วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อ่านคำร้อยกรองแล้วติดใจ

                                                    ถ่ายที่ตราดโฮเทล ธันวาคม ๒๕๖๑ 
.........ผมชอบอ่านบทร้อยกรองที่คนอื่นแต่ง และชอบมองหาตำหนิแบบคนหาเรื่อง ทะเลาะกับเพื่อนฝูงบ่อยมาก เพราะไปเห็นตำหนิบทร้อยกรองของเขา  แต่ก็มักตามมาขอโทษทีหลังที่บอกตำหนิให้ คนเรา ก็เป็นแบบนี้แหละ ไม่อยากให้ใครตำหนิ  ส่วนผมก็ประเภทตำหนิเก่ง สมัยเป็นครูมีหน้าที่ตรวจแผนการสอน ต้องคัด 2 กลุ่ม คือ ตรวจปกติ และตรวจเพื่อแก้ไข มีบางคนสอนคณิตศาสตร์ แต่เอาแผนการสอนมาให้ครูภาษาไทยตรวจให้ เธอว่าหัวหน้าเธอตรวจเรียบร้อย ไม่มีร่องรอยการตรวจเลย มีแต่ลายเซ็นต์ว่า ตรวจแล้ว อาจารย์ตรวจให้หน่อย ก็ต้องถามก่อนว่าตรวจเฉย ๆ หรือตรวจเพื่อแก้ไข อ้อ เนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์ผมไม่ชำนาญนะ แต่รูปแบบการเขียนแผนการสอน ผมตรวจให้ได้  ก็เลยโดนหนัก รอยปากกาแดงเต็มหน้ากระดาษ นึกว่าจะโกรธ วันหลังหอบกระเช้าผลไม้มาฝาก เอาแผนมาให้ดู ยิ้มชอบใจ บอกหนูอยากได้แบบนี้แหละ  เอออย่างนี้ก็มี  แล้วมันเกี่ยวอะไรกับร้อยกรอง....ผมครูภาษาไทย การสอน แต่งร้อยกรอง ก็มีบ้าง เคยเขียนบทเรียนสำเร็จรูปแต่งกาพย์ยานี เชียวนา ดังนั้นเห็นร้อยกรองจึงชอบอ่าน และชอบตำหนิ จนเป็นนิสัย เด๋ียวจะตำหนิให้ดู
                                                                          ขุนทอง ศรีประจง
                                                                           1 มกราคม2562
หมายเหต ข้อความตำหนิ จะแจ้งผู้ถูกคำหนิทราบ และคงไว้เพจนี้ 1 วัน ครบ 1 วันลยทิ้ง อยากเก็บก็รีบคัดลอกเอาเอง
                  1.  โคลงหรือกลอน   ได้อ่านคำร้อยกรองของนักเขียนท่านหนึ่ง บอกเป็นโคลงพัฒนา กลบทใหม่ ๆ คงเบื่อแบบเก่า ๆ ที่แต่งกันมานานมั้ง เลยออกแบบโคลงชนิดแปลกใหม่ดูบ้าง เลยได้โคลงแปลก ๆ ก็ดูเพราะดีครับ
                   .......โคลงมี บาทละ 2 วรรค 4บาทเป็นหนึ่งบท อันนี้ยังเหมือนเดิม
..........................สัมผัสบังคับ ยังมีเหมือนเดิมทุกประการ
..........................ส่วนที่เติมคือ คำท้ายบาท จะส่งสัมผัสไปยังคำที่ 1 /2/3 บาทถัดไปเสมอ
..........................กำหนดให้มีสัมผัสชิด สองคู่ในวรรคหน้า ให้สัมผัสพยัญชนะคำที่ 5-6-7

............ลองเขียนแผนผังตามที่เห็น จะพบว่าวรรคหน้า มีปุ่มระบายสีสองคู่ คือสัมผัสชิดที่เติมเข้าไป  ปุ่มสีดำบาทหนึ่งมีสามปุ่ม เป้นสัมผัสพยัญชนะ ที่กำหนดเพิ่ม ถ้าหยุดแค่นี้ พอทนได้ โคลงยังไม่แปลกนัก
............ส่วนที่ทำให้แปลกคือบังคับสัมผัสระหว่างคำท้ายบาทไปยังคำที่1/2/3 บาทถัดไป จะลองแต่งดู
                              ลองของแปลงแต่งข้อง..........คำโคลง
                          โยงโต่งแปลกแยกโปง..............ป่นปี้
                         ดีนี่ช่างต่างโลง...........................ลองเล่น  แลฤๅ
                         เป็นเช่นยากหลากลี้..................หลบเร้นเป็นไฉน
.........ผลที่เกิดคือ คำโคลง สัมผัสบังคับ ปกติส่งไปคำที่ 5 บาทสองและบาทสาม ถูกดึงไปสัมผัสต้น
บาทที่สอง ผลก็คิอเกิด ชิงสัมผัสในบาทที่สอง
..........2. อีกคนหนึ่งเขียนกลอนเก่ง มาลองแต่งโคลงบ้าง เห็นโคลงไม่มีสัมผัสระหว่างวรรค เลยใส่เข้าไป ก็ดูเพราะดี แบบนี้โคลงนิราศสุพรรณเคยทำมาแล้ว ปรากฏว่าไม่ค่อยนิยม สัมผัสระหว่างวรรค ในโคลงนิยมใช้สัมผัสพยัญชนะมากกว่าสัมผัสสระ
                            สัมผัสโคลงแต่งคล้อง...........จองกัน
.........................วรรคค่อวรรคสัมพันธ์.................มั่นไว้
.........................เสียงสระแปลกแปลกยัน...........ขันยุ่ง ดีแฮ
.........................เดิมท่านชอบบอกให้.................ใส่อ้างอักษร
................ผลที่เกิดคือได้สัมผัสระหว่างวรรคต่อวรรคในทุกบาท  แต่สัมผัสบังคับคำท้ายบาทแรก ที่
ส่งให้คำท้ายวรรคหน้าของบาทที่สองและสาม จะถูกโยงสัมผัสไปยังวรรคหลัง กลายเป็นสัมผัสเฝือ คือ
เหลือใช้ ดังตัวอย่าง กัน ส่งให้ พันธ์ มั่น ยัน ขัน ปกติบังคับส่งให้สองคำก็พอดีแล้ว แต่นี่กลายเป็นสี่คำ
โบราณใช้สัมผัสระหว่างวรรคแต่ละบาทท่านแนะนำให้ใช้สัมผัสพยัญชนะ
                            สัมผัสโคลงแต่งคล้อง...........คำกัน
.........................วรรคค่อวรรคสัมพันธ์................ผูกไว้
.........................เสียงเพราะอ่านยืนยัน.............. ยังยิ่ง ดีแฮ
.........................เดิมท่านชอบบอกให้.................เหตุสร้างเสนาะเสียง
...........3. ชอบลีลากลอนมาใช้กับโคลง กลอนแปดมีวรรคละสามจังหวะ ช่วงจังหวะต่อจังหวะจะใส่สัมผัสเพิ่มอีกก็ได้ ถือว่า เพราะ แต่พอใช้กับโคลงกลับแปลก ๆ
                         สัมผัสกลอนสอนกันสรรค์เสนอ.............มักจักเจอจำเพาะเสนาะเสียง
.........................สามจังหวะกะให้ใช้สำเนียง...................เพราะพริ้งเพียงขับขานการดนตรี
................ทุกจังหวะพยายามให้มีสัมผัสชิดสระ เว้นจังหวะแรกวรรคหลังใช้สัมผัสพยัญชนะแทน ดัง
ตัวอย่าง คำที่สัมผัสกันได้แก่  กลอน--สอน  กัน--สรรค์       (เจอ--จำ) เพาะ-เสนาะ
.........................................หวะ-กะ ให้-ใช้                            (พริ้ง-เพียง)---ขาน-กาน


                                                
                          



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น