ตอบคำถามที่ 1 พระเดินถนนท่านทำธุดงค์ใช่ไหม ? | ||
กลอนแปด | ||
คำถามว่าเห็นพระเดินถนน | มีบางคนบอกธุดงค์เลยสงสัย | |
เคยอยู่วัดพอทราบเรื่องความนัย | เป็นไฉนธุดงค์ที่สงกา | |
เป็นกิจพระที่ประสงค์ถือปฏิบัติ | เอาเคร่งครัดกว่าปกตินั่นแหละนา | |
ที่นิยมสิบสามอย่างตามรู้มา | ปฏิญญาได้เองมิยากเย็น | |
คนอื่นรู้มิรู้มิเป็นไร | เพียงตั้งใจมั่นคงแม้ยากเข็น | |
จักประพฤติปฏิบัติทำให้เป็น | เหมือนดังเช่นปฏิญานนั้นแน่นอน | |
ตัวอย่างท่านหลวงพี่พระจินดา | จักลองหาธุดงค์ตามครูสอน | |
ทำวัตรเสร็จปฏิญญาณทุกบทตอน | จักแรมรอนบิณฑบาตรมิขาดเลย | |
ข้อสองจักฉันในบาตรมิขาดกิจ | พึงสัมฤทธิ์ตามนี้มินิ่งเฉย | |
นับแต่นั้นมิขาดบิณทบาตเคย | เพื่อนชมเชยขยันนี่หลวงพี่เรา | |
ลำบากหน่อยข้อสองฉันในบาตร | บางวันขาดกับข้าวมิใช่เขลา | |
ปฏิญาณธุดงค์ไว้ใช่แล้วเรา | ฉันข้าวเปล่าบางวันกับไม่มี | |
ปฏิบัติเช่นนี้ไปตลอด | เรียกว่ายอดกิจธุดงค์ส่งเสริมศรี | |
อีกสิบเอ็ดหัวข้อล้วนเรื่องดี | อาจารย์ชี้เลือกทำตามสมควร | |
เช่นถือผ้าสามผืนคืนและวัน | ถือสำคัญติดตัวไว้อย่าได้สรวล | |
แค่สบงสังฆาฏิจีวรชวน | ถือได้ล้วนลำบากยากอะไร | |
มันยุ่งยากนุ่งห่มหลายวันเข้า | ผ้าหมองเศร้าพึงซักรู้จักไหม | |
ซักสบงนุ่งจีวรรอก่อนไง | แห้งแล้วได้เปลี่ยนบ้างล้างสังฆา | |
รออยู่นั่นจีวรแห้งได้เปลี่ยน | ต้องพากเพียรลำบากยากยุ่งหนา | |
ปฏิญาณแล้วทำได้ตามวาจา | แบบนี้หนาธุดงค์ถือผ้าไตร | |
บางท่านถือแต่ผ้าบังสุกุล | ยุ่งยากคุณจักหาจากที่ไหน | |
มีงานศพรีบแจ้งพระท่านไป | อยากได้ผ้าบังสุกุลถือธุดงค์ | |
พระเข้าใจจัดให้มิยุ่งยาก | ถึงลำบากหาได้ดังประสงค์ | |
ปีละหนผัดเปลี่ยนผ้ามั่นคง | ค่อยมาปลงทำต่อก็ตามใจ | |
หรือจะเปลี่ยนกิจต่างอย่างอื่นมี | สิบสามชี้เรื่องธุดงค์อย่างสงสัย | |
หนึ่งถือผ้าสามผืนคือครบไตร | สองจักใช้แต่ผ้าบังสุกุล | |
สามปิณฑปาฏิกังคะ | จะรับบาตรพอเพียงเลี้ยงชีพหนุน | |
มิรับกิจนิมนต์ขอรับคุณ | อบอุ่นใจยากเข็ญเป็นธุดงค์ | |
สปาทานจาริกังคะครับ | ตามลำดับจาริกมิลืมหลง | |
ละแวกเดิมบิณฑบาตรมุ่งมั่นตรง | ด้วยเจาะจงแผ่บุญกรุณณา | |
ห้าเอกาสนิกังคะมั่น | นั่งลงฉันห้ามหมดเรื่องภักษา | |
มิรับเพิ่มเติมให้ไม่รับมา | อาสนะนั่งแล้วจบไปเลย | |
หกปัตตปิณฑิกังคะรับ | ฉันข้าวกับในบาตรท่านเฉลย | |
มีอะไรก็ฉันตามที่เคย | มิยอมเอ่ยขออะไรไปเพิ่มเติม | |
เจ็ดขลุปัจฉาภัตติกัง | นั่งฉันแล้วไม่รับของมาเพิ่ม | |
มีเท่าไรฉันไปก็ตามเดิม | มิรับเสริมมาถวายก็ไม่เอา | |
แปดอารัญญิกังคะ | สมาทานอยู่ป่าอยู่ขุนเขา | |
เสนาสนะป่าประมาณเดา | คือเป้าหมายปักกลดพักกายา | |
เก้ารุกขมูลิกังคะจัด | เพราะถนัดโคนไม้พอหลับหนา | |
สิบอัพโภกาสิกังคะมา | หวังว่าอยู่กลางแจ้งกิจธุดงค์ | |
ไร้หลังคาร่มไม้ใช้พักผ่อน | ลำบากตอนปฏิบัติวัตรประสงค์ | |
สิบเอ็ดโสสาสนิกังตรง | ป่าช้าคงน่ากลัวต้องทำใจ | |
จะอาศัยพักผ่อนหลับนอนตรง | คงมิกลัวผีหลอกบอกจริงไหม | |
ยถาสันถติกังคะนัย | จะรับไว้ที่พักตามเกิดมี | |
พอใจในสถานอยู่อาศัย | อยู่กันไปจำเพาะเหมาะวิถี | |
เนสัชชิกังนั่งวัตรยินดี | ยืนเดินชี้แลนั่งมิรำคาญ | |
ไม่นอนเลยฝึกฝนจนช่ำชอง | หลับก็ต้องท่ายืนหรือนั่งหาญ | |
สู้มิถอยอดทนกระทำการ | ธุดงค์ผ่านเรื่องยากลำบากไป | |
สิบสามข้อเรียกนามธุดงค์วัตร | ปฏิบัติเลือกเองแท้แน่ไฉน | |
มิบังคับเลือกทำตามพอใจ | ขอเพียงให้มุ่งมั่นประพฤติธรรม | |
ส่วนพระเดินมิใช่กิจธุดงค์ | เพียงประสงค์ไปมานึกน่าขำ | |
ชาวบ้านเห็นนึกว่ากิจกรรม | ธุดงค์นำมาเล่าไม่เข้าใจ | |
อยากจะรู้ไปดูที่อาวาส | พระสามารถทำธุดงค์มิสงสัย | |
อธิษฐานแล้วทำธุดงค์ไป | แบบที่ได้เลือกทำเท่านั้นแลฯ | |
วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ธุดงควัตร
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น