวจะหน่วงดวงเราพะเน้าพะนอ | |||||||
จะนำจะนวลควรพักประจักษ์ประเจิด | ก็ล้ำก็เลิศประคองณห้องณหอ | |||||||
ก็หลบก็หลีกปลีกเลี่ยงมิเพียงมิพอ | ละอ่อนละออทุกคำสำเริงสำราญ | |||||||
ลุล่วงลุกาลนานเข้าเฉลาฉลวย | ก็เออก็อวยอรสุขสนุกสนาน | |||||||
ละวังละเวียงเลี่ยงกิจก็ผิดก็พลาด | พระคงพระคาดควรกลับประคับประคอง | |||||||
จะชักจะชวนนวลหล่ายุพายุพักตร์ | ประแจงประจักษ์สมัครเสมอเสนอสนอง | |||||||
พระพี่พระนวลชวนลับก็จับก็จอง | คะไลคะลองล่องลับก็กลับก็ไกล ฯ | |||||||
------------------------------ | ||||||||
กลบทจตุรงคประดับ จากกลบทศิริวิบูลย์กิตต์ กำหนดให้แต่ละบท ใช้คำกระทู้สองคำยืนทั้ง 4 วรรค | ||||||||
วรรคหน้าคำที่ 3 สัมผัสชิดกับคำที่ 4 คำที่ 5กับคำที่ 7 ใช้คำซ้ำ คำที่ 6 กับ 8 สัมผัสพยัญชนะ | ||||||||
O=กลับเมือง...แล้วแก้วยุพินยุพาพักตร์ | กลับเมือง...จักป่าวประสิทธิ์ประสาทสมัย | |||||||
กลับเมือง...จักรักษ์ ประเทศประทักษ์ ไกร | กลับเมือง...ไซร้สมสวาทสวัสดิ์มี | |||||||
ฮ่มขาว...เมืองเรืองฉลองเฉลิมราช | ฮ่มขาว...คาด สุขกระสันเกษมศรี | |||||||
ฮ่มขาว...ชนคน พิธานพิทักษ์ดี | ฮ่มขาว...ชี้นางเสงี่ยมสง่านวล | |||||||
ปรีดา...ด้วยอวยสมรสมรรถงาน | ปรีดา...หานแก้ววิสิทธิ์วิเศษหวน | --------------------------- | ||||||
ปรีดา...ชนพลทะแกล้วทกล้าควร | ปรีดา...ล้วนทุกสกุลสกลนคร ฯ | |||||||
---------------------- | ||||||||
กลบทตรียมก จากกลบทศิริวิบูลย์กิตต์ กำหนดให้แต่ละวรรค ใช้คำซ้ำ 3 คำ เช่นคำ 2-5-7 | ||||||||
คำถัดกันใช้สัมผัสพยัญชนะ ทุกวรรคต่อเนื่องจนจบความ | ||||||||
O=คชสาร คชศรี คชเศร้า | เพราะนางเล่า เพราะนางลี้ เพราะหนีหลอน | |||||||
คิดถึงนวล ครวญถึงนาง คร่ำถึงนอน | เจ็บยิ่งตอน เจ็บยามเตรียม เจ็บยิ่งตน | |||||||
หาลูกไม้ ให้ลูกมอบ หอบลูกมาก | ลูกหนีหาก หลากหนีหาย หลายหนีหน | |||||||
ตกใจสม ตรมใจสุด ตรอมใจซน | หลายเดือนปน ล้วนเดือนแปลก แลกเดือนปลง | |||||||
เจ้าล้มลุก จุกล้มแล้ว จักล้มลับ | รอยบุญสับ ฤาบุญสิ้น ไร้บุญสง | |||||||
ขอเทพช่วย ขอทวยชี้ ขอเทพชง | กายเป็นทอง กองเป็นธง กรงเป็นธรรม | |||||||
---------------------------- | ||||||||
อักขระโกศลจากกลบทศิริวิบูลย์กิตต์ กำหนดให้แต่ละวรรค คำที่ 1 กับ 3 ใช้คำซ้ำ ส่วนคำ | ||||||||
2 และ 4 สัมผัสพยัญชนะ และมีสัมผัสพยัญชนะชิดกัน ตรงคำ 5 และ 6 | ||||||||
O=พระน้องพระนางช่างสบสุข | มิทุกข์มิทนค้นคลองขำ | |||||||
ถือศีลถือสัตย์จัดแจงจำ | ยามค่ำยามคืนชื่นชิดเชย | |||||||
สามีสามารถอาจองเอก | คอยเสกคอยสร้างพ่างแผกเผย | |||||||
รักนวลรักนางข้างเคียงเคย | มิเลยมิเลือนเดือนดุจดาว | |||||||
มีลูกมีหลานสานสืบสกุล | อบอุ่นอบอวลสรวลสืลสาว | |||||||
เทวีเทวาย่ายายยาว | พบท้าวพวชบที่ชี้ชมเชย | |||||||
ย้ายเลี้ยงยายแลแขควรไข | เปลไกวเปลแกว่งแห่งหาเหย | |||||||
เพลงรำเพลงร้องล่องลอยเลย | หวานนักหวานเอ่ยเคยค่ำครวญ ฯ | |||||||
------------------------------- | ||||||||
ยายกล่อมหลาน (เพลงกล่อมเด็ก) | ||||||||
------------------------ | ||||||||
O=เออ เอ่อ เอ้อ อือ อื่อ อื้อ | นอนสาหล่า แม่ใหญ่สิพานอน | |||||||
นอน เอ้า นอน หลับตาแม่สิกล่อม | เจ้าบ่นอนบ่ให้กินกล้วย | |||||||
แม่ไปห้วยหาปูหาปลา | แม่ไปนาจับปลาข่อใหญ่ | |||||||
แม่ไปไฮ่เก็บเห็ดล่ะโงก | แม่ไปโคกเก็บเห็ดแทดเห็ดทา | |||||||
กลับคืนมาแกงปล่าข่อใหญ่ | อย่าฮ้องไห่แมวเป้าแมวโพง | |||||||
ฟ้าวนอนสาแมวมันมาแล้ว | อย่าสุแอ่วมันสิจกตา | |||||||
เจ้านอนซ้ามันสิจกหำ | นอนยามค่ำมันสิจกก้น | |||||||
เออ เอ่อ เอ้อ อือ อื่อ อื้อ | นอนสาหล่า แม่ใหญ่พานอน | |||||||
แม่ไปไฮ่ได้แตงหน่วยหนา | แม่ไปนาหาของมาฝาก | |||||||
ได้หมากหว่าหมากเหว่อหมากหวาย | มีอีกหลายหมากไฟหมากส่าน | |||||||
สุกคาฮ้านแตงจิงแตงโม | ปาดทิโทหลายซายหลับแล้ว | |||||||
ได้หน่วยแก้วพระอินทร์พระพรหม | อมนะโมพุทธโธเป็นเค้า | |||||||
ขอให้เจ้าใหญ่กล้าหน้าบาน | เป็นทหารมีฤทธิ์มีเดช | |||||||
ในขงเขตให้ซ่าให้ลือ | อื้อ ฮึ อือ ฮึ อื้อ ฮึ อือ ฯ | |||||||
--------------------------- | ||||||||
กินนรรำ | ||||||||
แบบจากประชุมจารึกวัดพระเชตุพน ลักษณะเด่นคือกำหลดให้คำแรกของจังหวะกลอนใช้ลหุ | ||||||||
คือคำที่ 1 4 และ7 (กลอน 9) อีกสองคำในจังหวะให้สัมผัสพยัญชนะกัน ระหว่างจังหวะให้ | ||||||||
มีคำสัมผัสสระกันแบบสัมผัสแทรก | ||||||||
O=พระหากหวนพระนวลนึกพระตรึกติด.... | .คะนึงนิจก็คิดใคร่จะให้หวน | |||||||
จะงอยเหงาจะเศร้าซมจะขมควร | เสาะสืบสวน มิรวนเรจะเหว่ไว | |||||||
จะเยี่ยมยามจะถามถึงก็พึงพร้อม | พระอ้อมอ้อนพระกรกาง ก็ครางไข | |||||||
ก็สามทรงก็คงคาคะลาคะไล | เสด็จได้ไสวสว่าง พะพร่างพรม | |||||||
ประทับถ้ำประจำจักประทักเทิด | ก็ก่อเกิดประเสริฐสิทธิ์ ลิขิตขม | |||||||
ก็คิดคุณธปุนปลอบธชอบชม | ภิรมย์รักษ์พิทักษ์ธาตุพิลาสลาน | |||||||
ขมาหมายสลายโลดละโทษเทศ | เพราะหากเหตุเพราะเลศล่วงเพราะห้วงหาญ | |||||||
ลุถึงทัณฑ์จะพลันเพลินจะเนิ่นนาน. | ก็ทำทานประมาณไหม อภัยพลี ฯ | |||||||
----------------- | ||||||||
กลบทเลวงวางตรวจ จากประชุมจารึกวัดพระเชตุพน กำหนดให้แต่ละวรรค สามคำแรกสัมผัส | ||||||||
พยัญชนะ สามคำท้ายวรรคก็สัมผัสพยัญชนะ | ||||||||
O= กราบกรานก่อขอขมาลาลับแล้ว | ก่องเก็จแก้วแวววับสับแสงสี | |||||||
ซากศพสิ้นจินดามามวลมี | ทองถ้วนถี่มวลมากหลากเหลือแล | |||||||
ขอบคุณค่าตราตรึงซึ้งทรัพย์สรรพ์ | พ่อผูกพันหากให้ใคร่ครองแข | |||||||
คิดขนของทองแท่งแปลงปลอบแปร | พูนเพียบแพเรืองรุ่งมุ่งเมือเมือง | |||||||
สองเสกสร้างฮ่มขาวคราวครั้งไข | รังรองไร้อริรานลานแลเหลือง | |||||||
เฮือนหอฮ้านย่านยาวฮาวฮองเฮือง | ปองปุนเปลืองใจเตือนเงื่อนงดงาม | |||||||
สิงห์โตเล่นหาง จากกลบทศิริวิบูลย์กิตต์ กลอน 3 จังหวะ ให้สัมผัสสระแบบสัมผัสิดรอยต่อจังหวะ | ||||||||
2 กับ 3 ส่วนจังหวะ 1 กับ 2 ไม่บังคับ มีก็ได้ | ||||||||
กลอนแปด บังคับสัมผัสสระชิดช่วงกลางกับคำแรกช่วงท้ายวรรค เดิมกำหนดแค่นี้ | ||||||||
เติมเพื่อให้ไพเราะยิ่งขึ้น สัมผัสสระ คำที่ 3 กับ คำที่ 4 วรรคแถวหน้า | ||||||||
O= สองครองเมืองเรืองรุ่งคุ้งเขตแขวง | ฮ่มขาวแกร่งเกรียงไกรใครก็ขาม | |||||||
ชุมชนรักภักดีมีใจตาม | สุขสมสามโลกลือชื่อกำจร | |||||||
วรจิตท้าวจ้าวราชอาจองนัก | นางหล่าอัครเทวีศรีสมร | |||||||
สุขสืบสานนานเนิ่นเพลินบวร | ประชากรชื่นชมนิยมการณ์ | |||||||
ตอนสุดท้ายหมายจบครบเนื้อหา | พรรณนาถ้วนครบจบตอนสาร | |||||||
ขอบพระคุณอุ่นใจได้เบิกบาน | พระคุณท่านมากได้ให้พลัง | |||||||
ขอขมาลาโทษโปรดอย่าขึ้ง | ล่วงเกินถึงผู้ใดในแผนผัง | |||||||
เล่าผิดพลาดคาดไว้ไม่ระวัง | ลดโทสังอภัยข้อยผู้น้อยเทอญ ฯ | |||||||
240617 | ||||||||
สรุป | ||||||||
42 กลบท + 1 เพลงกล่อมลูก รวม 290 คำกลอน จำนวนกลบทที่ใช้ / ความยาวบท | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 1 โพสเมื่อ.....9/9/2558..... 13/78 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 2 โพสเมื่อ.....19/9/2558.....4/24 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 3 โพสเมื่อ.....3/10/2558..... 3/18 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 4 โพสเมื่อ.....3/10/2558..... 3/18 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 5 โพสเมื่อ.....ข้ามไป6เลยไม่มี5 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 6 โพสเมื่อ.....6/10/2005..... 3/18 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 7 โพสเมื่อ.....7/10/2558.....3/18 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 8 โพสเมื่อ.....8/10/2558.....3/22 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 9 โพสเมื่อ.....9/10/2558..... 3/18 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 10 โพสเมื่อ.....10/10/1558.....3/24 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 11 โพสเมื่อ.....11/10/2558.....3/20 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนที่ 12 โพสเมื่อ.....12/10/2558..... 4/28 | ||||||||
นางผมหอมกลกลอนตอนจบ โพสเมื่อ.....13/10/2558.....2/14 | ||||||||
เริ่มแต่ง 5 กันยายน 2558 โพสครั้งแรก 9 กันยายน 2558 ครั้งสุดท้าย 13 ตุลาคม 2558 | ||||||||
รวม 25 + 13 = 38 วัน | ||||||||
สรุปใช้ 46 กลบท 1 เพลงกล่อมลูก ความยาว 300 คำกลอน 150 บท |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น