รูปนายขุนทอง ศรีประจง ผู้แต่ง
คำชี้แจงจากผู้แต่ง
...............ผมเคยตั้งใจจะนำนิทานพื้นบ้านอีสาน มาแต่งคำร้อยกรอง เพื่อรวบรวมไว้ให้ลูกหลานได้อ่าน
ประการหนึ่ง อีกอย่างก็อยากลองแต่งเองบ้าง เพราะอ่านบทร้อยกรองที่กวีท่านแต่งไว้ก็สนุกดี เลยอยาก
ลองแต่งเองบ้าว่าจะจบไหม ลองมาหลายเรื่องแล้ว จบจนได้แหละ ส่วนดีไม่ดีแล้วแต่คนอื่น เพราะคนแต่งนึกว่าแต่งได้ดีมากแล้ว วันหลังมาอ่านดูก็ขำ ๆนะ ข้อบกพร่องมันก็มีให้เห็นอยู่ ก็ดีจะได้ใช้เป็นข้อมูลพัฒนาฝีมือการเขียนร้อยกรองต่อไป
..............คันธนามคำโคลง เมื่อสิบเมษายน ๒๕๖๓ จบเมื่อ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๓ ยาว โคลง ๓๐๘ บท + เบ็ดเตล็ด ๗ บท รวมเป็น โคลง ๓๑๕ บท
สวัสดีครับ
-
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ----------
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ----------
..................ศุภมัสดุวาร....สอบทานเป็นวันพุธ......จุดเริ่มจารคำกรอง | ||
ทำนองเป็นคำโคลง....เชื่อมโยงเล่านิทาน......เรื่องโบราณกล่าวไว้ | ||
ให้ปรากฏเป็นสาร....ผู้คนอ่านรู้ธรรม......จดจำไว้สืบต่อ.....พอเป็นแก่น | ||
เป็นสาร.....บอกลูกหลานเรื่องราว......คราวอยากรู้นิทาน.....ท่านท้าวชือ | ||
คันธนาม....ตามเรื่องราวก่อนเก่า.....คนเฒ่าบอกต่อกัน.......บ้างเรื่องสั้น | ||
เรื่องยาว.......คราวนี้จักหยิบบ้าง....อ้างท้าวคัทธนาม....ยามเริ่มต้นไหว้ | ||
ครู......บูชาคุณไตรรัตน์.......จงขจัดกิเลส.....เหตุแห่งความโง่เขลา | ||
มิเอาการเกียจกรรม....ทำการยากทดท้อ.....ขอให้พ้นผ่านได้.....ใคร่ขีด | ||
เขียนเพียรแต่ง....แปลงเป็นบทร้อยกรอง.....ท่วงทำนองคำโคลง.....โอง | ||
การไหว้ครูบา......คณาจารย์ทั้งมวล......ควรสักการเคารพ.......นอบนบ | ||
อภิวันทน์....สรรธูปเทียนกราบไหว้....ขอพระคุณท่านได้.....ก่อเกื้อกูลการ | ||
โสดเทอญฯ --------------------------------------- | ||
๑.ปางสถิตแปดริ้ว | หกสาม | |
เมษะมาศฤกษ์ยาม | แจ่มแจ้ง | |
อาทิตย์รุ่งเห็นงาม | ทุกเมื่อ | |
อัสดงมิแย้ง | ค่ำแล้วลับลา | |
๒.เสียดายจันทร์อิดเอื้อน | อวดโฉม | |
งามแม่งามประโลม | ทั่วหล้า | |
ใจจริงใคร่ประโคม | ยกย่อง | |
เดือนหนึ่งนิดเดียวจ้า | จรัสแจ้งเจ็ดวัน | |
๓.วันเหลือเดือนมืดเจ้า | ลับตา | |
เราหม่นหมองแลหา | ค่ำแล้ว | |
มิเห็นแจ่มจันทรา | เยือนเยี่ยมเราแล | |
ฤๅแจ่มจันทร์จักแคล้ว | เคลื่อนคล้อยลับไกล | |
๔.ถึงจันทร์จักห่างห้อง | ไกลกัน | |
เรียมคร่ำครวญหาจันทร์ | ค่ำเช้า | |
มีจันทร์แจ่มใจฉัน | รมย์รื่นนักแล | |
มีสุขชมจันทร์เจ้า | ชื่นหน้านวลจันทร์ | |
๕.สติมาเรียบร้อย | เริ่มการ | |
หวั่งว่าจักเสกสาร | จดไว้ | |
คำโคลงเริ่มจักจาร | คำรายเสร็จแล | |
เป็นบทสักการไซร้ | นบไท้เทิดครู | |
๖.คัทธนามชื่ออ้าง | นิทาน | |
คำเล่ากันนับนาน | เนิ่นแล้ว | |
ตายายเล่าบอกหลาน | สนุกยิ่ง | |
พอค่ำลงแจ้วแจ้ว | ออดอ้อนคุณยาย | |
๗.ต่อต่่อมาพี่น้อง | มาฟัง | |
ยายเล่าเสียงดังดัง | หน่อยจ้า | |
หนูแอบห่างมานั่ง | ตักแม่ | |
เสร็จนิ่งฟังเลยจ้า | เริมเต้านิทาน | |
๘.อดีตกาลก่อนโน้น | เล่ามา | |
สีสะเกษนครา | หนึ่งนั้น | |
จำเริญเยี่ยงเทวา | เสกแต่งปุนแล | |
งามยิ่งงามเทียบชั้น | อยู่ฟ้าแดนสรวง | |
๙.กษัตริย์สีสะเจ้า | ราชา | |
ทรงราชย์ปกอาณา | เขตนี้ | |
ทรงธรรมแผ่ประชา | ชมชื่น | |
ทศพิธบพิตรชี้ | ช่องให้เย็นประชา | |
๑๐.สมบูรณ์พูนสุขด้วย | กสิกรรม | |
พาณิชยิ่งกระทำ | ต่างค้า | |
และขายเปลี่ยนสินจำ | แจกจ่าย | |
เกินคล่องชนต่างกล้า | แลกซื้อเปลี่ยนกัน | |
๑๑.สมบูรณ์น่าไร่ล้วน | กสิการ | |
พืชไร่งดงามปาน | เสกไว้ | |
ในนายิ่งงามงาน | เพาะปลูก | |
ควรชืนชมผลได้ | น่าได้ยินดี | |
๑๒.จอมเมืองถือเคร่งได้ | ฮีตครอง | |
เดือนหนึ่งจงจับจอง | ฮีตไว้ | |
พระสงฆ์อยูกรรมมอง | ดีช่วยท่านแล | |
กิจยิ่งยากนักไซร้ | ช่วยเอื้ออำนวย | |
๑๓.จังหันเพลจัดพร้อม | เพ็ญทาน | |
บุญก่อเกิดเบิกบาน | แน่แท้ | |
พระอาบัติจันงาน | ออกบ่วงบาปแล | |
เราช่วยพระได้แก้ | บ่วงด้านวินัย | |
๑๔.เดือนยี่ยามเกี่ยวข้าว | เสร็จสรรพ์ | |
ลอมเบิ่งสูงยิ่งสำคัญ | ลาภล้วน | |
ผลผลิตยิ่งดีพลัน | เอิบอิ่มใจแล | |
ฉลองหน่อยดีทั่วถ้วน | ใช่แล้วคูณลาน | |
๑๕.ทำขวัญลานย่อมได้ | มงคล | |
พระสวดมงคุณคน | แห่ล้อม | |
ชุมกันร่วมบุญจน | เนืองแน่น | |
เมาแอ่สาโทพร้อม | เสพให้สนุกกัน | |
๑๖.ฉลองเสร็จชวนนวดข้าว | สนุกดี | |
คันหน่อยช่วยกันดี | เรียบร้อย | |
กองสูงใหญ่มากมี | ผลยิ่งชอบแล | |
หาบส่งเฮื่อนค่อยคล้อย | ค่อยสิ้นเสร็จนา | |
๑๗.เดือนสามเปิดป่องด้าน | ยุ้งฉาง | |
ลองหน่อยของใหม่นาง | ตักข้าว | |
ครกมองช่วยตำพลาง | ฝัดแกลบ | |
นานเนิ่นหนูหย่วงน้าว | เปลี่ยนได้ขาวงาม | |
๑๘.กระเทาะเปลือกออกได้ | ข้าวสาร | |
ยอดเก่งลูกสาวงาน | หนักเจ้า | |
ตำเสร็จต่าวทำการ | เหยียบครกมองแฮ | |
สามรอบซ่อมแต่เช้า | เสร็จได้พักแล | |
๑๙.โรงสีเกิดช่วยได้ | คุณตา | |
สานกล่องกลมกลมา | ต่อเข้า | |
มีเฟืองกดหมุนรอบครา | หมุนอยู่ | |
ข้่วเปลือกเทลงเจ้า | ช่องให้ลงสี | |
๒๐.ข้าวเปลือกโดนสีบดบ้าง | แตกไป | |
ฝัดหน่อยแกลบหายไว | ช่วยบ้าง | |
หลายรอบที่สีใคร | หนอช่วย | |
สาวเก่งทุกบ้านอ้าง | เรื่องนี้เขาชาญ | |
๒๑.มินานมีเครื่องได้ | ช่วยสี | |
ลืมหมดครกมองหนี | ห่างแล้ว | |
บาทเดียวเก็บยินดี | มิเหนื่อย | |
ขาบ่อปวดน้องแก้ว | ย่อมปลื้มสบายใจ | |
๒๒.เดือนสามเพ็ญใช่แล้ว | การบุญ | |
มาจี่กันพ่อคุณ | จี่ข้าว | |
อากาศยิ่งหนาวหนุน | การก่อไฟแล | |
ผิงเล่นมาย่างฟ้าว | จี่ข้าวมันหอม | |
๒๓จกมาหนี่ยวนิ่มแท้ข้าวเหนียว | ||
บีบแน่นเกาะเป็นเกลี่ยวเสียบไม้ | ||
ย่างไฟค่อยพลิกเชียว | เกรียมสุกดีนา | |
สีสุกเกรียมแล้วไซร้ | ต่อยด้วยไข่มา | |
๒๔.ใบตองพันแน่นไช้ทำแปรง | ||
ตีไข่จุ่มอย่างแรง | เช็ดข้าว | |
ทารอบหนึ่งแสวง | ไฟย่าง | |
สุกย่างหอมไข่จ้าว | เคลื่อบปั้นย่างไฟ | |
๒๕.สองรอบท่าไข่แล้วย่างไฟ | ||
หอมยิ่งทนบ่ไหว | แอบลิ้ม | |
คำหนึ่งอีกหนึ่งไว | ชิมเล่น | |
หมดครึ่งมั่วแต่จิ้ม | แอบได้ลองชิม | |
๒๖.บางคนชอบแค่น้ำมันหมู | ||
ทารอบจี่ก็ดู | แปลกแท้ | |
หอมมากใครลองดู | คำหนึ่ง | |
ยอดเยี่ยมจริงจริงแล้ | กลิ่นน้ำมันหมู | |
๒๗.ลางคนชอบใส่อ้อย | ข้างใน | |
พอสุกเปื่อยจรุงใจ | แท่งข้าว | |
กัดคำหน่อยหวานใย | หอมยิ่ง | |
เพราะเพื่อนยัดอ้อยจ้าว | อย่างนี้จึ่งหอม | |
๒๘.วันเพ็ญป่าวทั่วบ้าน | ทำบุญสูเอย | |
เกณท์จี่กันพ่อคุณ | จี่ไว้ | |
มาวัดเพื่อนทานปุน | แปงก่อทานแล | |
เชิญทั่วกันมากได้ | จี่ข้าสทำทาน | |
๒๙.ถึงวันชุมแต่งข้าว | มากมาย | |
ครัวหนึ่งสามอันยาย | แต่งให้ | |
สี่สิบสี่ครัวหลาย | มาหมด | |
คูณกับสามแล้วไซร้ | ใช่แล้วจำนวน | |
๓๐.เขาจี่รวมร้อยเศษ | รวมกัน | |
เต๋มสี่กะมังสรรพ์ | เรียบร้อย | |
พระเณรแค่หกฉัน | ไหวปล่า | |
ตายแน่สามเณรน้อย | จุกข้าวจีเหลือ | |
๓๑.สังฆทานมีข้าวจี่ | แถมมา | |
ฉันอิ่มโยมเข้าหา | ยกให้ | |
แบ่งกันช่วยกินนา | อร่อยยอ่ง | |
กินบ่อหมดแจกให้ | ฝากบ้านลูกหลาน | |
๓๒.สนุกบุญจี่ข้าว | เดือนสาม | |
จารีตคองงดงาม | แต่เค้า | |
เสียดายที่ติดตาม | ไม่ค่อยมีแล | |
วัดบ่มีพระเฝ้า | ปล่อยร้างกันไป | |
๓๓.สัญญานการเลิกร้าง | วัดวา | |
คนบ่อใคร่นำพา | เรื่องเค้า | |
ไปวัดแค่ไปหา | งานเกี่ยวกันแล | |
ไปปล่อยวัวควายเจ้า | รกหญ้าสบายควาย | |
๓๔.หลวงตาก็แก่แล้ว | รูปเดียว | |
บวชเมื่อหกสิบเชียว | บักอ้าย | |
สวดมันต์ท่องยากเชียว | ตายิ่งมัวแล | |
สวดยถาก็คล้าย | ยากแท้บาลี | |
๓๕.ฮีตครองตาบุอฮู้ | ลูกหลาน | |
มีเปล่าพวกทิดจารย์ | ช่วยไซรฺ้ | |
คนเขาจักทำงาน | บุญบวช | |
ครองนาควานบอกให้ | อย่างแท้แบบไหน | |
๓๖.เจริญปริตล้วน | เลิกรา | |
หลวงปู่มิอาสา | สวดให้ | |
คนตายรีบไปหา | วัดอื่น | |
หาบ่ทันแล้วไซร้ | หมดแท้หนทาง | |
๓๗.สงสัยยุคสวดด้วย | เทคโน | |
หลวงพ่อไฮเทึโส | สวดได้ | |
เปิดเทปสวดนะโม | ดูคล่อง | |
เอากี่องค์บอกไว้ | ปกนั้นกี่องค์ | |
๓๘.เปิดเบาหรือเร่งให้ | ตามใจ | |
โวลลุ่มปรับกลไก | บ่ช้า | |
เสียงส่วดกุสลา | งานศพ | |
มิใช่งานอย่าช้า | แบบนี้มงคล | |
๓๙.เปลี่ยชุดสวดบ้าน | งานบุญ | |
สะดวกหลวงตาคุณ | แค่เฝ้า | |
เปิดเทปถูกงานสุน- | ทรียิ่ง | |
สมัยใหม่พกเทปเจ้า | สวดได้ทุกงาน | |
๔๐.ระวังอีกมิชัา | มีขาย | |
งานสวดมีหลากหลาย | เลือกได้ | |
พาหุงตักบาตรยาย | ขอหนึ่งชุดแล | |
สวดเย็นฃ่ะต้องใช้ | อีกซื้อคู่กัน | |
๔๑ทุ่มหนึ่งเริ่มกิจด้าน | มวดมนต์ | |
หลวงพ่อรูปเดียวคน | แน่นบ้าน | |
รับศีลท่านให้จน | จบเซทแลนา | |
อาราธนาปริตด้าน | เทปพร้อมเปิดไป | |
๔๒.นะโมตัสสะพร้อมกังวาน | ||
ปลวงพ่อนั่งมินาน | เรียบร้อย | |
ปล่อยไปจิบชางาน | คุมเครื่อง | |
เทปสวดมนต์แปดร้อยชุดนี้เสียงดี | ||
๔๓.รำพึงนึกหวาดไว้ | กลัวเกรง | |
มีสวดเล่นกันเอง | เทปสร้าง | |
เสียงสวดส่งวังเวง | คงวุ่นดีแล | |
พระบ่มีก็อ้าง | สวดได้เทปมี | |
๔๔.เดือนสี่พระเวสสได้ฟังธรรม | ||
ทางวัดขาดผู้นำ | แปลกแล้ว | |
ตรวจตรากิจกรรม | เตรียมแต่งไฉนแล | |
จัดเครื่องพันไม่แคล้ว | หมดแท้หนทาง | |
๔๕.สิบบ้านเคยส่งให้ | หนังสือ | |
วานช่วยเทศน์นันหรือหมดแล้ว | ||
พระเณรบ่มีคือ | เทศน์แบ่งไฉนฤๅ | |
มีแก่กุฏมิแคล้ว | จัดให้เทปเสียง | |
๔๖.ทายกหอบเทปแล้วตามมา | ||
หลวงพ่อจักเทศนา | ที่นั้น | |
วัดเขาส่งกัณฑ์หา | ไปเทศ | |
โยมช่วยเปิดเทศน์บั้น | เริมตันมัทรี | |
๔๗.พูดเล่นชอ | อย่าได้เป็นจริง | |
วานหน่อยลูกชายหญิง | สืบไว้ | |
บวชเรียนหาอยขอติง | เดือนหนึ่ง | |
หรือเก่งสามเดือนไซร้ | ค่อยให้แต่งเมีย | |
๔๘.อาวาสนิตยภัตต์ได้ | เดิมมี | |
ใครบวชสิทธิ์จัดที | มอบให้ | |
ดูแลวัดทันที | ควรจ่าย | |
คนจักทราบควรได้ | บวชต้องครบเดือน | |
๔๙.พันสองเดือนหนึ่งได้ | รับไป | |
ดีกว่าอยู่เรือนใย | เปล่าแห้ง | |
จักมีคนบวชใคร่ | รับส่วนเงินแล | |
โชคช่วยบวชนานได้ | รับเบี้ยเงินเดือน | |
๕๐.สงกรานต์เดือนที่ห้า | สำคัญ | |
ปีเปลี่ยนศักราชวัน | ผ่านแล้ว | |
ฉลองเปลี่ยนปักัน | สนุกใหญ่ | |
เมาแอ่นคงมิแตล้ว | หมักไว้สาโท | |
๕๑.ลงปลาบึงใหญ่ด้วย | ชุมกัน | |
เล็กใหญ่ปลาจับสรร | เลือกไว้ | |
แดดเดียวย่างนานา | ปลาหมักดองแล | |
จนเมื่องานเริ่มได้ | เพียบพร้อมภัตตา | |
๕๒.ทางวัดเก็บกวาดพร้อม | สะอาดตา | |
ตกแต่งบนศาลา | เรียบร้อย | |
จำลองแบบหิมวา | ตกแต่ง | |
รกหมู่ไม้มิน้อย | หมากพร้าวหมากตาล | |
๕๓.รอบศาลาแวดล้อม | ผ้าขาว | |
เขียนเล่าถึงเรื่องราว | บอกไว้ | |
พระเวสสันดรคราว | เดินป่า | |
จนจบกลับเมืองได้ | จบได้พอดี | |
๕๔.วันโฮ่มเชิญแห่พร้อม | ไปกัน | |
ไปแห่พระเวสวัน | กลับบ้าน | |
ปวงชนแห่สุนสันต์ | เริงร่า | |
กลองแห่คนร้อนต้าน | แหล่ให้คืนเมือง | |
๕๕.สญชัยโยเจ้าปู่ | มาเชิญ | |
พระเวสมัทรีเพลิน | อยู่ด้าน | |
ลำบากยิ่งนักเกิน | ลูกพ่อ | |
เชิญต่าวคืนทางบ้าน | ต่างพร้อมมาเชิญ | |
๕๖.ดนตรีแหนแห่พร้อม | สนุกสนาน | |
เดินผ่าดงดอนสราญ | ร่ำฟ้อน | |
จนถึงวัดยิ่งเบิกบาน | กันใหญ่ | |
สองรอบกาเต้นก้อน | เล่นอ้อมศาลา | |
๕๗.หกโมงย่ำค่ำแล้ว | พิธี | |
ฟังเทศน์เริ่มพอดี | จัดให้ | |
มาลัยหมื่นแสนมี | ฟังก่อน | |
วันพรุ่งจึงเริ่มได้ | แต่ต้นทศพร | |
๕๘.ฟังเทศน์วันหนึ่งให้ | จบดี | |
พระเวสสันดรมี | แต่เช้า | |
บ่ายสามจบทุกปี | มิเนิ่นนักแล | |
ข่อยเทศน์เองรู้เจ้า | บ่ช้าจบทัน | |
๕๙.บุญพระเวสเพาะไว้ | สั่งสม | |
ทานมัยกุศล | ฝากให้ | |
ลูกหลานปลูกผังตาม | อย่างท่าน | |
ฝักฝ่ายทานเอาไว้ | ปลูกสร้างนิสสัย | |
๖๐.สีสะเกษท่านท้าว | ราชา | |
บอกเล่าฮีตเป็นมา | ก่อนนั้น | |
สงกรานต์ช่วงเมษา | เสริมส่ง | |
คนเล่นสาดน้ำชั้น | สนุกได้เปียกปอน | |
๖๑.เดือนหกมาแต่งบั้ง | ไฟกัน | |
จุดส่งแถนบอกปัน | นาคน้ำ | |
อย่าเพลินส่งฝนพลัน | โปรยชุ่มดินแล | |
น่าไร่ชนทุกก้ำ | ตกกล้าไถแปร | |
๖๒.เดือนเจ็ดจงไหว้ปู่ | ตายาย | |
ผีป่าปกป้องหลาย | อยู่ยั้ง | |
ดอนตาปู่มากมาย | เป็ดไก่ | |
ดวดเด็ดน้ำขาวตั้ง | อีกพร้อมสาโท | |
๖๓.ฉลองกันทั่วบ้าน | ชุมนุม | |
รำมะนาตีตุมตุม | ร่ำร้อง | |
เพลงเพลินยิ่งเมาคุม | มิอยู่ | |
ลางเฒ่านอนยังต้อง | แอ่นฟ้อนคุณตา | |
๖๔.บนราวตรงหน้าแท่น | ศาลมี | |
เป็ดไก่ต้มสุกดี | ทุกบ้าน | |
จัดมาแน่นเวที | เชิญปู่รับแล | |
เสร็จปู่เราต่อต้าน | อยากได้สักตัว | |
๖๕.มิเห็นปู่ขัดข้อง | ชอบใจ | |
ตัวหนึ่งปู่รับไว | บ่ช้า | |
หมดตัวเร่งขอใหม่ | นะปู่ | |
ตัวนั่นหมดแล้วจ้า | อยากได้ใหม่แทน | |
๖๖.จนบ่ายเงียบเรียบร้อย | มันเมา | |
มันม่อยหลับสนุกเขา | เมื่อยล้า | |
เรียงรายหลับดาษดา | เต็มป่า | |
ดอนปู่เขาหากกล้า | หลับได้มิกลัว | |
๖๗.หากงานสนุกได้ | จึงดี | |
ผลส่งฟ้าฝนมี | ชุมได้ | |
หากจัดบ่สมที | ลำบาก | |
อาจส่งผลแล้งให้ | ทุ่งร้างขาดฝน | |
๖๘.มีงานบุญชะล้าง | ทุกปี | |
ศาลหลักบ้านเขามี | หลักบ้าน | |
บุญชำฮะบอกที | เชิญร่วม | |
หากรวดทรายอย่าคร้าน | หอบหิ้วมาโฮม | |
๖๙.สายสิญจน์โยงรอบบ้าน | โยงไป | |
ผูกต่อบ้านเพื่อนใคร | อยู่ใกล้ | |
ต่อกันอย่างสายไฟ | ปลายที่ชุมแล | |
ตรงที่กลางบ้านไซร้ | จักได้ทำพิธี | |
๗๐.พระสวดปริตต้อง | สามวัน | |
คนต่างมารวมกัน | เพียบพร้อม | |
สามวันจบจัดพลัน | ตักบาตร | |
สังฆทานแวดล้อม | พระเจ้านิมนต์ | |
๗๑.ถวายทานจบแล้ว | กลับกัน | |
กรวดทรายแบ่งไปพลัน | ที่บ้าน | |
โปรยหว่านไล่ผีสรรพ์ | จงห่าง | |
ไปที่นาอย่าคร้าน | จัดให้โปีรยไป | |
๗๒.เป็นดินหินเสกแล้ว | ดีงาม | |
เกิดกุศลบุญตาม | แน่แท้ | |
ดินน่ายิ่งดียาม | เพาะปลูก | |
นาก็งามช่วยแก้ | โรคร้ายลงนา | |
๗๓.เขามีพวกฝ้ายผูก | ข้อมือ | |
พระสวดเหมือนเสกคือ | เป่าแล้ว | |
มนต์ขลังยิ่งนักลือ | ขอหน่อย | |
ฝากลูกหลานได้แคล้ว | คลาดแคล้วภัยพาล | |
๗๔.ชำฮะบุญเสร็จแล้ว | ร่มเย็น | |
เป็นอยู่มิยากเข็ญ | ช่วงนี้ | |
ฝนชุกลงนาเป็น | ภาระกิจแล | |
ภาระหนักเงียบชี้ | แยกย้ายไปนา | |
๗๕.เดือนแปดฝนชุกได้ | ต้นปี | |
ดำเสร็จรอบนามี | ปลูกข้าว | |
เขียวงามยิ่งยินดี | มองทั่ว | |
ชะอุ่มพุ่มชวนห้าว | หากห้าวหาญใจ | |
๗๖.นางามเขียวดาดพื้น | ธรณี | |
ใครย่อมเห็นยินดี | ทั่วหน้า | |
ฝนเอยช่ยโปรยมา | พรหมทั่วถึงแล | |
กอแผ่งามข้าวกล้า | เปี้ยมล้นพึงใจ | |
๗๗.เดือนแปดพระท่านเข้า | พรรษา | |
ชองฝากผ้าขาวมา | จัดให้ | |
ภวายไปช่วยฝนพา | เชิญอาบฝนแล | |
มิเปล่าเปลือยอาบได้ | นั่นผ้าอาบฝน | |
๗๘.เพ็ญอาสาฬหะนี้ | สำคัญ | |
พระพุทธเสด็จทัน | เทศน์แจ้ง | |
อิสิมิคทายวัน | ไปโปรด | |
ปัญจวัคคีแสร้ง | ไม่่เกื้อกูลการ | |
๗๙.บุญมีมิอาจแสร้ง | กีดกัน | |
ลุกนั่งเคารพพลัน | เรียบร้อย | |
ยังฝืนบ่สำคัญ | ทำหยิ่ง | |
พระตรัสฟังยิ่งคล้อย | ยิ่งเข้าใจธรรม | |
๘๐.โกญทัญญะรู้ | ปัญญา | |
สรรพสิ่งที่เกิดมา | อยู่ได้ | |
มินานย่อมมรณา | ดับแตกไปแล | |
เป็นอนัตตาไซร้ | ทั่วถ้วนสังขาร | |
๘๑.อัญญาวตแทั | อาวุโส | |
เกิดแก่โกญทัญโญ | ใช่แล้ว | |
ดวงตาแห่งธัมโม | ของท่าน | |
ประเสริฐนักดวงแก้ว | ลุได้โสดา | |
๘๒.ทูลขอบวชพระได้ | ดังประสงค์ | |
เทศน์ต่อมินานจง | เสร็จได้ | |
มรรคผลก่อเกิดตรง | ทุกท่าน | |
อรหัตถลึไซร้ | ครบถ้วนหกองค์ | |
๘๓.สองพันหาร้อยเศษ | นานปี | |
พุทธศาสน์เกิดมี | เนิ่นช้า | |
รำลึกยิ่งคุณดี | มากค่า | |
พระพุทธองค์เกริกกล้า | เสกสร้างศาสนา | |
๘๔.เดือนเก้าวันดับสร้าง | เสกบุญ | |
ประดับดินคนปุ่น | แต่งไว้ | |
ของกินแต่งทานคุณ | หวังส่ง | |
อุทิศทานจงได้ | ท่านผู้ลับไป | |
๗๕.เดือนดับสิบสี่อ้าง | ปล่อยผี | |
นรกปล่อยใครมี | ญาติบ้าง | |
ไปหาเพื่อขอมี | บุญแตกทานแล | |
เป็นประเพณีอ้าง | สืบไว้นานมา | |
๘๖.สิบเอ็ดเดือนออกข้าง | พรรษา | |
ครบอยู่สามเดือนมา | ออกแล้ว | |
กฐินค่อกันมา | เดือนหนึ่ง | |
ใครจัดทอดมิแคล้ว | ก่อตั้งการบุญ | |
๘๗.อีกงานจัดช่วงนี้ | ลอยกระทง | |
จุดเทียนใส่ลอยลง | ท่าน้ำ | |
ลมพัดล่องลอยตรง | ไปห่าง | |
บางที่ลอยไหลซ้ำ | สนุกได้มองตาม | |
๘๘.วนรอบเดือนหนึ่งได้ | นามเจียง | |
พระอยู่กรรมยินเสรยง | ป่าวร้อง | |
ชวนคนร่วมบุญเพียง | บุญใหญ่ | |
โรงแจกทานพี่น้อง | จัดให้ทำบุญ | |
๘๙.ความจริงพระท่าผู้ | อยู่กรรม | |
เคยผิดวินัยทำ | ก่อนนั้น | |
สังฆาทิเสสจำ | จึงอยู่กันนา | |
เป็นชองทางปิดกั้น | โทษให้ทำตาม | |
๙๐.อย่าเบามานัตต้อง | หกวัน | |
จึงค่อยอัพภานกัน | ออกได้ | |
หากเคยปิดบังทัน | นานอยู่ | |
รับกรรมื่ปิดสรรพ์ | ครบก่อน | |
จึงจะมานัตไซร้ | อีกด้วยหกวัน | |
๙๑.ครบมันัติเรียบร้อย | ครบกรรม | |
จึงค่อยขอกระทำ | โทษล้าง | |
พัภาณชื่อจดจำ | ยากยุ่ง | |
สงฆ์ยี่สิบตามอ้าง | สวดให้อัพภาณ | |
๙๒.เดือนเจียงจัดครบถ้วน | อยู่กรรม | |
กิจอัพภาณกระทำ | ครบถ้วน | |
ภิกษุใส่ใจนำ | ควรค่าทำแล | |
พิทักษ์กิจพระล้วน | สืบไว้คู่ควร | |
๙๓.คูณลานเดือนยี่นั้น | ทำกัน | |
เก็บเกี่ยวเสร็จลานสรรพ์ | ก่อไว้ | |
แต่งลอมจั่วทำกัน | แบบง่าย | |
ตีนคชสารทำได้ | ชื่ออ้างฝีมือ | |
๙๔.หาหมอขวัญสูดให้ | กลางลาน | |
มีแต่งห่อขวัญสาน | สืบไว้ | |
คันหลาวปักลอมนาน | ดูเด่น | |
เห็นเรียกปลงข้าวได้ | ก่อนได้นวดกัน | |
๙๕.บางลานจัดแบบให้ | เต็มดี | |
พรสวดตอนเย็นมี | เรียบร้อย | |
ภัตตารุ่งถวายพลี | ทุกเรื่อง | |
เรียกว่าบุญคูณคล้อย | แต่งให้ฉลองลาน | |
๙๖.เดือนสามหนาวยิ่งแล้ว | ลมแรง | |
ไฟก่อผิงเสาะแสวง | แต่เช้า | |
ข้าสเหนียวจี่ไฟแดง | เกรียมกรอบ | |
หอมยิ่งหอมมากเจ้า | จี่ข้าวแบ่งกัน | |
๙๗.ขอมผมท่าไข่แล้ว | หอมจริง | |
ยอดเยี่ยมนักแม่หญิง | นี่น้อง | |
ชืมเลยบ่ติติง | ทำใหม่นาแม่ | |
อันนั่นฝากหนู่ต้อง | ขบเคี้ยวอร่อยดี | |
๙๘.วันเพ็ญเขาป่าวร้อง | โฮมบุญ | |
ทำจี่ข้าวพ่อคุณ | ทุกบ้าน | |
ไปวัดก่อกิจหนุน | ทานทอดแลนา | |
มอบแด่หลวงพ่อต้าน | ตอบต้านถวายทาน | |
๙๙.ทำบุญแปลงข้าวจี่ | ทุกเรือน | |
ไปวัดร่วมกันเหมือน | มากล้น | |
หลายทอเข่งมิเลือน | เต็มแน่ | |
หลวงปู่ยอมมากพ้น | จักให้หมดฉัน | |
๑๐๐.ญาติโยมมาช่วยด้วย | หลวงตา | |
แจกจ่ายกลับคืนมา | ไม่น้อย | |
หลูกหลานช่วยหน่อยหนา | รับแจกไปแล | |
บุญจี่ข้าวเรียบร้อย | อิ่มท้องทุกคน | |
๑๐๑. เดือนสี่พระเวสได้ | ทำบุญ | |
มหชาติทำคุณ | ครบได้ | |
สามสิบทัศน์ที่ปุน | แปลงเสก. มาแล | |
ทศบารมีไซร้ | เรียบร้อยบริบูรณ์ | |
๑๐๒. ชาวพุทธรำลึกด้าน | บารมี | |
สิทธัตถะทำดี | มากล้น | |
ยังผลส่งวิถี | โพธิสัตว์ | |
บรรลุโมกขธรรมพ้น | จากห้วงโลกีย์ | |
๑๐๓. สัมมาสัมพุทธเจ้า | บริบูรณ์ | |
สมหน่อพระอังกูร | จบแล้ว | |
สังสารวัฎเสร็จสูญ | ตัดขาด | |
เวียนว่ายตายเกิดแผ้ว | หมดสิ้นดับไป | |
๑๐๔. ฉลองโพธิสัตว์ | สร้างบารมี | |
ครบเสร็จพระเวสศรี | สั่งไว้ | |
ทำบุญเมื่อเดือนสี่ | เวียนรอบ | |
บุญมหาชาติไซร้ | จัดได้ทุกปี | |
๑๐๕. ถัดมาเดือนที่ห้า | สงกรานต์ | |
ปีใหม่สนุกสนาน | เล่นน้ำ | |
การละเล่นชับขาน | เด็กหนุ่ท | |
คนแก่เฒ่าปล่อยซ้ำ | เล่นให้พอใจ | |
๑๐๖. บางคนไปกราบไหว้ | ขอขมา | |
คนแก่เฒ่าคนชรา | นบน้อม | |
ขันเทียนธูปบูชา | ของฝาก | |
แพรอาบน้ำห้อมล้อมมอบให้ | ขอพร | |
๑๐๗. ภันเตพวกขะน้อย | ขมา | |
เคยล่วงเกินโทสา | ก่อนนี้ | |
อภัยเถิดเวรา | จงอย่า. มีแล | |
ขอสวัสดิ์ด้วยชี้ | โชคพร้อมชยันโต | |
๑๐๘. อาวุโสพวกหมู่เจ้า | มาเยือน | |
ดียิ่งลูกหฃลานเหมือน | ดั่งแก้ว | |
มาหาย่อมมิเลือน | มิตรจิตร | |
ขอส่งบุผลาแผ้ว | ผ่องแผ้วเปรมกมล | |
๑๐๙. นานาเข็ญเคราะห์ร้าย | ห่างหาย. ลูกเอย | |
สบสุขสบสบายค | ค่ำเช้า | |
การงานส่งผลหลาย | หลากยิ่ง | |
ยืนมันพวกหมู่เจ้าสุขถ้วน | ทุกคน | |
๑๑๐. บางคนหาไม้ง่าม | ค่ำโพธิ์ | |
จารย์ทิดที่คุยโว | รอบรู้ | |
เป็นปราชญ์แต่พาโล | เกินซื่อ. จารย์แล | |
โพธิ์ที่ชวนทุกผู้ | ห่อนค้ำโพธิ์ไฮ | |
๑๑๑. โพธิ์พุทธศาสตร์นั้น | ความหมาย | |
วานช่วยหนุนหญิงชาย | ช่วยค้ำ | |
ธัมมัญจเรหลาย | ควรยิ่ง | |
จักสุขกายใจซ้ำแบบนี้ | ค้ำโพธิ์ | |
๑๑๒. ฮีตเดือนหกก่อสร้าง | บั้งไฟ | |
จุดส่งหาแถนไป | บอกด้วย | |
สัญญาแต่เดิมนัย | ยังอยู่ | |
เดือนหกตามลำห้วย | ขาดน้ำมิดี | |
๑๑๓. ขอแถนเตือนนาคน้ำ | เล่นกัน | |
ฝนห่าใหญ่ปล่อยมัน | สู่หล้า | |
ยินดีเหล่าพืชพันธ์ | สดชื่น | |
ผลผลิตรวมข้าวกล้า | จักได้ชลธาร | |
๑๑๔. . ดูนั่นมันเกลือกกลั้ว | โคลนเลน | |
เพราะขาดฝนจึงเป็น | แบบนี้ | |
ขอแถนท่านพึงเห็น | ความยาก. แลนา | |
ฝนสั่งมาจักชี้ | ช่วยแก้กันดาร | |
๑๑๕. วันเพ้ญเดือนหกนั้น | วิสาขา | |
ดังหนึ่งวันศาสดา | ตรัสรู้ | |
ประสูติเมื่อเพญครา | ก่อนศัก+ราชแล | |
แปดสิบปีทุกผู้ | จดไว้สาธุการ | |
๑๑๖. ทำบุญตามแต่กล้า | แรงใจ | |
ทานหน่อยตามสมัย | แจกแล้ว | |
สีลตลอดวันนัย | ถือมั่น | |
อีกส่วนภาวนาแผ้ว | สืบคันวิทยา | |
๑๑๗. ตัวอย่างเราอยากได้ | ปัญญา | |
เลือกเรื่อยหอยขมมา | หนึ่งข้อ | |
สบหาที่เนตพา | ไปท่อง | |
ดูแหล่งเขาเพาะพ้อ | อ่านได้วิชชา | |
๑๑๗. วิชชาผลที่ได้ | ภาวนา | |
หากบ่อเกิดปัญญา | ผิดแล้ว | |
อบรมเหนื่อยนานมา | ผลเปล่า | |
เสียเที่ยวคงมิแคล้ว | จักต้องชาดทุน | |
๑๑๘. แบบเราวันนี้ได้ | วิชา | |
เพาะบักหอยจูบหนา | แส่รู้ | |
มีเนตง่ายนักหา | สอดส่อง | |
ทุกเรื่องหาง่ายสู้ | สืบค้นสบายสบาย | |
๑๑๙. อยากถามการเล่นครั้ง | ก่อนกาล | |
ยามเล่นช่วงสงกรานต์ | ก่อนนี้ | |
เขาชอบเล่นทุกงาน | ก่อนนั่น | |
บอกอย่างไหนช่วยชี้ | เนตเจ้าไวไว | |
๑๒๐. ทันใจนักพี่น้อง | วิ่งมา | |
รายชื่อชาวประชา | เล่นน้ำ | |
อีกมีชื่ออื่นหนา | จดก่อน | |
เดี๋ยวหล่นหายจักช้ำ | ยากแท้จักหา | |
๑๒๑. หมากนอนสนุกได้ | แตะตัว | |
สาวหนุ่มเล่นกันมัว | แต่ต้อง | |
พวกคนแก่ยังหัว | กันอยู่ | |
เคยเล่นมาก่อนน้อง | จับได้จับดี | |
๑๒๒. งูกินหางบักอ้าย | เป็นหัว | |
หนูหน่อยปลายหางกลัว | จับต้อง | |
เดี๋ยวเถอะแม่คุณตัว | โดนแน่ | |
เพราะพี่คอยอยู่น้อง | จับเจ้าหมดตัว | |
๑๒๓. รีรีปลายชื่อต้อง | ข้าวสาร | |
ฃอดบ่วงระวังพาน | จับได้ | |
ไปหางต่อมินาน | คนหมด | |
เล่นใหม่อีกรอบไซร้ | จับน้องคนงาม | |
๑๒๔. พวกมอญมานั่งล้อม | วงกัน | |
ขับไล่อยู่นอกฉัน | หอบผ้า | |
แอบซุกตูดใครนั่น | เฉยอยู่ | |
พ่อวิ่งวนพบข้าหยิบผ้า | ฟาดตี | |
๑๒๕. มนวนมานั่งเข้า | ที่เดิม | |
ฉันวิ่งซุกผ้าเริ่ม | ใหม่แล้ว | |
เขาเห็นหยิบมาเหิ่ม | จักไล่. ตีฤๅ | |
ฉันแอบแทนเลยแคล้ว | นั่งได้แทนมัน | |
๑๒๖. สนุกตอนไล่ต้อน | ตีกัน | |
สาวไล่มันจะทัน | ต่อยต้อง | |
ยินดีรับสำคัญ | เชิญต่อย. . พี่แล | |
มันบ่วิ่งนี่น้อง | แบบนี้ไม่เอา | |
๑๒๗. เด็กเด็กตีต่อยหม้อ | ปิดตา | |
มันมืดมิเห็นนา | บักอ้าย | |
จับหมุนครบสามรา | มันบอก | |
ตรงหน้ามึงตัวร้าง | คว่ำหม้อเชิญตี | |
๑๒๘. เวียนหัวเดินปัดซ้าย | เป๋ขวา | |
นักย่างก้าวครบนา | ฟาดให้ | |
สามทีบ่แตกครา | เปิดส่อง. | |
มันห่างคนด้านไซร้ | แตกได้ฉันใด | |
๑๒๙. สิบคนสาวหนุ่มข้าง | เชือกดึง | |
คนเหยีบกลางเชือกตึง | ตรอจพร้อม | |
สองฝ่ายเท่ากันพึง | บ่อกก่อน | |
ครบเริมดึงแห่ห้อม | ส่งได้แรงเชียร์ | |
๑๓๐. ลากไปถึงจุดแล้ว | ชนะชัย | |
พักก่อนจัดทีมไป | บอกท้า | |
ลากดึงอีกรอบใคร | คนเก่ง | |
ลองเล่นกันจนล้า | สนุกได้ดึงกัน | |
๑๓๑. ซ่อนหาหมากเก็บได้ | เล่นดี | |
เดินกะลายังมี | หนุ่มน้อย | |
โถกเถกแน่เดินมี | เป็นหมู่ | |
ฟักไข่กาลายพร้อย | แต่งหน้าอวดสาว | |
๑๓๒. งูกินหางขออ้าย | หัวงู | |
หมายแน่นะอีหนู่ | ส่ำน้อย | |
ปรายตายักคิ้วดู | อายแอบ. พี่นา | |
คงมิยากหนูสร้อย | จับได้เบาเบา | |
๑๓๓. ขบวนม้าก้านกล้วย | เลียบเมือง | |
เดินผ่านแอบชำเลือง | นุชน้อง | |
สาวงามแวะมาเคือง | บักห่า | |
มึงขี่ไวมัวจ้อง | อี่น้องแฟนกู | |
๑๓๔. ทอยเส่นสาวหนุ่มน้อย | รุ่นเยาว์ | |
ตุ๊กตุ่นทอยชนะเอา | หยิบได้ | |
มินานหมดถุงเขา | กินหมด | |
ไปข่อแม่อีกไซร้ | จักซื้อตุ็กตา | |
๑๓๕. ลมเย็นยามบ่ายคล้อย | แช่งขัน | |
พ่อหนุ่มเร่งมากัน | รีบพร้อม | |
เขาแข่งชักว่าวพลัน | ใครเก่ง | |
ว่าวพุ่งสูงไม่อ้อม | แบบขึ้นตรงตรง | |
๑๓๖. ขาโถกเถกกลบไม้ | หิงอี่ | |
โดเชือกหนังยางหนี่ | ห่างไว้ | |
ตากะโหลกวิ่งดี | วงปั่น. แลนา | |
มาขี่ส่งเมืองได้ | ขี่ม้าแข่งกัน | |
๑๓๗. แบบหมาไล่ห่านนั้น | สนุกไหม | |
เป็นห่านสนุกใคร | เล่นบ้าง | |
เป็นหมาบ่อยากไล่ | มันเหนื่อย | |
สาวห่านหนุ่มคอยอ้าง | อยากได้เป็นหมา | |
๑๓๘. มีหลักปักแยู่แล้ว | แปดอัน | |
ปักรอบวงครบครัน | เรียบร้อย | |
เก่าคนเศษหนึ่งมัน | ยืนกึ่ง. กลางแล | |
นกหวีดเป่าเคลื่อยคล้อย | อย่าช้ารีบไป | |
๑๓๙. ใครเผลอผูกแย่งได้ | หลักหาย | |
ไปจ่อยืนแทนหมาย | ลักบ้าง | |
มินานแย่งคุณชาย | เขาปล่อย. สาวแล | |
แปลกนี่เองปล่อยอ้าง | อี่น้อยเอ็นดู | |
๑๔๐. บ่อยเกินเขา | จับได้สองมัน | |
เขาจับจับตากัน | แปลกบ้าง | |
เออนะใช่สำคัญ | นักคู่ | |
วันใหม่มาเลยอ้าง | ใช่แล้วใช่เลย | |
๑๔๑. เขาเล่นชิงหลักแล้ว | ชิงใจ | |
สองต่อสองเฉลยไป | ครบถ้วน | |
พัฒนายิ่งเราวไว | นะพ่อ | |
พอเสร็จสงกรานต์ล้วน | ส่งให้พ่อหมอ | |
๑๔๒. ทาบทามขอสู่ไว้ | สงวม | |
พุข่ามักชอบนวล | มากแล้ว | |
ขอจองก่อนกระบวน | ตบแต่ง | |
ตามต่มามิแคล้ว | เรียบร้อยสองสม | |
๑๔๓. โพงพางลูกช่วงล้วน | สนุกสนาน | |
มีแต่เด็กสืบสาน | เล่นบ้าง | |
ตี่จับหมากเก็บหาญ | ข้นแข่ง. กันแล | |
มาเป่ากบเขาอ้างวิ่งเปรี้ยว | เหนื่อยเกิน | |
๑๔๔. สนุกเกินหมากล้อเลื่อน | บ่มี | |
แบกบ่าคันไสที | วิ่งแจ้น | |
ทุกทางวิ่งสนุกดี | มันแล่น | |
ทันต่อใจน่าแค้น | หอบแล้วหมดแรง | |
๑๔๔.สนุกเกินหมากล้อเลื่อน | บ่มี | |
แบกบ่าคันไสที | วิ่งแจ้น | |
ทุกทางวิ่งสนุกดี | มันแล่น | |
ทันต่อใจน่าแค้น | หอบแล้วหมดแรง | |
๑๔๕มากมายการเล่นนั้น | สุขสันต์ | |
คนเก่าเล่าขานกัน | มากได้ | |
หลายเกมค่อยหายมัน | คงเล่น.ยากแล | |
คงถูกเกมคอมไซร์ | ข่มให้เก่าเกิน | |
๑๔๖.พอควรการเล่นล้วน | ดีงาม | |
นับแต่วันคงถาม | ยากแล้ว | |
จักเล่นอย่าไหนตาม | คนเก่า | |
คนก่อนหมดคงแห้ว | จักรู้เรื่องราว | |
๑๔๗.พระยาสีสะเกษต้อง | เตือนมา | |
รีบเล่าเถิดคุณตา | ดึกแล้ว | |
รอฟังทุ่มหนึ่งหนา | จนสี่.ทุมแล | |
ยังบ่่เริ่มมิแคล้ว | บ่ได้ฟังนิทาน | |
๑๔๘.จะจะจะจัดจ่า | นานมา | |
ทศพิธองค์พระยา | เพียบพร้อม | |
ทานะสีลังหนา | บริจาค | |
อาชวังแวดล้อม | ซื่อแท้ราชัน | |
๑๔๙.ททวังอ้อนน้อม | ใจดี | |
ตบะเพัยรมากมี | อ่อนเอื้อ | |
อักโกธะสุนทรี | ควรชื่น.ชมแฮ | |
มิเบียดเบียนท่านเกื้อ | แก่ข้าปวงชน | |
๑๕๐.ขันติพระมากล้น | ทุกการ | |
หนักยิ่งบริหาร | รอบรู้ | |
ราชกิจพิพัฒน์สาน | สำเร็จ | |
นำแผ่นดินอาจสู้ | เสกสร้างทางเจริญ | |
๑๕๑..หนักแน่นพระเพียบพร้อม | ทรงธรรม | |
กิจก่อเกิดประจำ | ใหญ่น้อย | |
อุปสรรคมากมงลนำ | จัดแจก.แจงแล | |
จนลุล่วงเรียบร้อย | ไพร่บ้านชื่นชม | |
๑๕๒.ยังมีหญิงม่ายผู้ | ทรงคุณ | |
ก่อนเป็นแม่นมบุญ | กว่ากว้าง | |
เกษัยนใคร่จักปุน | นาไร่ | |
มีที่ทางนิดอ้าง | จักได้ทำนา | |
๑๕๓.นายายงามยิ่งข้าว | เขียวขจี | |
พอแก่รวงดกดี | เยี่ยมแล้ว | |
พอเก็บเกี่ยวคงมี | ผลมาก | |
ยายกระหยิ่มนึกแผ้ว | ผ่องแผ้วสบายใจ | |
๑๕๑.หนักแน่นพระเพียบพร้อม | ทรงธรรม | |
กิจก่อเกิดประจำ | ใหญ่น้อย | |
อุปสรรคมากมงลนำ | จัดแจก.แจงแล | |
จนลุล่วงเรียบร้อย | ไพร่บ้านชื่นชม | |
๑๕๒.ยังมีหญิงม่ายผู้ | ทรงคุณ | |
ก่อนเป็นแม่นมบุญ | กว่ากว้าง | |
เกษัยนใคร่จักปุน | นาไร่ | |
มีที่ทางนิดอ้าง | จักได้ทำนา | |
๑๕๓.นายายงามยิ่งข้าว | เขียวขจี | |
พอแก่รวงดกดี | เยี่ยมแล้ว | |
พอเก็บเกี่ยวคงมี | ผลมาก | |
ยายกระหยิ่มนึกแผ้ว | ผ่องแผ้วสบายใจ | |
๑๕๔.สีสเกษเจ้าแห่ง | พารา | |
จัดที่ทางทำนา | มอบให้ | |
สำคัญที่ประชา | คนอื่น | |
เรียงรอบนายายไซร้ | อยู่ตั้งกึ่งกลาง | |
๑๕๕.คนอื่นเขาจัดให้ | ทางเทียว | |
ไปที่นาข้าวเขียว | จัดพร้อม | |
ถึงยามแก่เก็บเกี่ยว | สักครึ่ง | |
ยายที่แลเดินอ้อม | ชื่นแท้สบายใจ | |
๑๕๖.ปางอินทาธิราชเจ้า | กังวล | |
เคยนุ่มบัณฑุกัมพล | กระด้าง | |
มีเหตุใหญ่แน่หน | ใดเล่า | |
ทิพเนตรสอดส่องอ้าง | เรื่องร้อนใครกัน | |
๑๕๗.มินานยายแก่เข้า | มาญาณ | |
เออแน่ดูสราญ | อยู่แล้ว | |
สำคัญบ่มีหลาน | ลูกอยู่ | |
โดดเดี่ยวนานมิแคล้ว | ยากไร้คนแล | |
๑๕๘.เล็งแลไปทั่วห้วง | จักรวาล | |
ใครเหล่าหนอลูกหลาน | อยู่ใกล้ | |
ดิสิตเทพบุตรสาน | จุติ | |
ไปพบยินดีไซร้ | จักได้อวยพร | |
๑๕๙.อมรินทร์ส่งให้ | เชิญลง | |
ดิสิตเทพคราวคง | กรรมก่อ | |
แปลงอย่างช้างเผือกกล้า | ย่ำข้าวนายาย | |
๑๖๐.กดรอยชัดจักได้ | ติดตาม | |
รออยู่ยายนางาม | เดือดแล้ว | |
ควายใครช่างเหยียมหยาม | ยายเล่า | |
ตามต่อยตีมิแคล้ว | พบต้องตบหู | |
๑๖๑ยามรุ่งมาพบแล้ว | รอยรอย | |
ตามด้วนมันหยามหนอย | อยากรู้ | |
เดินตามเนินนานคอย | จดจ่อ | |
ตีนใหญ่ฤๅช้างสู้ | บ่ได้ใหญ่เกิน | |
๑๖๒.ถึงไงตามอยากรู้ | ทำไม | |
เหยี่ยบย่ำนาเราใย | สัตว์บ้า | |
พวกเอ็งทราบนาใคร | หนานี่ | |
ทำสั่มสี่สุ่มห้า | จับได้น่าดู | |
๑๖๓.ตามรอยนานเหนื่อยล้า | กระหาย | |
น้ำที่รอยช้างกลาย | กลิ่นเร้า | |
ชวนชิมดื่มมากมาย | คงชื่น | |
เหน็ดเหนื่อยดื่มมากเข้า | กลับบ้านเลิกตาม | |
๑๖๔.พิสดารยามดื่มน้ำรอย | คชา | |
บังเกิดกุมารา | แม่ท้อง | |
คงมีเรื่องเกินครา | ขบคิด | |
ตามเรื่องราวเกี่ยวข้อง | จากฟ้าแดนสวรรค์ | |
๑๖๕.พระอินทร์กระทบเข้า | มากมาย | |
พระแท่นแข็งมากหลาย | กระด้าง | |
มีเหตุแน่นอนชาย | ตาส่อง | |
เห็นดุสิตเทพจักคว้าง | จากฟ้าลงดิน | |
๑๖๖ลดินยายเฒ่าได้ | ดื่มชล | |
จากร่องรอยช้างกล | แปลกแล้ว | |
มีครรภ์นั่นแหละมนต์ | ทิพย์เสก | |
ดุสิตเทพสนธิแผ้ว | ผ่องแผ้วลูกยาย | |
๑๖๗.เหตุการณ์จวบเหมาะเข้า | พร้อมสรรค์ | |
เทพจุติจากสวรรค์ | เพียบพร้อม | |
ยายดิ่มที่รอยอัน | ดังสื่อ | |
เทพปฏิสนธิ์ล้อม | รอบไว้คุณยาย | |
๑๖๘.มินานครรภ์แก่ให้ | งุนงง | |
ครบสิบเดือนคลอดลง | บุตรได้ | |
พระขรรค์หล่นมาตรง | หนึ่งเล่ม | |
ฤาคู่มือท้าวไซร้ | ส่งให้คู่บุญ | |
๑๖๙.ชาวเมืองเห็นแปลก | แท้กุมาร | |
มีพระขรรค์หนีบปาน | ทแกล้ว | |
จะไปศึกไหนหาญ | นักนี่ | |
ลื่อทั่วเมืองบักอ้าย | ชอบได้ถือขรรค์ | |
๑๗๐.ขรรคซะนามชื่อนี้ | ก็ดี | |
ขันคะชันธะมี | เรียกบ้าง | |
มากมวลหมู่คนชี้ | คันทะ | |
คันธะนามเขาสร้าง | ชื่อนี้แหละควร | |
๑๗๑.บักหำเลยได้ชื่อ | คันธนาม | |
มีดดาบที่มาตาม | แต่ต้น | |
เป็บดาบคู่มือยาม | ออกศึก | |
กวัดแกว่งเก่งเหลือล้น | น่าคร้ามปราบอธรรม | |
๑๗๒.เจ็ดขวบก็เก่งกล้า | เกินคน | |
ยามเล่นกับเชาซน | อยู่บ้าง | |
เขาด่าว่าบักจน | ขาดพ่อ | |
มึงบ่อมีพ่ออ้างที่แท้ | มีไหม | |
๑๗๓.ถามแม่ฉันอยากรู้ | แม่นา | |
บอกหน่อยใคร่จักหา | พ่อได้ | |
กอดฟัดพ่อสักครา | นะแม่ | |
เออพรุ่งวันมาสองให้ | สืบค้นหากัน | |
๑๗๔.ไปตรงจุดดื่มเร้า | นี่รอย | |
ฉันดื่มกินมันพลอย | เกิดท้อง | |
คือแก่นั่นแหละหคอย | มาเกิด | |
ถามพ่อแกก็ต้อง | บอกช้างพ่อแก | |
๑๗๕.ยากเห็นวันพรุ่งนี้ | ตามดู | |
ถึงแม่ก็เหมือนหนู | อยากได้ | |
ตามหาพ่อแกอยู่ | ไหนแน่ | |
วันต่อมาสองไซร้ | จากบ้านจึ่งจร | |
๑๗๖.ทุ่งนาตรงแม้ได้ | ทำนา | |
เก็บเกี่ยวก็ทำมา | แต่เค้า | |
มันเดี่นย่ำคันนา | ตรงนี่ | |
เสร็จมุ่งกลับเดินเข้า | ป่าโน้นลับไป | |
๑๗๗.หารอยเจ็ดขวบแล้ว | บักนาม | |
สองค่อยเดินติดตาม | บ่ช้า | |
จนสายบ่ายเย็นยาม | เดินมุ่ง | |
จนลุล่วงหิมวันต์ถ้า | จักเพี้ยนหรือไร | |
๑๗๘.ความจริงบางท่านแกล้ง | ย่อนทาง | |
ยาวกลับย่อดังยาง | ยืดได้ | |
อินทร์แหละนั่นทำพลาง | หลอกล่อ | |
หลงว่านิดเดียวไซร้ก | กว่ากว้างเกินไกล | |
๑๗๙ปลกตามวลแมกไม้ | ในดง | |
รูปร่างดังนวลหงส์ | ปลดผ้า | |
มักกะลีรูปทรง | คนแน่ | |
มีอ่อนมีสาวฟ้า | ช่างได้ประทานมา | |
๑๘๐.ฤๅษีดาบสด้าน | โลกีย์ | |
ชอบยิ่งมาเด็ดหนี | กลับเหย้า | |
สมสู่ดังสาวมี | ใจชอบ | |
พอเหี่ยวทิ้งแหละเจ้า | เสาะต้นใหม่แทน | |
๑๘๑.เห็นพระดาบสใกล้ | ถ้ำผา | |
ยายแวะเดินไปหา | นบไหว้ | |
หลวงปู่นี่เป็นป่า | แปลกยิ่ง | |
คือที่โลกแปลกไซร้ | บ่ได้เคยเห็น | |
๑๘๒.ฤาษีฟังย่อมรู้ | เรื่องราว | |
ประสกมาสืบสาว | หมู่ช้าง | |
พลัดมาที่นี่คราว | เห็นแปลก | |
เพราะนี่คือแดนอ้าง | ว่าไว้หิมพานต์ | |
๑๘๓.พระสุเมรุที่คัน | แดนดิน | |
หลายทวีปคงขักยิน | รอบล้อม | |
หิมวันต์ศิขรันทร์ | อีกหนึ่ง | |
อยู่รอบทวีปอ้อม | ชิดใกล้พระสุเมร | |
๑๘๔เล็งเห็นเจ็ดแห่งนั้น | สระธาร | |
อโนดาตรถการ | ชิดใกล้ | |
กัณณมุทเรียขาน | สระใหญ่ | |
ฉัททันต์กุณาลไซร้ | ต่างล้อมชิดเคียง | |
๑๘๕.สีหัปปาตะโน้น | กินรี | |
ลางกลุ่มลอยนที | เล่นน้ำ | |
สระมณฑากิณี | เย็นยิ่ง | |
นักสิทธิ์คนธรรพ์ล้ำ | เล่นน้ำสระสรง | |
๑๘๖.มากมวลหมู่สัตว์ล้วน | แปลกตา | |
ดูนั่นเหล่ากินนรา | เพศผู้ | |
ช่วงล่างอย่างนกหนา | บนเล่า | |
ดังคนมีปักรู้ | เหาะได้โบยบิน | |
๑๘๗.เพศหญิงเขาเรียกนั้น | กินรี | |
นางมโนราห์มี | ชื่อนั้น | |
ไปจากป่าพงพี | แถบป่า | |
งามยิ่งรูปชวนฝั้น | ไฝฝั้นสิเนหา | |
๑๘๘.สัตว์ป่ามีชื่อคล้าย | ทั่วไป | |
เสือหมู่สิงห์กวางไพร | ชื่อนั้น | |
รูปทรงต่างแปลกไป | แตกต่าง | |
คนละภพแปลกกั้น | แผกบ้างธรรมดา | |
๑๘๙.เหราอัสดร์นี่หน้า | ดุจหงส์ | |
กายดังรูปม้าทรง | ย่างย้าย | |
แรกบินเหาะได้ตรง | ไปทั่ว | |
แอบเที่ยวกินผันผ้ายป่าหญ้า | สระสวรรค์ | |
๑๙๐.อินศวรเลยสาปห้าม | เหาะเหิร | |
ดีที่ยอมให้เดิน | อยู่ได้ | |
แปลกดีสัตว์ชมเพลิน | ชวนชื่น | |
มากยิ่งสัตว์แปลกไซร้ | เขตนี้หิมพานต์ | |
๑๙๑.ยายเห็นเถาว์ยักษ์คล้าย | ชุ่่มเย็น | |
คงจักมีน้ำเห็น | หยดย้อย | |
โคนดินนั่นหัวเป็น | ตาขุด | |
อาจช่วยหายหิวน้อย | ขุดได้เลยหนู | |
๑๙๒.คัทธนามตัดได้ | เถาวัลย์ | |
ไหลหลั่งน้ำใสมัน | น่าลิ้ม | |
หอมหวานยิ่งแม่พลัน | ดูดดื่ม | |
สักครูเขาขุดได้ | แต่ล้วนหัวมัน | |
๑๙๓.บักนายไฟก่อให้ | เผามัน | |
หอมยิ่งบักหล่าขัน | แม่ไซร้ | |
เผาก่นย่างบ่ทัน | นาแม่ | |
ครู่หนึ่งอิ่มท้องแล้ว | พักแล้วพิงหิน | |
๑๙๔.กนายมันขุดคุ้ย | โพรงดิน | |
นับว่ากว่าร้อบยิน | ลึกกว้าง | |
มากมายยิ่งมังชิน | โยนส่ง | |
ส่งแม่เผามันอ้าง | อร่อยล้นเลิศมัน | |
๑๙๕.อมมันผีแถบนั้น | สุดทน | |
ชิมหน่อยท่านหลูตน | ข่าน้อย | |
หอมเกินท่านกังวน | หลับอยู่ | |
ขอแบ่งทานพวกข้อย | กัดบ้างสักคำ | |
๑๙๖.จัดแบ่งอันหนึ่งให้ | แปลกดี | |
ขยายเพิ่มมากมายมี | ครบได้ | |
สนุกกินยิ่งผองผี | กินอิ่ม | |
ขอบพระคุณมากไซร้ | ท่านเกื้อการุณ | |
๑๙๗.ผีสม่อยชื่นได้ | กินมัน | |
เซ็งแซ่ชุมนุมกัน | แซ่ซร้อง | |
ขอบคุณท่านแบ่งปัน | กินอิ่ม | |
คุณที่แบ่งปันต้อง | ตอบให้โชคชัย | |
๑๙๘.ยักษ์พาลตนหนึ่งได้ | กลิ่นหอม | |
มันที่เเผาชวนดอม | กลิ่นแท้ | |
พบย่ายที่เผาพร้อม | จักจับ | |
ยายตกใจยอมแพ้ | อย่าได้จับกูกินแล | |
๑๙๙.กมารยินเร่งร้อน | แล่นมา | |
จับยักษ์แกว่งทำท่า | ฟาดพื้น | |
ยักษ์กลัวปล่อยข่อยสา | ขอโทษ | |
เป็นข่อยข่าเต็มตื้น | โผดให้ชีวา | |
๒๐๐.กลัวตายยักษ์ร้ำร้อง | ขออภัย | |
เราล่วงเกินท่านไป | ผิดแล้ว | |
ของวิเศษใดใด | จักมอบท่านแล | |
ขอท่านวางให้แล้ว | ชี้นี้โปรดประทาน | |
๒๐๑. ข่อยมีของวิเศษให้ | ตอบแทน | |
จงปล่อยข้าดีแสน | นี่น้ำ | |
สรงยายกลับรูปแผน | ดังรุ่น สาวแฮ | |
ส่วนนี่กกชี้ช้ำ | ดับดินขาดใจ | |
๒๐๒. ส่วนปลายจ่อจักฟื้น | กลับมา | |
มีอีกฝังพสุฐา | แห่งนี้ | |
ขุมทรัพย์มากคณา | ฝังอยู่ | |
ขุดออกมามิสิ้น | ยากสิ้นอสงไขย | |
๒๐๓. กุมารปลดปล่อยเจ้า | ยักษ์ไป | |
กำชับอย่าก่อภัย | อีกครั้ง | |
หากทราบจักตามไป | เข่นฆ่า | |
ตายดับโคตรมิยั้ง | หย่อนให้แน่นอน | |
๒๐๔. ตาลีตาเหลือกได้ | รับคำ | |
รีบเร่งจากไปกรรม | มิช้า | |
กลัวนายเปลี่ยนใจทำ | พิฆาต | |
ตายแน่กลัวแทบบ้า | รีบร้อนจากไป | |
๒๐๕. มันเอาน้ำเด้ารด | คุณยาย | |
กลับเกิดเกินคาดหมาย | มากล้น | |
แกกลับเกิดสาวหลาย | วัยรุ่น | |
อวบอิ่มงดงามพ้น | จักต้านต่อกลอน | |
๒๐๖. อีกมันมอบไม้เท้า | สำคัญ | |
กกหากจดจ่อพลัน | ดับได้ | |
ปลายมันหากจดมัน | กลับชีพ คืนแล | |
เรียกกกกายดับไซร้ | กลับฟื้นด้วยปลาย | |
๒๐๗. พระขันธ์กวัดแกว่งล้วน | เดชา | |
ปราบหมู่อริพา | หวั่นไซร้ | |
จึงขุดทรัพย์ขึ้นมา | แปดโกฏ | |
แจกทุกชนล้วนได้ | ทั่วถ้วนทุกคน | |
๒๐๘. ชุมชนจากหมู่บ้าน | เป็นเมือง | |
ชนต่างชมรุ่งเรือง | รอบด้าน | |
ชวนกันพึ่งพิงเคือง | ยากแย่ง ชิงนา | |
อยากอยู่เมืองท้าวค้าน | แบ่งให้นาสวน | |
๒๐๙. กระแสความอยากเข้า | ชุมชน | |
หาช่องมากมายจน | อยู่ได้ | |
เมืองเล็กเต็บใหญ่คน | มามาก | |
นับแต่วันโตไซร้ | ที่บ้านคัทธนาม | |
๒๑๐. ท้าวครองเมืองด้วยกล้า | บารมี | |
แจงสินทรัพย์มากมี | ช่วยเกื้อ | |
จงประกอบการดี | จักช่วย | |
เกษตรก่อเกษตรเอื้อ | เฟื่องฟุ้งอำนวย | |
๒๑๑. สินทรัพย์กลางก่อไว้ | ทำทุน | |
คณะช่วยเจือจุน | สอบให้ | |
มีแผนชัดเจนคุณ | รับช่วย ทุนแล | |
ผลเสร็จทุนส่งได้ | ส่งให้กองกลาง | |
๒๑๒. พณิชย์ก่อพณิชย์ชี้ | กิจการ | |
ทางปรับสะดวกงาน | เต็มทั่ว | |
ขวักไขว่เรือทั่วหน้า | แข่งค้ากันขาย | |
๒๑๓. ริมคลองปลูกผักขึ้น | เขียวขจี | |
ฟังว่าผักมากมี | ปลูกไว้ | |
กองปุ๋ยวางชิดดี | ยามใส่ | |
พรวนกอ่นอย่าลืมได้ | ก่อนให้ปุยมัน | |
๒๑๔. ใครเห็นใครช่วยเช้า | บ่ายมี | |
งามยั่งผักหอมชี | กาดน้อย | |
กระเทียมกะหล่ำปลี | คนปลูก | |
สองฝั่งคลองนับร้อย | ผักล้วนเต็มแปลง | |
๒๑๕. ใครใคร่เก็บเด็ดได้ | ตามสบาย | |
มีบล่องเขาต่อปลาย | เชื่อมด้าม | |
ลองตักสาดน้ำยาย | ยังทั่ว | |
แปลงผักเขามิห้าม | ร่วมด้วยช่วยกัน | |
๒๑๖. เป็นหมู่ผักประดับล้วน | งดงาม | |
ใครใคร่เด็ดเด็ดตาม | อยากได้ | |
พอหมดเปลี่ยนผักหมาย | บอกอยู่ | |
กระหล่ำต่อไนี้ไซร้ | ปลูกได้ปลูกแล | |
๒๑๗. คนมาแย่งปลูกเช้า | เสร็จสาย | |
มาก่อนเตรียมดินยาย | บอกแล้ว | |
เสร็จกันก่อนเที่ยงคลาย | ใจยิ่ง | |
ผักบ่เคยคบาดแคล้ว | ปลูกขึ้นรทดแทน | |
๒๑๘. รดแล้วอย่ารดซ้ำ | น้ำเกิน | |
มีบ่อกเล่าชวนเชิญ | ขุดคุ้ย | |
พรวนดินไล่ส่วนเกิน | ขับออก | |
กองฝุ่นงัวควายยุ้ย | ใส่ให้พองาม | |
๒๑๙. งามดีเต็มที่ได้ | พอกิน | |
เชิญตัดเอาเกลี่ยดิน | เรียบร้อย | |
พอหมดมีปลูกชิน | เขาแย่ง กันนา | |
เป็นเยี่ยงนี้ใช่น้อย | ทั่วบ้านทั่วเมือง | |
๒๒๐. บางคนชอบผักบุ้ง | ในคลอง | |
คนปลูกกระเฉดลอง | ทอดไว้ | |
มีเรือนั่งเด็ดมอง | เต็มทั่ว | |
เก็บแค่พอกินไซร้ | แบ่งให้คนหลัง | |
๒๒๑. ปูปลาในน่านน้ำ | มากมี | |
แหอวนอย่าลงที | ช่วยห้าม | |
อย่างอื่นไม่ว่าดี | เตือนหน่อย | |
จับแค่พอกินคร้าม | จักต้องตักเตือน | |
๒๒๒. บ้านเมืองเย็นยิ่งด้วย | ไมตรี | |
บุญพ่อเมืองบารมี | ปกคุ้ม | |
นามคัทธนามศรี | เป็นสง่า | |
ชนชื่นชมท่านอุ้ม | โอบอุ้มชาวประชา | |
๒๒๓. ผองชนสุขทั่าถ้วน | บารมี | |
พระแจกทรัพย์ทุนที | ทั่วหน้า | |
การเกษตรไร่ทวี | ผลผลิต | |
ดูร่ำรวยท่ังหล้า | เนื่องด้วยบุญพญา | |
๒๒๔. พระทรงสั่งเสกสร้าง | โรงหมอ | |
ลงชื่อพวกคนพอ | อยากรู้ | |
โรคภ้ยหยูกยาขอ | ขยันเสาะ แสวงแล | |
มาร่ำเรียนใครสู้ | ส่งให้เป็นหมอ | |
๒๒๕. โรงหมอเปิดใหม่ล้วน | หมอมี | |
เจ็บป่วยอย่ารอรี | รีบเข้า | |
หมอหลวงช่วยทันที | เจียดแจก ยาแล | |
ชาวประชาชื่นเจ้า | อย่างนี้สุขศาลา | |
๒๒๖. คุณหมอรับค่าจ้าง | ทางการ | |
เก็บถูกค่าตรวจงาน | ยากบ้าง | |
หยู่กยาถูกเรียกขาน | หาง่าย | |
สุขภาพดีสมอ้าง | เนื่องด้วยบารมี | |
๒๒๗. ตลาดนัดสองครั้งต่อ | สัปดาห์ | |
ครั้งหนึ่งอังคารมา | คนแน่น | |
เศรษฐกิจมิแคล้ว | กล่าวได้เจริญเจริญ | |
๒๒๘. ใครใครชมชอบเจ้า | คัทธนาม | |
บุญแผ่ดังองค์ราม | ศึกต้าน | |
อริริคุกคาม | รอนราบ | |
ปราบทั่วทิศรอบด้าน | ครั่นคร้ามบารมี | |
๒๒๙. กุมารชมชอบเอื้อ | อวยการ | |
ใครก่อกิจทำงาน | ช่วยสร้าง | |
มีทุนช่วยสืบสาน | เสริมส่ง | |
จนร่ำรวยตามอ้าง | ต่างเอื้ออำนวย | |
๒๓๐. ชาวเมืองเศรษฐกิจเกื้อ | จรูญเจริญ | |
เป็นอยู่สุขสบายเพลิน | ชื่นหน้า | |
เสียงคนเล่าลือเกิน | ปทั่ว | |
จนพ่อเมืองมิช้า | เรียกให้พบกัน | |
๒๓๑. สนทนาถึงเรื่องสร้าง | แปลงเมือง | |
เป็นแค่ความรุ่งเรือง | ช่วยสร้าง | |
ทุกชนช่วยมิเคือง | คอยขัด | |
เสริมส่งสมัคคีอ้าง | อย่างนี้จึงเจริญ | |
๒๓๒. ประชาชนไหลหลั่งเต้า | มาเยือน | |
รับแจกเงินทองเหมือน | พี่น้อง | |
กลับไปบ่ลืมเลือน | คุณท่าน | |
ลูกแม่คนแซ่ซร้อง | กราบไหว้บูชา | |
๒๓๓. หายทุกข์หายโศกด้วย | บารมี | |
สองท่านการุณศรี | พวกข้า | |
จึงสุขท่านปราณี | มวลมาก | |
คุณเท่าเมียมแผ่นฟ้า | ยิ่งด้วยแผ่นดิน | |
๒๓๔. เสียงลือเสียงเล่าอ้าง | กระจาย | |
มวลหมู่ชนมากมาย | หลั่งเฝ้า | |
รับทรัพย์กันหลากหลาย | แจกทั่ว ถึงแล | |
หายทุกข์จนพวกเจ้า | อยู่บ้านทำการ | |
๒๓๕. ถือศีลธรรมด้วยเล่า | จึงเจริญ | |
สงบสุขดีเกิน | ทุกบ้าน | |
บารมีพ่อคุณเพลิน | ชวนชืน ชมแฮ | |
คัทธนามคนต้าน | ต่างต้านเยินยอ | |
พระยาไปดูคันธนาม | คนเก่ง | |
๒๓๖. สีสะเกษเจ้าท่าน | ยินนาน | |
ไปเยี่ยมถามกุมาร | มิช้า | |
เสียงลือว่าชำนาญ | สรรพกิจ | |
สิบหกขวบแกร่งกล้า | อวดอ้างหรือจริง | |
๒๓๗. เจ็ดเชือกช้างหยุดได้ | ดึงฉุด | |
ถอยกรูดถึงแรงมุด | ลากได้ | |
เขาลือกันทั่วหยุด | ยากยิ่ง | |
คนแห่มาชมไซร้ | คร่รู้เก่งไฉน | |
๒๓๘. เขาลือกันทั่วบ้าน | ทั่วเมือง | |
คนแห่มานันเนือง | อยู่ใกล้ | |
เจ็ดวันท่านมิเคือง | รออบู่ | |
พระยารับสั่งให้ | จักอ้างอวดพลัง | |
๒๓๙. หากแกร่งลองถอนทั้ง | บองดู | |
ตาลนั่นยืนเคียงคู่ | อยู่แล้ว | |
กุมารรับจักชู | ความแกร่ง | |
โดดลิ่วหนีบคาลร้อย | ติดเท้าสองไป | |
๒๔๐. ตาลคู่ติดแน่นกล้า | ลิ่วลอย | |
ปักทิ่มลงหลุมคอย | อยู่แล้ว | |
สองตาลทิ่มดังทอย | ปักแน่น | |
ชนชื่นชมมิแคล้ว | แซ่ซร้องชมเชย | |
๒๔๑. สีสะเกษพำระเจ้า | ทรงธรรม | |
ชมชื่นกุมารทำ | เก่งล้น | |
มอบเมืองปกครองนำ | ควรค่า | |
ยายเฒ่าช่างงามล้น | แต่งตั้งราชินี | |
๒๔๒. คันธนามเสกให้ | คุณยาย | |
กลับวัยดั่งร่นหลาย | ส่ำน้อย | |
พระยาชอบมากมาย | ชมชื่น | |
เมียแก่เป็นสาวร้อย | ชั่งสร้างงดงาม | |
๒๔๓. ครองเมืองต่างหากได้ | เจ็ดปี | |
ศึกบ่อาจราวี | สักน้อย | |
ยินนามแทบหลบหนี | ไกลห่าง | |
คันธนามใช่ถ้อย | จักกล้าเอ่ยนาม | |
๒๔๔. สขสราญทุกค่ำเช้า | สวัสดี | |
ลูกแม่สองพาที | เนิ่นช้า | |
วันหนึ่งคนอื่นมี | แม่พ่อ | |
เราเล่ามิเห็นหน้า | พ่อนั้นอยู่ไหน | |
๒๔๕. ถามแม่แม่ว่าช้าง | พ่อคุณ | |
เกิดเนื่องเพราะมีบุญ | เกี่ยวข้อง | |
บอกขานลอกการุณ | ลูกแม่ | |
มีเรื่องราวเจ้าร้อง | ใคร่รู้ตำนาน | |
๒๔๖. สองชวนกันใคร่รู้ | บิดา | |
ถึงท่านเป็นคชา | พ่อนั้น | |
สมควรพบสักครา | หนอแม่ | |
ขอสักการอย่ากั้น | อย่าห้ามใคร่ไป | |
๒๔๗. ใจหวังพบพ่อช้าง | สักที | |
กราบท่านคงสวัสดี | แก่ข้า | |
แม่รับปากต่างมี | ใจมั่น เดียวแล | |
ชวนออกเดินมิช้า | จักเข้าพงไพร | |
๒๔๘. กราบทูลพระเจ้าพ่อ | บุญธรรม | |
สีสะเกษพระยาคำ | กล่าวต้าน | |
ลูกหวังจักสืบนำ | หาพ่อ | |
ยินว่าเป็นช้างล้าน | ค่าล้านเผือกพญา | |
๒๔๙. จำต้องเด่นสู่ห้วง | หิมพานต์ | |
อีกแม่ก็วอนวาน | จักเต้า | |
นำทางสู่ไพรชาญ | เคยอยู่ ก่อแล | |
มีแม่ไปด้วยเข้า | ป่าได้สะดวกดาย | |
๒๕๐. พระยาสีสะเกษเข้า | ใจดี | |
มิขัดอวยพรมี | โชคล้วน | |
เดินไพรปลอดภัยที | ทุกเมื่อ | |
ลุล่วงประสงค์ถ้วน | เสร็จได้ดังประสงต์ | |
๒๕๑. ขึงสองแม่ลูกเต้า | เดินทาง | |
ไปสืบเรื่องราวปาง | ก่อนนั้น | |
คราวยายดื่มชลกลาง | ดงป่า | |
ตรงที่รอยช้างบั้น | เกิดได้ลูกชาย | |
๒๕๒. รอนแรมพงป่าได้ | หลายวัน | |
ถึงที่เคยพบมัน | ที่นี้ | |
รอบช้างเหยียบสำคัญ | หายหมด | |
เหลือแต่แมกไม้ชี้ | ยากแท้ตรงไหน | |
๒๕๓. ยายบอกนับแต่นี้ | ออกเดิน | |
รอยบาทมันดำเนิน | มุ่งโน้น | |
ยายตามไม่ไหวเกิน | จักเหนื่อย | |
เลิกติดตามกลับโพ้น | สู่บ้านเมืองไป | |
๒๕๔. หนทางเดิ่นป้านั้น | คงไกล แม่เอย | |
คัทธนามจักไป | เดี่ยวดั้น | |
ขอแม่กลับเมืองให้ | รออยู่ | |
ตัวข่อยจักอดกลั้น | ต่อเท้าตามไป | |
๒๕๘. ยามมารดากลับแล้ว | วางใจ | |
ตามพ่อลำพังใน | เมื่อนั้น | |
มากเดชฤทธิ์เกริกไกร | มิย่อ ใดใด | |
อินทปัตถ์เมืองหั้น | พบพ้อคนแฮง | |
๒๕๙. บักนายมันแกร่งกล้า | เกินคน | |
ลากเล่มเกวัยนชอบกล | นับร้อย | |
นึกขำใคร่ลองพล | ใครแกร่ง | |
ลอบฉุดดึงเล็กน้อย | เล่มท้ายหยุดตรึง | |
๒๖๐. เกวียนติดตรึงร้อยเล่ม | มิไป | |
แปลกนี่เกิดอะไร | อยากรู้ | |
มันหยุดค่อยเดินไว | เห็นนี่ | |
บักห่ามึงอยากสู่ | กอดปล้ำต่อยตี | |
๒๖๑. กุมารขำถีบให้ | หนึ่งที | |
กระเด็นหกวามี | จุกแล้ว | |
ลุกยากยิ่งบักผี | มีต่อย เจ็บแล | |
เอาใหม่คลานมาแผ้ว | บัดนี้อย่าหมาย | |
๒๖๒. เหมือนเดิมโดนถีบแล้ว | กระเด็น | |
ยากนั่งจำนอนเห็น | ปากกล้า | |
ด่าแช่งห่าเหวเป็น | ไรเล่า | |
กูลุกได้จักท้า | ต่อยให้อีกที | |
๒๖๓. กุมารขำเขกให้ | กบาล | |
มานบกูจักยาน | หย่อนให้ | |
มิเอาเรื่องรำคาญ | นักนี่ | |
หรือจักลองตบให้ | แน่ต้องหัวกระเด็น | |
๒๖๔. ยอมครับนายเข็ดแล้ว | มิเอา | |
เป็นทาสนายตัวเรา | รับได้ | |
ขอตามท่านผู้เยาว์ | ฤทธิ์เก่ง | |
ปรนนิบัติท่านไซร้ | โปรดได้วางใจ | |
๒๖๕. จบไปหนาเล่มร้อย | ลากเกวียน | |
มาหน่อยเจออีกเพียร | เที่ยวนี้ | |
ลากกอไผ่จำเนียร | ลือลั่น แลนา | |
ลือว่าแกร่งเกินชี้ | กว่านี้ยากเห็น | |
๒๖๖. ดังเดิมล่องเล่นด้วย | หมดแรง | |
จับเล่นดึงดูแกร่ง | ลากแล้ว | |
มิติงแน่นคลางแคลง | ลองใหม่ | |
หลายเที่ยวคงมิแคล้ว | พ่ายเจ้าเก่งเกิน | |
๒๖๗. ยอมเป็นทาสรับใช้ | คุณชาย | |
เป็นบ่าวติดตามนาย | รับใช้ | |
ไปไหนมิห่างกาย | เป็นบ่าว เขาแล | |
ยืดยิ่งกุมารไซร้ | ชื่อก้องโด่งดัง | |
๒๖๘ เดินทางหาพ่อนั้น | นับนาน | |
จนล่วงมาพบพาน | หนึ่งนั้น | |
จินายยักษ์ขาปาน | ฟืนท่อน ใหญ่แล | |
เผาสุกกินหมดครั้น | อิ่มได้ห้าคน | |
๒๖๙. แปลกดีเห็นจิ้งหรีด | ตัวโต | |
ขาเท่าแขนเราโห | ใหญ่แท้ | |
เห็นไหมนั่นแตนโม | จับหน่อย | |
สองทาสลองกลับแพ้ | ถูกเท้ากระเด็น | |
๒๗๐ นถีบแรงมากแท้ | ครับนาย | |
ขัดยอกเจ็บปางตาย | โหดแท้ | |
รบกวนท่านอาจหมาย | จับอยู่ ได้แฮ | |
ลองหน่อยน่านายแก้ | ข่อยแพ้พวกมัน | |
๒๗๑. กุมารชักเบื่อแล้ว | รำคาญ | |
ไปจับขาตัวมาร | ลากได้ | |
ขาหลุดหนึ่งชิ้นปาน | กล้วยท่อน ใหญ่แล | |
มันหลุดหายแล้วไซร้ | มุดใช้แผ่นดิน | |
๒๗๒ มุนบอกนี้ใหญ่ | เหลือเกิน | |
เผาสุกคงเจริญ | แซบได้ | |
นายท่านใคร่ขอเชิญ | ลองย่าง | |
สุกเสร็จชิมดูไซร้ | น่าลิ้มลองดู | |
๒๗๓ วกไปหาชุดไต้ | จุดไฟ | |
จักก่อสุมเร็วไว | อยากรู้ | |
จิโป่มย่างสุกไฉน | รสน่า อร่อยแล | |
บักหนึ่งไปมิดสู้ | อยู่ยั้งคอยนาน | |
๒๗๔ กสองไปหน่อยให้ | สืบดู | |
นานเนิ่นเกินไปสู | อย่าช้า | |
ตามไปรีบกลับตู | นึกหน่าย | |
ไปรีบกลับเร็วข้า | เหนื่อยแล้วมันหิว | |
๒๗๕. บักสองไปอีกแล้ว | โดนจัย | |
ขาหักยัดถังใบ | หนึ่งนั้น | |
โอดโอยปวดเจ็บนัย | แทบขาดใจแล | |
ยักษ์บ่สนอดกลั้น | บ่ายคล้อยค่อยหิว | |
๒๗๖ มารตามค่อยรู้ | เรื่องราว | |
บอกยักษ์เราสืบสาว | เด็กใช้ | |
มาขอชุดไฟคราว | สองรอบ | |
หายเงียบมิรู้ได้ | อยากรู้เป็นไฉน | |
๒๗๗ กษ์บอกมาบักน้อย | พุงงาม | |
มึงน่ากินผ่องยาม | พิศเนื้อ | |
ดูหนังยิ่งตึงตาม | แขนท่อน ขาแล | |
จับย่างหงหอมเอื้อ | อยากให้กินเกิน | |
๒๗๘. มันตรงจักจับเจ้า | กุมาร | |
โดนดาบแกว่งหมุนปาน | จักรปลิ้น | |
โวยวายยิ่งกลัวปาน | จักขาด ใจแล | |
ยอมท่านยอมมิดิ้น | หวาดแล้วครับนาย | |
๒๗๙. โอดโอยยักษ์เจ็บร้อง | ยอมยอม | |
โปรดอย่าฆาตเลยออม | อดไว้ | |
ขอเป็นทาสอยู่ดอม | นายท่าน | |
ของวิเศษมอบให้ | นี่น้ำเต้าดี | |
๒๘๐. ของวิเศษอีกไม้ | ท่อนงาม | |
ทางกกชี้ตายตาม | แน่แท้ | |
อีกทางกลับเป็นยาม | ลองกด ชี้แล | |
ขอมอบท่านนายแล้ | อย่าได้ฆ่าเรา | |
๒๘๑. เดินทางหาพ่อนั้น | ต่อไป | |
อินถปัทม์เมืองใน | ถัดนั้น | |
มินานเมืองถึงใย | แลโล่ง | |
คนบ่มีแปลกครั้น | ส่องบ้านมิเห็น | |
๒๘๒. ศาลากลางหมู่บ้าน | มีกลอง | |
ตีเล่นมีเสียงร้อง | จี่เจื้อย | |
เสียงคนนี่ผ่าลอง | ดูแน่ | |
สาวยิ่งงามนะเอื้อย | นี่เจ้าเป็นไร | |
๒๘๓. ทำไมมาอยู่ข้าง | ในกลอง | |
นางเล่างูซวงคอง | อยู่ใกล้ | |
จับกินหมดจึงลอง | แอบซ่อน | |
ท่านพ่อจัดซ่อนให้ | อยู่ช้างในกลอง | |
๒๘๔. เสบียงพออยู่ได้ | มินาน | |
ดีที่มาพบพาน | พี่อ้าย | |
ช่วยฉันหน่อยผ็หาญ | คงเก่ง | |
จงก่อไฟตัวร้าย | จักได้รีบมา | |
๒๘๕. กุมารจึงสั่งให้ | สุมไฟ | |
ควันยิ่งลอยสูงไว | มิช้า | |
งูซวงเร่งครรไล | ลงโลก | |
หมายจักกินมันกล้า | รุกล้อมกลางเมือง | |
๒๘๖. คันธนามมิช้า | ชักขรรค์ | |
ปัดป่ายแกว้งฟาดฟัน | แปลบฟ้า | |
แวววับส่องแสงพลัน | ระเบิด | |
ดังลั่นงูซวงล้า | ร่วงพื้นดับดาย | |
๒๘๗. มินานตายหมดสิ้น | งูซวง | |
นับหมื่นตายลงร่วง | ท่วมพื้น | |
องค์แถนส่องเห็นปวง | ตายหมด | |
ลงสู่ดินขอฟื้น | เรื่องร้ายนานา | |
๒๘๘. ขอโทษจงโปรดให้ | อภัยทาน | |
แถนผิดเพราะคิดพาล | เล่ห์นี้ | |
ของดีที่กุมาร | มีอยู่ | |
วอนท่านเสกโดยชี้ | จักฟื้นชีพชน | |
๒๘๙. ปลายของไม้เท้าจ่อ | จุดใด | |
กระดูกกลับชีพไว | ต่างฟื้น | |
เซ็งแซ่เสียงคนใน | เมื่องชื่น ชมแฮ | |
เมืองกลับมาสะอื้น | ต่างเฝ้ารำพัน | |
๒๙๐. บุญคุณมากยิ่งล้น | เหลือคณา | |
เสร็จกิจช่วยประชา | มากล้น | |
คำกลองเล่าพี่ยา | จักจัด ฉันใด | |
ขอสนองบาทพ้น | รับใช้ช่วนาน | |
๒๙๑. ยินดีรับนุชน้อง | เป็นศรี | |
เป็นสง่าแม่เรือนมี | ดั่งเจ้า | |
รูปงามดั่งเทวี | ลงโลก | |
งามจริตใคร่ให้เฝ้า | ชิดใกล้พี่ยา | |
๒๙๒. กุมารสอมกอดน้อง | คำกลอง | |
ขวัญพี่จักประกอง | กอดเจ้า | |
เสมอดั่งรานีครอง | เมืองยิ่ง ใหญ่แฮ | |
มาร่วมบุญกุศลเข้า | เสกสร้างบารมี | |
๒๙๓. อินทปัทถ์ฟื้น | เป้นเมือง | |
มากหมูชนรุ่งเรือง | มากล้น | |
พระยาปกครองเคือง | ใจอยู่ | |
พระตื่นจากตายรอดพ้น | ดับสิ้นสังขาร | |
๒๙๔. รับฟังทุกเรื่องล้วน | ยินดี | |
นายท่านได้ปราณั | เสกให้ | |
บ้านเมืองกลับมาดี | ดังเก่า | |
บุญเพราะท่านมอบไว้ | จักสร้างสืบไป | |
๒๙๕. เสร็จกิจการฟื้นเสก | ธานี | |
ดูท่าคงรุ่งดี | ต่อได้ | |
อำลาจากเพราะมี | กิจอื่น แลนา | |
คันธะนามลาไซร้ | ต่อเท้าเดินทาง | |
296. ขบวนเดินทัพท้าว | ไพร่พล | |
ขยายยิ่งมากมีคน | มากแท้ | |
ติดตามพึ่งบุญจน | ยิ่งใหญ่ | |
ตามสืบหาบิดาแล้ | ล่วงเข้าหลายเดืน | |
297. มาถึงเมืองหนึ่งนั้น | ผาญี | |
เห็นไพรพลมากมี | ตื่นเต้น | |
นึกว่าศึกมาตี | ชวนรบ แน่นา | |
เกณฑ์ทัพต่อตีเฟ้น | จักต้านทัพกุมาร | |
298. เสียดายทัพท่านท้าว | คัทธนาม | |
หาใช่มาปราบปราม | แต่น้อย | |
ส่งพลต่อยตีตาม | แตกพ่าย | |
ยากยิ่งต่อกรคล้อย | ต่างแพ้ทัพกุมาร | |
299. เขาตีเพี่ยงบอกให้ | อย่าราน | |
เดินทัพเพียงแวะวาร | เท่านั้น | |
พักหน่อยอีกมินาน | เดินต่อ | |
สู่อย่ากวนปิดกั้น | กีดกั้นทัพเดิน | |
๓๐๐ ผาญีรานราบแล้ว | พ่ายไป | |
เข็ดบ่อาจสงสัย | ฤทธิ์ท้าว | |
ยินยอมผ่านทัพไว | นบนอบ แลนา | |
ยอมอ่อนโอนละล้าว | อ่อนขึ้นต่อนาย | |
301. มินานผ่านถึงด้าน | ไกรลาส | |
เห็นทัพผ่านประดาศ | ศึกต้าน | |
ส่งทัพใหญ่พิฆาต | เข่นฆ่า | |
คันธนามรุกด้าน | นอกด้านรอบเมือง | |
302. ไกรลาสถ่อยร่นเข้า | กำแพง | |
พลไพร่ถูกทิ่มแทง | ดับดิ้น | |
สุดทานพ่ายหมดแรง | จักต่อ ตีนา | |
มานพบอกหมดสิ้น | บ่ได้อยากตี | |
303. เรามาเพียงผ่านใกล้ | เดินทาง | |
หาใช่อยากรบวาง | อยู่แล้ว | |
ถึงตีใช่ยากสาง | เสร็จแน่ | |
ทัพผ่านไปเพียงแคล้ว | คลาดแคล้วมิราน | |
304. ไกลลาสขวาทัพต้อง | รับรา | |
ทัพเคลื่อนโอบรอบมา | จักสู้ | |
กุมารสั่งปราบครา | ออกศึก | |
รอนราบเสร็จศึกรู้ | เหยียบใต้อาชญา | |
305. จำปากนาคสู่ศึก | อีกเมือง | |
เห็นทัพผ่านคงเคือง | สั่งล้อม | |
หมายจักแม่ทัพเปลือง | พลพ่าย | |
โดนปราบปรามอีกพร้อม | ยึดไว้ธานี | |
๓๐๖. คันธนามปกคุ้ม | ธานี | |
จำปากนาคบุรี | เหยียบไว้ | |
ปกครองแต่โดยดี | ธรรมแผ่ แลนา | |
ชนชื่นชมล้วนได้ | สุขด้วยบารมี | |
๓๐๗. สาวงามเจ็ดแจ่มเจ้า | ถวายองค์ | |
คันธนามรับอนงค์ | แต่งตั้ง | |
สนมเอกตามประสงค์ | มิขัด | |
ครองราชย์ทรงอยู่ยั้ง | ถิ่นนี้นับนาน | |
๓๐๘. คำกองเอกอัครไท้ | มเหสี | |
ครองราชสุขสวัสดี | นิ่นช้า | |
ประชาชืนรมนีย์ | บุญราช | |
คันธนามเกริกกล้า | แผ่ก้องปฐพี | |
๓๐๙. จบสารเสกแซ่ซร้อง | สรรเสริญ | |
คันธนามดำเนิน | จบได้ | |
วันที่สิบเมษเพลิน | ใจยิ่ง | |
ลองแต่งเรื่องยาวไว้ | คิดแล้วเลือกดู | |
๓๑๐. คำโคลงรูปแบบนี้ | ลองดู | |
เขียนร่ายบทไหว้ครู | หนึ่งแล้ว | |
ที่เหลือแต่งโคลงสู้ | ลองเสก แลนา | |
คงจะเสร็จสมแผ้ว | ผ่อแผ้วสมใจ | |
๓๑๑. สิบแปดพฤษกไซร้ | หกสาม | |
ปุนแต่งโคลงมาตาม | จิตตั้ง | |
เรื่องคันธคือนาม | ลองเล่า | |
โคลงสี่จับอีกครั้ง | จักต้องเสร็จจริง | |
๓๑๒. วิริเยนตั้ง | ใจเพียร | |
เดือนเศษนับแต่เขียน | เริ่มต้น | |
นิทานจบจำเนียร | แต่แรก | |
สามสิบแปดสืบค้น | จบได้นับวัน | |
๓๑๓. ขุนทองนามผู้แต่ง | โดยตรง | |
สกุลเฒ่าศรีประจง | บอกไว้ | |
คำกรองกาพย์กลอนคง | ชมชอบ | |
เขียนเล่นเขียนจริงได้ | ดั่งน้ำหลากไหล | |
๓๑๔. สำนวนแบบน้ำท่วม | ทุ่งนา | |
ไหลหลั่งจนท่วมมา | มากล้น | |
ขยะยิ่งปนหา | ง่ายยิ่ง | |
คำยากหน่อยจักค้น | เลือกค้นเสาะดู | |
๓๑๕. จบทีเถิดเฒ่าเจ้า | ขุนทอง | |
เขียนเล่นชอบคำกรอง | แบบบ้า | |
โคลงฉันท์กาพย์กลอนลอง | มาหมด | |
พักก่อนชักเมื่อยล้า | ง่วงแล้วอยากนอน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น