| | ลิลิตท้าวผาแดงนางไอ่ | เริ่ม ๓ เมษายน 2562 |
| ๑. ขอน้อมนบจบไหว้ คุณพระไตรรัตนา พระพุทธาพิสุทธิ์ อุตตมะพระธรรม สังฆนำสัตถุศาสน์ |
| ประกาศแก่ผองชน มิน้อยคนเลื่อมใส ลางคนได้ออกบวช ได้ผนวชเป็นภิกษุ มุเพ็ญเพียรภาวนา |
| บ้างศึกษาพระธรรม จดจำแนวปฏิบัติ จรรยาวัตรงามงด ปรากฏด้วยอุบาสก ยกย่องคุณอุบาสิกา |
| ศาสนาจำรุญ พิบูลย์มาเนิ่นช้า ศกล่วงสองพันห้า เศษด้วยหกสิบสาม แลนา |
| โคลงสอง | ๒. ปางหนองแสน่านเจ้า | | |
| | สุทโธนาคอยู่เฝ้า | ปกป้องประชาชน | |
| | ๓. คุมพลพันนับห้า | | |
| | เป็นหน่วยนาคราชกล้า | แกร่งกล้าฤทธิรง | |
| | ๔. ตรงเขตเหนือน่านน้ำ | | |
| | เขตปกครองฝ่ายก้ำ | แห่งเจ้านาคสุทโธ แลนา |
| | ๕. โยธาทางฝ่ายใต้ | | |
| | ครองอยู่แถบนั้นไซร้ | นาคเจ้าสุวรรณ | |
| | ๖. พลสรรค์มีอยู่ห้า | | |
| | พันนาคก็เกริกกล้า | ปกป้องแปลงเมือง | |
| | | | |
| โคลงสาม | ๗. สองนาคครองบ้านเมือง | รุ่งเรืองสองฝ่ายเจ้า | |
| | ยามรุ่งอรุณเช้า | แจ่มแจ้งแสงทอง | |
| | ๘. เรืองรองปลายขอบฟ้า | สุริยาสาดส่องแจ้ง | |
| | งามดั่งทิพย์เทพแสร้ง | เสกไว้เรืองรอง | |
| | ๙. มองทิชาชาติเช้า | เหล่านกการ่อนร้อง | |
| | เกาะกลุ่มบินว่อนจ้อง | จักเข้าเขตราวไพร | |
| | ๑๐. ได้ยินดุเหว่าแว่ว | ดังขวัญแก้วเธอร่ำร้อง | |
| | นึกว่าเสียงนวลน้อง | ร่ำไห้แลโหยหา | |
| ร่าย | | | |
| ๑๑. สองนาคราชเจ้า สองเขาเพื่อนรักกัน ครั้นโอกาสอันดี มักจะมีชักชวน เที่ยวไปป่วนทะเล |
| เร่ร่อนไปกลางสมุทร หยุดเล่นน้ำตีฟอง เสียงกึกก้องกำปนาท ดังฟ้าฟาดนที เสียงต่อยตีครืนครืน |
| ต่างก็ชื่นสนุก ปูปลาทุกสลัด แตกกระจัดกระจาย ว่าน้ำหนีอลวล บ้างก็บ่นดาเอา เจ้านาคบ้าพวกนี้ |
| เล่นตีฟองอุบาท หางโบกฟาดสบัด หัวมันฟัดกระจาย ปูปลาตายเป็นเบือ ซนเอาดเหลือนาคราช สอง |
| มิพลาดชมดง เข้าป่าพงชอบล่า จับสัตว์ป่าพอใจ ได้อาหารพอดี มีมากมายแบ่งปัน สองสุขสันต์สนิทสนม |
| ต่างรักใครนิยม ชื่นชมกันไม่น้อย วันเคลื่อนนับเดือนคล้อย สืบสร้างสัมพันธ์ |
| | โคลงสี่ | | |
| | ๑๒. ปางศรีสุทธเจ้า | นาโค | |
| | เดินป่าจับสัตว์โต | ชื่อช้าง | |
| | จัดการแบ่งพูดโห | พูดใหญ่ | |
| | จึงฝากถึงเพื่อนบ้าง | แบ่งได้มากมาย | |
| | ๑๓.สุวรรณนาคนั่น | ยินดี | |
| | เขาแบ่งมากมายมี | พูดเนื้อ | |
| | อร่อยยิ่งเปรมปรีดิ์ | รักเพื่อน | |
| | โอกาสมีอาจเอื้อ | ตอบด้วยน้ำใจ | |
| | ๑๔. สุวรรณนาคเจ้า | ใจงาม | |
| | มิชอบฆาตกรรมตาม | แต่รู้ | |
| | กบเขียดปูปลายาม | ออกล่า | |
| | สัตว์ใหญ่มิค่อยสู้ | จักล้มปล่อยไป | |
| | ๑๕. คราหนึ่งจับเม่นได้ | หนึ่งตัว | |
| | แบ่งครึ่งห่างจดหัว | เรียบร้อย | |
| | ฝากถึงเพื่อนมิกลัว | มิอิ่ม | |
| | ขนเม่นอีกเล็กน้อย | ฝากให้แปลกดี | |
| | ๑๖. ศรีสุทโธเปิดแล้ว | แปลกใจ | |
| | นิดหน่อยเองไฉน | ฝากข้า | |
| | กูฝากนั่นตัวใหญ่ | แบ่งครึ่ง | |
| | คชสารกูกล้า | ฝากให้เพื่อนไป | |
| | ๑๖.ใยขนมันใหญ่แท้ | แน่นอน | |
| | คงยิ่งกว่าพวกกุญชร | นั่นน้อย | |
| | ขนเล็กแต่เนื้อตอน | กูแบ่ง ให้แล | |
| | ยังมากมายหาบห้อย | หาบเนื้อพลายสาร | |
| | ๑๗. มารมันมอบเม่นแม้้ | นิดเดียว | |
| | ขนกลับใหญ่นักเชียว | แน่แล้ว | |
| | มันโตกว่าช้างเจียว | จริงแน่ | |
| | บักเพื่อนคงมิแคล้ว | คิดได้กลโกง | |
| | ๑๘. ตายโหงเพราะนาคเจ้า | สุทโธ | |
| | มักโกรธมักโมโห | กราดเกรี้ยว | |
| | มิเคยพบเม่นโต | ใยเล่า | |
| | เทียบดูเพื่อนลดเลี้ยว | หลอกได้แบ่งมา | |
| | ๑๙. ขนมันโตกว่าช้าง | เส้นขน | |
| | ให้แบ่งแผงเล่ห์กล | แบ่งให้ | |
| | หน่อยเดียวแบ่งมาจน | เจ็บจิต กูแฮ | |
| | เอาส่งคืนมันได้ | ฝากให้คืนพลัน | |
| | ๒๐. สุวรรณนาคเจ้า | เย็นใจ | |
| | รีบเร่งขอพบนัย | เรื่องรู้ | |
| | เพื่อนเราอย่าโกรธใย | เพราะเม่น | |
| | ตัวเล็กเราก็สู่ | แบ่งให้พอควร | |
| | ๒๑. เชิญชวนนึกก่อนนี้ | สองเรา | |
| | รักใคร่กันมิเบา | แน่แท้ | |
| | มีลาภแบ่งลาภเอา | ลาภครึ่ง แลนา | |
| | แบ่งเม่นตัวเล็กแล้ | เล็กน้อยเนื้อมัน | |
| | ๒๒. โกรธกันเพราะแค่นี้ | มิดี เพื่อนเอง | |
| | เอาใหม่หากจักมี | โชคบ้าง | |
| | จับตัวใหญ่อีกที | คราแบ่ง | |
| | เกินครึ่งมอบแกล้าง | ผิดให้แก่เรา | |
| | ๒๓. คืนแกมันเล็กน้อย | เอาไป | |
| | มิอยากกินของใคร | เล็กน้อย | |
| | มิฟังโกรธดังไฟ | ลุกท่วม | |
| | แถมตบตีด่าป้อย | โกรธร้ายโทโส | |
| | ๒๔. นาโคคอยปัดป้อง | ห้ามปราม | |
| | อย่าเพื่อนมันมิงาม | แบบนี้ | |
| | เราผิดเพื่อนคุกคาม | มิว่า | |
| | เราบ่ผิดเราชี้ | บอแล้วความจริง | |
| | ๒๕. ตัวหมาเท่าเม่นได้ | เทียบดู | |
| | นิดหน่อยเนื้อหนังกู | บอกให้ | |
| | คนละครึ่งแบ่งตู | ปันส่วน จริงแล | |
| | มิหลอกเราก็ได้ | เทียบได้คำยืน | |
| | ๒๖ คืนไปมิรับไว้ | ของเอ็ง | |
| | แกเพื่อนเส็งเคร็ง | ลดเลี้ยว | |
| | มิซื่อต่อเพื่อนเล็ง | เอาเปรียบ กูฤๅ | |
| | มาต่อยตบตีมึงเบี้ยว | ส่วนให้แบ่งกัน | |
| | ๒๗.สุวรรณนาคเจ้า | โมโห | |
| | ดุด่าเรื่องใหญ่โต | โกรธเกรี้ยว | |
| | ตบตีกัดพาโล | ข่มเพื่อน | |
| | สุทธเอาแต่เลี้ยว | หลบป้องเกรงใจ | |
| | ๒๘. มันเล่นแรงแบบให้ | ถึงตาย แลฤๅ | |
| | จำต่อยตบประปราย | อดไว้ | |
| | สุวรรณโกรธมากมาย | มิผ่อน | |
| | สุดที่จะทนได้ | สดท้ายต่อยตี | |
| ร่าย | | | |
| ๒๙. มีโทสะรุมเร้า สองเจ้านาคราชแรง แข็งข่มกันมิหยุด สุดจักยับยั้งได้ ก่อเกิดไฟลามรุก อุกอาจ |
| เกิดสงตรามลุกลามกันใหญ่โต โกรธาบ้าอำนาจ หวังพิฆาตเข่นฆ่า กรีฑาทัพต่อสู้ เกณฑ์งูน้อยงูใหญ่ |
| รุกเข้าไปประจันเข้าฟาดฟันศัตรู งูเหลือมรุกเข้าใส่ จงอางไล่พ่นพิษ หวังปลัดชีพแมวเซา งูเห่ามิ |
| ยอมถอย พวกงูน้อยแตกพ่าย ลายพร้อยงูสามเหลี่ยม ยอดเยี่ยมเขียวหางไหม้ ว่องไวเขียวกาบหมาก |
| หายากแสงอาทิตย์ วิจิตรหลามลวดลายร้ายมากสิงดงดำ นำพวกเข้าไล่ฟัด นายสั่งกัดสั้งขบ รุกรบ |
| กันพัลวัน ทัพงูมาพร้อมสรรพ์ ฟาดฟันให้บัลลัย ล้มตายไปเป็นเบือ เพื่อเจ้านายนาคราช พิฆาตกันมิหยุด |
| | โคลงสอง | | |
| | ๓๐. สองนาคราชเจ้า | | |
| | สองต่างรุกรบเร้า ผ่านพ้นคืนวัน | |
| | ๓๑. หลายเดือนผันผ่านได้ | | |
| | รบยิ่งรุนแรงไซร้ เดือดยิ่งทุกแดน | |
| | ๓๒. สองนาคราชเก่งกล้า | | |
| | ปล่อยฤทธิ์ลือโลกหล้า สั่นสะท้านทั่วแดน | |
| | ๓๓. แสนปั่นป่วนยิ่งแล่ว | | |
| | หนองนี่คงมิแคล้ว จักได้ภินท์พัง | |
| | ๓๔. ดินยังถล่มรอบด้าน | | |
| | แนวฝั่งยากจักต้าน หมู่เจ้าตีกัน | |
| | ๓๕. สรรพสัตว์ต่างเดือดร้อน | | |
| | โดนไล่รุกกวาดต้อน หลีกเร้นหนีตาย | |
| | ๓๖. หลากหลายหลบมิพ้น | | |
| | ตายดับก็หลากล้น แต่น้อยหลีกทัน | |
| | ๓๗. แถนพลันพบเรื่องร้าย | | |
| | มิปล่อยจำให้ย้าย ห่างท้องถิ่นไป | |
| ร่าย | | | |
| ๓๘. ภัยเกิดแถนสะดุ้ง มุ่งสอดส่องบนฟ้า หมู่เมฆาสบายดี มิมีใครเดือดร้อน ย้อนส่องลงดูโลก |
| ใครทุกโศกกันหนอ พอได้เห็นเรื่องใหญ่ สองนาคไซร้ฟัดกัน มันบ้าบอทั้งคู่ สู้กันจนเลอะเลือน |
| สะเทือนคุ้งแม่น้ำ กรรมปูปลากบเขียด เบียดเบียนเขาทำไม ตัวใหญ่กันเสียเปล่า เอาแต่ขี้โมโห |
| โต่แต่กายด้อยปัญญา ควรศึกษาพระธรรม น้อมนำมาปฏิบัติ จัดการบ้านการเมือง ให้รุ่งเรืองจำรัส |
| ให้วิวัฒน์จำรูญ บ้านเมืองพูนสวัสดิ์ ศิริพิพัฒนา ทวยประชาร่มเย็น เป็นแนวทางผู้นำ มีคุณธรรมคู่ควร |
| ทุชนชวนนอบน้อม เต็มใจโอนอ่อนพร้อม กราบเกื้ออวยพร แลนา | |
| | โคลงสอง | | |
| | ๓๙. กูเจ้าแถนอยู่ฟ้า | | |
| | จำล่วงลงสู่หล้า หยุดได้พวกมึง | |
| | ๔๐. ปูปลาถึงดับดิ้น | | |
| | ตายดับแทบหมดสิ้น เนื่องด้วยพวกมึง | |
| | ๔๑. ถึงรบเพราะเหตุอ้าง | | |
| | เพียงแค่เม่นใช่ช้าง แย่งได้แย่งดี | |
| | ๔๒. มีอย่างไหนท่านเจ้า | | |
| | นาคราชรบเร้า แย่งเนื้อเม่นกัน | |
| | ๔๓. น่าขันนักพวกบ้า | | |
| | เป็นเจ้ายังชั่วช้า แย่งเข้าของกิน | |
| | ๔๔.ตัดสินนับแต่นี้ | | |
| | พาพวกจงหลีกลี้ ห่างห้วงหนองแส | |
| | ๔๕. ฝืนแลกูจักให้ | | |
| | วิบัติล่มจมไซร้ สาบให้จมดิน | |
| | ๔๖. ยินฟังกันทั่วถ้วน | | |
| | ปักข์หนึ่งไปกันล้วน อย่าได้เหลือหลอ | |
| | ๔๗. องค์แถนบอกสั่งเจ้า | | |
| | สองนาคราชเฝ้า นอบน้อมรับคำ | |
| | ๔๘. จำยอมพลาดผิดแล้ว | | |
| | ยามเมื่อจิตผ่องแผ้ว ค่อยรู้ที่ควร | |
| ๔๙. ชวนสองนาคราชเจ้า เฝ้าฟังแถนสั่งการ เพราะคิดพาลทะเลาะ มิเหมาะมิควรการ |
| แถนท่าจึงลงโทษ มิโกรธมิเคืองขุ่น บุญจักได้โยกย้าย หมายหาที่เมืองใหม่ มิใช่เรื่องยากเข็ญ |
| เห็นควรแยกทางกัน สุวรรณไปทางนี้ โชคดีส่วนทางนั้น สุทโธผันผายไป สองนาคได้หารือ ถือ |
| ถือเป็นข้อตกลง คงพาเหล่าบริพาร ประมาณนับห้าพัน พร้อมสรรพ์ก็เครื่อนย้าย แยกกันไปขวาซ้าย |
| ต่างริ้วงามขบวน | | | |
| | ๕๐. ส่วนสุทโธมุ่งซ้าย | มุดดิน | |
| | เป็นปล่องทางเดินยิน | ร่ำร้อง | |
| | พลไพร่เคลื่อนเลาะหิน | เป็นแหล่ง | |
| | ทางอุทกไหลต้อง | เกิดน้ำโขงชล | |
| | ๕๑. บนสองฟากฝั่งกว้าง | พอควร | |
| | งามแง่สองฝั่งชวน | ชื่นแม้ | |
| | นานาแมกไม้มวล | ดาดาด แลนา | |
| | ลางผลิดอกงามแท้ | แต่งแต้มริมของ | |
| | ๕๒. องค์แถนตรองถี่ถ้วน | สั่งความ | |
| | ใครแต่งทางลุตาม | ล่วงแล้ว | |
| | ทะเลปล่อยลงยาม | ชลเอ่อ นองแล | |
| | จักปล่อบปลาบึกแก้ว | เกิดได้แพร่พันธุ์ | |
| | ๕๓. สุทโธสรรค์แต่งได้ | ดังหมาย | |
| | ชองล่วงทะเลปลาย | สุดได้ | |
| | ปลาบึกเกิดโขงคลาย | แถ่นมอบ พรแล | |
| | โดดเด่นของนักไซร้ | เมื่อได้บึกมี | |
| | ๕๓. ศรีสุทธนาคสร้าง | บาดาล | |
| | ลึกล่างลำโขงสาน | สืบเค้า | |
| | สัตตนาคนหุตนาน | จนชั่ว นานแล | |
| | คนร่ำลือนาคเจ้า | อยู่ใต้ลำของ | |
| | ๕๔. เพราะของไหลล่วงด้าน | สมุทร | |
| | พระท่านแถนพิสุทธิ์ | เสกให้ | |
| | ปลาบึกก่อเกิดอุด- | ตมยิ่ง แลนา | |
| | มีแหล่งเดียวแถนให้ | อยู่น้ำลำของ | |
| | ๕๕. ครองเมืองสัตตนาคได้ | นับนาน | |
| | เป็นสุขแสนสราญ | เนิ่นช้า | |
| | มีบุตรหนึ่งเบิกบาน | นักยิ่ง | |
| | ยามว่าภังคีกล้า | เก่งกล้าชาตรี | |
| | ๕๖. ธสอนธสั่งเจ้า | ภังคี | |
| | ศิลปะวิชชามี | ไม่น้อย | |
| | อีกมวลเดชฤทธี | ควรนาค รู้แล | |
| | นาคหนุ่มสาวนับร้อย | จัดให้บริวาร | |
| | ๕๗. กล่าวสุวรรณนาคเจ้า | จรไกล | |
| | ขวามุ่งหลายวันใจ | จักสร้าง | |
| | ธารชลอยู่อาศัย | บึงบ่อ | |
| | ปลายเชื่อมหมายดุจอ้าง | จักให้ลงทะเล | |
| | ๕๘. คนเรียกแนวน้ำน่าน | งดงาม | |
| | ตามเชื่อสุวรรณนาม | นาคนี้ | |
| | สัตย์ซื่อรักสวยยาม | จักก่อ | |
| | ธารอยู่อาศัยชี้ | ขีดให้ทางตรง | |
| | ๕๙. ภูมิสถานก่อสร้าง | สวยสม | |
| | งามถิ่นเอกอุดม | กล่าวอ้าง | |
| | ผองชนต่างชื่นชม | ลือเลือง | |
| | เมืองน่านงามยิ่งสร้าง | ไม่แพ้เมืองสวรรค์ | |
| | ๖๐. สันติศิริได้ | เกิดมี | |
| | เย็นยิ่งนาคบุรี | ก่อเกื้อ | |
| | จำเรืญรุ่งเรืองดี | นานเนิ่น | |
| | เมืองเจริญเทพเอื้อ | ส่งให้เกษมศรี | |
| ๖๑. นาคบุรีศรีสุทโธ ภิญโญยิงจำเริญ ดำเนินมานับนาน สุขสราญนาคประชา พากันชื่นและชม |
| สมควรยกยอย่อง เห็นพ้องเพราะท่านเจ้า เอาภาระปกครอง ผองนาคน้อยนาคใหญ่ ใครเดือดร้อน |
| ลำบาก หายากปลาเขียดกบ พบสุทโธพ่อเจ้า เอาภาระป้องปลด เสกได้หมดวิชาคุณ หนุนให้เกิด |
| ฟ้าฝน ดลให้น้ำนองทุ่ง มุ่งดึงปลาวางไข่ ให้กบเขียดร่ำร้อง เต็มห้วยหนองบึงบาง สร้างอุดมสมบูรณ์ |
| บึงบางพูปูปลา นานเขียดแลกบ สบใจประชานาค มิลำบากแล้วไซร้ ได้พ่อเจ้าเมตตา พากันมาแซ่ซ้อง |
| เนืองแน่นนาคร่ำร้อง พ่อเจ้าจงเจริญ ฯ | | |
| | โคลงสี่สุภาพ | | |
| | ๖๒. เพลินใจทุกหย่อมหญ้า | ชาวเมือง | |
| | ตกแต่งแปลงเรือนเรือง | รุ่งแล้ว | |
| | เย็นนักยิ่งบ่เคือง | เป็นอยู่ | |
| | งามยิ่งดังเมืองแก้ว | แต่ล้วนสะดวกสบาย | |
| | ๖๓. หลายเดือนผันผ่านได้ | มงคล | |
| | เกิดหน่อนาคเพียบพล | เดชกล้า | |
| | ภังคีชื่นนาคตน | ประเสริฐ | |
| | ศรีสุทโธอิ่มหน้า | บุตรน้อยเกิดมา | |
| | ๖๔. เวลาผันผ่านได้ | เดือนปี | |
| | เด็กหนุ่มนามภังคี | ชื่นหน้า | |
| | พวกผองต่างมากมี | กินเที่ยว | |
| | เพลินเล่นทุกย่านกล้า | เลียบล้วนสนุกสนาน | |
| | ๖๕. ปูปลาย่านน้ำนั่น | มากมาย | |
| | ปลาบู่ดุกสวาย | กดสร้อย | |
| | ช่อนกระดี่ปลากราย | วนวุ่น | |
| | เหยื่อมดผ่านนับร้อย | แย่งยื้อฮุบกัน | |
| | ๖๖.กระเบนกระสูบย้าย | ล่องไป | |
| | แหนจอกแหวกทางไว | ผ่านพ้น | |
| | กระพงบู่แลไหน | หายห่าง | |
| | ปลาช่อนงูเห้าค้น | เหยื่อได้ยินดี | |
| | ๖๗. มีกดซิวแก้วแก่ง | คางเบือน | |
| | กระสูบลอยลางเลือน | ห่างพ้น | |
| | ดุกอุยบึกแลเหมือน | เล็กอยู่ | |
| | คอยหลบทางแต่ต้น | ห่างเจ้าชะโด | |
| | ๖๘. ตะเพียนขาวแปลกเจ้า | สีทอง | |
| | นวลจันทร์แผนนวลผอง | แจ่มหน้า | |
| | เทโพชอบปรองดอง | นิลหนุ่ม | |
| | ปลากะพงปลาบ้า | ตื่นเต้นแตกกระจาย | |
| | ๖๙. ภังคีมากเพื่อนพ้อง | มัสยา | |
| | แหวกว่ายวนธารา | สนุกล้น | |
| | โลดไล่จับกันพา | สนุกยิ่ง | |
| | ลืมเหนื่อยกันแต่ต้น | สุดท้ายเหนื่อยแรง | |
| | ๗๐. บางคราวชวนนาคน้อย | นาคี | |
| | แปลงรูปนวลนารี | แช่มช้อย | |
| | โลดไล่เกาะกุมมี | ใจร่วม นักเอย | |
| | นวลต่างหวังติดต้อย | อยู่ใกล้ภังคี | |
| | ๗๑. นาคีนางที่ต้อง | ตาใจ | |
| | เลือกสมัครรักใคร่ | คู่จ้าว | |
| | ฐานะเท่าเทวี | นาคราช | |
| ร่าย | นาคหนุ่มสาวมักห้าว | เลือกไว้เคียงครอง | |
| ๗๒.เมืองสุวรรณโคมคำ ตำนานพญาขอม เป็นจอมเจ้าปกครอง ผองประชาร่มเย็น ต่างเป็นสุขมากมี |
| ต่างเป็นศรีสวัสดิ์ แจ่มจำรัสดำเนิน จำเริญด้วยการเกษตร มากมายเขตพาณิช ประกอบกิจค้าขาย มีมาก |
| มายโรงงาน ทำจักสานหัตถกรรมบ้านเรือดูงดงาม พระอารามลำดับ ผู้คนรับศาสนา พากันก่อกุศล ส่งผล |
| ให้ร่มเย็น เป็นเมืองที่สุขสงบ พบแม่เจ้าชายาพระนามว่าจันทร์เทวี นางเป็นศรีแห่งเมือง งามประเมืองดุจ |
| ดาว พิมพ์แพรวพราวดังอัปสร บังอรมีหนึ่งธิดา ลือว่านางงามล้ำเป็นสาวงามเลิศซ้ำ กว่าอคว้นเขตคาม |
| | | | |
| | | | |
| | โคลงสอง | | |
| | ๗๓. งามเลิศคือไอ่แก้ว | | |
| | งามแม่งามลิศแล้ว ลุ่มฟ้าชวนชม แม่เอย | |
| | ๗๔. ผมนางดำขลับคล้าย | | |
| | ปีกภุมรินย้าย เคลื่อยซ้ายสลับบิน | |
| | ๗๕. ผินพักตร์นวลเจิดจ้า | | |
| | งามดุจจันทร์ส่องฟ้า สาดพื้นโลมดิน | |
| | โคลงสาม | | |
| | ๗๖. นิลเนตรดังเนตรทราย | พะแพรวพรายแจ่มแจ้ว |
| | ใสดั่งใสลูกแก้ว | เนตรน้อยยียวน แม่นา | |
| | ๗๗. ยงลขนงโก่งงาม | ยามเพ่งดังโก่งก้าน | |
| | คันศรงามทุกด้าน | แช่มช้อยนวลขนง | |
| | ๗๘. ตรงศององามนุช | ดูดุจหงส์แช่มช่อย | |
| | อวดอ่อนอรเรียบร้อย | เทพสร้างเสกมา | |
| | ๗๙. โสตามาลาแซม | สายหยุดแกมกลิ่นฟุ้ง | |
| | จำปีหอมคละคลุ้ง | เสียบไว้แซมผม | |
| | ๘๐. ชมปรางคำไอ่น้อง | ผ่องชมพูยั่วแย้ม | |
| | ชวนชื่นชมสองแก้ม | ยิ่งยิ้มใจสลาย | |
| | ๘๑. อิ่มโอฐสายสวาดิ์ | นุชนาถอวบอิ่มพริ้ม | |
| | งามช่างงามจิ้มลิ้ม | ชาดไล้งดงาม | |
| ร่าย | | | |
| ๘๒. ฟันถี่งามสะอาด ขาวพิลางเพียงสังข์ ตั้งตรงคอกลมกลึง พึงพิศชมสองไหล่ คอสวมใส่ชุดประดับ |
| งามระยับเพชรพลอย นวลไอ่น้อนน่ารัก พิมพ์สะพักชวนชื่นร่างกลมกลืนสมส่วน แพรพรรณชวนชื่นพิศ |
| ลายพิจิตรพิไล ซิ่นหมี่ไหมลายพร้อย สมไอ่น้อยนางงาม ยามแม่เดินย่างย้าย สองเนตรคมชะม้าย |
| โลกเพี้ยงล่มสลาย แม่เอย | | |
| | โคลงสี่สุภาพ | | |
| | ๘๓. กลับกลายเป็นข่าวให้ | เลื่องลือ | |
| | งามล่มเมืองระบือ | ไอ่แก้ว | |
| | ปากต่อปากกระพือ | ทีปทั่ว | |
| | เขตข่อเขตเลื่องแล้ว | ไอ่น้อยงดงาม | |
| | ๘๔. ยามสาวงามเลิศล้ำ | โฉมสอาง | |
| | วันพระนวลไอ่นาง | จากคุ้ม | |
| | ชมสวนบ่อยเดินทาง | ผองเพื่อน | |
| | หกเจ็ดนางคอยตุ้ม | แวดล้อมบังอร | |
| | ๘๕. ยามจรสองฝั่งใกล้ | ริมทาง | |
| | หนุ่มแก่แอบดูพลาง | แซ่ซร้อง | |
| | งามนักไอ่คำนาง | งามแม่ | |
| | งามเยี่ยงอัปสรจ้อง | จากฝ้าลงดิน | |
| | ๘๖.หนุ่มแก่ชวนชื่นหน้า | ชื่นชม | |
| | รักใคร่นวลไอ่สม | ลูกเจ้า | |
| | งามตายิ่งงามคม | งามเสน่ห์ | |
| | งามแม่งามยิ่งเย้า | ยั่วเย้าเสน่ห์นวล | |
| | ๘๗. ต่างเขตชวนเที่ยวบ้าน | พญาขอม | |
| | ช่มป่าชมเมืองดอม | เผื้อไว้ | |
| | สาวงามยิ่งยินยอม | ผูกมิตร แลนา | |
| | ดียิ่งอาจคู่ได้ | คู่ไว้สัมพันธ์ | |
| | ๘๘. โชคดีอาจพบน้อง | ไอ่คำ | |
| | ยามแม่เดินเที่ยวนำ | พี่น้อง | |
| | ชมสวนงามจดจำ | ใจสั่น เจียวนา | |
| | โฉมแม่งามล้วนต้อง | สุดต้องเต็งใจ | |
| | ๘๙. ชุมชนขวักไขว่ล้วน | หนุ่มจร | |
| | ไกลถิ่นยินข่าวอร | ไอ่น้อย | |
| | งามเหลือพบบังอร | สักครู่ | |
| | บุญยิ่งพบแหวนสร้อย | ค่าล้ำอเนกอนันต์ | |
| ร่าย | | | |
| ๙๐. เมืองผาโพงข่ากระพือ ลือกันทั่วพญาขอม งามพร้อมนาถธิดาเดียว นิลเนตรเขียวมรกต งดงามเยี่ยง |
| นางฟ้าสง่าเยี่ยงสาวสวรรค์ ชวนใฝฝันพบหน้า ชวนให้กล้าเดินใกล้ ชวนใคร่ร้องทักทาย ชวนให้หมายสนิท |
| ชวนให้ชิดเคียงใกล้ บ้างก็ใส่ความแผก แตกต่างกันออกไป นางไอ่ผิวสีทอง สองแก้มนวชมพู สองใบหู |
| กลมเรียว สีเขียวใสนิลเนตร งามเกศเกล้าดำขลับ หลายฉบับบรรยาย ยินถึงนายผาแดง จึงแต่งคนไปหา |
| เอาตัวมาสอบถาม เรื่องนางงามเป็นไฉน ฟังมากจนคลั่งไคล้ ชอบนางไอ่สำคัญ มิทันจะเห็นตน ดังถูกมนต์ |
| มัวเมา เหงายามมิมีข่าว ยินเรื่องสาวก็สว่าง ช่างแปลกใจยิ่งนัก กูจักใคร่ได้เห็น นางจักเป็นไฉน นานวันยิ่ง |
| คลั่งไคล้ ตกลงเดินทางไซร้ อยากได้เห็นนาง | | |
| | | | |
| | โคลงสอง | | |
| | ๙๑. พลางชวนพวกพี่น้อง | | |
| | มาเถิดเป็นเพื่อนพ้อง | ใคร่ได้อุ่นทรวง พี่เอย | |
| | ๙๒. ดวงดีนักพี่เลี้ยง | | |
| | หนุ่มแน่นฟังชวนเพี้ยง | พรั่งพร้อมมากัน | |
| | ๙๓.ฉกรรจ์นักเหนุ่มเหน้า | | |
| | ฟังว่าจักเดินเข้า | ป่าไม้ไพรพง แลฤๅ | |
| | ๙๔. จงใจชอบตอบถ้อย | | |
| | ผองเรามิใช่น้อย | จักต้อยติดตาม พ่อเอย |
| | ๙๕. ยามสุขมีสุขพร้อม | | |
| | ยามทุกข์เราห้อมล้อม | บ่ได้ทิ้งกัน แลนา | |
| | ๙๖. สรรมาผองหนุ่มเหน้า | | |
| | เป็นหกคนแล้วเจ้า | เท่านี้เพียงพอ | |
| ร่าย | | | |
| ๙๗. ขอใจใจก็พรัก ขอฮักฮักให้มา พระพี่ยาของน้อง ผาแดงต้องขอบคุณ บุญอ้ายที่เป็นห่วง |
| ยามจักล่วงเดินดง ยามเข้าพงเขาเขิน เดินมีเพื่อนอุ่นอก ถึงพงรกมิกลัว ตัวข้อขอขอบคุณ |
| บุญหลากเหลือล้นเกล้า รับนำเข้าใส่หัว มิเกรงกลัวภัยแล้ว คุณพระช่วยคลาดแคล้ว ห่างสิ้นโภยภัย แลนา |
| | โคลงสาม | | |
| | ๙๘. ออกไปกันแต่งเช้า | มุ่งป่าเขาไพรกว้าง | |
| | หดหู่ใจอ้างว้าง | ห่วงบ้านเรือนตน แลนา |
| | ๙๙. ครบคนออกเดินจร | สูดงดอนมิช้า | |
| | สายแดดจักแรงกล้า | เร่งร้อนรีบไป | |
| | ๑๐๑. ไวหน่อยหนาพี่ท่าน | ผ่านจากเขาลูกนี้ | |
| | รกป่ามากกว่านี้ | อยากให้ชมไพร | |
| ๑๐๒. ใช่หญ้าแต่เรียกเพ็ก ไผ่พันธุ์เล็กใบหนา แตกกอมาเป็นดง สัตว์ป่าคงชื่นชอบ ใบกรอบอ่อนรสหวาน |
| เก้งกวางฟานชอบเล็ม กินอิ่มเต็มแน่นท้อง ช้างยังจ้องมาเล็ม เต็มอิ่มแล้วจากไป โน่นป่าไผ่หน้าฝน งดงาม |
| จนใบดก ปกคลุมมืดพงหนา งามประดูเต็งรัง งามกระสังหนามดก หมากตีนครกเหลืองอร่าม ลูกมันงาม |
| น่ากิน ถวิลหามานาน รสหอมหวานจับจิต ชิมติดอกติดใจ ผ่านดงใหญ่มืดครึ้ม มิลืมเลือกลัดเลาะ เสาะทาง |
| ไปให้ผ่าน หลายด่านหุบเขาเขิน เดินกันแสนเมื่อยล้า วันเวลาเชื่องช้า เหนื่อยเส้นหมดแรง |
| | โคลงสี่สุภาพ | | |
| | ๑๐๓. แข็งขันเดินไม่ยั้ง | กึ่งเดือน | |
| | พักอยู่ยอดดอยเหมือน | ทุ่งข้าว | |
| | แลไกลแค่เล็งเลือน | มีป่า | |
| | กอไผ่ตาลมะพร้าว | ใช่บ้านเมืองคน | |
| | ๑๐๔. มาจนจะสู่ห้อง | โคมคำ แลฤๅ | |
| | หายเหนื่อยเรากระทำ | เรียบร้อย | |
| | พานายดุ่มเดินนำ | ถึงที่ | |
| | เมืองแห่งนางหนูน้อย | แม่แก้วไอ่คำ | |
| | ๑๐๕. นำมาถึงถิ่นแล้ว | ผาแดง | |
| | มาหยุดพักเอาแรง | ก่อนน้อง | |
| | ริมธารหลากสีแสง | บานเบ่ง แลนา | |
| | บุปผชาติจดจ้อง | ช่างคล้ายคนสรรค์ | |
| | ๑๐๖. พลันเสียงคนร่ำร้อง | แว่วมา | |
| | ดังหนึ่งเสียงกานดา | คึกครื้น | |
| | ชมสวนต่างเฮฮา | คงเล่น กันนา | |
| | มาแอบดูลึกตื้น | เล่นน้ำฤๅไฉน | |
| | ๑๐๗. ไปกันพวกพี่เลี้ยง | เร็วพลัน | |
| | นับเนิ่นมิผายผัน | กลับได้ | |
| | เย็นมากค่อยมากัน | ดูแปลก | |
| | เงียบนิ่งมิบอกให้ | ใคร่รู้เรื่องใด | |
| | ๑๐๘. อะไรกันเล่าอ้าย | บอกที | |
| | ไปพบเรื่องมิดี | อุบไว้ | |
| | ฤๅพบเห็นภูตผี | เชิญเล่า แลนา | |
| | เอาแต่นิ่งเป็นใบ้ | หมดแล้วทุกคน | |
| | ๑๐๙. จนผ่านสักครู้ได้ | บอความ | |
| | ผองพี่พบสาวงาม | เล่นน้ำ | |
| | สุดสวยยิ่งมัวตาม | ชมอยู่ นาพ่อ | |
| | มีอยู่คนงามล้ำ | นั่งร้อยมาลัย | |
| | ๑๑๐. ผองพี่แอบส่งให้ | สัญญาณ | |
| | หลอกเหล่านวลนงคราญ | เลิกแล้ว | |
| | ชวนนางที่ยวสวนสาน | มิตรก่อ | |
| | ใจก่อใจผ่องแผ้ว | ชอบล้วนใจดี | |
| | ๑๑๑. พี่สาวพาน้องนุช | เที่ยวเพลิน | |
| | เหน็ดเหนือยหยุดพักเดิน | สระแก้ว | |
| | แลธารฉ่ำเย็นเกิน | เย็นยั่ว ใจนา | |
| | ลงเล่นธารกันแล้ว | ร่ำรองเพลงเพลิน | |
| | ๑๑๒. ผูกมิตรมิตรก่อเกื้อ | ผองเรา | |
| | ครบคู่ครบนงเยาว์ | พี่น้อง | |
| | อีกหนึ่งโฉมเฉลา | งามยิ่ง | |
| | งามเยี่ยงอัปสรจ้อง | สั่นสะท้านยำเกรง | |
| ๑๑๓. พี่เลี้ยงเองบอกเล่า พบนงเยาว์ห้านวล งามยียวนบังอร ดังอัปสรจากสวรรค์ งามแจ่มจันทร์ทุกผู้ |
| ตะลึงดูลุ่มหลง จึงตรงไปทักทาย เธอทั้งหลายใจดี ผองพี่ฝากน้ำจิต พวกเธอคิดเมตตา ชวนพาทีไต่ถาม |
| ยามแยกพบต่อสอง แจ้งความต้องประสงค์ นวลอนงค์รับไว้ ชะรอยได้สายแนน เกาะแขนพบจับคู่ |
| ดูราบรื่นชื่นจิต จนสนิทสนม ได้เฝ้าชมน้องน้อย ถ้อยปราศัยตาถาม น้องนามงามไอ่แก้ว งามเลิศแล้วเกินใคร |
| จักเทียบได้ในหล้า เป็นธิดาพ่อเมือง เลื่อชื่อพญาขอม งามพร้อมนักจรรยา งามทีท่าอีสตรี ดูสมศรีสมง่า |
| ดังนางฟ้าเธอจร จากอมรเมืองฟ้า มาอวดโฉมในหล้า แปลกแท้ผาแดง พ่อเอย |
| | โคลงสี่สุภาพ | | |
| | ๑๑๔. แจกแจงผองพี่เลี้ยง | รายงาน | |
| | ดูนี่มวลหลักฐาน | คู่อ้าย | |
| | ผองนางที่สำราญ | เทียวท่อง | |
| | ชมสวนอยู่พาย้าย | ย่างเข้ามาเยือน พ่อเอย |
| | ๑๑๕. เหมือนอสนิบาตต้อง | มึนมัว | |
| | มิคาดงามนักกลัว | หลอกข้า | |
| | ขอจับมือมีตัว | ตนอยู่ นาพี่ | |
| | เขาดุกับว่าบ้า | ค่อยรู้สึกตัว | |
| | ๑๑๖.มัวแต่แตกตื่นข้า | ขออภัย | |
| | งามยิ่งงามเหลือใจ | แปลกแล้ว | |
| | เมืองบนอยู่แสนใกล | แสนห่าง นาแม่ | |
| | มีเหล่าอัปสรแก้ว | จากฟ้าลอยลง | |
| | ๑๑๗. คงมึนเมาน่าท้าว | ผาแดง | |
| | เธอนี่ใช่จำแลง | จากฟ้า | |
| | พวกเธอพี่สาวแฝง | สวนอยู่ | |
| | ปล่อยอีกคนน้องหล้า | นั่นแล้วนางสวรรค์ | |
| | ๑๑๘. สาวงามยามยั่วยิ้ม | พิมพ์ใจ | |
| | เธอว่าพวกเราใช่ | ยอดสร้อย | |
| | กัญญาเยี่ยมสดใส | นางโน่น | |
| | นางนั่งสอดงานร้อย | อวดสร้างมาลัย | |
| | ๑๑๙. เออนี่อยากพบพ้อง | นวลนาง | |
| | จริงแน่อย่าแคลงคลาง | บอกให้ | |
| | แอบไปหลบทุกทาง | แอบก่อน | |
| | พวกพี่จะจัดได้ | พวกเจ้าพบกัน | |
| | ๑๒๐. ขันนักพวกพี่เลี้ยง | คุยโต | |
| | บอกอ่อนงามพาโล | เลิศล้ำ | |
| | อยากเห็นสมคำโว | ฤๅนั่น | |
| | จึงลอบแอบไปก้ำ | ที่น้อยพักกาย | |
| | ๑๒๑. สายใจเจ้านั้งร้อย | มาลา | |
| | มองแค่หลังงามตา | นักเจ้า | |
| | ผินพักตร์หน่อยเถิดนา | หนอแม่ | |
| | มิยอมผินนานเข้า | รุ่มร้อนรึงใจ | |
| | ๑๒๒. ศาลาริมท่าน้ำ | คงดี | |
| | แอบพุ่มผักตบหนี | หลบหน้า | |
| | ลอยคอแอบดูที | มิห่าง | |
| | อยากจักเห็นน้องหล้า | เมื่อใกล้ชัดดี | |
| | โคลงสามสุภาพ | | |
| | ๑๒๓. ผองพี่เลี้ยงจัดการ | สานพ่มผักตบให้ | |
| | เจาช่องตรงกลาวไว้ | แอบซ่อนแอบมอง | |
| | ๑๒๔. ลองลงน้ำซ่อนดู | อยากจักรู้แบบนี้ | |
| | ยามแอบหลบหลีกลี้ | ซ่อนได้แน่นอน | |
| | ๑๒๕. ลงทางเหนื่อสายน้ำ | ผุดดำลอยล่องช้า | |
| | จดจ่อนางไม่ช้า | อยู่ใกล้ศาลา แม่เอย | |
| | ๑๒๖. งามตานักนวลนาง | ช่างงามนักแม่เจ้า | |
| | งามแม่งามยวนเย้า | ฮักล้นเหลือใจ แม่เอย | |
| | ๑๒๗. นบนานนัยจดจ้อง | มัวมองนางเนิ่นช้า | |
| | เหน็บหนาวแทบเป็นบ้า | เจ็บแท้เหน็บกิน | |
| | ๑๒๘. ยินเสียงผองพี่เลียง | มายืนเคียงน้องน้อย | |
| | ชวนนางจงเคลื่อนคล้อย | ท่าโน้นจึงดี | |
| | | | |
| | | | |
| ๑๒๙. พี่เลี้ยงห้านวลนาง ต่างมีคู่เกี่ยวแขน แสนน่าชมน่าชื่น ดูระรื่นพึงใจ ได้พบเพื่อนพันผูก |
| ปลูกรักสนิทสนม ได้มิตรชมเพื่อนชาย ต่างสมหมายความรัก ต่างสมัตรสมานสม สองภิรมสราญ |
| ต่างเบิกบานดวงจิต ชื่นสนิทดวงใจ มากรักในน้ำคำ มากสิ่งพร่อพรอดบอก มากหยิกหยอก |
| ยั่วเย้า มากที่เคล้าคลอเคียง มากเสียงอ้อนออเซาะ มากเสนาะเสียงเพลง มิยำเกรงอายกัน |
| สายสัมพันธ์เจริญ เกินจะหยุดยับยั้ง สองฝั่งฝากไมตรี สองต่างมีความรัก สองต่างปักใจมั่น |
| สองไฝ่ฝั้นน้ำจิต มากน้ำมิตรไมตรี ต่างมีใจสมัคร จะขอรักผูกพัน ปลงใจมั่นแน่วแน่ เป็นรักแท้จากจิต |
| ขอเชยชิตเป็นคู่ ขอเคียงอยู่เป็นสอง ขอครองคู่ชั่วนาน ตลอดกาลชีวัง ห้าคู่ดังกล่าวอ้าง ต่างชวนกัน |
| มาเฝ้า ท่านเจ้าฟ้าผาแดง แจ้งประสงค์ได้โปรด โผดผายให้พวกเฮา มีคู่เคล้าเคียงคอง รับรองมี |
| ใจภักดิ์ รักกันแท้จากจิต หวังเชยชิดเคียงครอง เป็นคู่สองตลอดไป ท้าวจึงดีปรารภ ครบห้าคู่พอดี |
| มีเรื่องเป็นมงคล อย่ากังวลเข้าใจ ขอให้ได้ครองคู่ อยู่เป็นามีภรรยา อย่าลืมพากับบ้าน ไปพบพาน |
| พ่อแม่ ขอแต่ท่านลุโทษ โปรดให้สองรักกัน ผูกสัมพันธ์สนิท อยู่ใกล้นชิดคู่ซ้อน จงอยู่เย็นอย่าร้อน |
| ช่วยสร้างสัมพันธุ์ โสดเทอญฯ | | |
| | โคลงสี่สุภาพ | | |
| | 130. ผาแดงฝันใฝ่น้อง | ไอ่คำ | |
| | จนอยู่ยากจึงจ่ำ | จากห้อง | |
| | รอยบุญก่อเกิดกรรม | ปางก่อน | |
| | จึงจ่องจูงจนต้อง | จากบ้านเมืองมา | |
| | 131. รักเอยเพียงข่าวรู้ | นางงาม | |
| | จนพี่ออกติดตาม | แต่บ้าน | |
| | ละเมืองบ่คิดยาม | รักรุ่ม รนแฮ | |
| | หวังแต่พบนางต้าน | อยากต้านต่อคำ | |
| | 132. จำทนทุกข์ยากแท้ | เดินทาง | |
| | ฟันฝ่าบุกบึงบาง | หล่มห้วย | |
| | เขาเขินป่ายปีนพลาง | มิย่อ | |
| | นับเนิ่นพรหมโปรดด้วย | ล่วงเข้าถึงเมือง | |
| | 133. อย่าเคืองคำพี่อ้าย | รำพัน แม่เอย | |
| | ทุกอย่างจากใจสรรพ์ | ทุกถ้อย | |
| | รักนางอยากแนบฉัน | อกพี่ | |
| | อกนุชบอกรักน้อย | นิ่มเนื้อยาใจ | |
| | 134 ยินเสียงอกว่าเจ้า | รักเรียม | |
| | ใยท่าทางจะเขียม | เล่าน้อง | |
| | รักจริงเอ่ยมาเตรียม | ฟังอยู่ | |
| | จริงบ่จริงฮักต้อง | บอกให้ยินคำ | |
| | 135 กรรมสิใครจักกล้า | บอกใคร | |
| | หญิงน่าอายถึงใจ | รักล้น | |
| | มิควรกล่าวออกไป | อายนี่ | |
| | มิกล่าวดีกว่าพ้น | จักต้องอับอาย | |
| | 136 เออใช่เรียมย่อมรู้ | ไอ่คำ | |
| | น่างยิ่งคนงามจำ | เรียบร้อย | |
| | รักมากบ่อยากทำ | เก็บอยู่ | |
| | จริงใช่ไหมน้องน้อย | รักล้นแต่อาย | |
| | 137. พี่ทายถูกต้องพี่ | ผาแดง | |
| | ถึงไอ่จักฮักแพง | อดไว้ | |
| | มิพูดมิอาจแฝง | ทำอวด | |
| | ขอนิ่งดีกว่าได้ | อยากได้เป็นทอง | |
| | 138 ครรลองพ่อแม่ได้ | บอกสอน | |
| | พูดมากเสียไพตอน | กล่าวอ้าง | |
| | ตำลังรับนิ่งนอน | ดีกว่า | |
| | ขอไม่พูดดูบ้าง | อยากได้ก้อนคำ | |
| ๑๓๙. ผาแดงจำสื่อรัก ปักใจยามพบนาง ช่างน่ารักน่าหลง จงจักป่วงเจียนบ้า หากชักช้าเย็นใจ ท้าวจึง |
| ได้ประชิด รับขวัญจิตบอกรัก อ้ายมักน้องไอ่คำ ยินเขาร่ำลือนาน เจ้างามปานนางฟ้า ยามข้าได้มาพบ |
| สบตัวเจ้างามล้ำ งามยิ่งคำเขาอ้าง งามกว่าข้างสาวสรรค์ อ้ายใฝ่ฝันถึงเจ้า ทุกค่ำเช้าเจ็บอก ตกหลุ่มรัก |
| ไอ่น้อง ดังพี่ต้องมนต์สวรรค์ เทพช่างสรรอุ้มสม สองภิรมย์สมรัก พักพิงเพียงค่อนคืน พอตื่นกลับมิเห็น |
| เนื้อเย็นเจ้าอยู่ไหน พี่โหยไห้ร่ำหา เจียนจักบ้ามึนมัว จนปวดหัวเป็นไข้ หาน้องไอ่มิเห็น รอตอนเย็นค่อยพบ |
| สบเนตรน้องยินดี เป็นเช่นนี้หลายวัน จะว่าฝันมิใช่ จะว่าไข้มิเป็น หรือว่าเล่นไม่จริง น้องหญิงลวงหลอกอ้าย |
| ใจพี่หายมากเจ้า ขาดแม่แสนโศกเศร้า ปวดร้าวนักแล แม่เอย | |
| | ๑๔๐. แน่นักนะพี่เจ้า | ผาแดง | |
| | หลอกไอ่หมดตัวแรง | ยิ่งน้อย | |
| | คุมเหงช่างกำแหง | นักนี่ | |
| | มาข่มใจด้วยถ้อย | หลอกข้าดีใจ | |
| | ๑๔๑. หมดตัวไปสิ้นอย่า | เยาะกัน พี่เอย | |
| | ถึงไอ่เป็นเมียวัน | หนึ่งนี้ | |
| | เป็นไปชั่วชีวัน | มีเปลี่ยน ใจแล | |
| | ขอโปรดรักอย่าลี้ | หลบให้ปวดใจ | |
| | ๑๔๓. ไหนมาจักปลอบเจ้า | ขวัญเรียม | |
| | รักแม่หาใดเทียม | ไอ่น้อย | |
| | มามะแม่อย่าเหนียม | แอบอุ่น อกเอย | |
| | อบแอบอกยอดสร้อย | ไอ่น้องสุขเกษม | |
| | ๑๔๔. เปรมปรีดิ์ซิพี่เจ้า | ตามใจ | |
| | มากัดมาขบไหน | อย่าดิ้น | |
| | รักจริงอย่าหลบไว | กัดหน่อย | |
| | อยากกัดกินหมดสิ้น | พ่อเจ้าปากหวาน | |
| | ๑๔๕. ตามใจมิขัดข้อง | ขุ่นเคือง | |
| | ปากพี่หวานประเทือง | จิตได้ | |
| | ดูเลยแม่จักเฮือง | ใจแน่ | |
| | มาพี่ดูดดื่มให้ | ข่วยให้อิ่มเอม | |
| | ๑๔๖. เปรมใจมากซิอ้าย | เบาเบา | |
| | รัดแน่นอึดอัดเขา | เจ็บแล้ว | |
| | จะจ๋าแม่นงเยาว์ | ขอโทษ | |
| | มิอยากคลายน้องแก้ว | กอดเจ้าอุ่นใจ | |
| | ๑๔๗. นี่แน่ะใจอุ่นอ้าง | หลอกกัน | |
| | หากอุ่นปล่อยวางฉัน | ห่างไว้ | |
| | วางยากโรคความดัน | กำเริบ นาแม่ | |
| | ดันทุรังอยากได้ | ไอ่น้อยเคียงกาย | |
| ร่ายสุภาพ | | | |
| ๑๔๘. เพลียใจนักผัวดื้อ ถืออารมณ์เป็นใหญ่ ไอ่บอกอย่ากอดรัด พี่กลับฟัดแทบแหลก อกแทบแตก |
| รัดรึง ขอบดูดดึงเจ็บอก ตกจากฟูกไม่วาง กอดฟัดอย่างกับบ้า ด่าก็ไม่ยินฟัง ชั่งเอาแต่ใจตน คน |
| เขาเบื่อแล้วนะ จะมิให้หอมอีก หลีกไปอยู่ห่าง ๆ แน่ะช่างบ้ามาเชื่อ เบื่อไอ่น้อยจริงหรือ ทำไขสือมิสน |
| เล่นเอาคนใจหาย นึกว่าหน่ายไอแล้ว โหพ่อยอดดวงแก้ว ไอ่ล้อเล่นนา พ่อนา |
| | โคลงสามสุภาพ | | |
| | ๑๔๙. คราสองครองรักกัน | สองพันผูกลึกล้ำ | |
| | แนบแน่นทั้งสองก้ำ | ต่างเคล้าเคลียคลอ | |
| | ๑๕๐. พอดีล่วงเลยกาล | นานกว่าเดือนยิ่งแล้ว | |
| | นางไอ่คำไม่แคล้ว | กล่าวถ้อยคำควร พี่เอย |
| | ๑๕๑. ขอชวนวอนพี่ชาย | ยามเมื่อกลายเจ้า | |
| | ครองคู่นางแค่เค้า | หมดสิ้นหมดตัว แลนา | |
| | ๑๕๒. เรียกผัวคงจักได้ | นางมอบให้หมดสิ้น | |
| | วอนพี่อย่างพลิกลิ้น | ช่วยให้จัดการ | |
| | ๑๕๓. วานพี่ไปในเมือง | กล่าวเรื่องเราชื่นชู่ | |
| | พ่อแม่ควรจักรู้ | พี่อ้ายว่าไร | |
| | ๑๕๔. ไอ่คำว่าควรนัก | พี่รักมากนักน้อง | |
| | คำที่นวลเรียกร้อง | ย่อมได้ยินดี | |
| | ๑๕๕. พี่คงกลับคืนเมือง | บอกเรื่องปู่ย่าไซร้ | |
| | เป็นเฒ่าแกขอให้ | อย่างนี้จึ่งควร เจ้าเอย | |
| | ๑๕๖. นวลนางกอดผาแดง | ฮักแพงนักพี่อ้าย | |
| | ยากจักห่างกันคล้าย | จักสิ้นขาดใจ พี่เอย | |
| | ๑๕๗. ไอ่คำอย่าตระหนก | พี่ยกให้นวลน้อง | |
| | เป็นเมียที่ถูกต้อง | จัดให้ดีงาม | |
| | ๑๕๘. ยามพี่ไกลห่างเมีย | เสียใจหนักนาถน้อง | |
| | หวังจัดการถูกต้อง | มิท้ออดทน เจ้าเอย | |
| | ๑๕๙. จนใจยามพี่ห่าง | นางอย่าหมองหม่นเศร้า |
| | รักษานวลน้องเจ้า | พี่นี้สุดถนอม | |
| ร่ายสุภาพ | | | |
| ๑๖๐. จอมขวัญเอ๋ยเมียรัก อ้ายฮักเจ้าเพียงใจ อ้ายฮักไอ่เพียงตา ยามจักลาสั่งน้อย คอยพี่อยู่ข้างหลัง |
| ระวังกายแลใจ อย่ายอมใครเกาะแกะ อย่าให้แตะผิวนวล ผู้บ่าวชวนอย่าเหลียว ใครมาเกี้ยวอย่าสน |
| อ้ายกังวลหวงแหน แพงเหลือแสนสองแก้ม ใครอย่าแต้มเกาะแกะ ชายอย่าแปะแอบลูบ ใครอย่าจูบ |
| ของพี่ ยามอ้ายหนีห่างไกล แพงหัวใจเนื้อนวล หนุ่มใดชวนอย่าหลง ใจมั่นคงเถิดน้อง ฝากใจเจ้าปกป้อง |
| ไอ่น้อยจอมขวัญ พี่เอย | | |
| | | | |
| | | | |
| | ๑๖๑. หลายวันฟันฟฝ่าพง | บุกป่าดงมากหมู่ไม้ | |
| | ขุนเขามากยิ่งไซร้ | สัตว์ร้ายนานา | |
| | ๑๖๒. มาเห็นแดนนาคราช | ประหลาดงูชุมล้น | |
| | งูสิงงูเห่าพ้น | แอบเร้นซอกหิน | |
| | ๑๖๓. ยินเสียงแปลกจงอาง | มองอีทางสามเหลี่ยมปล้อง |
| | สิงดงมันจดจ้อง | อยู่โน้นงูหลาม | |
| | ๑๖๔. ยามเห็นนั่นงูเขียว | เกี่ยวพันกิ่งแมกไม้ | |
| | สามเหลี่ยมหลบแล้วไซร้ | อย่างนี้งูหลาม | |
| | ๑๖๕. งามเหลือมแลลวดลาย | งูสายทองปี่แก้ว | |
| | ทางมะพร้าวลายแพร้ว | อวบอ้วนงูปลา | |
| | ๑๖๖. แลหางูห่างไว้ | ออกไปมิอยากใกล้ | |
| | ฟาดพุ่มทำเสียงไว้ | อยากให้งูไกล | |
| | ๑๖๗. ผ่านไปเป็นแนวป่า | หนาแน่นมะค่าแต้ | |
| | มะหาดหันที่แท้ | เบียดขึ้นเป็นดง | |
| | ๑๖๘. ตรงหน้ายูงยางดู | เคียงคู่ตะบากกั้น | |
| | บังเบียดกระถินสั้น | สักใกล้มะสัง | |
| | ๑๖๙. คนทาบังไผ่รวก | พวกยาวงามไผ่ปล้อง | |
| | ไผ่หกไผ่หอมจ้อง | อยากใกล้กลิ่นหอม | |
| | ๑๗๐ ซอมดูไผ่ไร่บ้าง | พุ่มงาม | |
| | ฝนตกแตกหน่อยาม | พบเข้า | |
| | ขอขุดแบ่งเอาถาม | ขอไผ่ | |
| | เอาแค่พอกินเจ้า | อย่าได้ขุ่นเคือง | |
| | ๑๗๑. ฟูเฟื่องคุณหน่อเจ้า | ไผ่มี | |
| | ขุดหน่อดินงามสี | สะอาดแท้ | |
| | ยามสุกแน่นหม้อดี | รสอร่อย | |
| | หวานนิดมันยิ่งแล้ | ไผ่ต้มแซบหลาย | |
| | ๑๗๒. หน่อยาวเผาสุกได้ | สีเหลือง | |
| | อัดหน่อปี๊บมิเปลือง | เก็บได้ | |
| | ขูดขีดเขียนมิเคือง | วางแดด ผึ่งนา | |
| | เก็บเผื่อยามแล้งได้ | เก็บไว้ทำแกง | |
| | ๑๗๓. เขาแปลงเป็นหน่อไม้ | แบบดอง | |
| | เก็บอยู่หลายเดือนลอง | รสลิ้ม | |
| | เปรี้ยวมากเร่งจับจอง | ขายถูก | |
| | แกงไก่เชิญลองลิ้ม | เลิศล้นรสแกง | |
| | ๑๗๓. แฝงค่าประโยชน์ล้น | ไผ่พันธุ์ | |
| | ควรจักสงวนช่วยกัน | ปลูกไว้ | |
| | ทดแทนที่ชอบฟัน | ถางออก มากแฮ | |
| | เขาโล่งหลายลูกไซร้ | ไผ่ล้วนถูกถาง | |
| | | | |
| | | | |
| ๑๗๔. ปางพญาขอมเจ้า นงเยาว์ไอ่เติบกล้า นวลหน้าน้องงดงาม คนลือตามทั่วเขต |
| ทั่วประเทศแดนใกล้ ลือไปถึงต่างแดน นางไอ่แสนงดงาม ยามนี้พระพ่อเจ้า อยาก |
| จัดลูกแต่งเหย้า จัดให้สมควรแลนา | | |
| | | | |
| | | | |
| ๑๗๕. พญาขอมประกาศ ถึงญาติมิตรประชากร ตอนนี้เป็นเดือนหก ตกถึงคราวจักบูชา |
| พญาแถนตนอาจ ประกาศบุญบั้งไฟ ใครทำเก่งเร่งจัดมา จักมีท้าประลอง ของใครขึ้น |
| ชนะเลิศ ประเสริฐยิ่งรางวัล ของกำนัลมากมาย ยอดโฉมฉายนางไอ่ ยกให้ได้ตบแต่ง |
| แปลงเป็นมเหสี รางวัลดีเลิศล้ำ เชิญทัวแดนทุกก้ำ แข่งท้าประลอง กันแล |
| | | | |
| | | | |
| | ๑๗๖. ผองชนยินข่าวแล้ว | ชื่นชม | |
| | คุณท่านคิดเหมาะสม | นักแล้ว | |
| | ไอ่คำงดงามคม | นวลเนตร | |
| | ควรแก่คนยอดแก้ว | เก่งกล้าเกินใคร | |
| | ๑๗๗. แผ่ไปสารสื่อแจ้ง | ชุมชน | |
| | คามเขตเมืองสกล | ทั่วหล้า | |
| | ปากต่อปากคำคน | ไปทั่ว | |
| | บางกลุ่มชนหาญกล้า | จักเข้าแข่งขัน | |
| | ๑๗๘. หลายเมืองพลันจัดสร้าง | เร็วพลัน | |
| | หนักหมื่นนี่สำคัญ | ไม่น้อย | |
| | เลือกหาช่างทำกัน | ยากยุ่ง | |
| | ทำหมื่นดินดำด้อย | บ่ได้มิแรง | |
| | ๑๗๙. แยงหากระบอกไม้ | ไผ่ตง | |
| | หกศอกวัดมั่งคง | ลุข้อ | |
| | ลนไฟชะเนาะคง | สามรอบ | |
| | ขั่นแน่นตีเถียดข้อ | สุดท้ายสลักแทง | |
| | ๑๘๐. แปลงดินดำขับให้ | สมควร | |
| | เป็นช่างทราบกระบวน | รอบด้าน | |
| | หกสามหนึ่งมวล | น้ำหนัก | |
| | หกนั่นขี้เจียบ้าน | เรียกขี้ประสิว | |
| | ๑๘๑. สามแบบดำถ่านไม้ | ฉำฉา | |
| | สองอย่างเคี่ยวก่อนครา | หนึ่งนั้น | |
| | ดินจะเปื่อยน้ำมา | นองเจิ่ง | |
| | เติมถ่านลงดูดนั้น | เหือดแห้งจึงดี | |
| | ๑๘๒. ผึ่งทีพอหมาดแห้ง | บดกัน | |
| | ครกบดละเอียดพลัน | เรียบร้อย | |
| | เขาเรียกหมื่อสำคัญ | อัดหลอด | |
| | กระบอกหนึ่งใช่น้อย | หมื่นน้ำหนักมวล | |
| | ๑๘๓. ชวนกันทำสากไม้ | ช่วยตำ | |
| | ยัดหมื่อกระบอกทำ | ยืดเยื้อ | |
| | หลายวันแน่นเต็มกรรม | ตีเถียด | |
| | ปากและก้นทะลุเชื้อ | สอดใส้ชะนวน | |
| | ๑๘๓. ควรช่างออกแบบใส้ | ทะลวง | |
| | แทงช่องสอดรูกลวง | แต่งไว้ | |
| | เสร็จสรรพมัดลูกพวง | ติดรอบ | |
| | ติดแน่นหางด้วยไม้ | ไผ่ล้วนหางยาว | |
| | ๑๘๔. คราวนี้ตาช่างเอ้ | บั้งไฟ | |
| | เช่นแต่งสุดไฉไล | หยดย้อย | |
| | แพรวพราวยิ่งไฉน | ยามแห่ | |
| | จักอวดกันของข้อย | เลิศล้นหลากงาม | |
| | | | |
| รายสุภาพ | | | |
| ๑๘๕ ยามเที่ยวบุญบั้งไฟ ไปเมืองท่านพญาขอม คนยอมเดินทางยาก ลำบากสองสามวัน |
| มาถึงทันงานสนุก ทุกบ้านเขาเตรียมการ เลี้ยงอาหารผู้คน มิสนใจต่างถิ่น จัดให้กินอิ่มหนำ |
| เสร็จแล้วนำไปงาน เชินเบิกบานเต็มที่ เหล้ายามีดาดดื่น ผู้คนตื่นเบิกบาน สุขสราญสมใจ |
| แบกบั้งไฟเที่ยงเซิ้ง เถิงบ้านนี้ขอข้าว ถึงบ้านสาวขอเกี้ยว เที่ยวสนุกสนาน เขาแจกทาน |
| ทั่วถึง งานจึงได้สนุก ทุกผู้คนเบิกบาน สามวันงานถึงจุด ที่สุดชมบั้งไฟ จักขึ้นไปสมปอง |
| พี่น้องมากันพร้อม กราบไหว้เทพท่านพร้อม ช่วยให้สู่สวรรค์ เถิดนา | |
| | | | |
| รายสุภาพ | | | |
| ๑๘๖. สรรมามากมายนัก มักเป็นบั้งไฟน้อย ขึ้นหายจ้อยมองมิเห็น บ่ายจึงเป็นบั้งไฟหมื่น |
| แตกตื่นมีเจ็ดเมือง มีเรื่องประกาศไป ใครชนะมีรางวัล ที่จัดสรรเงินทอง แถมอีกน้องนางไอ่ |
| ใครชนะอภิเษก เป็นเอกอัครมเหสี ต่างยินดีทั่วหล้า ต่างหลั่งมาใคร่เห็น ใครจักเป็นเขยเจ้า |
| หลั่งไหลกันมาเฝ้า แต่เช้าจนเย็น แลนา | | |
| | | | |
| | โคลงสามสุภาพ | | |
| | ๑๘๗.เห็นบั้งไฟฟ้าแดด | แผดเสียงดังกึกก้อง | |
| | ดังเยี่ยงเสียงฟ้าร้อง | ลับฟ้าหายไป | |
| | ๑๘๘.ถัดมาใช่ท่านท้าว | สงยางยาวไม่น้อย | |
| | จุดปล่อยไปเรียบร้อย | สู่ฟ้าเพียงดาว แลนา | |
| | ๑๘๙. คราวของท่านพญาขอม | ฝักแคออมแต่งไว้ | |
| | ยาวยิ่งแปลกนักได้ | ตื่นเต้นฮือฮา | |
| | ๑๙๐. ฟังว่าจักจำเรียง | แหละยินเสียงดั่งช้าง | |
| | สามครบรอบที่อ้าง | ร่ำร้องเสียงพลาย | |
| | ๑๙๑. หลายเสียงกะโพกช้าง | อีกข้างพลุดังใกล้ | |
| | แตกตื่นกันยิ่งไซร้ | ตื่นเต้นพอใจ | |
| | ๑๙๒. ตะไลสี่กระบอก | หมุนออกขับสู้ฟ้า | |
| | ควันส่งเกลียวส่องหน้า | ใคร่รู้ถึงไหน | |
| | ๑๙๓. ไฟชะนวนถึงฐาน | ผ่านจุดโหวดไฟบั้ง | |
| | ทะยานขึ้นบ่รั้ง | โหวดพริ้วส่งเสียง | |
| | ๑๙๔. เพียงครูจินายตื้อ | บรือส่งเสียงร้อง | |
| | สายตาคนจดจ้อง | บักตื้อมันหมุน | |
| | ๑๙๕. ฝักแคดุนชะนวน | ควันป่วนสีขาวคลุ้ง | |
| | เปลวไฟดังสีรุ้ง | จุดบั้งไฟแสน | |
| | | | |
| รายสุภาพ | | | |
| ๑๙๖. แถนแตกตื่นตกใจ ชมบั้งไฟพญาขอม จินายก้อมปรู๊ดปร๊าด สวยงามขาดตะไล |
| หมุ่นขึ้นไปเมืองฟ้า ควันเกลียวน่าชื่นชม แบกโยนตมน่ายช่าง อ้างเพราะบั้งไฟซุ |
| ดุงจริงพวกนักเซิ้ง เล่นรื่นเริงมิถือ ฝึกฝีมือมาใหม่ ปีหน้าให้มันขึ้น อย่าได้มึนเมาค้าง |
| จ้างก็มิยอมไป เป็นบั่งไฟมันซุ เสียงกุรุกะระ ประเดียวก็ระเบิด เกิดมันขายขี้หน้า |
| บั้งไฟพญาขอม เมืองที่พร้อมชนะ ก็จะมีศรีแก้ว อีกหนึ่งแล้วเซียงเหียน เมืองที่เพียรฟ้าแดด |
| เมืองคู่แฝดสงยาง ต่างก็พึงพอใจ ถามเจ้าใหญ่พญาขอม จะยอกยกนางไอ่ แต่งกับใคร |
| หนอเจ้า โกรธดั่งผีมันเข้า แบบนี้บ่เอา | | |
| | | | |
| รายสุภาพ | | | |
| ๑๙๗. เล่ามากระฮอกน้อย คอยติดตามขบวน จ้อรถนวลน่างไอ่ กระโดดไปต้นขาม ไต่ตามกิ่งฉำฉา |
| โดดมาต้นมะยม จ้องชมงามไอ่คำ ทำเสียงร้องกริ๊กกริ๊ก ไอ่น้อยพลิกผินหน้า ตาสบกระฮอกด่อน |
| อ่อนเจ้ารักหลงไหล อยากจะได้มาชม บุญเคยสมปางก่อน อ่อนเจ้าเป็นภรรยา สามีเป็นหนุ่มหล่อ |
| นางก่อพลอยหลงไหล มีใจต่อเจ้าชาย เสียดายมันเย่อหยิ่ง มิมองหญิงใดใด เขาจับให้แต่งงาน |
| นางคราญลูกเศรษฐี มันมิมีน้ำใจ มิได้รักแหนหวง ล่วงคืนวันเปล่าดาย สุดท้ายถึงวันพราก จาก |
| กันเพราะวางวาย โฉมฉายพยาบาท คาดโทษวันข้าวหน้า ข้ากับมันอย่าได้คบ สบเป็นผัวเมียกัน |
| ให้มันคอยหลงไหล ใฝ่รักฉันฝันหา เจียนจักบ้าเลยแก แต่นั้นก็ดับขันธ์ วันนับนานเกิดมา เป็นกัลยา |
| ไอ่แก้วงามเลิศแล้วในปฐพี ส่วนสามีจอมหยิ่ง ชิงเกิดเป็นภังคี กรรมมันมีหลงไหล นางไอ่คำเจียนบ้า |
| บุพกรรมมิช้า ส่งให้หลงนาง แลนา | | |
| | โคลงสามสุภาพ | | |
| | ๑๙๘.ทางไหนเสียงกะฮอก | นางไอ่บอกพี่เลี้ยง | |
| | เพราะมากมันเพราะเพี้ยง | เทพไท้บันดาล | |
| | ๑๙๙. นงคราญแลคบไม้ | พบทันไดกะฮอกน้อย | |
| | กระโดดหายไปจ้อย | แบบนี้เสียดาย | |
| | ๒๐๐.ตรงปลายมาอีกนวล | ชวนกันมองมิช้า | |
| | กระฮอกมันด่อนจ้า | แปลกแท้แม่คุณ | |
| | ๒๐๑.บุญนักที่และเห็น | มันเป็นกระฮอกข้อย | |
| | มามะกระฮอกน้อย | อยากได้เจ้าจริง | |
| | ๒๐๒. นักการหญิงไปแจ้ง | คำแพงนางอยากได้ | |
| | กะฮอกด่อนนั่นไซร้ | ช่วยด้วยพ่อพราน | |
| | ๒๐๓. มินานเขาสะกัด | ลัดทางกระฮอกเจ้า | |
| | ตามมั่นมินโดดเข้า | นั่นต้นใหญ่โต | |
| | ๒๐๔. มะเดื่อกะฮอกชอบ | ไต่ตามขอบกิ่งไม้ | |
| | เจอลูกมันเกาะไว้ | กัดเคี้ยวขบพลาง | |
| | ๒๐๕. ทางหนึ่งมันแลนาง | ช่างงดงามนักไอ่เจ้า | |
| | ภังคีวิ่งคอยเฝ้า | ไต่ต้อยตามขบวน | |
| | ๒๐๖. พรานตามชวนจดจ้อง | จนต้องยกหน้าไม้ | |
| | ยิงถูกกระฮอกได้ | หล่นแล้วดีใจ | |
| | | | |
| รายสุภาพ | | | |
| ๒๐๗. ภัยถึงฆาตภังคี คงเพราะมีกรรมเก่า เจ้าจึงถูกยิงเจียนตาย แต่มิวายอาฆาต พยาบาท |
| ผู้คน ทำร้ายตนถึงตาย หมายจักกินเนื้อกู ขอให้สูพบเห็น เป็นเนื้อกินมิสิ้น กินทั้งบ้านบึงบาง |
| ต่างมีรสอร่อย คนตั้งร้อยตั้งพัน ได้กินกันอิ่มหนำ คำที่อธิษฐาน จงบันดาลเป็นไป พิษฐาน |
| ไว้เช่นนี้ ทวยเทพจงโปรดชี้ ช่องให้เป็นไป โสดเทอญฯ | |
| | โคลงสองสุภาพ | | |
| | ๒๐๘. ในเอกซธีตา | ร่ำลือว่าแจกเนื้อ | |
| | พรานไพรเขาก่อเกื้อ | แจกให้ทุกคน | |
| | ๒๐๙. จนใจพวกเป็นม่าย | วุ่นวายพรานบ่ให้ | |
| | เสียดายเลยบ่ได้ | ยกเว้นกลุ่มเดียว | ๑๗-มี.ค.-๐๕ |
| | ๒๑๐. แปลกเจียวกระฮอกด่อน | ตอนแรกมีเล็กน้อย | |
| | เขาแบ่งคนกว่าร้อย | บ่สิ้นยังเหลือ | |
| | ๒๑๑. เมื่อข่างลือออกไป | ใครเขายินต่างจ้อง | |
| | รีบช่วยแบ่งขอร้อง | อยากได้รีบมา | |
| | ๒๑๒. นานาคนได้แบ่ง | รีบไปแต่งกับข้าว | |
| | คักคักต่างฮึกห้าว | ลาบเนื้อบ้างแกง | |
| | ๒๑๓. แสงไฟส่องสว่าง | กระจ่างทั่วทุกบ้าน | |
| | เซ็งแซ่เสียงกล่าวต้าน | อิ่มแท้อร่อยเกิน | |
| | ๒๑๔. เพลินกันจนดึกดื่น | เริงรื่นกันทั่วหน้า | |
| | ค่อนคืนคงเหนื่อยล้า | เงียนถ้วนทุกคาม | |
| ร่ายสุภาพ | | | |
| ๒๐๙. ยามข่าวร้ายไปถึง บึงบาดาลสุวรรณ นาคราชนั้นพิโรธ โทษมันฆ่าภังคี |
| แบบนี้มันต้องถล่ม เอาให้จมบาดาล บ้านเมืองเอกซะธีตา มากำแหงกับกู |
| มาเหวยสูลูกหลาน กูมีงานให้ล่ม ไปจมเมืองพญาขอม พวกมันพร้อมกินลูกกู |
| สูอย่าเอามันไว้ ถล่มไล่จมให้หมด งดให้พวกไม่เกี่ยว นาคาเที่ยวประกาศ ดาดาด |
| ด้วยงูใหญ่ พ่นไฟเล่นไปทั่ว เสียงน่ากลัวครั้นครื้น คนแตกตื่นยิ่งไซร้ มหันต์ภัย |
| เริ่มเค้า ถล่มบ้านจมเมือง | | |
| | โคลงสี่สุภาพ | | |
| | ๒๑๐. เหลืองแดงเขียวสลับล้าง | ถล่มเมือง | |
| | ขบวนนาคธงเหลือง | ถล่มซ้าย | |
| | ธงเขียวอ้อมขวาเคือง | พิษพ่น | |
| | ทัพใหญ่ธงแดงย้าย | ถล้มด้านกลางเมือง | |
| | ๒๑๑. เรือนชานยุบสู่ใต้ | บาดาล | |
| | เซ็งแซ่เสียงคนปาน | ร่ำไห้ | |
| | ครืนครืนแผ่นดินลาน | ถล่ม | |
| | นองท่วมชลหลั่งได้ | ท่วมท้นชะธีตา | |
| | ๒๑๒. ประชานับหมื่นได้ | ดับไป | |
| | ดับเนื่องเหตุเภทภัย | มิร้อน | |
| | เย็นท่วมทับดับไป | ดินถล่ม | |
| | ไหลท่วมเมืองดั่งต้อง | สู่หม้อทองแดง | |
| | ๒๑๓. แยงยลเหลือหมู่บ้าน | ยังยืน | |
| | ยังอยู่พวกม่ายฝืน | อยู่ได้ | |
| | เขามิแจกเนื้อคืน | คงสงบ | |
| | ดอนแม่ม่ายนั่นไซร้ | บัดนี้เรียกขาน | |
| | ๒๑๔. ผาแดงกลับจากบ้าน | รีบมา | |
| | ขับขี่บักสามครา | รีบร้อน | |
| | ครืนครืนเยี่ยงแผ่นผา | ถล่ม | |
| | เป็นห่วงนักไอ่อ้อน | แจ่มเจ้าเป็นไฉน | |
| | ๒๑๕. ทันเห็นนางไอ่น้อย | ส่งเสียง | |
| | ช่วยหน่อยเคาะจำเรียง | นั่นฆ้อง | |
| | นางตีบอกคนเพียง | เรียกช่วย | |
| | ยังช่วยเตือนพี่น้อง | รีบได้หลีกไป | |
| | ๒๑๖. บักสามรีบกลับแล้ว | หมุนวน | |
| | น่างไอ่จับหางทน | ยึดไว้ | |
| | ดินล่มไล่จวนจน | ตามติด | |
| | ยากจักคิดช่วยได้ | ไอ่น้อยหลุดไป | |
| | ๒๑๗.เสียใจนักนิ่มน้อง | หลุดมือ | |
| | แกงอ่อมนั่นแหละคือ | เหตุแท้ | |
| | กินกระฮอกเลยถือ | เป็นบาป | |
| | คอยฉุดจมยากแก้ | ฉุดให้หลุดลอย | |
| ร่ายสุภาพ | | | |
| ๒๑๘. เห็นน้อยจมต่อหน้า อ้ายเจียนบ้าไอ่คำ คงเพราะกรรมจึงพราก จากเจ้า |
| เจียนขาดใจ โถไอ่น้อยยอดรัก เจ้าจักจมอยู่ไหน นากดึงไปบาดาล พาลนัก |
| นาคพวกนี้ ถือดีว่ามีฤทธิ์ จมจนมิดบ้านเมือง ขุนเคืองคนเขาไย ใครจักรู้ดูออก |
| คนเขาบอกแจกเนื้อ เพื่อครอบครัวรับเอา เขาผิดแค่อาหาร รับทานกันเข้าไป |
| นาคกลับให้เขาตาย ล่มสลายทั้งบ้าน พาลนักหนานาคราช ไม่ฉลาดก่อกรรม |
| จำจากไปแล้วน้อง ได้แต่มองลับลา โอ้ขวัญตาขวัญใจ น้อไอ่คำนางแก้ว | |
| ห่างน้องแล้ว สุดหล้าดับดิน แม่เอย | | |
| ร่ายสุภาพ | | | |
| ๒๑๙. สิ้นคนรักคำแพง ท้าวผาแดงหดหู่ อยู่ที่เมืองผาโพง มิมีโล่งเบาใจ หนัก |
| หน่วงไซร้โศกศัลย์ คิดถึงวันเคียงคู่ อยู่กับนางไอ่แก้ว คิดแล้วสะอื่นอก คิดมิตก |
| เจ็บหนัก เสียคนรักต่อหน้า ฟ้าใยจึงหฤโหด โทษนางเพียงเล็กน้อย พลอยวิบัติ |
| ฉิบหาย จนถึงตายย่อยยับ นาคมันกลับทำลาย อ้ายเสียใจยิ่งนัก ขอหักหาญแก้แค้น |
| ขอคุณแถนอวยข้า ถ้าผาแดงเป็นผี จักต่อตีกับนาก มันพรากไอ่น้อยไป ข้าจักใคร่ |
| ฟาดฟัน เอาให้มันย่อยยับ สมกับทำเมียข้า แรงอาฆาตรุนแรง จนผาแดงล้มตาย |
| กลายเป็นผีพยาบาท อาฆาตเมืองบาดาล พาลยกทัพไปตี ศรีสุวรรณนาคราช |
| ฟาดฟันกันไม่หยุด สุดแต่ใครมีฤทธิ์ หวังพิชิตให้พ่าย คล้ายสิบวันสิบคืน ตายแล้ว |
| ฟื้นมารบ ไม่รู้จบรู้สิ้น เดือนร้อนอินทร์บนฟ้า ต้องลงมาสั่งสอน สัตว์เดือดร้อนทั่วไป |
| ภัยจากสูรบกัน เวรกรรมนั่นไม่จบ รบกันมิรู้สิ้น ทั้งบนดินใต้น้ำ ไพร่พลซ้ำวอดวาย |
| บาปเหลือหลายก่อกรรม จักนำสู่วิบัติ รู้แจ่มชัดเช่นนี้ ยังต่อตีไม่หยุด สุดผู้นำบ้าใบ้ |
| เดียวกูสาบส่งอีกไซร้ หากแม้นไม่รา | | |
| | | | |
| | โคลงสองสุภาพ | | |
| | ๒๒๐. สองนายทัพย่อมรู้ | ขืนต่อรบยากสู้ | |
| | จักได้ชนะชัย | | |
| | ๒๒๑. ตายไปมันต่างฟื้น | มาก่อรบคึกครื้น | |
| | บ่ได้หวาดกลัว | | |
| | ๒๒๒. สองหัวทัพที่เฝ้า | นบท่านพระอินทร์เจ้า | |
| | นอบน้อมยินดี | | |
| | ๒๒๓. ทันทีอินทร์บอกแจ้ง | สูแต่งทัพรบแสร้ง | |
| | เสกให้สงคราม | | |
| | โคลงสี่สุภาพ | | |
| | ๒๒๔. ยามพลสองฝ่ายล้วน | ผูกมนต์ | |
| | เสกแต่งรบกันกล | เก่งกล้า | |
| | ตายไปเสกอีกหน | หลอกล่อ | |
| | รบเล่นยังอวดท้า | ดังบ้ามัวเมา | |
| | ๒๒๕. เขลานักบอกหน่อยให้ | แถลงไข | |
| | เพราะเหตุผลอันใด | ขุ่นข้อง | |
| | รบอาจดับเหตุไหม | อาจสงบ | |
| | หากมิอาจสงบต้อง | ต่อนสู้นานไหม | |
| | ๒๒๖. ใจสองคงตอบได้ | สงคราม | |
| | ยากจบอาจคุกคาม | ไม่สิ้น | |
| | รบต่อยิ่งต่อตาม | นานแน่ | |
| | มิอาจเดายากปลิ้น | แผ่นฟ้าแผ่นดิน | |
| | ๒๒๗. อินทร์แจงสูรบแล้ว | ทุกข์ทน | |
| | เสียไพร่ทหารพล | มากแล้ว | |
| | ควรหยุดไต่ถามตน | ดูหน่อย | |
| | รบหาโล่บแคล้ว | จักได้ตะบอง | |
| | ๒๒๘. สูสองเป็นดั่งจ้าว | ครองพล | |
| | ควรช่วยส่งสุขชน | รอบข้าง | |
| | เภทภัยปัดเป่าคน | ชมชื่น | |
| | ควรมุ่งหมายดังอ้าง | นี่แท้ผู้นำ | |
| | ๒๒๙. กรรมสูเอาแต่ข้าง | เภทภัย | |
| | บาดเจ็บล้มตายไป | ไม่น้อย | |
| | กิจก่อเสื่อมเสียไหน | บอกหน่อย | |
| | นำแต่เดือดร้อนสร้อย | ส่งให้ปวงประชา | |
| ร่ายสุภาพ | | | |
| ๒๓๐. นาคราชไม่แย้ง ผาแดงก็เห็นด้วย ช่วยให้การสงบ จบสงครามเสียได้ |
| สองฝ่ายไซร้เย็นลง คงยินดีเชื่อฟัง คำสั่งสอนองค์อินทร์ ยินดีเลิกกองทัพ |
| กลับคืนเมืองแห่งตน ฝึกฝนใฝ่คุณธรรม ละบาปกรรมสั่งกุศล ชำระตนให้ |
| จิตผ่อง ตามครรลองศาสนา มุ่งประชาเป็นสุข ทุกกิจเกื้อครรลอง คลอง | |
| แห่งธรรมดีงาม ตามที่อินทร์ท่านแจ้ง ผาแดงพึงทราบไว้ นางไอ่แก้มีกรรม |
| บาปเคยทำไว้มาก ถูกลากจมดับดิ้น สิ้นชีพไปถูกจำ บำเพ็ญเพียรใช้บาป | |
| ไต้ทะเลสาบบาดาล คงนับนานจักพ้น จงตั้งตนทางดี ที่เป็นบุญกุศล อุทิศ |
| ผลถึงนาง ได้สะสางบาปกรรม นำไปสูภาคหน้า ถ้าบุญสูคู่กัน สิ่งที่ฝันคงได้ |
| บุญกุศลส่งให้ สุขเกษมโสดเทอญฯ | | |
| ๒๓๑ เดินมาสุดหยุดยั้ง นิฏฐิตังสังวัณณา บรรยายมาแต่ต้น จนถึงตอนอวสาน |
| ขอกราบกรานคุณพระ รัตนตรัยแก้ว ช่วยให้แผ้วผ่องจิต สิ่งที่คิดเลื่อนไหล |
| เป็นไปตามมุ่งหวัง ทั้งบิดามารดร คุณให้พรสัมฤทธิ์ พรให้กิจสมประสงค์ |
| สิ่งจำนงเรียบร้อย ผาแดงนางไอ่สร้อย เสกไว้กลกานท์ แลนา | |
| | | ขุนทอง ศรีประจง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น