แนะนำแต่งโคลง
โดยขุนทอง ศรีประจง
........โคลงสี่สุภาพ เป็นคำร้อยกรองที่นิยมแต่งกันทั่วไป ส่วนโคลงสอง โคลงสาม และโคลงดั้น โคลงกลบทไม่ค่อยเห็นคนแต่ง แต่กระผมเอามาลองแต่งเล่นหมดทุกชนิดแล้วแหละ มันท้าทายดี คำแนะนำฉบับนี้เดิมเน้นโคลงสี่สุภาพอย่างเดียว มาวันนี้ขอเติมโคลงชนิดอื่น ๆเข้าไว้ด้วย สมกับหัวเรื่องที่บอก การแต่งโคลงเฉย ๆนี่นา เอาน่า....
ตอนที่ ๑ ความรู้พื้นฐานสำหรับการแต่งโคลง
.........ความรู้พื้นฐานของคนจะแต่งโคลงนี่มีอะไรบ้างล่ะ ความรู้ภาษาไทยสิ อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว ไม่รู้ภาษาไทยจะแต่งโคลงได้ไง แค่ไหนล่ะ มัธยมต้น มัธยมปลาย ป.ตรี ป.โท หรือ ป.เอก ผมแต่งโคลงได้ตอนเรียน ม. ๖ แสดงว่า จบม.ต้น ก็ควรแต่งโคลงได้แล้ว ความจริงคนไทย เก่งภาษาไทยตั้งแต่อยู่ ประถมแล้ว เราพูดอ่านและเขียนภาษาไทยได้กันทุกคน ไม่เหมือนอังกฤศนะ จบปริญญายังพูดสื่อสารไม่ได้เรื่องเลย พืนฐานความรู้ภาษาไทย สักระดับ ป. ๖ น่าจะพอใช้ได้สำหรับการแต่งโคลง นะเพราะจะแต่งโคลงนี่ต้องรู้จัก คำภาษาไทย คำเอก คำโท คำสุภาพ คำเป็น คำตาย ป.๖ สอนให้ได้
............๑.๑ อ่านแผนผังบังคับ เข้าใจชัดเจน โคลงมีรูปแยยแผนผังบังคับเป็นของตัวเอง จะแต่งโคลงให้ดูเป็นโคลง ก็ต้องยึดตามแผนผังบังคับของโคลง เช่น โคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่ ยังมีโคลงแบบสุภาพ โคลงดั้น และโคลงกลบท ซึ่งมีแผนผังบังคับ แตกต่างกันไป จะแต่งโคลงชนิดไหน ก็ตามหาตัวอย่างแผนผังบังคับมาศึกษาดู แล้วแต่งให้ถูกต้องตามนั้น
เขียนโคลงคำแต่งต้อง....................ตรงแผน
เอกใส่ตรงดีแสน...............................ชื่นหน้า
คำโทอย่าดูแคลน............................วางที่ ถูกแฮ
โทสี่เอกเจ็ดถ้า.................................แต่งต้องลักษณ์งาม
บทหนึ่งสี่บาทสร้าง...........................สรรโคลง
สองวรรคต่อบาทโยง........................สืบสร้าง
เจ็ดคำแต่งจรรโลง............................บาทหนึ่ง แลนา
เพี่ยงที่บาทท้ายอ้าง.........................ส่งด้วยสี่คำ
โคลงที่แต่งถูกต้องฉันทลักษณ์ นิยมใช้เป็นแบบอย่างในการสอนนักเรียน
เสียงลือเสียงเล่าอ้าง.................อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร..........................ทั่วหล้า
สองเขือพี่หลับใหล..........................ลืมตื่น ฤๅพี่
สองพี่คิดเองอ้า...............................อย่าได้ถามเผือฯ
...........................................................ลิลิตพระลอ
อีกบทคำโคลงที่แต่งผูกต้องฉันทลักษณ์ นิยมใช้เป็นแบบอย่างในการสอนนักเรียน
จากมามาลิ่วล้ำ..........ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง................พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง...........เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง..............คล่าวน้ำตาคลอ
..............................................นิราศนรินทร์
..............๑.๒ ความรู้เรื่องคำที่จำเป็นสำหรับผู้ฝึกแต่งโคลง จัดเป็นพื้นฐานสำคัญที่ควรรู้สำหรับทุกคนที่แรกเริมฝึกแต่งโคลง
.............คำ การนับคำมีกี่คำ เหมือนร้อยกรองทั่วไป คือนับเสียงที่อ่านออกเสียงแต่ละพยางค์นับ ๑ คำ เช่น โรงเรียน คำเดียว อ่านออกเสียง สองพยางค์ แต่ร้อยกรองเรานับ สองคำได้ นับคำเดียวไม่ได้ การนับคำในร้อยกรอง เสียงอ่าน เป็นตัวกำหนดว่า ควรนับพี่คำ
..........คำสุภาพ แต่งโคลงสุภาพ มีนิยามว่า คำไม่ปรากฏรูปวรรณยุกต์ เรียกว่า คำสุภาพ มีเครื่องหมายวรรณยุกต์ ก็เรียกตามชื่อวรรณยุกต์นั้น ๆ ไป เช่น คำเอก คำโท คำตรี คำจัตวา
...........คำเอกโทษ คำแผลงที่แผลงเสร็จแล้วได้คำ เอก เช่น ใบน่า (ใบหน้า) เกี่ยวย่า(เกี่ยวหญ้า)
...........คำโทโทษ คำแผลงที่แผลงเสร็จได้คำโท เช่น ผี้ (พี่) ศึกผ้าย(ศึกพ่าย)
...........คำตาย คำผันวรรณยุกต์ออกเสียงยาก คำประสมสระสั้นในแม่ ก กา เช่น กะ ติ รุ รึ โละ
คำสะกดด้วยแม่ กก กด กบ ถือเป็นคำตายด้วย เช่น นก ตก ปก ปัก รัก รถ คด นบ พบ คำตาย
ใช้แทนคำเอก กรณีที่หาคำเอกยาก ปัจจุบันคงไม่ต้องใช้แล้ว ใช้คำเอก คำโท ตรง ๆ มีเหลือเฟือ
..........จำนวนคำที่ใช้ในโคลงสี่ ปกติแต่งบาทละเจ็ดคำ เว้นบาทสุดท้ายวรรคท้ายบทใช้สี่คำทำให้มีจำนวนคำบาทที่ ๔ เป็น ๙ คำ
...........คำสร้อยนิยมใช้ในบาทที่ ๑ บาทที่ ๓ และอนุโลมบาทที่ ๔
...........จำนวนคำ เอกเจ็ด โทสี่ โคลงที่เป็นแบบทั้งสองบท วางตำแหน่งคำเอก คำโท ถูกต้อง
............คำเอกคำโท ในบาทแรกโคลงสี่ สลับตำแหน่งกันได้
............คำสัมผัสใน นิยมทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสพยัญชนะ
............คำสัมผัสระหว่างวรรคหน้า...หลัง ในบาท นิยมใช้สัมผัสพยัญชนะ
............๑.๒ ความสัมพันธ์ของโคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่ เนื่องจากฉันทลักษณ์โคลงมาจากหลักเกณฑ์เดียวกันจึงมองเห็นความคล้ายกันของคำในบาทต่าง ๆ ดังนี้
..............แบบที่ ๑ แผนผังโคลงสี่บาทแรก วรรคที่ ๑ รวมกับ บาทที่ ๔ (เติมสร้อย)
บาทที่ ๑ = O O O เอก โท
บาทที่ ๔ = O เอก O O โท ...........เอก โท O O (OO)
(โยงสัมผัสท้ายวรรคแรก (คำโท) กับท้ายวรรคถัดไป(คำโท) .......ได้โคลงสอง)
เติมข้างหน้า O O O O O ๕ คำ .......บาทที่ ๑ = O O O เอก โท
บาทที่ ๔ = O เอก O O โท ..................เอก โท O O (OO)
(คำท้ายวรรคที่เติม ส่งสัมผัสคำที่สามวรรคสอง คำท้ายวรรคสองส่งให้คำท้ายวรรคสาม
-------------------------------
ฝึกเขียนโคลงแบบง่าย ๆ ตอนที่ ๒
........ผมเขียนโคลงคล่องพอ ๆกับเขียนร้อยแก้ว แต่งวันละสามสิบสี่สิบบทได้สบาย ๆ เอามาเขียนบรรยายความแบบร้อยแก้วยังได้ เดี๋ยวจะลองบรรยายหัวข้อแนะนำแต่งโคลงข้อนี้ให้ดู
๑. สะสมคำ วัตถุดิบแต่งโคลง คำเอก คำ โท คำเอกโทชิอ คือคำจำเป็นต้องใช้ อธิบายด้วยโคลง ดังนี้
๑.๑ สะสมคำเพื่อใช้..............แต่งโคลง
วัตถุดิบผูกโยง.........................เชื่อมให้
คำโคลงอ่านจรรโลง...............เพราะยิ่ง
คำหลากหลายเลือกใช้..........แต่งได้งดงาม
๑.๒ ไวพจน์คำที่พ้อง............ความหมาย
เพียงแต่เขียนหลากหลาย......ต่างแล้ว
ดวงจันทร์นี่คำยาย..................ยังยุ่ง ดีแฮ
ศศิธรงามแผ้ว...........................ผ่องล้วนคือจันทร์
๑.๓ ดวงเดือนก็ใช่แล้ว...........ครือกัน
ยายย่าก่อนบอกฉัน...............โน่นเกิ้ง
วันเพ็ญส่งแสงพลัน..................นวลส่อง แลนา
ย่ามส่องฟ้าว้างเวิ้ง...................ข่มล้วนดวงดาว
๑.๔ ฝึกหาไวพจน์อ้าง.............สมควร
จักช่วยมีคำชวน.......................ชื่นใช้
แต่งโคลงไม่เรรวน......................หาง่าย คำแล
คำสะสมมากได้.........................ส่งให้สะดวกสบาย
๑.๕ เขียนโคลงดังก่อสร้าง........อาคาร
วัตถุดิบผสาน.............................มากพร้อม
สะดวกก่อกิจการ.......................รีบเร่ง
เดินต่อเติมเร่งล้อม.....................ย่อแล้วเสร็จสม
๒. สะสมคำสัมผัสสระ เอาไว้ใช้เวลาต้องการสัมผัสบังคับ สัมผัสในให้ไพเราะ ดำขำ มีสี ดูปู
วันจันทร์ วิงชิง ตกดก ผูกลูก เย็นเห็น ปนคน อุ่นรุ่น บุญปุน แสงแยง สนยล เช่นเคย
บรรยายด้วยโคลง แบบนี้
๒.๑ สะสมคมคู่คล้อง..................ลำนำ
จดจ่อแต่งแปลงคำ........................คู่รู้
มากมายหน่ายนักทำ....................อยู่หู่ นักแฮ
เข็นเล่นยากหากสู้.........................ไม่ได้หวั่นกัน
๒.๒ ตอนรอนแรมแจ่มไซร์.............แสงทอง
เทียมเหลี่ยมวับลับมอง...................ขอบฟ้า
นกหคต่างห่างคลอง......................คืนชื่น ชู้แฮ
บินว่อนร่อนมุ่งหน้า.........................ส่องห้องรวงรัง
๒.๓ จิบจิบ แต้วแล้วส่ง...................เสียงเคียง
จบพบรังยังเพียง.............................ลูกน้อย
กกกอดพรอดพร่ำเสียง..................อบอุ่น นักแฮ
ปกกกอ้อนป้อนสร้อย.....................อิ่มอ้อนจอแจ
๓. สะสมคำสัมผัสพยัญชนะ เอาไว้ใช้เวลาเล่นสัมผัสใน โคลงที่มีสัมผัสใน สระ ยังธรรมดา ๆ
ใคร ๆก็เล่นกัน แต่สัมผัสพยัญชนะ เลานยากหน่อย ฝึกไว้ก็ดี เวลาแต่งโคลงจะได้มีใช้ไม่ขัดสน
บรรยายด้วยโคลงครับ
๓.๑ สะสมคมคู่คล้าย.....................ชิดกัน
เสียงอ่านอักษรสรรค์........................ชอบใช้
เพราะเพียงแต่งจำนรร......................พึงเพราะ แลนา
ขันแข่งแต่งเติมให้.............................จักได้เชี่ยวชาญ
๓.๒ นมนานพึงผ่านแล้ว................เก่งกานท์
เขียนคล่องฝึกฝนนาน.....................เก่งกล้า
คิดคำลื่นไหลปาน.............................ชลาหลั่ง แลนา
เชิงเชี่ยวมิอ่อนล้า...............................แต่งแต้มคำคม
๓.๓ เสือสาายางอยู่ด้าว..................แดนดง
ไปป่าพุ่มไพรพง...................................รกล้วน
ผองภัยอยู่แผงคง................................แม่นมั่น
ยองย่างจงถี่ถ้วน.................................ก่อนก้าวกลัวภัย
ฝึกเขียนโคลงแบบง่าย ๆ ตอนที่ ๓
๓.๑ สะสมคำเอก คำโท ชิด เป็นคำที่บังคับใช้ บาทแรก และบาทที่ ๒ และบาทที่ ๔ ดูโคลงแผบแผนอีกที
๒๒. จากมามาลิ่วล้ำ...........ลำบาง
บางยี่เรือราพลาง.................พี่พร้อง
เรือแผงช่วยพานาง..............เมียงม่าน มานา
บางบ่รับคำคล้อง.................คล่าวน้ำตาคลอ
..............................................นิราศนรินทร์
ฝึกฝนสะสมคำเอก+คำโท ชิด จึงสำคัญต่อการแต่งโคลงไม่น้อย วิธีการใช้แบบต่อคำได้ยิ่งดี คือ มีส่งรับสัมผัสไปด้วย ตัวอย่าง
............พี่น้อง.......ก่องแก้ว......แผ่วเพี้ยง........เสี่ยงสร้าง...........ต่างเต้น............เช่นนี้...........ถี่ถ้วน
ป่วนบ้าน........ด่านหน้า........ค่าจ้าง........สร่างเศร้า..........เร่าร้อย............อ่อนอ้อน..........หย่อนให้
ต่อไปตาคุณฝึกบ้างละ..............................................................................................................
๓.๒ ฝึกวางคำเอกคำโทชิด ในบาทคำโคลง แบบบาทที่ ๑
ฝึกวางคำคู่นี้....................เอกโท
ลองดูยากหน่อยต้อง.......พากเพียร
เขียนคำโทเอกให้.............คู่กัน
ฉันบาทแรกแต่งให้...........ดูดี
มีคำเลือกใส่ให้.................มากมาย
หายกลัวไหลหลั่งล้น........หลั่งมา
ลองฝึกดูบ้างดิ.................................
๓.๓ ฝึกวางคำเอกคำโทชิด ในบาทคำโคลง แบบบาทที่ ๒ ของโคลงสี่ คือคำที่หกและเจ็ดท้ายบาทยังไม่กำหนดคำที่สอง เอาเฉพาะคำเอกคำโทชิด
เดินดงหลงป่าพบ..........พี่น้อง
ลองตกปลากันรอ.........แต่เช้า
เรามองหาญาติเจอ.......พี่ป้า
พากันไปพบครู..............ที่บ้าน
นานนักจบไปครา..........ก่อนนั้น
๓.๓ ฝึกวางคำเอกคำโทชิด ในบาทคำโคลง แบบบาทที่ ๔ ของโคลงสี่ คือคำที่หกและเจ็ดท้ายบาทสามวันฉันกับเธอ..........ต่างย้ายกันไป
..........................................พี่น้องรักกัน
..........................................มั่นได้แน่นอน
..........................................อ่อนน้อมดีงาม
.........................................ย่างย้ายจรดล
๔. ลงมือแต่งโคลง หลังจากฝึกองค์ประกอบย่อย ๆ ของโคลงมามากพอแล้ว ถึงเวลาเริ่มเขียน
โคลงสี่จริง ๆ ได้แล้ว
ลองเขียนโคลงสี่ให้................ลองดู
ยากหน่อยนักคุณครู.............แต่งแล้ว
พอไหวน่าแบบปู.....................งุ่มง่าม
เดินเรื่อยคงมิแคล้ว................สู่ห้วยปูถึง
ปูไปคราเต่าต้อง.....................ติดตาม
คลานเล่นสง่างาม...................ใช่น้อย
คนมาหยุดรอยาม...................ปลอดโปร่ง
คลานต่อถึงเรียบร้อย...............สู่ห้วยลอยชล
เขียนให้ดูสองบทแล้ว อยากลองใหม เอาสื...............................................
๕. เทคนิคแต่งโคลง เราอ่านโคลงแบบแผนทั้งสองบท สังเกตเป็นความไพเราะของโคลงบ้างไหม
๕.๑ โคลงเล่นสัมผัสพยัญชนะเพราะดี
จากมามาลิ่วล้ำ...........ลำบาง………………… ลิ่ว+ล้ำ+ลำ เสียง ล ๓ คำ มี ล้ำ+ลำ เสียง อำ
บางยี่เรือราพลาง.............พี่พร้อง......................... เรือ+รา เสียง ร พลาง+พี่+พร้อง เสียง พ
เรือแผงช่วยพานาง.........เมียงม่าน มานา แผง - พา เสียง พ เมียง + ม่าน เสียง ม
บางบ่รับคำคล้อง.............คล่าวน้ำตาคลอ คล้อง + คล่าว คล่าว....คลอ เสียง คอ ๔ คำ
...........................................นิราศนรินทร์
เป็นโคลงที่ใช้เทคนิคสัมผัสในแบบสัมผัสพยัญชนะทุกบาท
.เสียงลือเสียงเล่าอ้าง.....อันใด พี่เอย เสียงลื่อ เสียงเล่า อ้างอัน 2 กลุ่ม
เสียงย่อมยอยศใคร............ทั่วหล้า ย่อม+ยอ+ยศ 3 ยอ
สองเขือพี่หลับใหล..............ลืมตื่น ฤๅพี่ หลับ+ไหล+ลืม 3 ลอ
สองพี่คิดเองอ้า....................อย่าได้ถามเผือฯ เอง+อ้า 2 ออ
ลิลิตพระลอ
๕.๒ เล่นสัมผัสพยัญชนะระหว่างวรรคหน้า-วรรคหลังในแต่ละบาท โคลงบทจากมามาลิ่วล้ำลำบาง
นิราศนรินทร์ เล่นสัมผัสพยัญชนะระหว่างวรรคคือ ลิ่ว+ล้ำ พลาง+พี่ คล้อง+คล่าว พบ ๓ บาท
ส่วนบทจากลิลิตพระลอเล่นสัมผัสในระหว่างวรรค ๒ บาท อ่านแล้วเพราะดี คือดูดีกว่าบาทที่ไม่มี
สัมผัสระหว่างวรรค
๕.๓ โคลงอ่านไพเราะ เมื่อมีสัมผัสพยัญชนะ แต่ไม่ค่อยเห็นสัมผัสสระ ในนิราศสุพรรณ ท่านสุนทรภู่ ปรมาจารย์ สัมผัสใน มี ให้อ่านโคลงมีสัมผัสสระ ตัวอย่าง
โอ้ เดือนช่วงดวงเด่นฟ้า...............ดาดาว
จรูญจรัสรัศมีพราว.......................พร่างพร้อย
ยามดึกนึกหนาวหนาว..................เขนยแนบ แอบเอย
เย็นฉ่ำน้ำค้างย้อย.........................เยือกฟ้าพาหนาว ฯ
............................................................นิราศสุพรรณ
๕.๔ โคลงแทรกเนื้อหาที่เป็นคำคมสุภาษิต ทำให้ดูดีมีสาระมากขึ้น
ใดใดในโลกล้วน...........................อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง...........................เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง............................ตรึงแน่ อยู่นา
ตามแต่บุญบาปแล้.......................ก่อเกื้อ รักษา
......................................................ลิลิตพระลอ
เพื่อนกิน สิ้นทรัพย์แล้ว...............แหนงหนี
หาง่าย หลายหมื่นมี.....................มากได้
เพื่อนตาย ถ่ายแทนชี-.................วาอาตม์
หากยาก ฝากผีไข้.......................ยากแท้จักหา
......................................................โคลงโลกนิติ
.........ขอสรุปแหละครับ การแต่งโคลงก็เหมือนคำร้อยกรองอื่น ๆ คนแต่งต้องรู้ภาษาไทยดีพอสมควร รักชอบการแต่งคำร้อยกรอง และฝึกเขียนบ่อย ๆ จนทำให้รู้สึกเป็นเรื่องธรรมดา เหมือนเขียนร้อยแก้ว ตอนนั้นแหละเขียนร้อยกรองก็จะสนุกได้เช่นกัน จบแหละครับ สวัสดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น