คำชี้แจง ครั้งแรก
...................ผมแต่งนิราศเมืองเหนือไว้เมื่อปี 2533 ขณะเป็นครูที่โรงเรียนศรีสงครามวิทยา อำเภอ วังสะพุงจังหวัดเลย ต้นฉบับหายหมด เหลือแต่ที่นำขึ้นเวบไซท์ ซึ่งเป็นไฟล์ภาพสกุล .jpg กำลัง
จะนำมาปรับปรุงแก้ไขและพิมพ์ใหม่ คงใช้เวลาหลายวัน เพราะเขียนไว้ยาว เลยขอพื้นที่เวบบลอก
คุณยายธนัญธรว่า ถ้าพิมพ์ได้ยาวหน่อย จะเอามาโพสให้อ่านเล่น จบแล้วก็เอาออก อ้อนิราศเรื่อง
นี้แต่งด้วยโคลงดั้นวิวิธีมาลีช่วงนั้นกำลังฝึกแต่งโคลง มีข้อสังเกตคือ
...............รูปแบบแผนผังเหมือนโคลงสี่สุภาพ ตัดจำนวนคำวรรคสุดท้ายบทออก 2 คำ บังคับเอก
เจ็ด โทสี่ เหมือนเดิม โคลงสุภาพวรรคสุดท้ายบทมี 4 คำ วิวิธมาลีจะตัดออกสองคำ และให้ย้ายคำโท
ไปไว้วรรคหน้า ทำให้มีคำโทคู่ในบาทที่ 4 วรรคแรก โคลงดั้นบาทกุญชร และโคลงกลบทต่าง ๆ ที่
วรรคสุดท้ายบทมี 2 คำ จะมีคำโทคู่ลักษณะเช่นนี้ด้วย ข้อสังเกตอีกอย่างคือการส่งสัมผัสคำโทจาก
บาทที่สองไปบาทที่ 4 ปกติรับด้วยคำที่ 5 โคลงที่มีคำโทคู่มักจะรับด้วยคำโทคำที่ 4
ขุนทอง ศรีประจง
(13-ก.ค.-59 คำนำครั้งแรก)
คำชี้แจงครั้งที่ 2
............หลังจากพยายามแกะโคลงนิราศเมืองเหนือ ที่เหลือแต่ภาพสแกน ก็ทำเสร็จ 380 คำโคลง
ตรวจทานดูอีกครั้งพบว่า มีข้อบกพร่องมากมายในเรื่องแผนผังบังคับ เพราะริแต่งโคลงวิวิธิมาลี เลย
ส่งสัมผัสคำโทไปคำที่ 5 บาทที่ 4 เรื่อยเลย นั่นเป็นผังโคลงสี่สุภาพธรรมดา เลยเอาผนผังของโคลง
วิวิธมาลีมากาง ตรวจทานทุกบท ก็คิดว่าตรวจครบ เป็นโคลงวิวิธิมาลี้ทั้ง 380 บท ใช้เวลากว่าสอง
สัปดาห์ครับทั้งพิมพ์ใหม่และตรวจทาน เสร็จเมื่อ 18 มกราคม 2561 เอาลงบลอก 21 มกราคม
2561 บลอกเดิม จะลบออก จึงบันทึกช่วยจำไว้ครับ
ขุนทอง ศรีประจง
21 มกราคม 2561
...........กระผมมึนกับแผนผังโคลงดั้น จำสับสนกันบ่อย ยิ่งไปเจอตัวอย่างที่ลอกผิด ๆ มาเสนอในอินเตอร์เนต ยิ่งทำให้ น่าเวียนหัว เลยไปจับเอาแผนผังจากเอกสารหลักภาษาไทย มาทั้ง 4 แบบ มากางเทียบกันไว้ จะได้เห็นข้อแตกต่างกัน โคลงนิราศเมืองเหนือ กระผมตั้งใจให้เป็นโคลงดั้นวิวิธมาลี แต่ตอนตรวจทานพบว่า เป็น บาทกุญชรปนอยู่จำนวนมาก เลยเอาแผนผังมากางแล้วปรับแก้ไข แผนผังนี้เอามาช่วยเวลาสงสัยครับ
โคลงนิราศเมืองเหนือ เพจที่ 3 (266-300)
266..รอยบุญมีอยู่บ้าง | บังเอิญ | ||
สักครู่หลวงลุงเดิน | พบรู้ | ||
มันชุมอย่ามัวเพลิน | พัดไล โยมเอย | ||
เอานี่อาจสู้มุ้ง | หยิบเอา | ||
267..ปรีดามีมุ้งม่าน | กีดยุง | ||
ยังบ่หลับเด็กเขา | ครึกครื้น | ||
คุยกันลั่นคงคุง | ขอบโลก | ||
ลางบ่นสะอื้นไห้ | หู่ใจ | ||
268..ยากันยุงกลิ่นฟุ้ง | โชยมา | ||
คนหืดหอบหทัย | อ่อนอ้อน | ||
หากหอบเล่นงานครา | คืนค่ำ | ||
คงยุ่งเดือดร้อนแท้ | พ่อคุณ | ||
269..กลิ่นฉุนคงยากห้าม | เห็นใจ | ||
ยุงมากคราควันกรุ่น | หลบลี้ | ||
พอทนปราศพิษภัย | ยุงหลบ | ||
หอบหืดยากชี้พื้น | ฤทธิ์ดี | ||
270..มองหาที่หลบเร้น | ฤทธิ์ควัน | ||
หากกลิ่นฉุนลอยมี | มากล้น | ||
หอบหืดเคลื่อนหลบกัน | ที่อื่น แลนา | ||
สังเกตแต่ต้นแล้ว | เรื่องราว | ||
271..ติดกันมีหนึ่งห้อง | รกดี | ||
ยากยางจำเป้นคราว | เดือดร้อน | ||
หอบจับอาจจรลี | หลบกลิ่น | ||
บอกแม่อย่าอ้อนแล้ว | หลับสบาย | ||
272..บุญมีจนรุ่งเช้า | ชื่นใจ | ||
หอบบ่มีมากราย | กีดกั้ง | ||
ปลุกกันตื่นเร็วไว | วายวุ่น | ||
ชวนเที่ยวอีกครั้งซื้อ | สิ่งของ | ||
273..คุณหมูคุณแม่ด้วย | ดุ่มเดิน | ||
ไปตลาดคอยเมียงมอง | หมากไม้ | ||
มากมายแต่ขายเกิน | แพงยิ่ง | ||
แพงยิ่งยากได้ซื้อ | คาดู | ||
274..อาหารยามเมื่อเช้า | เสร็จสรรพ | ||
สายหน่อยชวนโฉมตรู | แต่งอ้าง | ||
ลูกรักพรักพร้อมพลัน | ผองเพื่อน | ||
ไปที่บ่อสร้างอ้อม | อีกครา | ||
275..สันกำแพงแบ่งกั้น | สองทาง | ||
สองฝ่ายยากจักหา | ห่อนไห้ | ||
กำแพงรักพรากนาง | ไกลพี่ | ||
รักห่างเหินให้ไห้ | ห่างหาย | ||
276..มาถึงที่บ่อสร้าง | สองโมง | ||
ทำร่มกันมากมาย | ยิ่งล้น | ||
ร่มดีเพราะมีโครง | ขึงอยู่ | ||
กันแดดฝนพ้นได้ | เปียกปอน | ||
277..ร่มธรรมเย็นยิ่งล้ำ | ร่มใด | ||
เย็นจิตนิราทร | สร่างเศร้า | ||
โลภโกรธและหลงไหล | ราครุ่ม | ||
กิเลสรุมเร้าสิ้น | เพราะกรรม | ||
278..ชาวเวียงเขาเสกสร้าง | ร่มเงา | ||
คนอื่นควรจัดทำ | ร่มไว้ | ||
คือร่มนิพพานเบา | กิเลส | ||
ตัดขาดหมดได้สิ้น | สุขศานติ์ | ||
279..เขาทำกระดาษได้ | ดูดี | ||
ทุบเปลือกปอสานาน | ต่อต้ม | ||
นับเนิ่นเปื่อยเจือสี | หลากหลาย | ||
เทใส่น้ำก้มแล้ว | ตักเอา | ||
280..ตะแกรงติดแผ่นมุ้ง | บอบบาง | ||
ตักเยื่อกระดาษเขา | ฉลาดไซร้ | ||
แดดออกตากวาง | เวียนผึ่ง | ||
จักแกะยามได้แห้ง | กระดาษสา | ||
281..แวะชมจนถ้วนทั่ว | ทุกทาง | ||
จำจากจักไคลคลา | เคลื่อนคล้อย | ||
ออกรถแล่นเร้วพลาง | พิศเพ่ง | ||
ทุกที่เมืองร้อยถ้อย | ถี่งาม | ||
282..จนถึงน้ำพุร้อน | สันกำแพง | ||
บัตรผ่านสิบบาทตาม | แต่นี้ | ||
เขาคุยว่างามแคลง | ใจอยู่ | ||
ใยเก็บเงินชี้ชั้น | เช่นหวง | ||
283..ลดาวัลย์ร่ำร้อง | ต่อรอง | ||
เขาลดเชิญพุ่มพวง | หกร้อย | ||
คณะเราเร่งรีบจอง | จักเที่ยว | ||
คุณแม่จูงน้อยน้อง | ออกเดิน | ||
284..เด็กเด็กกรูวิ่งอ้าว | ออกัน | ||
ลางส่งเสียงสนุกเกิน | กว่าร้อง | ||
ชมสวนดั่งสวนสวรรค์ | สวยยิ่ง | ||
บานเบ่งดอกต้องแต้ว | ติดใจ | ||
285..แผกพรรณบุปผชาติชั้น | ช่อชม | ||
แดงเด่นเหลืองพิไล | เลิศล้น | ||
ชมพูม่วงนิยม | ยามเยี่ยม | ||
ชวนชื่นหอมพ้นอ้าง | แผกกัน | ||
286..คุณหมูจูงแม่เลี้ยว | ลัดไป | ||
กระท่อมเล็กสำคัญ | แปกลแท้ | ||
เชิญอบอุ่นเอาไอ | น้ำพุ | ||
คุณแม่ภูมิแพ้เข้า | ทดลอง | ||
287..ยืนคอยชมน้ำพุ | เดือดดี | ||
มีไข่แช่เมียงมอง | ไม่ช้า | ||
นับนานเจ็ดนาที | สนุกแน่ | ||
ปอกเปลือกกินกล้าท้า | กล่าวจริง | ||
288..คอยนานมิเสร็จอ้าง | อบไอ | ||
เวียนแวะถามเยาว์หญิง | อยู่ห้อง | ||
สวยสดน่าสนใจ | อวบอิ่ม | ||
คำเล่านวลน้องน้อย | น่าฟัง | ||
289..อบไอมีให้พี่ | บริการ | ||
ยี่สิบอาบเองยัง | ร่วมใช้ | ||
หลายคนต่างสระสนาน | สนุกพี่ | ||
แพงกว่านั้นไซร้ได้ | สุขสันติ์ | ||
290..หนูมีคนอาบให้หาก | ประสงค์ | ||
แยกที่อาบกิดกัน | ต่างห้อง | ||
อาบสองต่อสองคง | สดชื่อน นาพี่ | ||
อาบอบนวดน้องด้วย | จัดการ | ||
291..สบจิดโชคมิได้ | ดีเลย | ||
คุณแม่อาบเสร็จพาล | อดแล้ว | ||
เสียดายจากทรามเชย | ขวัญแม่ | ||
มาใหม่มิแคล้วต้อง | อาบดู | ||
292..สวยงามยวดยิ่งน้ำ | พุไหล | ||
พวยพุ่งออกจากรู | พุ่งฟ้า | ||
ละอองเดือดอุ่นไอ | ดูแปลก | ||
เดือดพล่านดังหล้าเหล้า | เดือดดิน | ||
293มีต่อลำพูนยิน | ป่าวร้อง | ||
ลำไยมากมายแคลง | ใจยิ่ง | ||
อยากทราบจำต้องตั้ง | ต่อใจ | ||
294. ลำพูนพูนเพียบพร้อม | นานา | ||
มากยิ่งดกลำไย | หนักย้อย | ||
ขายกันเฟื่องฟูครา | เยือนเยี่ยม | ||
เรืองรุ่งบน้อยแล้ว | ชืนอุรา | ||
295. แลวัดพระธาตุตั้ง | สง่างาม | ||
แลอร่ามดังทองทา | ทาบไว้ | ||
ยังงงจึ่งสอบถาม | เขาเล่า | ||
ฟังว่าทองได้หุ้ม | เสกสรร | ||
296. ตำนานอาทิตย์เจ้า | ราชา | ||
พระผ่านลำพูนพลัน | จักสร้าง | ||
เวียงวังหนึ่งหลังครา | ครวญใคร่ | ||
รับสั่งพลอ้างให้ | จัดการ | ||
297. เลือกสรรงามที่พร้อม | ทรงเสริม | ||
อีกหนึ่งจัณฑาคาร | คู่ด้วย | ||
เสร็จกิจจัดเฉลิม | ฉลองใหญ่ | ||
ปราสาทอินทร์ฉ้วยสร้าง | เสร็จสม | ||
298. สืบมาอาเพทต้อง | หนักใจ | ||
ยามเสด็จปล่อยอาจม | จึ่งแจ้ง | ||
อีกาหนึ่งตัวไว | บินว่อน | ||
โฉบฉี่ราดแกล้งขี้ | รดหัว | ||
299. ทรงวานพลไพร่จ้อง | จับกา | ||
กรงใส่ขังมันตัว | ต่ำต้อย | ||
แปลกจริงใช่ธรรมดา | กาเด่น | ||
ปราชญ์ส่งเด็กน้อยน้อย | คู่กา | ||
300. ขังรวมจับคู่ไว้ | นาน | ||
สองจักคุยวาจา | ต่างรู้ | ||
ราชาสั่งจัดการ | ตามกล่าว | ||
เพียงเจ็ดวันผู้รู้ | กล่าวขาน | ||
301. ฟังคำเด็กกล่าวอ้าง | เดิมที | ||
กาเล่าบิดาวาน | อยู่เฝ้า | ||
องค์พระธาตุฝังมี | ยังอยู่ | ||
ปราสาทครอบเข้าแล้ว | จึ่งเตือน | ||
302. ราชาจึงปล่อยเจ้า | กาไป | ||
กากลับคืนยังเรือน | อยู่โพ้น | ||
หิมวันต์ปู่กาวัย | แก่เฒ่า | ||
กาเผือกจากโน้นเฝ้า | อาชญา | ||
303. กาเผือกสอนสั่งเจ้า | จอมธรรม | ||
ยึดมั่นศีลวิชชา | ผ่องแผ้ว | ||
สุจริตก่อกรรม | ควรค่า | ||
ทรงเลื่อมใสแกล้วกล้า | ก่อบุญ | ||
304. จัดพวกพลไพร่รื้อ | อาคาร | ||
ขุดที่มิเป็นคุณ | ออกทิ้ง | ||
ถมดินใหม่เสร็จการ | ดีแน่ | ||
จัดธูปเทียนหิ้งตั้ง | กราบขมา | ||
305.ผูงชนทราบข่าวแล้ว | หลั่งไหล | ||
มากยิ่งของสักการ์ | ท่วมท้น | ||
เจ็ดวันร่วมจิตใจ | จดจ่อ | ||
พระธาตุแปลกล้นพ้น | โผล่ใย | ||
306. อาทิตย์ราชเจ้า | แปลกใจ | ||
โปรดก่อเจดีย์ใส | ส่องฟ้า | ||
สามวาส่วนสูงยัน | ยลชื่น | ||
อีกสี่มุมกล้าอ้าง | เอ่ยชม | ||
307. ผอบทองศอกหนึ่งตั้ง | ต่อสูง | ||
เก็บพระธาตุภิรมย์ | รื่นแล้ว | ||
บรรุจ่อใจจูง | จิตแจ่ม | ||
เสร็จกิจผ่องแผ้วปลิ้ม | หมู่ประชา | ||
308. วิหารเพียบพร้อม | พึงยล | ||
เป็นแหล่งชาวชนมา | นอบน้อม | ||
เดือนหกทุกเพ็ญคน | เนื่องแน่น | ||
วันเฉลิมพร้อมหน้า | สุขสนาน | ||
309. หลายปีแปรเปลี่ยนด้วย | เดือนวัน | ||
สรรพสิ่งแปรตามกาล | เกิดแล้ว | ||
คงอยู่ดับไปพลัน | เพียงจักร | ||
วนเรื่อยมิแคล้วต้อง | ผูกพัน | ||
310. เม็งรายเชียงใหม่เจ้า | กษัตรา | ||
พระผ่านลำพูนสรรค์ | เสกสร้าง | ||
เจดีย์ต่อเติมมา | หลายสิ่ง | ||
นับสิบวาอ้างไว้ | ว่าสูง | ||
311. สำคัญทองแผ่หุ้ม | เจดีย์ | ||
อร่ามจ่องใจจูง | นอบน้อม | ||
ฝูงชนชื่นชมมี | มวลมาก | ||
พระศรัทธาพร้อมนั้น | น่าชม | ||
312. หนึ่งเก้าแปดหกตั้ง | ต่อมา | ||
พุทธศกนิยม | บอกไว้ | ||
ติโลกราชครา | เสริมแต่ง | ||
หล่ายสิ่งจดให้รู้ | เรื่องราว | ||
313. สิบสองวารอบด้าน | ดูฐาน | ||
ยี่สิบสามวาคราว | โปรดสร้าง | ||
ยอดฉัตรเจ็ดร่วมลาน | แลเลิศ | ||
ทองพอกบุญอ้างไว้ | มากนัย | ||
314. ระเบียงหอกรอบล้อม | เจดีย์ | ||
ยุคพระเมืองแก้วไกร | เกียรติสร้อย | ||
ศรัทธาสั่งทำมี | มวลมาก | ||
ฟังว่าถึงร้อยร้อย | เล่มงาม | ||
315. สองสามสองเห้าขวบ | พุทธศก | ||
กาวิละองค์ราม | ราชเจ้า | ||
ฉัตรหลวงสี่มุมยก | เติมแต่ง | ||
ยอดฉัตรเติมเก้าชั้น | น่าชม | ||
316. วันวิสาขะตั้ง | การฉลอง | ||
ชนทั่วคามนิคม | ต่างเต้า | ||
ชุมกันก่อบุญปอง | บุญส่ง | ||
บุญส่งสุขเศร้าสร้อย | โศกหาย | ||
317. ชวนกันไปกราบไหว้ | เจดีย์ | ||
เทียนธูปครบครันภาย | ภาคหน้า | ||
บุญก่อเกิดบุญมี | บุญส่ง | ||
บุญแต่งเกิดกล้าแกล้ว | แกร่งปุน | ||
318. ปุนปองละบาปสิ้น | สิ่งหมอง | ||
เสาะสั่งกุศลคุณ | ส่งให้ | ||
ชะจิตแจ่มดังทอง | งามยิ่ง | ||
สามสิ่งขอให้ซึ้ง | สัจธรรม | ||
319. อำลาพระธาตุเจ้า | จอมไตร | ||
หลวงพ่อท่านฝากคำ | เลิศแท้ | ||
มมากมีหมากลำไย | ยังร่วง | ||
ปัดกวาดยากแล้ให้ | เก็บกิน | ||
320. ถูกใจโยมยิ่งแล้ว | หลวงตา | ||
ปีนป่ายลองชิมยิน | อร่อยล้น | ||
พอควรจึ่งอำลา | คุณท่าน | ||
มากยิ่งนักพ้นเกล้า | กราบลา | ||
321. ตลาดกลางจอดพักยั้ง | ราตรี | ||
จนเที่ยงกาญจนา | ขุ่นข้อง | ||
คงหิวแม่จรลี | รุดเร่ง | ||
เธอสั่งกินน้องน้อย | นั่งคอย | ||
322. ก๋วยเตี๋ยวตำส้มกับ | ปูดอง | ||
หมูชอบพ่อจึงพลอย | พยักให้ | ||
ครับครบแม่เลยลอง | เรียบหมด | ||
อร่อยยิ่งได้ลิ้ม | เมื่อหิว | ||
323. อนันทาจักซื้อ | ลำไย | ||
หกบาทกิโลฉิว | แม่ค้า | ||
แพงเกินลดเท่าไร | คุณพี่ | ||
เขาว่าลดห้าให้ | ตกลง | ||
324. มากพรรณมากแม่ค้า | แข่งขาย | ||
ลางเก่งเกินอนงค์ | สอดสร้อย | ||
ชุดบางแม่กรีดกราย | ดูนี่ | ||
ผุดผ่องนวลน้อยต้อง | ตื่นตะลึง | ||
325. เสถียรชวนว่าซื้อ | อาจารย์ | ||
สุทธิว่าเธอตรึง | ค่าไว้ | ||
หกบาทอย่าต่อหวาน | จับจิต | ||
จำจ่ายเงินให้ซื้อ | สี่ลัง | ||
326. จอแจจับจ่ายซื้อ | ลำไย | ||
ขายส่งรถยายยัง | แย่งเข้า | ||
เต็มรถเคลื่อนคลาไป | หลายเที่ยว | ||
วายวุ่นนักเจ้าซื้อ | จ่ายขาย | ||
327. พวกเราไปแย่งด้วย | สนุกดี | ||
แพงหน่อยถูกนิดหลาย | เลือกไว้ | ||
แบกขนกลับรถมี | มวลมาก | ||
กะโหลกเขียวได้เบี้ยว | เลือกมา | ||
328. สมควรลาจากแล้ว | ลำพูน | ||
ลานิ่มนุชหวานตา | แช่มช้อย | ||
คนขายเจิดจำรูญ | เทอญแม่ | ||
รถเลื่อนเรียบร้อยแล้ว | เลิกครวญ | ||
329. ลำพูนลาแล้วมุ่ง | ป่าซาง | ||
แดนมากโฉมงามนวล | นิ่มเนื้อ | ||
ลือไกลว่าทุกนาง | งามยิ่ง | ||
ชายใฝ่ชิดเชื้อเจ้า | จับจอง | ||
330. พิศนางนวลบ่น้อย | นวลหงส์ | ||
งามแม่คงคิดปอง | อยู่ใกล้ | ||
เสียดายแม่หยิกงง | ยังเซ่อ | ||
ยายบิดหูให้ด้วย | เจ็บจริง | ||
331. ป่าซางมากกลุ่มน้อง | นางงาม | ||
งามแม่งามสุดหญิง | ยอดแก้ว | ||
อรชรอ่อนบอบบาง | ผุดผ่อง | ||
พิมพ์จิตรุมแล้วร้อน | ราครุม | ||
332. เลยมานาโฮ่งหาก | มิไกล | ||
นาล่มฝันทุกชุม | ชอกช้ำ | ||
รุกขาเหี่ยวเฉาไป | มวลมาก | ||
หดหู่ทุกก้ำแล้ว | หลบเมิน | ||
333. วัดพระบาทตากผ้า | พลันถึง | ||
ยามบ่ายมิมัวเพลิน | เรียกร้อง | ||
ลงรถแยกกันจึง | จักง่าย | ||
ลางกลุ่มเดินจ้องขึ้น | สู่เขา | ||
334. วัดวางามพื้นที่ | ทุกทาง | ||
งามป่ามากร่มเงา | แมกไม้ | ||
เนินเขายิ่งงามกลาง | พนมมาศ | ||
ภูมิสถานได้ชี้ | เยี่ยมจริง | ||
335. ตำนานตามกล่าวอ้าง | ศาสดา | ||
เคยผ่านมาพักพิง | ถิ่นนี้ | ||
หวังสืบศาสนา | คงมั่น | ||
นำสัตว์ส่ำชี้ให้ | สู่สวรรค์ | ||
336. ดำเนินโดยแผกบ้าง | บางที | ||
พระนิมิตรเสาะสรรค์ | สืบอ้าง | ||
อานนท์ติตามมา | ทวยเทพ | ||
อโศกราชข้างเจ้า | ฝ่ายโยม | ||
337. รอนแรมคุงเขตแคว้น | คามนิคม | ||
ธรรมแผ่ดังแสงโสม | ส่องหล้า | ||
เชียงดาวตับเตาชม | ลำดับ | ||
โปรดสัตว์เบิกฟ้ากว้าง | กว่าไกล | ||
338. พระนอนขอนม่วงด้วย | เลยมา | ||
พระบาทยั้งหรีดไพร | พฤกษ์กว้าง | ||
พระธาตุทุ่งตุมคลา | ไคลเคลื่อน | ||
รอยบาทพิมพ์อ้างไว้ | ที่สถาน | ||
339. ลุถึงดอยมั่นช้าง | ดอยเครือ | ||
ผาลาดทรงพักลาน | ดาดพื้น | ||
แดดจัดรุ่มร้อนเหลือ | ผลัดเปลี่ยน | ||
แดดผึ่งผ้าชื้นให้ | เหือดหาย | ||
340. ผนังผารอยเส้นตั้ง | จีวร | ||
ชัดรูปดุจรอยลาย | กดไว้ | ||
พิมพ์พระบาทอีกตอน | ลาจาก | ||
สองสิ่งโปรดให้เกื้อ | แก่ประชา | ||
341. พุทธบาทหนึ่งนั้น | นิมิต | ||
รอยตากจีวรครา | ก่อนนั้น | ||
คือนามวัดวิจิตร | เจิดแจ่ม จริงนา | ||
ชนมากมวลดั้นด้น | ใฝ่ชม | ||
342. แต่งเติมเสริมต่อตั้ง | กาลนาน | ||
ธรรมแผ่ทั่วนิคม | เขตแคว้น | ||
ประชาศรัทธาสาน | สืบต่อ | ||
เสริมส่งแน่นแฟ้นได้ | กล่าวขาน | ||
343. ธิดากรุงละโว้ | ธานี | ||
คราวครอบลำพูกาล | ก่อนนั้น | ||
พระนามแม่จามเทวี | ทรงราช | ||
เกิดอุโมงชั้นได้ | แต่ปฐม | ||
344. ยุคเม็งรายราชเจ้า | เจียงใหม่ | ||
ครอบเขตคามนิคม | ถิ่นนี้ | ||
บำรุงสืบตามนัย | นานเนิ่น | ||
หลายสิ่งยังชี้ฟื้น | วัฒนา | ||
345. จวบสมัยกรุงเทพตั้ง | ชัดเจน | ||
ประวัติบันทึกมา | มากครั้ง | ||
ปรับปรุงซ่อมแซมเป็น | ปรากฏ | ||
แรงศรัทธายั้งไว้ | หยุดโทรม | ||
346. ป๋าปารมี | หนึ่งผู้พัฒนา | ||
นำก่อวิหารโดม | ครอบไว้ | ||
ปรับปรุงใหม่ศาลา | จตุมุข | ||
คณะสงฆ์ได้เกื้อ | กิจกรรม | ||
347. พุทธิ์วงศ์พรั่งพร้อม | พวกสงฆ์ | ||
ชวนญาติโยมกระทำ | ก่อสร้าง | ||
จตุมุขศาลา | คงอยู่ | ||
สองสี่เจ็ดสองอ้างไว้ | ว่าควร | ||
348. สองสี่แปดหกเจ้า | จังหวัด | ||
คณะสงฆ์มากมวล | ทุกก้ำ | ||
ญาติโยมต่างชอบวัตร | คุณท่าน | ||
พรหมจักรนามล้ำแล้ว | เที่ยวเชิญ | ||
349. นิมนต์พระท่านให้ | รับประธาน | ||
นิมิตวัดงามเกิน | กล่าวได้ | ||
ศรัทธาหลั่งมาปาน | ชลหลั่ง | ||
วัดพระบาทให้สร้าง | รุ่งเรือง | ||
350. คณะเราแยกย้าย | ชมสถาน | ||
ตามชอบมิขัดเคือง | ขุ่นข้อง | ||
พวกเราแม่ลูกสราญ | เริงรื่น | ||
เกาะเกี่ยวแขนน้องน้อย | เที่ยวไป | ||
351. ทำบุญชะจิตตั้ง | ต่อทาน | ||
มณฑปพระบาทไว | แวะแล้ว | ||
มาเถิดนั่งสักการ | กราบบาท | ||
บุญที่หมายแก้วได้ | ดั่งประสงค์ | ||
352. ไพจิตรพิลาสล้ำ | มณฑป | ||
จตุมุขยังคง | คร่อมไว้ | ||
รอยบาทคู่ควรจบ | จิตนอบ | ||
รำลึกคุณได้สร้าง | ศาสนา | ||
353. อรหังพุทธผู้ | สุคโต | ||
ตัดกิเลสอวิชา | หมดสิ้น | ||
สอนสัตว์ละโลภโมห์ | มืดจิต | ||
ละโทสะดิ้นพ้น | ห่างอบาย | ||
354. งดงามภายนอกด้าน | ลานผา | ||
รอยตากจีวรลาย | แปลกแล้ว | ||
ตำนานบ่งพระมา | แวะผ่าน | ||
ชนชื่นปานแก้วเก้า | พบพาน | ||
355. งามโบสถ์แบบที่ได้ | มาชม | ||
เก่าใหม่ผสมผสาน | ช่างแต้ม | ||
งดงามแปลกดีสม | มากค่า | ||
กราบพระหมูแย้มยิ้ม | อยากเดิน | ||
356. กุฎีหลวงปู้ตั้ง | ต่อไป | ||
สองแม่ลูกเพลิดเพลิน | ผ่อหน้า | ||
สองชมชื่นชมไพร | ยามผ่าน | ||
สักครู่ถึงกล้าก้ม | กราบกราน | ||
357. เงียบกุฎีหลวงปู้ได้ | มาถึง | ||
เห็นท่านเจริญฌาน | แน่แท้ | ||
กราบเสร็จต่างตลึง | แลท่าน | ||
ยังนิ่งมิแพ้ก้อน | ศิลา | ||
358. ดูนานจึงทราบนั้น | คือหุ่น | ||
เขาหล่อแทนกายา | ล่วงแล้ว | ||
เคารพท่านคือบุญ | บานจิต | ||
ลาจากยินแก้วเจ้า | กล่าวขาน | ||
359. ไปชมสิ่งก่อสร้าง | สวยงาม | ||
เรือนสักยามแลลาน | ยิ่งล้น | ||
เขาตัดทุบเปลือตาม | ตกแต่ง | ||
เคลือบขัดงามพ้นถ้อย | เอ่ยชม | ||
360. ลดาวัลย์ไต่ขึ้น | เขาสูง | ||
เด็กวิ่งตามนงศรี | แห่ห้อม | ||
บันไดนาคดังจูง | จิตสู่ สวรรค์แฮ | ||
สี่หกเก้าพร้อมขั้น | นับนาน | ||
361. สมควรจำจากแล้ว | ล่ำลา | ||
ตรึงจิตนิรันดร์กาล | กราบไหว้ | ||
ติรัตน์มั่นสรณา | แนบแน่น | ||
บุญส่งผลให้ให้ | สบทาง | ||
362. รอนแรมรถแล่นเข้า | เขตขัณฑ์ | ||
มาดมุ่งไปลำปาง | เหาะพริ้ว | ||
ตีนผีควบเหวชัน | ชวนหวาด จริงแฮ | ||
ฝนตกโห่ฮิ้วก้อง | เด็กเรา | ||
363. เพราะเพลงเขาครึกครื้น | บ่กลัว | ||
ลางร่ายรำคลายเหงา | ห่างบ้าน | ||
ลางเหน็ดเหนื่อยมึนมัว | เมาหลับ | ||
กรนแข่งกันสะท้านสเทื้อน | ปฐพี | ||
364. ลำปางขากลับยิ้ง | ยามแลง | ||
เขาปล่อยเด็กจรลี | เล่นได้ | ||
นัดสองทุ่มมิแคลง | คราเคลื่อน | ||
รถจักจรให้เต้า | ต่าวคืน | ||
365. ชวนกันจองรถม้า | รอบมอง | ||
ห้าสิบคำเขายืน | เรียกร้อง | ||
หลายคนบ่ไปเคือง | แพงค่า | ||
หลายคู่เห็นพ้องด้วย | ตกลง | ||
366. อาชาลากรถพริ้ว | ตามลม | ||
กุบกับเสียบคง | ครึกครื้น | ||
ดังเย่าเก่านานนม | นับเนิ่น แลนา | ||
ยามนั่งรถฟื้นได้ | เรื่องราว | ||
367. ลำปางยามเมื่อได้ | เพลินชม | ||
ตกแต่งหนทางคราว | เยี่ยมยั้ง | ||
ติดโคลนเปียกเป็นตม | เต็มอยู่ | ||
ฝนตกเทียวครั้งนี้ | ยากเย็น | ||
368. ชวนกันแวะที่ร้าน | อาหาร | ||
ยายสั่งก๋วยเตี๋ยวเป็น | ราดหน้า | ||
แปลกดีเพิงทราบกล | การสั่ง | ||
อาจกลับกันถ้าได้ | เลอะเลือน | ||
369. คำรามเสียงฟ้าฟาด | ครืนครืน | ||
ซู่ซู่ฝนลงเหมือน | ล่มฟ้า | ||
ลมแรงยากหลบฝืน | เย็นชุ่ม | ||
หนาวสั่นจนกน้าน้อง | เปียกปอน | ||
370. ชวนกันไปหลบลี้ | หลีกฝน | ||
ตลาดสดขอพักตอน | แต่เค้า | ||
พายุสาดซัดจน | เปียกโชก | ||
หนาวยิ่งนวลเจ้าน้อง | จับไอ | ||
371. หอบหืดตามติดแล้ว | ลำเค็ญ | ||
ยาพ่นยาเม็ดไฉน | บ่สู้ | ||
หลายขนานบ่อาจเป็น | ยาช่วย | ||
หอบเหนื่อยบ่รู้แก้ | แก่กัน | ||
372. ฝนซาเรียกรถแล้ว | รีบไป | ||
เขาส่งรถบัสพลัน | เร่งร้อน | ||
เสาะหาร่วมยาไว | วายวุ่น | ||
อีกหนึ่งชุดซ้อนซ้ำ | หืดหาย | ||
373. จวนถึงสองทุ่มแล้ว | ลีลา | ||
เหน็ดเหนื่อยเพลียใจกาย | หลับพริ้ม | ||
เหลือเรานั่งชมครา | คืนถิ่น | ||
ฝนหนักยามยิ้มแย้ม | แปลบใจ | ||
374. หยาดฝนหล่นจากฟ้า | ฝากครวญ | ||
ยามหม่นหมองหทัย | ทุกข์ท้น | ||
สายฝนดั่งเนตรนวล | บอกพี่ | ||
ยามร่ำไรล้นน้ำ | เนตรนอง | ||
375. เย็นใจยามกลับบ้าน | เมืองเลย | ||
แดนอื่นงามดังทอง | เลิศล้น | ||
ฤๅเทียเท่าแดนเคย | ครองอยู่ | ||
ดีชั่วมิพ้นต้อง | ต่าวมา | ||
376. อวสานสารสุดสิ้น | สิ่งสรรพ์ | ||
เทียวท่องเมืองเหนือครา | หนึ่งนี้ | ||
จากไปมิกี่วัน | วนกลับ | ||
เพียงเพื่อชวนชี้บ้าน | เบิ่งเมือง | ||
377. ภรรยาแลลูกน้อย | ติดตาม | ||
เขียนเพื่อพอประเทือง | จิตไว้ | ||
บันทึกอ่านเล่นยาม | แก่เฒ่า | ||
เปิดอ่านดูได้รู้ | เรื่องราว | ||
378. ขุนทองนามผู้ที่ | ขีดเขียน | ||
ศรีประจงสกุลสาว | สืบไว้ | ||
คืนวันบ่อาเกียรณ์ | กลบท | ||
สามสิบเอ็ดได้ถ้วน | นับวัน | ||
379. ควรมิควรขัดข้อ | เคืองใจ | ||
เกินล่วงขอโทษทัณฑ์ | อย่าข้อง | ||
ผิดพลาดโปรดอภัย | เทอญท่าน | ||
เขียนอ่านกันน้องน้อง | อย่าถือ | ||
380. ตริสามสิบเอ็ดตั้ง | กรกฎ | ||
เพียรแต่งเป็นหนังสือ | กล่าวอ้าง | ||
สามแปดศูนย์นับบท | โคลงสี่ | ||
สามสิบสิงห์สร้างสิ้น | เสร็จสม |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น