........ ปี 2558 ผมฝึกแต่งโคลงสุภาพ โคลงดั้น จนรู้สึกว่าสามารถแต่งได้ เลยอยากลองแต่งชนิดที่มันยุ่ง
ยากมากกว่าปกติ พอดีไปเห็นโคลงจารึกวัดพระเชตุพน ฯ อ่านดูแล้วหลายชนิดเราน่าแต่งได้ เลยเลือกเอาแบบที่คิดว่าไม่ยากเกินไปมาฝึกแต่ง เนื้อหาชอบนิทานพื้นบ้าน เอาศรีธนัญชัยสำนวนอีสาน ที่เรียกนิทานเซียงเหมี่ยง ซึ่งมีเนื้อหาเป็นตอน ๆ คล้ายนิทานอีสป เช่นเคยครับ บันทึกไว้ในคอม มีเวลาก็หยิบมาอ่านตรวจทาน ช่วงนี้กำลังทำเวบบลอกด้วย เลยเอานิทานศรีธนนชัย อัพตอนแรกยาวสัก 150 บท ก็บอกกล่าวก่อนนะครับว่า ฝึกแต่ง ท่านผู้รู้เห็นข้อบกพร่องจะชี้แนะ ก็ยินดีรับฟังครับ
ยากมากกว่าปกติ พอดีไปเห็นโคลงจารึกวัดพระเชตุพน ฯ อ่านดูแล้วหลายชนิดเราน่าแต่งได้ เลยเลือกเอาแบบที่คิดว่าไม่ยากเกินไปมาฝึกแต่ง เนื้อหาชอบนิทานพื้นบ้าน เอาศรีธนัญชัยสำนวนอีสาน ที่เรียกนิทานเซียงเหมี่ยง ซึ่งมีเนื้อหาเป็นตอน ๆ คล้ายนิทานอีสป เช่นเคยครับ บันทึกไว้ในคอม มีเวลาก็หยิบมาอ่านตรวจทาน ช่วงนี้กำลังทำเวบบลอกด้วย เลยเอานิทานศรีธนนชัย อัพตอนแรกยาวสัก 150 บท ก็บอกกล่าวก่อนนะครับว่า ฝึกแต่ง ท่านผู้รู้เห็นข้อบกพร่องจะชี้แนะ ก็ยินดีรับฟังครับ
ขุนทอง ศรีประจง
หมายเหตุ เซียงเหมี่ยงคำโคลง ชุดที่ 1 ความยาว 20 ตอน โคลงบทที่ 1 - บทที่ 201
นิทานเซียงเหมี่ยง ตอนที่ 1 กำเนิดบักเหมี่ยง
..........คนอีสานชอบนิทานเซียงเมี่ยง เหมือนคนไทยกลางชอบศรีธนญชัย แถมเรื่องราวในตำนานยังคล้ายกันอีก ไม่รู้ใครลอกเลียนใคร หรือมันเป็น เรื่องเดียวกันก็ไม่ทราบได้ หัดเขียนโคลงกลบท จะลองเล่าเรื่องเซียงเมี่ยงดู เพราะมีเรื่องราวน่าสนใจดี ตอนแรกกล่าวถึงกำเนิดเซียงเมี่ยง ตอนท้องแม่ฝันว่า ได้กินขี้เหยี่ย เลยได้ชื่อว่า บักเหมี่ยง บักขี่เหมี่ยงนั่นแหละ แต่งด้วย โคลงกลบทบทช้างประสานงา กำหนดให้สองคำท้ายบาทสัมผัสพยัญชนะกับสองคำแรกในบาทถัดไป ต่อเนื่องไปจนจบความ
1
|
O=ทวาลีหนึ่งนั้น
|
นามเมือง
| ||
นานมากชนลาวเรือง
|
รุ่งแล้ว
| |||
รวยหลากทรัพย์ประเทือง
|
ทุกที่
| |||
ทุกถิ่นดินดั่งแก้ว
|
ก่อเกื้อกสิกรรม
| |||
2
|
O=กสิกรทำปลูกข้าว
|
ในนา
| ||
นัยหนึ่งเป็ดไก่หา
|
เพาะเลี้ยง
| |||
เพราะแลเหล่างัวมา
|
เดินทั่ว
| |||
ดีทุ่งนาหญ้าเกลี้ยง
|
เด็กล้วนตามควาย
| |||
3
|
O=ตามความนายท่านผู้
|
ครองเมือง
| ||
คนมุ่งความรองเรือง
|
ถิ่นเวิ้ง
| |||
ทวาละประเทือง
|
นามท่าน
| |||
นายถิ่นชนเขาเซิ้ง
|
แซ่ซ้องบารมี
| |||
4
|
O=บางหมูสีหนึ่งบ้าน
|
ผัวเมีย
| ||
ผัวแม่ปลีคลอเคลีย
|
หมื่นดั้น
| |||
มาดึกหื่นฝันเพลีย
|
แปลกยิ่ง
| |||
ปลียิ่งตกใจกลั้น
|
ต่างแท้แปลกฝัน
| |||
5
|
O=ปลีใฝ่ฟันฝ่าสู้
|
คืนยาว
| ||
ขยะคอยเสาะสาว
|
ขุดค้น
| |||
ขบคำค่อยกลืนคราว
|
หิวยิ่ง
| |||
หากยิ่งกินอร่อยล้น
|
ขยะล้วนอร่อยดี
| |||
6
|
O=เอ็งดูปลีแปลกร้าย
|
ฤาไฉน
| ||
ฉันน่าถามโหรใย
|
แปลกแท้
| |||
ปางทายว่าดีใจ
|
หมอบอก
| |||
หมอบ่นมีลูกแล้ว
|
เลิศแล้วเกินคน
| |||
7
|
O=กลคิดฉลาดแล้ว
|
ลูกแก
| ||
เลิศกว่าใครจักแปร
|
เปรียบได้
| |||
ปุนดีเถิดดูแล
|
อาจพึ่ง แลนา
| |||
อาจแผ่บุญเทียบใกล้
|
อยู่ฟ้าเป็นดาว
| |||
8
|
O=ปลีดลคราวแต่นั้น
|
ครบกาล
| ||
คราก่อนคลอดยากวาร
|
ยิ่งแล้ว
| |||
ยลลูกยอดชายชาญ
|
ลูกแม่
| |||
ลองใหม่หาชื่อแห้ว
|
บ่ได้ถูกใจ
| |||
9
|
O=ทำจิตใสบักน้อย
|
ขยะพล
| ||
ขยะผ่องขยะรน
|
ขยะล้วน
| |||
ขยะหลากมิสน
|
มิชอบ
| |||
เหมี่ยงใช่เลยหมูอ้วน
|
ชื่อนี้เหมี่ยงชัย
| |||
10
|
O=เหมี่ยงชนนามที่อ้าง
|
ขยะสม
| ||
ขยับสูเกลียวกลม
|
ใช่แล้ว
| |||
ใช่เลยแม่ปลีปม
|
ฝันต่าง
| |||
ฝันแต่กินขยะแห้ว
|
เหมี่ยงนั้นคือสนิม
| |||
11
|
O=สนุกอิ่มอกแท้
|
เกิดมา
| ||
กรรมเหมี่ยงเลิศปัญญา
|
ต่างบ้าน
| |||
เต็มบุญเรื่องขัดหา
|
บักเหมี่ยง
| |||
บังหมอกมันเปิดต้าน
|
บอกได้ทุกอัน
|
นิทานเซียงเหมี่ยงตอนที่ 2
.....ท้าวเหมี่ยงเจริญวัยจนเจ็ดขวบมีน้องชายสองขวบกำลังซน แม่จึงให้ช่วยเลี้ยงเวลาแม่ไป ทำงานวันหนึ่งเล่นซนด้วยกัน น้องเลอะเทอะ แม่กลับมาจึงโดนด่า สั่งความดูแลน้องให้ดี ถ้าเลอะให้จับอาบน้ำล้างนอกในให้สะอาด เหมี่ยงทำตามจนต้องผ่าท้องควักใส้ออกมาล้าง เพราะน้องกินขี้ไก่ แม่กลับาพบว่าลูกคนเล็กตาย จึงด่าตีเหมี่ยง พ่อกลับมาโดนอีกชุด แถม ขับไล่จากบ้าน เหมี่ยงไปอาศัยหลวงตาที่วัดและสุดท้ายได้บวชเป็น เณรเหมี่ยง โคลงกลบทบท ซ้ำสองแสนง ลักษณะเฉพาะคือ คำแรกแต่ละบาทเป็นกระทู้ และให้มีคำซ้ำ 1 คู่ในแต่ละบาท
12
|
O=บัก หำเติบเติบกล้า
|
ใหญ่มา
| ||
เมี่ยง มักซนซนประสา
|
เด็กน้อย
| |||
เติบ โตยิ่งยิ่งพา
|
เดือดบ่อย
| |||
ใหญ่ ยิ่งเกินเกินถ้อย
|
จักถ้วนบรรยาย
| |||
13
|
O=ซน หลายพ่อพ่อต้อง
|
กังวล
| ||
ฉลาด ข่มข่มเหงคน
|
เดือดร้อน
| |||
แกม กดขี่ขี่คน
|
เข็ดหลาบ มันแล
| |||
โกง เก่งมันมันต้อน
|
พ่ายแพ้แก่มัน
| |||
14
|
O=วัย วันเจ็ดเจ็ดนั้น
|
ขวบงาน
| ||
เลี้ยง นุชยังยังคลาน
|
อ่อนน้อย
| |||
น้อง ยิ่งรำรำคาญ
|
ชวนเบื่อ
| |||
ชาย เล่นมอมมอมสร้อย
|
อ่อนล้าเหลือเกิน
| |||
15
|
O=แม่ เพลินเทียวเที่ยวแล้ว
|
กลับเฮือน
| ||
ด่า เมื่อลูกลูกเลือน
|
เลอะล้วน
| |||
บัก หำเหมี่ยงเหมี่ยงเหมือน
|
ปล่อยน้อง
| |||
เหมี่ยง บ่แลแลถ้วน
|
ถี่ถ้วนดูแล
| |||
16
|
O=บัก เหมี่ยงแม่แม่ข้า
|
งุนงง
| ||
เหมี่ยง บ่ปะประสงค์
|
ปล่อยน้อง
| |||
ห่า เล่นเลอะเลอะลง
|
โคลนเล่น
| |||
กิน ขยะแถมแถมร้อง
|
อยู่ได้ทั้งวัน
| |||
17
|
O= แม่ มันด่าด่าให้
|
เป็นพี่เขานา
| ||
สอน สั่งจำจำดี
|
บอกให้
| |||
ดู ตื่นหลับหลับมี
|
เลอะเล่น
| |||
น้อง เลอะอาบอาบได้
|
สะอาดล้วนนอกใน
| |||
18
|
O=จำ ใจจักจักต้อง
|
ดูแล
| ||
จับ มันอาบอาบแก
|
บักน้อย
| |||
น้อง กินขี่ขี่แหม
|
จำผ่า
| |||
ฟอก แต่เรียบเรียบร้อย
|
ควักใส้อย่างดี
| |||
19
|
O=นี่ ถามเหมี่ยงเหมี่ยงน้อง
|
อยู่ไหน
| ||
ถาม อยู่หลับหลับไหล
|
เล่าน้อง
| |||
หา อู่มิมิไกว
|
นอนแผ่
| |||
ลูก ดับมิมิร้อง
|
เหมี่ยงอ้ายลูกเวร
| |||
20
|
O=พ่อ แกโกรธโกรธขึ้ง
|
ขัดนัก
| ||
แม่ เจ็บปวดปวดจัก
|
ดับดิ้น
| |||
ด่า ทอเจ็บเจ็บมัก
|
พาซื่อ
| |||
ตี เจ็บมือมือสิ้น
|
เหมี่ยงด้านอัปรีย์
| |||
21
|
O=โดน ตีพ่อพ่อกล้า
|
ลงมือ
| ||
ถูก แม่ตบตบคือ
|
เจ็บช้ำ
| |||
ขับ ไสไล่ไล่ถือ
|
กรรมหนัก
| |||
ไล่ มันออกออกย้ำ
|
อยู่นี้มึงตาย
| |||
22
|
O=เหมี่ยง หายจากจากบ้าน
|
รอนแรม
| ||
เหมี่ยง เที่ยวหาหาแจม
|
ญาติบ้าง
| |||
ไป ทั่วหมดหมดแถม
|
เขาปล่อย
| |||
วัด แหล่งสุดสุดอ้าง
|
อยู่ด้วยหลวงตา
| |||
23
|
O=ช่วย ตากิจกิจล้วน
|
แลขยัน
| ||
วัด กิจการการมัน
|
ช่วยได้
| |||
เฉลียว นักนักผัน
|
ยอดยิ่ง
| |||
กิจ คล่องอ่านอ่านไซร้
|
เก่งแท้คนชม
| |||
24
|
O=คม มากเณรเณรน้อย
|
เจริญวัย
| ||
ฉลาด อรรถอรรถไว
|
ช่างรู้
| |||
ปราชญ์ เชิงเชี่ยวเชี่ยวไข
|
สอดส่อง
| |||
เปรื่อง ยิ่งตาตาสู้
|
จัดให้บวชเณร
| |||
นิทานเซียงเหมี่ยงตอนที่ 3
....เนื้อเรื่อง จากนิทานพื้นบ้านอีสาน "เซียงเมี่ยง" ตอนสามเณรเหมี่ยงเล่น ปริศนาคำทายกับญาติโยมชาวบ้านที่มาช่วยงานวัด เวลาพักเหนื่อยก็เล่นทาย ปริศนากัน ภาษาอีสานเรียก "ทวย"ก็คือ ทายนั่นเอง
โคลงกลบทบท ธงนำริ้ว กำหนดให้มีคำยมกหรือคำซ้ำนำหน้าทุกบาท
25
|
O= โยมโยมมาวัดค้าง
|
แรมกัน
| ||
ช่วยช่วยเตรียมกิจสรรค์
|
จัดสร้าง
| |||
ของของสักการวัน
|
ฟังเทศน์
| |||
เรื่องเรื่องพระเวสส์อ้าง
|
เสกสร้างทางโพธิ์
| |||
26
|
O=ดอกดอกโนถาดย้อม
|
หลากสี
| ||
เชือกเชือกชุบกาวมี
|
แต่ด้าย
| |||
คลุก ๆเกาะดูดี
|
เม็ดแน่น
| |||
ขาวขาวเม็ดข้าวคล้าย
|
เกาะเส้นแลลาน
| |||
27
|
O=สานสานนกมะพร้าว
|
ใบงาม
| ||
นั่นนั่นปลาสานยาม
|
แกว่งห้อย
| |||
มันมันว่ายติดตาม
|
ชวนชื่น ชมแล
| |||
พ่อพ่อตาแกร้อย
|
แต่งให้งดงาม
| |||
28
|
O=ยายยายยามอวดอ้าง
|
ฝีมือ
| ||
นี่นี่ธงทิวคือ
|
สอดสร้อย
| |||
ตกตกแต่งเขาลือ
|
งามยิ่ง
| |||
ดั่งดั่งวงกตน้อย
|
แวดล้อมศาลา
| |||
29
|
O=พักพักกันก่อนได้
|
คืนเรือน
| ||
เหมี่ยงเหมี่ยงเณรมาเยือน
|
ชอบแท้
| |||
ชวนชวนนั่งลองเตือน
|
เณรท่าน
| |||
ว่าว่าเก่งทวยแล้ว
|
อยากให้ลองดู
| |||
30
|
O=สูสูเงียบหน่อยตั้ง
|
ใจฟัง
| ||
แม่แม่มันเสียงดัง
|
อี่อี้
| |||
ลูกลูกเบ่งจนพี
|
ตันหลั่น
| |||
ตอบตอบหมูเหมี่ยงชี้
|
ผิดแล้วต่อไป1
| |||
31
|
O=ใครใครเห็นอี่น้อย
|
ลอดขอน แลนา
| ||
แปลกแปลกลากไปตอน
|
ต่อใส้
| |||
มดมดกะปอมนอน
|
ลากนั่น แลนา
| |||
ว่าว่าผิดบ่อใกล้
|
อุบไว้เณรเฉย2
| |||
32
|
O=เฮ้ยเฮ้ยหญิงฝ่าได้
|
มากมาย
| ||
นิดหน่อยหากพ่อชาย
|
เก็บได้
| |||
เด็กเด็กปะเปือยหาย
|
หมดท่า
| |||
บ่บ่มีทางใกล้
|
สักน้อยคือใคร3
| |||
33
|
O=อะอะไรเอ่ยนั้น
|
อยู่พง
| ||
นวดนวดดินประสงค์
|
แต่งถ้วย
| |||
อีกอีกอยู่ริมดง
|
สานข่าย มองแล
| |||
อยู่อยู่หนองคลองห้วย
|
อวดก้นกองกล4
| |||
34
|
O=เงียบงียบคนบู่ฮู้
|
ตอบคำ
| ||
ต่อต่อตัวไรกรรม
|
เรื่องขี้
| |||
วันวันหลับนอนจำ
|
มืดอึแลนา
| |||
ต่ำต่ำอึสูงชี้
|
อย่างนี้ตัวอะไร5
| |||
35
|
O=ไผไผขาสี่ตั้ง
|
ธรณี (เหยาะหย่อง)
| ||
ปากปากคาบงามี
|
เบิ่งฟ้า
| |||
ใครใครบอกมาที
|
เก่งแน่
| |||
เงียบเงียบณรเหมี่ยงท้า
|
ต่างจ้องวิงวอน6
| |||
36
|
O= ยอมยอมโยมมืดแท้
|
ปัญญา
| ||
ช่วยช่วยเฉลยนา
|
ข่อยแพ้
| |||
บอกบอกช่วยกันหา
|
ของอร่อย
| |||
ก่อนก่อนจักบอกแก้
|
ทุกข้อสบายใจ
|
เฉลย(1) สาวเข็นฝ้าย เหล็กไนจะม้วนเส้นด้ายทำให้ดูโตขึ้น ๆ อีสาน เรียกว่า มัน พี คือมันอ้วนขึ้น ลั่นตั้น ๆ เป็นคำสร้อยของคำว่า พี
(2) กระสวยทอผ้า จะลากเส้นด้ายลอดเครือหูกไปมาจนกว่าจะทอเสร็จ เหมือนลากใส้ลอดโพรงไป-มา
(3) ดงหญ้าเจ้าชู้กำลังเมล็ดแก่ หญิงสาวนุ่งผ้าถุงเดินผ่านได้มาเยอะมาก ผู้ชายกางเกงขาสั้นฝ่าไปติดนิดหน่อย เด็ก ๆ ไม่นุ่งผ้าไม่ติดซักเม็ด
(4) มดริ้นเวลาฝนจะตกมันช่วยกันแต่งปากรูคล้ายถ้วย แมงย่างชิ้น (แมงมุมป่า) ชักใยคล้ายตาข่าย และหอยขมในหนองก้มปากเดิน หากินก้นชี้ฟ้า
(5) กลางวันนอนกลางคืนขี้= กระต่าย นอนต่ำขี้สูง = ไส้เดือน
(6) ตะข้องเขาตอกไม้ทำขา สี่มุม ตั้งไม่ล้ม ปากมีงาเสียบไว้
นิทานเซียงเหมี่ยงตอนที่ 4 ปริศนาคำทาย ต่อ
คำทวยเณรเหมี่ยงยังอยู่อีกหลายคำทวย จึงจะยกมาเขียนต่อด้วยโคลงกลบทบท มอมเขมือบหาง อีกสักตอนก็คงพอ ดังต่อไปนี้ โคลงกลบทบทมอมเขมือบหาง กำหนดให้ใช้สองคำท้ายบท ไปเริ่มบาทแรกบทถัดไป
37
|
O=อะไรหว่าเฒ่านั้น
|
สองคน
| ||
นั่งอยู่ไกลกันกล
|
ฟากยุ้ง
| |||
ปีเดือนผ่านไปจน
|
นานเนิ่น
| |||
ยังบ่เคยเห็นฟุ้ง
|
อยู่ใกล้นิดเดียว
| |||
38
|
O=นิดเดียวเณรตอบได้
|
ใบหู
| ||
ตาเฒ่ายอมเณรดู
|
เก่งแท้
| |||
เณรทวยแม่นหยังสู
|
ยามนั่ง
| |||
หัวสูงกว่ายืนแก้
|
บ่ได้ถูกตี
| |||
39
|
O=ถูกตีตาเฒ่าแพ้
|
พี่เณร
| ||
สาวหนุ่มเขาฮาเวร
|
พ่อข้า
| |||
เณรบอกว่าหมาเกณฑ์
|
มานั่ง
| |||
ยื่นมั่งจริงเจียนบ้า
|
นั่งแล้วหัวสูง
| |||
40
|
O=หัวสูงตาเฒ่าบ้าง
|
ลองทวย
| ||
หยังก่อหางมันสวย
|
อยู่ใต้
| |||
ฮูดากทับหางงวย
|
งงนั่น
| |||
ยืนก็เหมือนเดิมไซร้
|
อยู่ใต้ดากแล
| |||
41
|
O=ดากแลเณรว่านั้น
|
หางกระเบน
| ||
ยามเหน็บลอดตูดเกณฑ์
|
อย่างนั้น
| |||
มันหลุดน่ากลัวเวร
|
โหลยโท่ย
| |||
ตาเฒ่ายอมกระชั้น
|
ถูกแล้วคุณเณร
| |||
42
|
O=คุณเณรทวยว่าให้
|
ลองฟัง
| ||
สับหนึ่งพีสับพัง
|
ดั่งอ้าง (สับพี สับพัง)
| |||
ดังวาคุชราพัง
|
มิอยู่ คาแล (ดังวา คุชรามิคา)
| |||
นับสี่คำลองล้าง
|
เก่งเจ้าลองดู
| |||
43
|
O=ลองดูตาเฒ่าให้
|
มืดมน
| ||
ยอมพ่อเณรฉันจน
|
จอดแต้ม
| |||
สับพีสับถูกคน
|
เขาบอก
| |||
คางคกมันพองแง้ม
|
บอกให้คงเห็น
| |||
44
|
O=คงเห็นสับฝั่งห้วย
|
มันพัง
| ||
จมูกคชพลายพัง
|
ยื่นได้
| |||
เกินวาแน่คือดัง
|
ยาวยิ่ง
| |||
คุชราเก่าไซร้
|
ใส่น้ำบ่คา
| |||
45
|
O=บ่คาทวยแบบนี้
|
ยอมเณร
| ||
ตาเฒ่ายอมรับเวร
|
จัดพร้อม
| |||
ภัตตาแต่งถวยเกณฑ์
|
ยอดเยี่ยม
| |||
เณรเหมี่ยงโยมแวดล้อม
|
แซ่ซร้องชมเชย
|
ตอนที่ 5 หลวงตากินขี้หมา
เนื้อหาย่อ ๆ หลวงตาไปธุระให้เณรเหมี่ยงเฝ้าวัด คนเอาขนมมาถวายเยอะมากกินไม่ หมดเอาไปตกแห้งเพื่อเก็บไว้กิน เณรขยำข้าวต้มมัดขนมคลุกกันแล้วไปตาก ได้ขนมสี แปลก ๆ ยังกะขี้หมา เลยหยอดเล่นเป็นขี้หมาแห้ง กลับมาหลวงตาเห็นเลยลงโทษ ให้กินขี้หมาแห้ง เณรทำท่าไม่อยากกิน แต่จำใจกินจวนจะหมด หลวงตาสงสัยขอชิม บ้าง วันหลังเลยให้ปล่อยหมามาขี้ตามสบาย เณรจัดให้แต่ทำไว้กองเดียว หลวงตาไม่ กลับมาได้กินขี้หมาสมใจ
โคลงกลบทบทกาโกโลกนนัย กาเหลียวหลัง คำที่หนึ่งกับคำทีสี่เป็นคำซ้ำ นอกนั้นแต่งตามปกติ แบบแผนท่านจัดวาง คำเป็นรูปหน้าจั่ว สี่ ชั้น แต่ละชั้น เจ็ดคำ ชั้นล่างสุดคือบาทที่ 4 มี 9 คำ เลยยก
สองคำสุดท้ายไปปิดฐานลงตัวพอดี แต่เราแต่งวางแบบโคลงธรรมดา
46
|
O=หนึ่งกาลวันหนึ่งนั้น
|
ผ่านไป
| ||
ตาท่านบอกตาใจ
|
ต่อตั้ง
| |||
เดินทางจักเดินนัย
|
เมืองอื่น
| |||
เณรอยูวัดเณรยั้ง
|
อยู่เฝ้าเวรยาม
| |||
47
|
O=หมู่หมามากหมู่ขึ้น
|
กุฎี
| ||
ชอบเยี่ยวอึชอบมี
|
มากด้วย
| |||
ดูแลอยู่วัดตี
|
คอยไล่
| |||
ฉันกลับอยากฉันกล้วย
|
จักซื้อฝากแก
| |||
48
|
O=ขัดใจนักขัดข้อง
|
วังเวง
| ||
ดีหน่อยโยมดีเกรง
|
เหว่ว้า
| |||
ฟังเสียงใครฟังเพลง
|
ฟังแว่ว
| |||
มีแต่ของกินจ้า
|
จัดให้พ่อเณร
| |||
49
|
O=มากนักมันมากจ้า
|
ของขนม
| ||
ของห่อมัดของกลม
|
อย่างต้ม
| |||
ลางผัดใส่ลางชม
|
ชวนอิ่ม นักแฮ
| |||
วางใส่ถาดวางก้ม
|
ตากไว้คงดี
| |||
50
|
O=คลุกขนมเณรคลุกเคล้า
|
รวมกัน
| ||
ดำด่างแกมดำมัน
|
แปลกแท้
| |||
ต่างรวมก็ต่างยัน
|
กองแปลก
| |||
เหมือนขี้กองเหมือนแล้ว
|
อย่างนี้ขี้หมา
| |||
51
|
O=แห้งเหมือนกองแห้งพวก
|
หมาทำ
| ||
ชิมเล่นแซบชิมคำ
|
อร่อยแล้ว
| |||
ตาเถรผ่านตาจำ
|
เคยบ่อก
| |||
หมากห่าลืมหมากแห้ว
|
ปล่อยให้หมามา
| |||
52
|
O=กอบกินเอากอบให้
|
หมดกอง
| ||
กูสั่งลืมกูลอง
|
โทษให้
| |||
เณรกลัวสั่นเณรมอง
|
ตัวสั่น
| |||
กินบ่หยุดกินได้
|
เกือบสิ้นทุกอัน
| |||
53
|
O=แปลกใจเถรแปลกแท้
|
มันกิน
| ||
คงอร่อยมันคงชิน
|
หยุดน้อย
| |||
ขอลองหน่อยขอดิน
|
ปัดหน่อย
| |||
ชิมดั่งคำชิมอ้อย
|
เลิศล้นอร่อยเหลือ
| |||
54
|
O=หมดกันมันหมดแล้ว
|
เสียดาย
| ||
วันใหม่ปละวันยาย
|
อย่าเฝ้า
| |||
หมามาปล่อยหมาคาย
|
กองอึ
| |||
ตากหน่อยเณรตากเจ้า
|
แต่งให้ฉันกิน
| |||
55
|
O= จัดมาเณรจัดให้
|
กองเดียว
| ||
กลางแดดกรอบนักเชียว
|
หลีกเร้น
| |||
ตาเถรกลับตาเขียว
|
หมากห่า
| |||
มีหนึ่งกองมีเต้น
|
หลีกลี้กลัวกู
| |||
56
|
O=หนึ่งเดียวกินหนึ่งได้
|
สบายกู
| ||
กัดหนึ่งคำกัดดู
|
แปลกแท้
| |||
ขมนักหื่นขมชู
|
ชวนอยาก อ้วกแฮ
| |||
เณรแอบดูแสบแก้
|
เจ็บแก้ตาเถร
| |||
57
|
O=นี่มันหมานี่ขี้
|
ของจริง
| ||
เถรเฒ่าหยุดเถรติง
|
ป่วนท้อง
| |||
คายคืนค่อยคายวิง
|
เวียนยิ่ง กูเอย
| |||
มันหลอกกูมันต้อง
|
ตบให้มันตาย
|
ตอนที่ 6 หลวงพ่อ แยคันทัน ( ยันคันแท)
โยมที่แพ้เล่นคำทาย เขาเอาลาบเทามาถวาย หลวงตาแซบหลาย เลยถามเณร เณรเหมี่ยงหลอกว่าลาบขี้อ่อนงัว หลวงตาหูผึ่ง อยากได้มาลาบอีก ถามเณรว่าเขา เอามาจากไหน เณรว่าตอนเช้าวัวออกจากคอก มันจะไปขี้ที่นอกหมูบ้าน ไปดักล้วงเอา ตัวสองตัวก็พอลาบแล้ว หลวงตาเลยถูกเณรหลอกให้ไปล้วงตูดวัว จนเจ็บตัว เข็ดขี้แก่ขี้อ่อน หายอยากไปเลย แต่งด้วยโคลงกลบทพรางขบวน เอาแบบจากโคลงกลบทบทวัดพระเชตุพน ลักษณะเด่น คือ คำที่1 2 สลับที่เป็นคำที่ 3-4 ในแต่ละบาท
58
|
O=เจ้าเณรเณรเจ้าเล่า
|
หลวงตา
| ||
โยมเก่งเก่งโยมมา
|
ส่งให้
| |||
ลาบยิ่งยิ่งลาบหา
|
กินยาก แลนา
| |||
ทวยพ่ายพ่ายทวยไซร้
|
แต่งข้าวพ่ายทวย
| |||
59
|
O=ลาบเทาเทาลาบล้วน
|
สีเขียว
| ||
ปลาป่นป่นปลาเชียว
|
คลุกเคล้า
| |||
เขือขื่นขื่นเขือเขียว
|
หอมห่อ
| |||
ซดเร่อยอร่อยซดเจ้า
|
ยอดแท้ตาเถร
| |||
60
|
O=อะไรไรอะเจ้า
|
พ่อเณร
| ||
บอกเหมี่ยงเหมี่ยงบอกเถร
|
ยากแท้
| |||
ขี้อ่อนอ่อนขี้เลน
|
งัวเบ่ง ขี้แฮ
| |||
เดินออกออกเดินแก้
|
เมื่อเช้าออกเดิน
| |||
61
|
O=ปากทางทางปากเข้า
|
มาคาม
| ||
มันเบ่งเบ่งมันตาม
|
ติดเข้า
| |||
ทิ่มตูดตูดทิ่มยาม
|
มันเบ่งแลนา
| |||
กำแน่นแน่นกำเจ้า
|
อย่างนี้แน่นกำ
| |||
62
|
O=ท่านตาตาท่านเช้า
|
ไปรอ
| ||
มานี่นี่มาขอ
|
จับขี้
| |||
นั่นงัวงัวนั่นพอ
|
มันเบ่ง
| |||
มันแก่แก่แบบนี้
|
อย่าได้แบบแก่
| |||
63
|
O=เฒ่าเถรเถรเฒ่าย้าย
|
รีบไป
| ||
งัวเริ่มเริ่มงัวไว
|
เบ่งแล้ว
| |||
มือทิ่มทิ่มมือใน
|
ตูดนั่น
| |||
งัวตื่นตื่นงัวแห้ว
|
โลดเต้นตื่นงัว
| |||
64
|
O=ตูดงัวงัวดูดได้
|
บืบมือ
| ||
หลวงพ่อพ่อหลวงคือ
|
ลากไว้
| |||
ผ่านดินดินผ่านถือ
|
มิปล่อย
| |||
แผลแตกแตกแผลได้
|
เจ็บแท้แตกแผล
| |||
65
|
O=ห่วงตาตาห่วงให้
|
เรียกหา
| ||
มือปล่อยปล่อยมือตา
|
เรียกร้อง
| |||
มัวกดกดมัวมา
|
กำอยู่
| |||
แยหน่อยหน่อยแยจ้อง
|
บอกให้หน่อยแย (แยคันทัน)
| |||
66
|
O=ตกใจใจตกเต้น
|
คันทัน
| ||
งัวหล่นหล่นงัวมัน
|
ตกน้ำ
| |||
มือหลุดหลุดมือฉัน
|
เสียงอ่อย
| |||
กูเข็ดเข็ดกูช้ำ
|
เจ็บแท้เข็ดกู
| |||
67
|
O=ขี้อ่อนอ่อนขี้แก่
|
เข็ดกู
| ||
เอาบ่บ่เอาตู
|
หลาบแล้ว
| |||
กินบ่บ่กินสู
|
หายอยาก
| |||
โดนหน่อหน่อเณรแห้ว
|
หลอกได้หน่อเณร
|
ตอนที่ 7 หลวงพ่อหมากกะโต่น
หลวงพ่อจะไปบีณฑบาตแต่เช้ามืด สั่งเณรไว้ เห็นดาวเพ็กขึ้น ให้มาปลุก ซักเที่ยงคืน เณรเอาไต้ไปจุดไว้ที่หอระฆัง มองไปคล้ายดาวเพ็กขึ้น ลงมากุฎีหลวงตาตื่นมาเห็น ถามเอ็ง ไปไหนมา เณรชี้ไปทางหอระฆัง หลวงพ่อเห็นแสงไต้นึกว่าดาวขึ้นแล้ว รีบออกไปบิณฑบาต หมู่บ้านเงียบเดินไปไม่มีคนใส่บาตร ง่วงแอบไปหลับที่ค้างหมากฟักชาวบ้าน เช้ามืดเขาจะมา เอาฟักไปทำแกง ส่องพบหัวโนเลยจับบิด กลายเป้นบิดคอหลวงต่อ หลวงพ่อร้องตกใจ วิ่ง ไปคนละทางกับโยม
ใช้โคลงกลบทบทนาคโสณฑิ ได้แบบแผนจากจารึกวัดพระเชตุพน ผลงานขุนมหาสิทธิโวหาร
ลักษณะสำคัญคือ คำที่ 3 - 4 จะซ้ำกับคำที่ 6-7 โดยสลับที่( 4-3) เช่นนี้ในทุกบาท เว้นบาท
สุดท้ายต้องสลับย้อนไปถึงคำที่ 1
68
|
O=วีรเวรเณรเหมี่ยงนั้น
|
เหมี่ยงเณร
| ||
หลายหลากล้นเล่าเวร
|
เล่าล้น
| |||
เอาเปรียบแต่ตาเถร
|
ตาแต่ แลนา
| |||
มันแก่นบ้ายิ่งพ้น
|
ยิ่งบ้าแก่นมัน
| |||
69
|
O=วันหนึ่งตาบอกให้
|
บอกตา
| ||
ปลุกหน่อยเช้าแต่มา
|
แต่เช้า
| |||
โปรดสัตว์นั่นแลหนา
|
แลนั่น
| |||
เป็นว่าแล้วปลุกเจ้า
|
ปลุกแล้วว่าเป็น
| |||
70
|
O=ดาวเพ็กเห็นส่องนั้น
|
ส่องเห็น แลนา
| ||
จงปลุกข้าบอกเป็น
|
ปลุกข้า
| |||
จงจำอย่าลืมเย็น
|
ลืมอย่า เชียวนา
| |||
ดีปลุกเช้าตื่นถ้า
|
ตื่นเช้าปลุกดี
| |||
71
|
O=เณรมีใจทุกข์แท้
|
ทุกข์ใจ
| ||
ตื่นก่อนแล้วปลุกใคร
|
ปลุกแล้ว
| |||
ดาวเพ็กโผล่ยามใด
|
ยามโผล่
| |||
นอนนั่งจ้องมิแคล้ว
|
มิจ้องนั่งนอน
| |||
72
|
O=ตอนดาวมันโผล่ขึ้น
|
โผล่มัน
| ||
ตรงที่ใกล้ยอดนั่น
|
ยอดใกล้
| |||
ตรงตาลแน่ชิดกัน
|
ชิดแน่
| |||
ลองแอบข้างอยู่ไซร้
|
อยู่ข้างแอบลอง
| |||
73
|
O=ตะเกียงมองเรียบร้อย
|
เรียบมอง
| ||
ตีสี่แล้วจุดลอง
|
จุดแล้ว
| |||
บนหอนั่นแขวนกลอง
|
แขวนนั่น
| |||
พราวล่างนั้นลูกแก้ว
|
ลูกนั้นล่างพราว
| |||
74
|
O=ทำเป็นราวตื่นเช้า
|
สวดมนต์
| ||
ดังลั่นแกล้งสวดจน
|
กึกก้อง
| |||
หลวงตาตื่นเพราะคน
|
เพราะตื่น
| |||
โดนแน่เอี้ยมผ่อจ้อง
|
ผ่อเอี้ยมแน่โดน
| |||
75
|
O=ตะโกนเณรเหมี่ยงบ้า
|
เหมี่ยงเณร
| ||
ดาวโผล่แล้วบ่เกณฑ์
|
บ่แล้ว
| |||
บปลุกนี่เหมี่ยงเวร
|
เหมี่ยงนี่
| |||
เลยว่าได้อย่าแจ้ว
|
อย่าได้ว่าเลย
| |||
76
|
O=เคยตัวแกเกียจคร้าน
|
เกลียดแก
| ||
ดาวเพ็กโน้นนั่นแถ
|
นั่นโน้น
| |||
ไปละเที่ยวบิณฑ์แล
|
บิณฑ์เที่ยว
| |||
เพลินหลับช้าจักโพ้น
|
จักช้าหลับเพลิน
| |||
77
|
O=ตีสี่เดินรอบบ้าน
|
รอบเดิน
| ||
ใครตื่นบ้านักเกิน
|
นักบ้า
| |||
กลับวัดนั่นดาวเขิน
|
ดาวนั่น
| |||
ดูแปลกแล้วนิ่งฮ้า
|
นิ่งแล้วแปลกดู
| |||
78
|
O=ตะเกียวชูเกี่ยวห้อย
|
เกี่ยวชู
| ||
แลผ่านหน้าต่างดู
|
ต่างหน้า
| |||
เหมือนดาวเพ็กดาวกู
|
ดาวเพ็ก เหมี่ยงแฮ
| |||
ใจเจ็บแกล้งช่างบ้า
|
ช่างแกล้งเจ็บใจ
| |||
79
|
O=ง่วงนักนอนงีบข้าง
|
งีบนอน
| ||
พอตื่นข้าวแจกตอน
|
แจกข้าว
| |||
หลวงพ่อตื่นเร็ววอน
|
เร็วตื่น
| |||
มารีบแล้วอย่าห้าว
|
อย่าแล้วรีบมา
|
ตอนที่ 8 แบกกระทอเกลือ
....เล่าต่อตอนหลวงตาเทศน์เก่ง เขานิมนต์ไปเทศน์ที่หมู่บ้านอื่นได้ไทยทานมากมาย เณรเหมี่ยง
ต้องแบกหามกลับวัด ขณะหลวงตาขี่ม้าสบายใจ เณรแกล้งทำเป็นแบกด้วยความสุขหลับไปด้วย
จนหลวงพ่ออยากลองหลับสบายบ้าง ขอเปลี่ยนให้เณรขี่ม้าแทน เณรควบม้ากลับก่อน หลวงพ่อ
หนักแทนเณร
แต่งด้วยโคลงกลบทบทนาคบริพันธ์ ได้แบบอย่างจาก จารึกวัดพระเชตุพน ลักษณะเด่นคือ
กำหนดให้ ใช้สองคำสุดท้ายบาท สลับตำแหน่งแล้วนำไปใช้เป็นคำต้นของบาทต่อไป
80
|
O=หลวงตาเณรเหมี่ยงได้อยู่ครอง
| |||
ครองอยู่วัดเพียงสอง
|
เสกสร้าง
| |||
สร้างเสกก่อกิจกรอง
|
ก่อกิจ บุญเฮย
| |||
กิจก่องานวัดอ้าง
|
ร่วมสร้างการกุศล
| |||
81
|
O=กุศลการเทศน์อ้าง
|
มหาชาติ
| ||
ชาติมหาเวสส์คาด
|
เสร็จแล้ว
| |||
แล้วเสร็จแต่มิอาจ
|
พักก่อน
| |||
ก่อนพักคงมิแคล้ว
|
แต่นี้สัญจร
| |||
82
|
O=จรสัญชาติเทศน์บ้าน
|
อื่นมี
| ||
มีอื่นนิมนต์ดี
|
เทศน์บ้าง
| |||
บ้างเทศน์รับกัณฑ์สี
|
ยิ่งหลาก
| |||
หลากยิ่งไทยทานสร้าง
|
เหมี่ยงน้อยหาบหาม
| |||
83
|
O=หามหาบเกลือหนักแท้
|
แน่นทอ
| ||
ทอแน่นเณรแบกพอ
|
จักทิ้ง
| |||
ทิ้งจักด่าทนขอ
|
พักหน่อย
| |||
หน่อยพักหลวงตากลิ้ง
|
อย่างนี้ดีแล
| |||
84
|
O=แลดีเณรหนักแล้ว
|
แบกเดิน
| ||
เดินแบกมันมิเพลิน
|
แดดร้อน
| |||
ร้อนแดดเหนื่อยนักเกิน
|
ยากปลด
| |||
ปลดยากจำต้องย้อน
|
แบบนี้คงดี
| |||
85
|
O=ดีคงเดินหลับแกล้ง
|
หลับตา
| ||
ตาหลับมุดทอมา
|
ย่างย้าย
| |||
ย้ายย่างครอกครอกหา
|
หลับแน่
| |||
แน่หลับเณรมันร้าย
|
แน่แท้เพราะทอ
| |||
86
|
O=ทอเพราะตาขี่ม้า
|
ย่องนำ
| ||
นำย่องเณรหลับกรรม
|
แปลกไซร้
| |||
แล้วแปลกนั่งเหนื่อยจำ
|
ล่อเปลี่ยน
| |||
เปลี่ยนล่อเอาทอได้
|
จักได้หลับสบาย
| |||
87
|
O=สบายหลับนี่เจ้า
|
โข่งเณร
| ||
เณรโข่งหลับจริงเวร
|
ตื่นแล้ว
| |||
แล้วตื่นเปลี่ยนกูเถร
|
หลับมั่ง
| |||
มั่งหลับคงมิแคล้ว
|
เปลี่ยนบ้างซิเณร
| |||
88
|
O=เณรซิซิอย่าได้
|
ก่อกวน
| ||
กวนก่อคนฝันยวน
|
อยู่ได้
| |||
ได้อยู่ท่านตารวน
|
โทษครับ
| |||
ครับโทษจักเปลี่ยนให้
|
ฝากให้ทอเกลือ
| |||
89
|
O=เกลือทอหลวงพ่อได้
|
แบกดู
| ||
ดูแบกอยากหลับตู
|
ยากแท้
| |||
แท้ยากพ่อเณรชู
|
ขับขี่
| |||
ขี่ขับมันเก่งแล้ว
|
หวดม้าออกเดิน
| |||
90
|
O=เดินออกมันเฆี่ยนม้า
|
ปากบ่น
| ||
บ่นปากหยุดหยุดวน
|
อย่าพริ้ว
| |||
พริ้วอย่าแล่นรอคน
|
อยู่นี่
| |||
นี่อยู่หลวงตากริ้ว
|
หวดแส้นะเออ
| |||
91
|
O=เออน่ะบอกหยุดไว้
|
แต่ตี
| ||
ตีแต่เริ่มเดิมที
|
หวดม้า
| |||
ม้าหวดวิ่งหลบหนี
|
หลวงพ่อ
| |||
หลวงพ่อแบกทอล้า
|
ยากแท้หลับนอน
| |||
92
|
O=นอนหลับเดินแบกหิ้ว
|
หนักเกลือ
| ||
เกลือหนักหลับยากเหลือ
|
พ่อเจ้า
| |||
เจ้าพ่อถูกเณรเถือ
|
บาดเจ็บ
| |||
เจ็บบาดเณรหลอกเข้า
|
ขี้ม้าหนีไป
|
ตอนที่ 9 ลงโทษปลามันแอบลักกินเกลือ
หลวงตาแบกทอเกลือหนักและเหนื่อย หาที่ซ่อน แกเอาไปซ่อนในแอ่งน้ำข้างทาง กลับมาวัด
ชวนเณรไปเอาเกลือ เหลือแต่กระทอเปล่า เณรหลอกว่าปลากินหมด บังคับเณรวิดน้ำ น้ำงวดมีแต่
ปลาดุก เณรทำท่าตบบ้องหูมัน ด่าไป หลวงพ่อเอาบ้าง แต่ดันตบจริง ๆ โดนเงี่ยงปลาปัก ปวด
อยู่หลายวัน
แต่งด้วยโคลงกลบทบทบุษบงแย้มผกา แบบอย่างจากลิลิตยวนพ่าย ลักษณะเด่นคือ ใช้คำเดียวเป็น กระทู้ทุกบาท ทุกบท
93
|
O=พ่อหลวงใจเจ็บเจ้า
|
เหมี่ยงเณร
| ||
พ่อแบกทอเกลือเวร
|
หนักล้น
| |||
พ่อหาที่ซ่อนเกณฑ์
|
ลับแหล่ง
| |||
พ่อเบื่อหายากพ้น
|
ซ่อนไว้ไหนดี
| |||
94
|
O=พ่อเห็นมีแอ่งน้ำ
|
พอใจ
| ||
พ่อซ่อนทอเกลือใน
|
บ่อนี้
| |||
พ่อฉลาดนักไง
|
กูนี่
| |||
พ่อกลับวัดรีบชี้
|
เหมี่ยงน้อยรีบมา
| |||
95
|
O=พ่อพาไปแบกก้ำ
|
เกลือกัน
| ||
พ่อว่าเอ็งเร็วพลัน
|
อย่าช้า
| |||
พ่อมาเร่งเดินดัน
|
ถึงแอ่ง
| |||
พ่อพบทอเปล่าบ้า
|
แบบนี้เกลือหาย
| |||
96
|
O=พ่อคลายใจเหมี่ยงเว้า
|
ปลากิน
| ||
พ่อเชื่อปลาพาลหิน
|
โหดแท้
| |||
พ่อคิดจักเอาภินทน์
|
พังแน่
| |||
พ่อจักวิดจับแล้
|
บอกให้โทษทัณฑ์
| |||
97
|
O=พ่อเณรคันโซ่โน้น
|
เถียงนา
| ||
พ่อช่วยยืมเขามา
|
วิดน้ำ
| |||
พ่อเณรรีบกลับมา
|
รีบหน่อย
| |||
พ่อเฒ่าบอกเณรย้ำ
|
วิดน้ำจับปลา
| |||
98
|
O=พ่อตาคันโซ่นั้น
|
คือไร แลนา
| ||
พ่อเหมี่ยงคันโพงไง
|
ท่านรู้
| |||
พ่อเณรเร่งกลับไว
|
วิดช่วย กันแล
| |||
พ่อเหมี่ยงจับปลาสู้
|
วิดแห้งหนอเวร
| |||
99
|
O=พ่อเณรจับช่อนได้
|
ตบหู
| ||
พ่อแม่ลักเกลือตู
|
ตบให้
| |||
พ่อตาเฒ่าชอบดู
|
เหมี่ยงตบ
| |||
พ่อเฒ่าบอกเหลือไว้
|
ตบบ้างซีเณร
| |||
100
|
O=พ่อเณรจับช่อนสิ้น
|
หมดไป
| ||
พ่อบ่นเหลือดุกไง
|
นั่นแล้ว
| |||
พ่อ ตารีบครุบไว
|
ตบแหลก
| |||
พ่อเงี่ยงปักมิแคล้ว
|
แหกร้องโอดโอย
| |||
101
|
O=พ่อเณรหลวงพ่อร้อน
|
รีบกัน
| ||
พ่อ กลับเจ็บปวดมัน
|
หลอกแกล้ง
| |||
พ่อเฒ่าปวดหลายวัน
|
ใจเจ็บ
| |||
พ่อท่านเจ็บเณรแสร้ง
|
ใส่ให้หยูกยา
| |||
102
|
O=พ่อมึงตานี่แกล้ง
|
หลอกกู
| ||
พ่อ เหมี่ยงคงเห็นดู
|
อีกบ้าง
| |||
พ่อมึงเมื่อตาตู
|
เจ็บกว่ามึงเฮย
| |||
พ่อเจ็บปวดเกินอ้าง
|
บักบ้าเหมี่ยงเณร
| |||
ตอนที่ 10 หลวงพ่อโกรธแมลงวัน
......หลวงพ่อให้จับปลาดุกไปให้แม่ออกปิ้งมาจังหัน ถามข่าวหลวงพ่อหายปวดมือแล้วเขาก็ เอาปลาดุกย่างมาจังหันแต่เช้า หลวงพ่อไปบิณฑบาต อยู่แต่เณร เณรแต่งสำรับรอหลวงพ่อ เห็นปลาดุกย่างหอมน่ากิน เลยแอบชิมไปมาเหลือแต่หัวกับก้าง ตกใจกลัวหลวงพ่อดุด่า เลย แกะหนังและเศษก้าวกระจายใส่ถาด ปล่อยแมลงวันมาตอม เอาฝาชีครอบไว้ หลวงพ่อมาเปิด แมลงวันแตกหนีไปหมดเหลือแต่หัวกับก้างปลา เณรได้ทีเลยโทษแมลงวันกินปลาหมด หลวงพ่อ โกรธมาก วางแผนตบตีแมลงวันเพราะความแค้น
........แต่งด้วย โคลงกลบทบทกบเต้นไต่ระยาง จากโคลงกลบทบทวัดพระเชตุพน โดยกรมหมื่นไกรสรวิชิต .ลักษณะเด่นคือ แต่ละบาท แต่งโดยใช้พยัญชนะสลับเสียง 2 พยัญชนะตลอด เช่น บาทที่ 1 ใช้ น---ค บาทที่ 2 ใช้ ร--ห บาทที่ 3 ใช้ จ--บ บาทที่ 4 ใช้ ช---ป
103
|
O=ปลาดุกปักเด็ดป้อย
|
ด่าไป
| ||
เณรล่อแนะหลอกนัย
|
เล่นนั้น
| |||
งงนักเงี่ยงเหน็บไง
|
หนีบเงี่ยง
| |||
ปวดยิ่งปวดยังปั้น
|
อยู่ป้องยับเป็น
| |||
104
|
O=เจ็บนักจักนัดจ้อง
|
ในจิต
| ||
ปลาดุกปวดเด็ดปลิด
|
ดับป้อง
| |||
ครางไปใคร่ปลดคิด
|
ปลาเขื่อง นักแฮ
| |||
จับทอดจอดแท้จ้อง
|
ที่จ้องถูกใจ
| |||
105
|
O=บอกเณรบนนัดใบ้
|
นางบัว
| ||
มันย่างมึงอย่ามัว
|
อยู่โม้
| |||
ตอนเพลแต่งพาตัว
|
พอแต่ กูนา
| |||
เอาน่าอาเณรโอ้
|
หนึ่งอ้างเณรอวย
| |||
106
|
O=เขาย่างขางอยู่ข้าง
|
ยลเคียม
| ||
หอมมากหากมันเหียม
|
มาดให้
| |||
เณรล่อน่าลองเหนียม
|
ลองหน่อย
| |||
ชิมอีกชักอิ่มใช้
|
อวดใช้ออกเชิง
| |||
107
|
O=เศษปลาสุมปกสร้าง
|
ปมแสวง
| ||
มาหน่อยมานะแมลง
|
น่าม้าง
| |||
ยลตอมยิ่งตามแยง
|
ตอมใหญ่
| |||
เอากล่องแอบกวมอ้าง
|
กล่าวอ้างกลเอา
| |||
108
|
O=ยามเพลยลพ่อย้าย
|
เพียงผล
| ||
ยกกล่องอยากกินยล
|
กล่องโย้
| |||
เห็นแมงหากมืดหน
|
มันหึ่ง
| |||
ไล่ก่อนเหลือก้างโล้
|
กล่องล้วนก้างแล
| |||
109
|
O=เซียงเหมี่ยงซัดหมู่สร้าง
|
มากแสวง
| ||
มันย่องมายลแมง
|
อยู่ม้าง
| |||
ปลาหมดปล่อยมันแปลง
|
หมดเปล่า
| |||
คนไล่คงหลบค้าง
|
ไล่ขว้างหลีกคน
| |||
110
|
O=แมงวันมันว่าม้าง
|
เวียนมา
| ||
ลงก่อนลุยกินลา
|
ก่อนแล้ว
| |||
โทโสที่เสียท่า
|
ส่องโทษ
| |||
พึงตบพวกตายแผ้ว
|
ตบเพี้ยนเตียนภัย
|
ตอนที่ 11 หลวงพ่อแก้แค้นแมลงวัน
หลวงพ่อยังแค้นแมลงวันที่แอบกินปลาดุกเหลือแต่หัวกับก้าง ไล่แมลงวันผ่านมาวันหนึ่งยังไม่หาย
แค้น จึงคิดจะตีแมลงวัน พอดีมีตัวหนึ่งบินมาจับหน้าผาก เรียกเณรเอาไม้แม้มาตี เณรซัดอย่างแรงจนหัวทิ่ม หลวงพ่อสะใจมาก
แต่งด้วยกลโคลงจาตุรทิศ โดยหลวงชาญภูเบศร จากโคลงกลบทบทวัดพระเชตุพนลักษณะเด่นโคลงแบบนี้ คือคำที่ 1 - 3 และ 6 แต่ละบาทใช้คำซ้ำ บาทที่ 1 ว้ำคำ โก บาทที่ 2 คำ รส บาทที่ 3 คำ รัก บาทที่ 4 คำ อ่อน
111
|
O=โกรธนักโกรธมากด้วย
|
โกรธมัน
| ||
พวกหมู่พวกแมงวัน
|
พวกนี้
| |||
แอบลักแอบกินกัน
|
แอบอยู่
| |||
ตบแน่ตบจริงชี้
|
ตบให้แดยัน
| |||
112
|
O=ฝาแตะฝาตบให้
|
ฝาตี
| ||
รุกไล่รุกรอรี
|
รุกให้
| |||
หลบแมงหลบแตกหนี
|
หลบหลีก หายนา
| |||
อีกนี่อีกจับใต้
|
อีกใต้ตากู
| |||
113
|
O=เหมี่ยงมาเหมี่ยงนี่ไม้
|
เหมี่ยงตี
| ||
จับอยู่จับตามี
|
จับจ้อง
| |||
ตบเลยตบแหละซี
|
ตบเหมี่ยง
| |||
110
|
เหมี่ยงตบเหมี่ยงฟาดต้อง
|
เหมี่ยงแกล้งตบแรง
| ||
O=หัวทิ่มหัวเหวี่ยงล้ม
|
หัวซุน
| |||
ยอดเยี่ยมยอดเณรบุญ
|
ยอดแท้
| |||
กูเจ็บกูหัวหมุน
|
กูชอบ
| |||
พวกนี่พวกแสบแก้
|
พวกนี้ตบตี
| |||
115
|
O=โดนตบโดนเจ็บแท้
|
โดนดี
| ||
ชอบนักชอบใจมี
|
ชอบยิ้ม
| |||
เหมี่ยงมันเหมี่ยงพาที
|
เหมี่ยงชื่น ชมแฮ
| |||
ท่านพ่อท่านเก่งพริ้ม
|
ท่านแย้มอดทน
| |||
116
|
O=กูเก่งกูเยี่ยมแล้ว
|
กูสบาย
| ||
บ่เจ็บบ่ปวดคลาย
|
บ่หย้าน
| |||
เมื่อมันเมื่อมาหมาย
|
เมื่อจับ เณรเฮย
| |||
ตบโลดตบแรงต้าน
|
ตบได้ยินดี
|
ตอนที่ 12 พวกลาวเซียงหาบเหมี่ยง
เณรเดินไปเที่ยวเล่นยามบ่าย ๆ ที่ริมฝั่งน้ำ พบพวกแม่หญิงลาวเซียง หาบเหมี่ยงไปถวาย พระราชา มาถึงฝั่งน้ำ น้ำมันขุ่นมองไม่เห็นพื้นเลยไม่รู้น้ำลึกไหม พอเห็นเณรเลยร้องถามว่า น้ำ ลึกไหม เดินข้ามได้ปล่าว เณรบอกไม่ลึกดอกพอหยั่งถึงอยู่ แต่คงข้ามไม่ได้ เลยเกิดท้าทายกัน ถ้าข้ามได้เณรยอมสึกเป็นทาสรับใช้ ถ้าข้ามไม่ได้ขอยึดเหมี่ยงทั้งหมดเป็นของเณร พวกลาวลอง เอาไม้หยั่งดูก็รู้น้ำไม่ลึก เลยตกลงรับคำท้า แล้วพากันหาบเหมี่ยงลุยข้ามไป แล้วทวงสัญญา เณรให้สึกไปหาบเหมี่ยงช่วยเขา เณรบอกไม่เห้นข้ามได้ ดูสิเปียกทุกคน ถ้าข้ามได้จริงต้องไม่ เปียกน้ำซิ สุดท้ายก็แพ้เณร เสียเหมี่ยง เขาไปฟ้องพระราชา รับปากไถ่เหมี่ยงให้เป้นเงินห้าบาท
........แต่งด้วยกลโคลงดาวล้อมเดือน จากโคลงกลบทบทวัดพระเชตุพน แบบของกรมหมื่นนุชิตชิโนรส
ลักษณะเด่นคือ
1. คำแรกทุกบาทใช้คำเดียวกัน คือคำซ้ำ ใช้คำ ผล
2. คำที่ 2 กับ 3 เป็นคำยมก คือคำคู่ บุญ ๆ บาป ๆ สัตย์ ๆ เท็จ ๆ
117
|
O= พวก ลาวลาวจากโน้น
|
เมืองเซียง
| ||
พวกเขาเขาหาบเหมี่ยง
|
มาดพร้อม
| |||
พวกมุงมุ่งถวายเคียง
|
พญาท่าน
| |||
พวกลุลุฝั่งน้ำอ้อม
|
จักข้ามฉันใด
| |||
118
|
O=แลเห็นเห็นฝั่งโน้น
|
พี่เณร
| ||
แลเร่งเร่งถามเถร
|
ท่านนั้น
| |||
แลนี่นี่ลึกเกณท์
|
ใดพ่อ เณรเอย
| |||
แลข่วมข่วมยากกั้น
|
จักได้ไหมเณร
| |||
119
|
O=เณรยินยินตอบถ้อย
|
วางใจ
| ||
เณรบอกบอกขุ่นใน
|
แหล่งห้วย
| |||
เณรบ่บ่ลึกไป
|
ได้อยู่
| |||
เณรยากยากข่วมด้วย
|
บ่ได้ข่วมมัน
| |||
120
|
O=ลาวมองมองแค่นี้
|
สามวา
| ||
ลาวทิ่มทิ่มขอมา
|
หยั่งได้
| |||
ลาวบอกบอกธารา
|
นิดหน่อย
| |||
ลาวว่าว่าง่ายไซร้
|
ข่วมได้เชื่อลาว
| |||
121
|
O=เหมี่ยงยันยันบ่ได้
|
ดอกโยม
| ||
เหมี่ยงว่าว่าจักโทรม
|
น่าน้า
| |||
เหมี่ยงอย่าอยาข่วมโจม
|
จักจอด เจ็บนา
| |||
เหมี่ยงแหกแหกจริงบ้า
|
อย่าได้ข่วมกัน
| |||
122
|
O=เออข่วมข่วมบ่ได้
|
สงกา
| ||
เออหลอกกันหวา
|
แค่นี้
| |||
เออขันขันแข่งมา
|
เณรท่าน
| |||
เออเราเราข่วมได้
|
อยากได้ผ้าเณร
| |||
123
|
O=เณรฟังฟับตอบถ้อย
|
ตกลง
| ||
เณรหากหากพลาดตรง
|
ข่วมนั้น
| |||
เณรจักจักยึดปลง
|
หาบเหมี่ยง
| |||
เณรยึดยึดหมดซั้น
|
อย่างนี้ตกลง
| |||
124
|
O=เขาหาบหาบเหมี่ยงข้ามลำธาร
|
ลำธาร
| ||
เขาท่องท่องลุยลาน
|
ท่าน้ำ
| |||
เขาปลดปลดหาบหาญ
|
คุยต่อ
| |||
เขาว่าว่าเณรช้ำ
|
พ่ายแพ้พวกเรา
| |||
125
|
O=เณรถอดถอดออกให้
|
พวกเรา
| ||
เณรหล่อหล่อมิเบา
|
ใคร่รู้
| |||
เณรย่างย่างเปลือยเขา
|
ขำแน่
| |||
เณรอย่าอย่ารอสู้
|
เมื่อแพ้จำยอม
| |||
126
|
O=สูใยใยว่าข้า
|
จักยอม
| ||
สูนั่นนั่นแหละตรอม
|
เพราะแพ้
| |||
สูข่วมข่วมไหนดอม
|
ดูออก นาแม่
| |||
สูล่องล่องลุยแก้
|
ข่วมได้แบบไหน
| |||
127
|
O=คลองสามสามว่าได้
|
วาขวาง
| ||
คลองอยู่อยู่ตรงกลาง
|
ท่าข้าม
| |||
คลองใคร่ใคร่จักย่าง
|
มาข่วม ได้ฤๅ
| |||
คลองแค่แค่ลุยบ่ห้าม
|
อย่าโม้ข่วมมา
| |||
128
|
O=เออขาขาย่างย้าย
|
สี่วา
| ||
เออนั่นนั่นข่วมมา
|
ย่อมได้
| |||
เออแต่แต่สูพา
|
ลุยล่อง มาแฮ
| |||
เออเหมี่ยงเหมี่ยงยกให้
|
ย่อมได้แก่เณร
| |||
129
|
O=ลาวงงงงใช่แล้ว
|
ลุยธาร
| ||
ลาวบ่บ่ข่วมหาญ
|
ทักท้า
| |||
ลาวพ่ายพ่ายเณรผลาญ
|
หมดเหมี่ยง
| |||
ลาวเร่งเร่งผ่อหน้า
|
กราบเฝ้าราชา
|
ตอนที่ 13 ไถ่เหมี่ยง
พวกลาวเซียงไปร้องพระราชาว่าถูกเณรโกงเหมี่ยง ขอให้ช่วย พระราชาขอไถ่เหมี่ยงจากเณร เณรขอค่าเหมี่ยงห้าบาตรจึงจะยอม พระราชาตกลง แต่งด้วยโคลงกลบทจองถนน 1. คำที่ 1-2 ของแต่ละบาท สลับที่จะเป็นคำที่ 6-7 ในบาทเดียวกัน
130
|
O=ลาวเซียงหมดท่าแพ้
|
เซียงลาว
| ||
แล้วค่อยทูลเรื่องราว
|
ค่อยแล้ว
| |||
ช่วยโปรดแผ่เผือชาว
|
โปรดช่วย
| |||
ใช้เหมี่ยงหมดกันแห้ว
|
เหมี่ยงใช้หมดกัน
| |||
131
|
O=องค์ราชทรงสอบรู้
|
ราชองค์
| ||
ให้อยู่รอสืบตรง
|
อยู่ให้
| |||
เรียกหาหากประสงค์
|
หาเรียก
| |||
รู้ช่างแสบสันได้
|
ช่างรู้แสบสัน
| |||
132
|
O=ฟังความทรงรับรู้
|
ความฟัง
| ||
ถ้อยถี่ลางเซียงพัง
|
ถี่ถ้อย
| |||
ท่าเสียพ่ายเณรดัง
|
เสียท่า
| |||
ต้องไถ่ตามเณรน้อย
|
ไถ่ต้องตามเณร
| |||
133
|
O=เณรคำทูลกราบเท้า
|
คำเณร
| ||
ห้าบาทนิดหน่อยเกณฑ์
|
บาทห้า
| |||
ตกลงพ่อหลวงเวร
|
ลงตก ยอมแฮ
| |||
ให้จ่ายคืนเณรกล้า
|
จ่ายให้คืนเณร
| |||
134
|
O=เงินคำเต็มบาตรห้า
|
คำเงิน
| ||
ให้กลับหากพอเชิญ
|
กลับให้
| |||
เบิกเงินใส่บาตรเกิน
|
เงินเบิก แพงนา
| |||
ร้อยชั่งปัญจาไซร้
|
ชั่งร้อยปัญจา
| |||
135
|
O=ปัญญาเลิศนักแล้ว
|
ปัญญา
| ||
ท้าวแปลกเณรวิชชา
|
แปลกท้าว
| |||
จดจำอยู่นานมา
|
จำจด
| |||
เจ้าเหมี่ยงชอบกลจ้าว
|
เหมี่ยงเจ้าชอบกล
| |||
ตอนที่ 14 เซียงเหมี่ยงเก็บหมาก
บวชมาหลายพรรษาเณรเลยลาสิกขาบท หลวงพ่อไปฝากขุนนางให้ชุบเลี้ยง ต่อไปอาจได้ รับราชการ ขุนงายมีเซียงเหมี่ยงเป็นเด็กรับใช้ติดตามเสมอ ไปประชุมก็ตามนายไป นายขี่ม้า เซียงเดินตามหลัง ถือตะกร้าหมากของหล่นไม่เก็บจนถึงที่ประชุม นายถามหาไม่มีหมากเคี้ว โดนดุด่า สั่งความให้เก็บของที่ตกหล่นตามทาง วันหลังเลยเก็บมาหมดแม้แต่ขี้ม้าขี้งัว เลยถูก ปลดไปเป็นคนงานในไร่ในสวน
แต่งด้วยโคลงกลบทวนสมุทร แบบโคลงพระราชนิพนธ์ จากโคลงกลบทบทวัดพระเชตุพน
ลักษณะเด่นคือ แต่งโดยใช้คำที่ 2 ทุกบาทเป็นคำซ้ำ และคำที่ 6 ก็เป็นคำซ้ำ
136
|
O=บุญบวชคงสุดสิ้น
|
นับนาน
| ||
ตอนบวชปรีชาชาญ
|
นับรู้
| |||
ลาบวชน่าจะปาน
|
นับลาภ ยิ่งแฮ
| |||
เลิกบวชหมดบุญสู้
|
นับท้อถอดใจ
| |||
137
|
O=ตาท่านพาฝากให้
|
อยู่ดี
| ||
เป็นท่านขุนงายมี
|
อยู่ใกล้
| |||
กิจท่านช่วยธานี
|
อยู่ชิด วังแฮ
| |||
บอกท่านสอนเซียงให้
|
อยู่ข้างบอกสอน
| |||
138
|
O=ดีมากเซียงเหมี่ยงได้
|
จัดงาน
| ||
กิจมากในเรือนปาน
|
จัดห้อง
| |||
ในมากนอกมีการ
|
จัดแต่ง ยุ่งแฮ
| |||
อีกมากตามนายต้อง
|
จัดให้เหมี่ยงมัน
| |||
139
|
O=ประชุมนายขี่ม้า
|
ต่อตาม
| ||
ชุกชุมบ่อยนักยาม
|
ต่อต้อง
| |||
งานชุมวิ่งหอบหาม
|
ต่อส่ง นายแฮ
| |||
หมากชุมห่อหมากจ้อง
|
ต่อล้วนหลุดลง
| |||
140
|
O=ถึงที่นายอยากเคี้ยว
|
หมากแล
| ||
ของที่ฝากถือแก
|
หมากเคี้ยว
| |||
ดูที่หอบหายแถ
|
หมากหล่น
| |||
ยากที่จักหาเบี้ยว
|
หมากได้หล่นหาย
| |||
141
|
O=นายว่าดุด่าให้
|
มากคำ
| ||
กูว่ามึงจดจำ
|
มากไว้
| |||
หากว่าหล่นของกรรม
|
มากเก็บ หมดแฮ
| |||
อย่าว่าของเล็กให้
|
มากให้เก็บงำ
| |||
142
|
O=ขอรับจำจดไว้
|
ทุกอัน
| ||
เหมี่ยงรับคำนายสรรพ์
|
ทุกครั้ง
| |||
รอรับหล่นมามัน
|
ทุกอย่าง เก็บแฮ
| |||
เก็บรับกรวดหินตั้ง
|
ทุกสิ้นเก็บเอา
| |||
143
|
O=ขุนสั่งหิวหมากแล้ว
|
ส่งมา
| ||
นายสั่งมันจัดหา
|
ส่งให้
| |||
ตามสั่งเก็บหมดนา
|
ส่งท่าน
| |||
กรวดสั่งหินดินได้
|
ส่งแล้วทุกอัน
| |||
144
|
O=เจ็บนักมันนี่บ้า
|
บอกไป
| ||
ซื่อนักเถรตรงไป
|
บอกรู้
| |||
น่านักตบดีไหม
|
บอกอยู่
| |||
เก่งนักทำตามสู้
|
บอกสิ้นทำตาม
| |||
145
|
O=ควรที่เลือกเก็บบ้าง
|
หมากเซียง
| ||
อันที่เน่ามิควรเถียง
|
หมากบ้า
| |||
คนที่สอนยากเพียง
|
หมากนี่
| |||
ยากที่จักเทียบล้า
|
หมากน้อยยากสอน
| |||
ตอนที่ 15 เหมี่ยงเก็บหมากแค้ง
ทำงานบ้านทุกอย่างไม่ได้พัก เหนื่อยมาก พอจะพักเมียนายก็ใช้ไปเก็บหมากแค้งมากินกับ น้ำพริก เซียงเหมี่ยงไปสวน ปูผ้านอนใต้ต้นหมากแค้ง รอให้มันหล่นจะได้เก็บ จนเย็นก็ไม่หล่นซักลูก เมียนาย เห็นนอนเฉยอยู่ก็ถาม ทราบเรื่องก็เลยด่าจนไม่มีคำจะด่ามันได้อีก
แต่งด้วยโคลงกลบทรังนกกระจาบ ลักษณะเด่น คือ
........ แต่งโดยยกคำที่ 3 บาทแรก ไปตั้งต้นเป็นคำแรกของบาทที่ 2
........ ต่อไป คำที่ 3 บาทที่2 ใช้เป็นคำแรกของบาทที่ 3 ต่อไป
.........คำที่ 3 บาทที่ 3 ยกไปเป็นคำแรก บาทที่ 4
146
|
O=นับวันเซียงเหนื่อยล้า
|
กิจงาน
| ||
เซียงเหมี่ยงจักพักการ
|
สั่งแจ้ง
| |||
จักบอกเก็บผักทาน
|
กันหน่อย
| |||
เก็บที่สวนหมากแคว้ง
|
เก็บแล้วรีบมา
| |||
147
|
O=เหน็ดเหนื่อยจักขาดแล้ว
|
หนอใจ
| ||
จักรีบนักทำไม
|
เมื่อยล้า
| |||
นักเลงเหมี่ยงเร็วไว
|
ถึงที่
| |||
เหมี่ยงลาดลงปูผ้า
|
ใต้ต้นแอบนอน
| |||
148
|
O=ลมเอยช่วยพัดให้
|
แรงแรง
| ||
ช่วยปลิดผลลงแปลง
|
ที่นี้
| |||
ผลมันหล่นจักแฝง
|
เอากลับ แลนา
| |||
หล่นเร็วหน่อยเพื่อนซี้
|
จักร้องเพลงเพลิน
| |||
149
|
O=เช้าจนสายบ่ายคล้อย
|
เงียบงัน
| ||
สายบ่กลับเออมัน
|
เชื่องช้า
| |||
กลับนายออกตามกัน
|
ถึงที่
| |||
ออกแปลกมันคงบ้า
|
อยู่เฝ้ารอลม
| |||
150
|
O=ลมพัดหมากแคว้งหล่น
|
มีฤๅ
| ||
หมากนี่เกินไปครือ
|
ดั่งบ้า
| |||
เกินคนนี่นี่ชื่อ
|
บักเหมี่ยง
| |||
นี่ดุดุดุข้า
|
อยู่เฝ้ารอนาน
| |||
151
|
O=มันบอกเกรงผิดด้าน
|
คำนาย
| ||
เกรงเด็ดผิดสั่งตาย
|
แน่แล้ว
| |||
ผิดเกรงจึ่งรอสาย
|
มิหล่น
| |||
จึ่งอดใจมิแคล้ว
|
ชักช้าแม่นาย
| |||
ตอนที่ 16 ไปเชิญนายกลับบ้านกินข้าวต้มเปียก
เซียงเหมี่ยงรับใช้ในบ้าน วันหนึ่งขุนงาย ไปประชุมแต่เช้าไม่ได้ทานข้าวต้มเปียกเหมือน ที่เคย สายหน่อยภรรยาให้เซีงไปบอกว่า เสร็จประชุมให้รีบกลับบ้าน ไปกินข้าวต้มเปียก เมียรออยู่ สมัยนั้น ข้าวต้มเปียกหมายถึงอวัยวะเพศหญิง เลยฮาแตกกันทั้งวง ขนงายอายมากเลยสั่งสอน เป็นการให้ ให้มีมรรยาท บอกข่าวนายต้องค่อยพูดจา
.แต่งด้วย โคลงกลบทบทอักษรสลับล้วนแต่ละบาท มีคำสัมผัสพยัญชนะ 3 กลุ่ม ได้แก่ คำที่ 1...2 คำที่ 3...4...5 และคำที่ 6---7(8--9)
สัมผัสพยัญชนะ
152
|
O=หมากเหมี่ยงยังยอกย้อน
|
วีรเวร
| ||
รับเรื่องเก่ากลายเกณฑ์
|
อีกอ้าง
| |||
ยากยุ่งนับเนื่องเณร
|
วายวุ่น
| |||
แปรป่วนสับสนสร้าง
|
ท่วมท้นทุกข์ทน
| |||
153
|
O=นี่นายขุนคิดเข้า
|
กรมการ
| ||
ชุมเช่นเวรวันวาน
|
ตื่นเต้น
| |||
หิวโหยบ่เบิกบาน
|
ตามต่อ บอกนา
| |||
เสร็จสรรพรีบหลีกเร้น
|
เปิบป้อนเปียกปม
| |||
154
|
O=แต่งต้มเปียกเปียกป้อน
|
ขุนเขา
| ||
รีบเร่งตะเตรียมเตา
|
เร่าร้อน
| |||
จดจำเหมี่ยงมิเมา
|
มาดมั่น
| |||
เดินดุ่มรีบเร่งร้อน
|
ก่อนก้มกราบกราน
| |||
155
|
O=ขุนครับเมียแม่แม้น
|
ส่งสาร
| ||
เสร็จสรรพกลับกิจการ
|
อยู่เหย้า
| |||
ข้าวขาวแต่งต้มตาล
|
เปียกเปียก
| |||
รีบเร่งกลับกินเกล้า
|
บอกใบ้เบาเบา
| |||
156
|
O=ฮาฮาแตกตื่นต้อง
|
งมงาย
| ||
คืนค่ำลืมเหลือหลาย
|
ทักท้วง
| |||
การกิจที่ทำทาย
|
ลืมเล่น แลนา
| |||
เมียมั่นเลยลับล้วง
|
กลับแก้กลการ
| |||
157
|
O=ขุนเขาอึดอัดอ้าง
|
อับอาย
| ||
หมากเหมี่ยงคิดคำขาย
|
หน่ายหน้า
| |||
เบาบอกตบตีตาย
|
ขุนขู่
| |||
แหกเห่าบนบอกบ้า
|
ปากโป้งเป็นไป
| |||
158
|
O=ตักเตือนอย่าโยกโย้
|
คำควร
| ||
เบาบอกนิดนิ่มนวล
|
ว่าเว้า
| |||
อับอายหยาบยียวน
|
ละเล่า ดังแฮ
| |||
ซิบซาบคำควรเข้า
|
นอบน้อมนิ่มนวล
|
ตอนที่ 17 ไฟไหม้บ้าน
........เซียงเหมี่ยงปัดกวาดลานบ้าน เผาขยะ ไฟลามติด บ้านหลังหนึ่ง คุณนายใช้ไปตามขุนงาย มันไปถึง ที่นายประชุมอยู่ ก็ค่อย ๆเดินอย่างระมัดระวัง นายถามก็ค่อย ๆกระซิบบอก 3 ครั้งถึงรู้ว่าไฟไหม้บ้าน รีบ มาถึงไฟไหม้หมดไป 1 หลัง สอบถามตันเพลิงมันก็ไป
แต่งด้วยโคลงกลบท หิ่งห้อยชมสวน ลักษณะเด่น กำหนดให้แต่งคำที่ 1 และ 4 เป็นคำซ้ำเฉพาะในบาท
และคำที่ 2..3 ทุกบาทเป็นคำซ้ำ
159
|
O=เหมี่ยงรีบเร่งเหมี่ยงรู้
|
การเรือน
| ||
จัดรีบเร่งจัดเตือน
|
บ่ช้า
| |||
เผารีบเร่งเผาหมือน
|
สะอาดยิ่ง
| |||
ขยะรีบเร่งขยะกล้า
|
จ่อให้ไฟเผา
| |||
160
|
O=เหนื่อยจักพักเหนื่อยแล้ว
|
พักงาน
| ||
อยากจักพักอยากนาน
|
นั่งไซร้
| |||
พักจักพักพักขาน
|
หมากเหมี่ยง
| |||
ไฟจักพักไฟไหม้
|
ท่วมบ้านหมากเวร
| |||
161
|
O=รีบบอกข่าวรีบให้
|
ขุนมา
| ||
ไปบอกข่าวไปหนา
|
รีบด้วย
| |||
เตือนบอกข่าวเตือนว่า
|
ไฟแผด เผานา
| |||
นายบอกข่าวนายม้วย
|
หากช้ารีบไป
| |||
162
|
O=เหมี่ยงเร่งรัดเหมี่ยงฟ้าว
|
หานาย
| ||
รีบเร่งรัดรีบหาย
|
เรื่องร้อน
| |||
บอกเร่งรัดบอกหมาย
|
เรือนท่าน
| |||
ไฟเร่งรัดไฟซ้อน
|
ลุกไหม้เรือนนาย
| |||
163
|
O=ช่างอืดอาดช่างช้า
|
คำเตือน
| ||
เดินอืดอาดเดินเหมือน
|
เชื่องช้า
| |||
ถึงอืดอาดถึงหมือน
|
มาเที่ยว
| |||
รออืดอาดรอล้า
|
บอกแจ้งเรื่องไฟ
| |||
164
|
O=ข่าวค่อยค่อยข่าวแจ้ง
|
ท่านขุน
| ||
กาค่อยค่อยการุณ……
|
หน่อยเจ้า
| |||
เป็นค่อยค่อยเป็นจุน
|
ไฟแผดเรือน
| |||
มอดค่อยค่อยมอดเข้า
|
ท่านต้องรีบไป
| |||
165
|
O=เหตุใหญ่ยิ่งเหตุช้า
|
แจกแจง
| ||
ไฟยิ่งใหญ่ไฟแรง
|
อิ่งอ้อย
| |||
เผายิ่งใหญ่เผาแดง
|
เป็นถ่าน
| |||
เรือนยิ่งใหญ่เรือยน้อย
|
ค่าล้านวอดวาย
| |||
166
|
O=ท่านบอกกล่าวท่านได้
|
สั่งสอน
| ||
สารบอกล่าวสารตอน
|
หนึ่งนั้น
| |||
สังบอกกล่าวสังวร
|
สุภาพ
| |||
ค่อยบอกกล่าวค่อยกลั้น
|
อย่าได้ตะโกน
| |||
167
|
O=ข่อยถูกด่าข่อยร้อน
|
รายงาน
| ||
บอกถูกด่าบอกการ
|
กู่ร้อง
| |||
ข่าวถูกด่าข่าวท่าน
|
เห็นว่า อายแล
| |||
เหนื่อยถูกด่าเหนื่อยต้อง
|
เชื่องช้าแวดระวัง
| |||
ตอน 18 ยากินข้าวแซบ
ขุนงายเลี้ยงดูเซียงเหมี่ยน โดนเซียงเหมี่ยงแกล้งจนทนไม่ไหว นำไปถวายพระราชา พระราชาเคยรู้จักเดชตั้งแต่สมัยเกณสามเณรแล้ว เห็นว่าเป็นคนฉลาดจึงรับไว้เป็นหมาดเล็ก เซียงเหมี่ยงก็รับราชการทำงานดียังไม่มีปัญหาอะไร ส่วนพระราชาภารกิจยิ่งเหยิงด้วยข้อราชการมากมาย มีเวลาออกกำลังกายน้อย แต่มีของให้เสวยล้วนแต่ของดี ๆ ไม่นานก็อ้วนท้วนสมบูรณ์แต่ไม่แข็งแรง จนเป็นเหตุให้เบื่ออาหาร
มีคนหายา ดี ๆมาถวายก็ยังไม่ไดผล เสนาเหมี่ยงอาสาจะพาไปเอายาดี แต่ต้องเดินไปเอาเองมันอยู่ไกล พระราชาตกลงไปกับเสนาเหมี่ยง มันหลอกพระราชาเดินแต่เช้าจนบ่ายถึงยอดเขา มันเอาน้ำจากกระบอกไม้ไผ่ให้ดื่ม หอมหวานมากเพราะหิวจนตาลาย มันบอกดื่มยาแล้วกลับเถอะ พระราชาดีใจคิดว่าได้ดื่มยาดีแล้ว กลับวังบายมากแล้ว หิวจนไม่มีคำอธิบาย เขายกสำรับมาก็กินจนเกลี้ยงด้วยความเอร็ดอร่อย เสนาเหมี่ยงบอกเพราะไม่ได้ออกกำลังทำให้พระราชาเป็นโรคเบื่ออาหาร พระราชเห็นด้วย จะปรับปรุงเวลาทำงานและเวลาดูแลพระองค์
โคลงกลบทอักษรสลับล้วน
1. ใช้คำแรกเป็นคำซ้ำในทุกวรรค ในลักษณะโคลงกระทู้เดี่ยว
2. ใช้คำที่ 6-7 บาทแรก สลับที่มาเป็นคำที่ 2-3 ของบาทถัดไป
168
|
O=ขุน งายเข็ดเหมี่ยงบ้า
|
มากพิษ
| ||
ขุนพิษมากนักฤทธิ์
|
ดั่งบ้า
| |||
ขุนบ้าดั่งคนคิด
|
จนตรอก
| |||
ขุนตรอกจนหาญกล้า
|
ส่งให้ราชา
| |||
169
|
O=การ ราชามากล้น
|
ยิ่งนัก
| ||
การ นักยิ่งประจักษ์
|
ก่อนโน้น
| |||
การ โน้นก่อนมันกัก
|
หาบเหมี่ยง
| |||
การ เหมี่ยงหาบไถ่โพ้น
|
เหมี่ยงนั้นนี่เอง
| |||
160
|
O=ยิน ดีรับเหมี่ยงไว้
|
ราชกิจ
| ||
ยินกิจราชอาจคิด
|
ช่วยได้
| |||
ยินได้ช่วยพินิจ
|
ควรอยู่
| |||
ยิน อยู่ควรรับไว้
|
เหมี่ยงนั้นมีบุญ
| |||
161
|
O=ทำ การใจใส่ด้วย
|
ทนอด
| ||
ทำอดทนปรากฏ
|
เก่งกล้า
| |||
ทำกล้าเก่งงามงด
|
กิจแกร่ง
| |||
ทำ แกร่งกิจราชฟ้า
|
โอบอ้อมปรานี
| |||
162
|
O=ราช การมวลมากล้น
|
ทรงจัด
| ||
ราช จัดทรงรวมรัด
|
รอบรู้
| |||
ราช รู้รอบสารพัด
|
ชาญกิจ
| |||
ราช กิจชาญทรงสู้
|
อ่อนล้าวรกาย
| |||
163
|
O=เบื่อ กระยายากแท้
|
จักรับ
| ||
เบื่อ รับจักลองซับ
|
เสพพได้
| |||
เบื่อ ได้เสพบังคับ
|
ยากยิ่ง
| |||
เบื่อ ยิ่งยากอยากใช้
|
จักใช้ยาดี
| |||
164
|
O=มาก โอสถมอบให้
|
ทดสอบ
| ||
มาก สอบทดลองตอบ
|
บ่ได้
| |||
มาก ได้บ่หายลอบ
|
ลองเล่น
| |||
มาก เล่นลองมากไซร้
|
บ่แก้อาการ
| |||
165
|
O=จน ถึงคราวเหมี่ยงได้
|
รับสั่ง
| ||
จน สั่งรับยาฟัง
|
เหมี่ยงเจ้า
| |||
จนเจ้าเหมี่ยงทูลดัง
|
มีอยู่
| |||
จน อยู่มียาเฝ้า
|
ฝากให้ทำตาม
| |||
166
|
O=มี ยายอดเยี่ยมนั้น
|
จัดอยู่
| ||
มี อยู่จัดบนภู
|
ลูกโน้น
| |||
มี โน้นลูกยาชู
|
ชวนดื่ม
| |||
มี ดื่มชวนหายโพ้น
|
โรคนี้แน่นอน
| |||
167
|
O=วันหลังนัดเหมี่ยงไว้
|
เร่งรัด
| ||
วันรัดเร่งไปจัด
|
แต่เช้า
| |||
วัน เช้าแต่เดินลัด
|
จนบ่าย
| |||
วัน บ่ายจนได้เข้า
|
ดื่มแล้วบนเขา
| |||
168
|
O=ถึง ยาดื่มเสร็จแล้ว
|
กลับก่อน
| ||
ถึง ก่อนกลับหิวจร
|
เมื่อยแท้
| |||
ถึง แท้เมื่อยหิวตอน
|
มาสู่ เมืองแฮ
| |||
ถึง สู่เมืองรีบแก้
|
ส่งให้กระยาหาร
| |||
169
|
O=ยาม หิวอร่อยแท้
|
มากภัตต์
| ||
ยาม ภัตต์มากเขาจัด
|
ชอบแท้
| |||
ยาม แท้ชอบหิวคัด
|
มากส่ง
| |||
ยาม ส่งมากเสวยแก้
|
ง่ายด้วยเหมี่ยงยา
|
ตอน 19 แข่งควายชนกัน
แข่งชนกระบือ เมืองปาตละบุรี มีนักชนกระบือมืออาชีพ เลี้ยงกระบือชนชื่ออ้ายโตด ชนเก่งมาก ชนะพนันไปทั่วทุกทิศ ยังเหลือเมืองเซียงเมี่ยง ชื่อเมืองทวาละพญาได้รับจดหมายท้าทายชนกระบือพนันเอาสินทรัพย์นับสิบเล่มเกวียน วิตกกังวลมาก เรียกที่ปรึกษาใหญ่ เซียงเมี่ยงมาหารือ มันรับปากจัดการได้ ไม่ต้องกังวล แต่งด้วยโคลงกลบทงูกระหวัดหาง คำท้ายบาทสัมผัสพยัญชนะกับคำแรกบาทถัดไป ต่อเนื่องไปจนจบความ
170
|
O=แถลงปางขันแข่งข้าง
|
ชนควาย
| ||
คือพวกมันมักหมาย
|
ทาบท้า
| |||
ทางปาตละคึกหลาย
|
เขาเก่ง
| |||
การฝึกกระบือกล้า
|
แกร่งกล้าการชน
| |||
171
|
O=เชิญคนขันต่อท้า
|
พนัน
| ||
นำกระบือชนขัน
|
แข่งสู้
| |||
สิบทิศกวาดเงินพัน
|
เงินหมื่น
| |||
หมดที่ขวางเขารู้
|
เก่งแท้ชนควาย
| |||
172
|
O=จ่อทวาละจ้อง
|
จดหมาย
| ||
มาดข่มพนันควาย
|
ค่าล้าน
| |||
ลองชนเจ็บหรือตาย
|
ปรับค่า
| |||
คนชนะกลับบ้าน
|
หอบได้รางวัล
| |||
173
|
O=พนักงานส่งให้
|
ตราสาร
| ||
สอบเสร็จพญาวาน
|
สั่งให้
| |||
หาเซียงเมี่ยงมอบการ
|
รับศึก
| |||
เซียงว่าคงรับได้
|
สั่งให้
| |||
174
|
O=วันคืนเซียงเที่ยวบ้าน
|
หาควาย
| ||
คลอดใหม่รูปลักษณ์ลาย
|
นักสู้
| |||
เสาะเขาตุ่มอวบสาย
|
ชนเก่ง
| |||
กงปากใหญ่เซียงรู้
|
ดูดน้ำนมดี
| |||
175
|
O=ดูแลควายลูกน้อย
|
สองตัว
| ||
แตกต่างเซียงมันมัว
|
เล่นบ้า
| |||
บางทีเล่นชนหัว
|
หายห่วง
| |||
หาเรื่องซนเซียงกล้า
|
หยอกล้อชนควาย
| |||
176
|
O=คอยวันขันแข่งเข้า
|
มาเยือน
| ||
ยลหนุ่มควายโตดเหมือน
|
ดั่งช้าง
| |||
ชมดูแกร่งยามเคลื่อน
|
ดังตึก
| |||
ตามแต่มองยากข้าง
|
จักเข้าต่อกร
| |||
177
|
O=กำลังโตดเต้นวิ่ง
|
วนเวียน
| ||
วนรอบสนามเศียร
|
ขวิดเป้า
| |||
เป็นไรนั่นเซียงเพียร
|
พาลูก ควายแล
| |||
ลองลากดึงบ่เข้า
|
ลากจ้องจูงมา
| |||
178
|
O=กรมเมืองถามไถ่เจ้า
|
บักเซียง
| ||
ไสเล่าควายแข่งเมียง
|
ไม่รู้
| |||
ระวังหน่อยควายเพียง
|
เด็กอยู่
| |||
ยังดุเกินอาจสู้
|
บ่ได้เกรงกลัว
| |||
179
|
O=ตัวพ่อมันดุร้าย
|
เกินไป
| ||
ปลอบยากอาจเป็นภัย
|
โหดล้น
| |||
ลูกมันบ่โหดไว
|
ขันแข่ง
| |||
ควายใหญ่คงมิพ้น
|
บักน้อยกัดกิน
| |||
180
|
O=กรมเมืองถามฝ่ายข้าง
|
คู่พนัน
| ||
พินิจตกลงกัน
|
ที่แท้
| |||
ถึงควายที่หากหลบพลัน
|
หนีห่าง
| |||
หากบ่ชนปรับแพ้
|
อย่างนี้ตกลง
| |||
181
|
O=คึกนักควายหนุ่มน้อย
|
ลูกเซียง
| ||
สบช่องวิ่งไปเคียง
|
โตดตื้อ
| |||
ติดตามตูดพวงเพียง
|
นมแม่
| |||
มันจักดูดนมดื้อ
|
มุดเข้ากัดหำ
| |||
182
|
O=วิ่งไปอ้ายโตดจ้ำ
|
รำคาญ
| ||
ควายใหญ่หนีเด็กพาล
|
ดูดไล้
| |||
ดูดหำใช่นมนาน
|
นักเหนื่อย
| |||
หน่ายลูกควายมันไซร้
|
ไล่ไล้ดูดนม
| |||
183
|
O=นานาชนชื่นไซร้
|
ปรบมือ
| ||
มันเก่งปราบกระบือ
|
ต่างบ้าน
| |||
ดมหำดูดหำลือ
|
เห็นต่าง
| |||
โตดวิ่งหนีรอบด้าน
|
ปรับแพ้กติกา
| |||
184
|
O=กรมเมืองบอกปรับแพ้
|
ต่างเมือง
| ||
มองชัดหนีชักเคือง
|
บ่สู้
| |||
เซียงบอกถูกนะเปลือง
|
แรงหน่อย
| |||
นิดหนึ่งตามทันรู้
|
ขาดแท้ทั้งพวง
| |||
185
|
O=พวกนี้มันดุแท้
|
กัดกิน
| ||
กลัวโตดถูกตอนยิน
|
ร่ำร้อง
| |||
เริงรำแง่แงหิน
|
ขาดแน่
| |||
นอนเมื่อไรอาจต้อง
|
กัดได้กลืนกิน
| |||
186
|
O=นายของโตดร่ำร้อง
|
ยอมคำ
| ||
ควายป่าโหดตัวดำ
|
ดั่งบ้า
| |||
แบบไหนจักกัดหำ
|
กินเล่น
| |||
เลิกบ่เอาเสียหน้า
|
บ่สู้ยอมยอม
|
ตอนที่ 20 นกโต้วาที
เรื่องย่อ เมืองธานีมีนกแก้วพูดภาษาคนเก่งมาก ๆ เอาไปท้าโต้วาทีไปทั่ว ชนะได้รางวัลและเดิมพันมากมาย เจ้าเมืองธานีส่งทีมแข่งนกไปแข่งขันต่างเมือง จนกระทั่วมาถึงเมืองทวาลี หานกที่พูดเก่งพอจะแข่วนกเมืองธานีได้ยาก จนร้อนถึงพระราชา เรื่องก็ถึงเสนาเหมี่ยงเช่นเคย เสนาเหมี่ยงรับปากจะจัดการให้เรียบร้อยมันจับนกะรซุมกรือนกตะกรุมมาตัวหนึ่ง ปล่อยให้มันหิว ค่อยจับนกเป็น ๆ มาให้มันไล่จิกกัน จนติดนิสัยเห็นนกเป็นไม่ได้ เมื่อพร้อมแล้วก็แจ้งเมืองธานีว่ามีนกพร้อมแข่งโต้วาทีแล้ว เมื่อประจันหน้ากัน นกเมืองธานีด่านกเสนาเหมี่ยงว่ารูปชั่วน่าเกลียด เลยถูกนกเสนาเหมี่ยวจิกกินเป็นอาหาร เพราะหิวมาหลายวัน นกเมืองธานีแพ้แต่เอาผิดเสนาเหมี่ยงไม่ได้ เพราะไปด่านกเขาหยาบคาย
แต่งด้วยโคลงกลบท สีหติกำกาม แต่งให้คำที่ 2กับ 3 สัมผัสสระ ทุกบาท
187
|
O=มีเมืองเรืองรุ่งโน้น
| |||
นามว่าธานีนัย
|
แข่งค้า
| |||
เกษตรเลศวิไล
|
ขันต่อ
| |||
เรืองวิทย์คิดก้าวหน้า
|
แผ่อ้างบารมี
| |||
188
|
O=ยินข่าวราวเรื่องท้า
|
แข่งนก
| ||
มันกล่าวราวเรื่องถก
|
เก่งแท้
| |||
วาทะฉลาดยก
|
ผลเหตุ
| |||
วิเศษเพศนกแล้
|
แต่ล้วนฝึกดี
| |||
189
|
O=เทียวหามาแข่งท้า
|
เดิมพัน
| ||
หลายด่านผ่านมาสรรพ์
|
ชนะล้วน
| |||
เลขาลือชื่อเสียงอัน
|
เกียรติใหญ่
| |||
ชมว่ามาเก่งถ้วน
|
ยากแท้ต่อกร
| |||
190
|
O=มินานผ่านเขตเข้า
|
ทวาลี
| ||
เขตนอกบอกมิมี
|
คู่ต้าน
| |||
ปราบเรียบเปรียบมิมี
|
นกแข่ง เขาแฮ
| |||
สายทราบกราบพ่อบ้าน
|
ท่านเจ้าราชา
| |||
191
|
O=ปวดหัวกลัวพวกท้า
|
ขันต่อ
| ||
นกเก่งเร่งหาหนอ
|
ยากได้
| |||
จนจิตคิดเรียกพ่อ
|
คุณเหมี่ยง
| |||
มากราบทราบเรื่องไซร้
|
กราบเท้าอาสา
| |||
192
|
O=มันผกนกจับได้
|
กระซุม
| ||
หัวเถิกเอิกแดงคุม
|
ยากแท้
| |||
กรงขังสั่งเด็กรุม
|
ยั่วแหย่
| |||
อดอยากมากนักแล้
|
แต่ป้อนนกมัน
| |||
193
|
O=ของกินยินนกแก้ว
|
เป็นเป็น
| ||
โยนใส่ในกรงเห็น
|
ดับดิ้น
| |||
จิกจับดับใครเห็น
|
ว่าโหด
| |||
น่านหน่อยค่อยพร้อมสิ้น
|
แข่งได้นัดมา
| |||
194
|
O=สนามแข่งแต่งไว้พร้อม
|
มากคน
| ||
ดีท่านวานเงียบสน
|
แต่ถ้อย
| |||
หนูนกผกจากพน
|
หิมเวศ
| |||
มาเยี่ยมเปี่ยมจิตร้อย
|
กราบเท้าทุกคน
| |||
195
|
O=นกผินบินทักร้อง
|
ทักทาย
| ||
เขาปล่อยคอยอวดฉาย
|
ข่มไว้
| |||
ขนลุกเก่งมากมาย
|
นกนั่น
| |||
คุณเหมี่ยงเลี่ยงหลบได้
|
แอบข้างวางกรง
| |||
196
|
O=นกแก้วแซวส่งถ้อย
|
ทักมา
| ||
เออท่านวานบอกหนา
|
ท่านนี้
| |||
ใช่นะกระซุมตา
|
แลเหลือก
| |||
ลานโล่งโก่งหัวหา
|
ลานเถิก
| |||
197
|
อกแกร่งแดงบอกชี้
|
นรกทิ้งหลุดมา
| ||
O=มิหล่อพอแข่งได้
|
หรือหนอ
| |||
มิพูดตูดหมึกรอ
|
อยากรู้
| |||
เงียบไปใช่มาขอ
|
พูดแต่ง กันฤๅ
| |||
198
|
ฤๅมัวกลัวมิสู้
|
อยากเร้นหลบหนี
| ||
O=มันพูดพูดอยู่ได้
|
ตัวเดียว
| |||
นกเหมี่ยงเสียงเงียบเชียว
|
บ่โต้
| |||
มิทานท่านปล่อยเสียว
|
เดินย่าง
| |||
199
|
มันปรี่รี่จิกโก้
|
นกน้อยจับกิน
| ||
O=คำเดียวเทียวหมดสิ้น
|
มองหา
| |||
คู่แข่งแรงโกรธมา
|
ด่าให้
| |||
เถียงกันลั่นราชา
|
สอบเรื่อง
| |||
200
|
ถูกผิดคิดการไว้
|
อยากรู้เหตุผล
| ||
O=เสนาอามาตย์ผู้
|
ปรีชา
| |||
นกนั่นมันเจรจา
|
หยาบล้วน
| |||
ดูหมิ่นถิ่นพารา
|
เรานั่น
| |||
นกเหมี่ยงเพียงโกรธถ้วน
|
จึ่งได้สั่งสอน
| |||
201
|
O=ทุกคนยลอย่างนั้น
|
ยืนยัน
| ||
ดูหมิ่นถิ่นแคนกัน
|
น่าขึ้ง
| |||
นกนายร่ายหยาบยัน
|
อวดด่า
| |||
โดนจิกหยิกจับทึ้ง
|
แน่แท้ควรตาย
| |||
O=โดนฮาอย่าอยู่แล้ว
|
รีบไป
| |||
เลยพ่ายร้ายคาใจ
|
กลับบ้าน
| |||
คุณเหมี่ยงเบี่ยงเรื่องนัย
|
โกงเก่ง
| |||
คงเข็ดเสร็จกิจต้าน
|
ต่อสู้ปัญญา
| |||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น