วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563

แผนผังกาพย์และกลอน




..........ตั้งใจจะรวบรวมแผนผังร้อยกรองที่นิยมแต่งกันทั่วไป มาไว้ที่เพจนี้ เพื่อค้นหาง่าย สะดวกต่อการศึกษาและนำไปใช้ฝึกเขียนคำร้อยกรอง ไม่มีอะไรมากกว่านี้

                                                                    ขุนทอง ศรีประจง
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
กลุ่มกาพย์ต่าง ๆ

................กาพย์ยานี ๑๑ นับจำนวนคำ ไม่เน้นครุลหุ  วางรูปแบบคำ บรรทัดละสองวรรค ๕---๖ คำ
เป็น ๑ บาท สองบาทเป็น ๑ บท นิยมแต่งสองบท เพื่อให้เห็นสัมผัสระหว่างบทด้วย สัมผัสบังคับ
คำท้ายวรรคแรก สัมผัสคำที่ สาม วรรคสอง คำท้ายวรรคสอง สัมผัสคำท้ายวรรค สาม  คำท้ายบท
ส่งสัมผัสให้บทถีดไป  (สัมผัสคำที่สามวรรคสอง อนุโลมใช้คำอื่นรับได้ด้วย เช้น 1/2/3/4 แต่คำที่ 3
นั่นแหละเหมาะสมดีแล้ว


............กาพน์ฉบังบทหนึ่งมี 3 วรรค ใช้คำ ๖+๔+๖ รวม ๑๖ คำ สัมผัสในบทมีคู่เดียวคือคำท้ายวรรคแรกสัมผัสคำท้ายวรรคสอง  คำท้ายบทคือคำท้ายวรรคสาม ส่งสัมผัสให้คำท้ายวรรคแรกบทถัดไป

 ..........กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แต่งจังหวะคู่ตลอด วรรคละ ๔ คำ รวม ๗ วรรค สัมผัสบังคับ ท้ายวรรค ต่อท้ายวรรคเช่น วรรค  ๑....ไป...๒   วรรค ๓...ไป....๕ (ข้าม ๔) และ วรรค ๕...ไป....๖ จบสัมผัสในบท  คำท้ายบทส่งให้คำท่ายวรรค ๓ บทถัดไป
..........กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒  จัดวางบรรทัดละ สอง วรรค เลยดูง่าย สัมผัสบังคับในบทมีสองคู่คือ คำท้ายวรรคแรหสัมผัสคำที่สองวรรคสอง และคำท้ายวรรคสองสัมผัสคำท้ายวรรคสาม คบสัมผัสในบท
คำท้ายบทส่งสัมผัสคำท้ายวรรคสองบทถัดไป
..........กาพย์ชนิดอื่น ๆ ไม่นิยมแต่งกัน ในเวบขุนทองเขียนกาพย์กลอน บันทึกไว้ทุกรายชื่อ สนใจเข้าไปดูได้

แผนผังร้อยกรองประเภทกลอน

กลอนดอกสร้อย
..............ลักษณะเฉพาะคือมีคำขึ้นส้น สี่คำ คำที่สองบังคับใช้คำ  Oเอ่ยOO........เช่น รักเอ๋ยรักนวล
ใจเอ๋ยใจเรา   นอกนั้นก็เหมือนกลอนแปดธรรมดา นิยมแต่งสองบท แปดวรรค จบวรรคสุดท้ายด้วยคำว่า เอย

กลอนสักวา
.................เป็นกลอนแปดนั่นเองนำมาดัดแปลงเล่นสักวา โดยกำหนดขึ้นวรรคแรกด้วยคำ สักวา....จากนั้นก็เป็นกลอนแปด ยาวสองบท คือแปดวรรค  จบด้วยคำว่าเอย


กลอนหก
..................ชื่อกลอนหก บอกให้ทราบได้ว่าแต่งวรรคละหกคำ ดูสัมผัสบังคับคล้ายกลอนแปด แต่มีลูกเล่นสำคัญคือนิยมเล่นสัมผัสในทุกวรรคเป็นแบบสัมผัสสระ ดังตัวอย่าง
.................วรรคแรก  หก+ยก                                วรรคสอง  ราม+งาม
                 วรรคสาม  เล่น+เป็น แบบ+แยบ            วรรคสี่  สัมผัสพยัฯชนะ ช+ช+ช
.................สรุปความว่าเป้นกลอนหกแต่งวรรคละหกคำ อยากให้เพราะก็สอดแทรกสัมผัสในไว้ตามต้องการ


กลอนเจ็ด
.................แต่งวรรคละเจ็ดคำ วางจังหวะตามพอใจ 2+2+3   2+3+2  3+2+2  แต่ควรวางแบบเดียวทั้งบท
คนอ่านจะได้อ่านสะดวก ถ้าวางสลับไปมา คนอ่านอ่านยาก เขาก็ไม่อ่านเอง สมน้ำหน้าคนแต่งไง แต่งแล้วคนไม่อ่าน แต่งทำไม


กลอนแปด
.................กลอนแปดแต่งวรรคละแปดคำ เห็นบางคนบอกอนุโลมจนถึงสิบคำ แปดก็แปดนั่นแหละ จะยืดออกไปทำไม ชอบยืดนักก็แต่งเป็นกลอนเก้า กลอนสิบไปเลย เด็กรุ่นหลังจะได้ไม่สับสนว่า คนรุ่นเก่าไม่รู้จักแปด หรือเก้า


กลอนเก้า
          .........นี่ไงกลอนเก้า อย่าอนุโลมสิบคำอีกล่ะ เดี๋ยวจะมีกลอนสิบ  






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น