วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ความเป็นมาของโคลง

ประวัติความเป็นมาของโคลง

............จากพระราชาธิบายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สันนิษฐานว่าชาวไทยล้านนาเป็นผู้ประดิษฐ์โคลงขึ้น และชาวไทยทางใต้คือชาวกรุงศรีอยุธยารับไปดัดแปลงจนพิสดารขึ้น
..........โคลงของชาวล้านนานั้นเรียก “ครรโลง” “คะโลง” หรือ “กะโลง” [2] มีสามประเภทคือ 
1) ครรโลงสี่ห้อง 2) ครรโลงสามห้อง และ 3) ครรโลงสองห้อง กับทั้งยังมีกลวิธีแต่งที่ปลีกย่อยมากมาย
 เช่น โคลงบทหนึ่งว่า “กรนารายณ์ หมายกงรถ บทสังขยา สราสังวาล...” [3] หลักฐานที่
ว่าชาวล้านนาสนใจและนิยมแต่งโคลงมาแต่โบราณแล้วคือ จินดามณี ซึ่งกล่าวถึงโคลงลาวประเภท
ต่าง ๆ อันได้แก่
 1) พระยาลืมงายโคลงลาว 
2) อินทร์เกี้ยวกลอนโคลงลาว 
3) พวนสามชั้นโคลงลาว
 4) ไหมยุ่งพันน้ำโคลงลาว และ
 5) อินทร์หลงห้องโคลงลาว[4]
.........คำว่า “ลาว” ข้างต้น หมายถึง ชาวล้านนา ชาวอยุธยาแต่ก่อนเรียกรวมทั้งชาวล้านนาและชาวล้านช้างว่า ลาว[5]วรรณคดีของชาวไทยฝ่ายใต้เรื่องแรกที่ปรากฏโคลงคือ ลิลิตโองการแช่งน้ำ อันแต่งด้วยโคลงห้าและร่ายดั้นสลับกัน กับทั้งยังเป็นวรรณคดีเรื่องเดียวที่ปรากฏโคลงห้าอีกด้วย[6] ต่อมาปรากฏเป็นรูปโคลงสี่ดั้นใน ลิลิตยวนพ่าย โคลงสุภาพ (โคลงสอง โคลงสาม และโคลงสี่) ในลิลิตพระลอ ส่วนโคลงสองดั้นและโคลงสามดั้นเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์นี้เอง อย่างไรก็ตามจากหลักฐานทางวรรณกรรมอาจกล่าวได้ว่ากวีนิยมแต่งโคลงดั้นมาก่อนโคลงสุภาพ[7]
.........จากคำอธิบายที่ยกมาแสดงว่าทางเหนือมีการแต่คำร้อยกรองที่เรียก ครรโลง กะโลง มีครรโลงสี่ห้องครรโลงสามห้อง และครรโลงสองห้อง ในหนังสือจินดามณีหนังสือเรียนเก่าก่อนก็เรียกชื่อโคลงลาวไว้คือ
1) พระยาลืมงายโคลงลาว 
2) อินทร์เกี้ยวกลอนโคลงลาว 
3) พวนสามชั้นโคลงลาว 
4) ไหมยุ่งพันน้ำ
โคลงลาว และ 
5) อินทร์หลงห้องโคลงลาว คำลาวที่กลาวหมายถึงชาวเหนือ 
...........ลาวอีสานมีคำร้อยกรองเหมือนกัน "หนังสือท้าวฮุ่งท้าวเจือง" กษัตริย์ชนเผ่าไทยโบราณมีอำนาจ
ปกครองครอบคลุมมาถึงล้านนา ล้านช้าง หนังสือเล่มนี้ แต่งด้วยโคลงโบราณ ถือเป็นยุคแรกของคำโคลงก่อนจะพัฒนาเป้นโคลงไทเหนือและโคลงไทภาคกลางในเวลาต่อมา  วรรณกรรมดั้งเดิมอีสานมีมากมาย ทั้งวรรณกรรมปากเปล่าคำผญา กลอนลำ และหนังสือเล่าเรื่องชาดกต่าง ๆเช่น สังข์สินชัย จำปาสี่ต้น นางแตงอ่อน  ศรีทนมโนราห์ เขียนเป็นคำร้อยกรองอีสานทั้งสิ้น  เวลามีงานศพ จะนำไปแจกจ่ายให้อ่านสู่กันฟัง ทำนองอ่านไพเราะมาก คล้ายทำนองลำมหาชาติชาดก ร้อยกรองอีสานได้แบบอย่างจากร้อยกรองอินเดียที่ชื่อกลอนอ่านวิวิธมาลี กลอนอ่านวิชชุมาลี มีบังคับ เอก โทด้วย ดังตัวอย่าง :------

๑. กลอนอ่านวชิรปันตี
กลอนแบบนี้ใช้เฉพาะคำก่ายนอกให้ต่อเนื่องกันไปทุกๆ บาทเหมือนกาพย์ เป็นกลอนที่แต่งง่าย แต่เนื้อ
กลอนไม่ซาบซึ้งนัก เช่น เรื่องสุริยวงศ์ แตงอ่อน เป็นต้น มีข้อกำหนด ดังนี้
- คณะ กำหนดบทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๗ คำ อาจมีสร้อยหน้าวรรคไม่เกิน ๔ คำ หลังวรรคสุดท้าย 
๒ คำ
- สัมผัส คำสุดท้ายของวรรคสัมผัสกับคำที่ ๑ ๒ หรือ ๓ หรือสร้อยหน้าก็ได้ ของวรรคต่อไป
แผนผังกลอนอ่านวชิรปันตี
ตัวอย่าง กลอนอ่านวชิรปันตี
โลกบ่ ห่อนแต่งตั้ง          หญิงพาบสองผัว
เฮียมนี้ กลัวปาปัง           บาปเวรภายหน้า
ท่านอย่า มาชวนเข้า       อะเวจีหม้อใหญ่
ท่านอย่า มานั่งไกล้        เฮียมนี้ซิบ่ดี แท้แล้ว
                                           (ท้าวสุริยวงศ์)
๒. กลอนอ่านวิชชุมาลี
กลอนอ่านแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับกลอนอ่านวชิรปันตีที่กล่าวมาแล้ว ต่างกันที่คำก่ายเท่านั้น มีข้อกำหนดดังนี้
- คณะ กำหนดบทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๗ คำ มีสร้อยหน้าวรรคไม่เกิน ๔ คำ หลังวรรค ๒ คำ เช่นเดียว
กับกลอนวชิรปันตี ต่างกันที่สัมผัสที่ซับซ้อนกว่า
- สัมผัส
  คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๑ ๒ ๔ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๓ (คำสุภาพเหมือนกัน)
  คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๔ (คำโทเหมือนกัน)
  คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำที่ ๒ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๑ ในบทถัดไป (คำเอก)
  คำที่ ๗ ของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำสุภาพที่ ๑ ๒ ๓ หรือ ๕ ของวรรคที่ ๒ ในบทถัดไป
แผนผังกลอนอ่านวิชชุมาลี
ตัวอย่าง กลอนอ่านวิชชุมาลี
๑) เฮาจัก แหนเงื่อนไว้       ให้สว่าง กระสันวอน
             คำเสนหา          แห่งใด ดวงซ้อย
             คอนคอนค้ำ        คอนคอน คึดใคร่
             มัดแม่งถ้อย        ใจน้อย แม่งหาย ฯ
๒)         ใจใหญ่น้อย        น้อยใหญ่ สนเท
            คำสงสาร           หมื่นหมาย หมายหมั้น
            เสนหาห้อย         เสนโห หายาก
            อันหนึ่งนั้น          อันน้อย เนื่องใน ฯ
๓)         จักปากโอ้          โอ้อ่าว แถมถนัด
             คำใดเด             ดั่งใด ดอมดั้ง
    เมื่อนั้น กษัตรีเจ้า          เจืองลุน ฮับพาก
    ตูก็     เมี้ยนเครื่องตั้ง     ใจถ้า จอดจง
                                                (ท้าวฮุ่งท้าวเจือง)
๓. กลอนอ่านอักษรสังวาส
เป็นคำประพันธ์ที่พบมากที่สุดในวรรณกรรมไทยอีสาน มีลักษณะคล้ายกับกลอนอ่านอื่นๆ ต่างกัน
ที่กลอนอักษรสังวาสนี้ ไม่นิยมก่ายนอก แต่เน้น ก่ายใน เช่น เทียมคู่ เทียมรถ ทบคู่ เทียบคู่ แทรกคู่
 แทรกรถ ตามความเหมาะสมและ ความสามารถของกวี วรรณกรรมที่มีการ เล่นคำได้หลากหลาย
เกือบทุกวรรค ได้แก่เรื่องสังข์สินชัย ซึ่งถือว่าเป็นบทกลอนที่ไพเราะที่สุด
- คณะ กำหนดบทหนึ่งมี ๔ วรรค วรรคละ ๗ คำ มีสร้อยหน้าวรรคไม่เกิน ๔ คำ หลังวรรค ๒ คำ
- สัมผัส ใช้การก่ายในอย่างเดียว
แผนผังกลอนอ่านอักษรสังวาส
ตัวอย่าง กลอนอ่านอักษรสังวาส
คันว่า    กายด่านด้าว     เดินฮอดกุมภัณฑ์   เมื่อใด
มันนั้น   ลางลือเขา        ข่าวเซ็งเซิงกล้า
ให้ลูก   สามกษัตริย์เจ้า   เจียมใจจงถี่
          แม่ตื่มถ้อย        แถมต้านแต่ประมาณ ฯ
อันหนึ่ง ลอนจวบพ้อ       อาเอกองค์กษัตริย์  ก็ดี
อย่าได้ จงใจดอม          ดั่งโดยแฮงฮู้
ชาติที่  ใจหญิงนี้          ตลบแปปิ้นง่าย      จริงแล้ว
ฮู้ว่า     ยักษ์บ่แพ้         เขาได้ค่องเคย ฯ
แม่นว่า เดียรสานเซื้อ      ภาษาสัตว์ต่าง     ก็ดี
คันว่า ได้เกือกกั้ว          กันนั้นหากหอม    แม่แล้ว
อันว่า สีหราชท้าว         เจ้าอ่อนสังข์ทอง  ก็ดี
อย่าได้ ไลบาคาน         ให้ค่อยทวนคำเกื้อ กันเนอ ฯ
                                              (สังข์สินชัย)
๔. กลอนอ่านสัพสอดหรือเทียมแอก
กลอนแบบนี้มีลักษณะคล้ายกลอนอื่นๆ ต่างกันที่คำก่าย จะใช้การก่ายในแบบเทียมแอก (ทบแอก)
 เท่านั้น เป็นกลอนที่ไพเราะและแต่งยาก เนื่องจากจะหาคำโทนคู่ที่มีความหมาย ถูกตำแหน่งบังคับ
เอกโท และต้องใช้สัมผัสแบบนี้ทั้งบท (๔ วรรค) จึงจะถือว่าสมบูรณ์
- คณะ เหมือนกับกลอนอ่านอักษรสังวาส
- สัมผัส ใช้คำก่ายในเป็นแบบ "เทียมแอก" คือคำที่ ๕ ก่ายเสียง "โทนคู่" กับคำที่ ๗
(เสียงโทนคู่ คือคำที่มีพยัญชนะต้นเดียวกันหรือเป็นอักษรคู่ มีสระและตัวสะกดเดียวกัน ต่างกัน
เพียงเสียงวรรณยุกต์เท่านั้น เช่น ไกล-ใกล้ งอน-ง่อน ห่อม-ฮอม เป็นต้น)
แผนผังกลอนอ่านสัพสอดหรือเทียมแอก
ตัวอย่าง กลอนอ่านสัพสอดหรือเทียมแอก
หลิงเห็น   ไม้ล่าวล้ม           เลียบฮ่อมเขาฮอม    พุ้นเยอ
             ภูธรเลาะ            เลียบพะนองนำน้อง
             เห็นผากว้าง        เขาคำค้อยค่ำ
ดอยนั้น    อินทร์แต่งตั้ง       เขาเฮื้องฮุ่งเฮือง ฯ
             เล็งภาคพื้น          เป็นฮ่มเฮืองฮม
             พะลานเพียงงาม    ดั่งลานเลียนล้าน
             ทุกประดาก้อน      สุวินทีทุกที่
             ภูวนารถเจ้า         ใจสะล้างฮุ่งหลัง ฯ
             เยื้อนยากท้าว       ทั้งแฮ่งโฮยแฮง
             เดินดอยหลวง       กว่าไกลฤๅใกล้
             เลยเขียวขึ้น         เขางอนมีง่อน
คิดเถิง     คุณแม่ป้า            ปุนไห้ฮ่ำไฮ ฯ
             หลิงดอกไม้         ก้านก่องอินทร์กอง
บาก็        ยินดีผาย            ล่วงซอนซมซ้อน
             ภูธรท้าว             เดินเดียวดั้นเดี่ยว
             ข้ามขอบด้าว        ไปหน้าหน่วงหนา ฯ
ฟังยิน      สกุณาเค้า            งอยคอนฮ้องค่อน   พุ้นเยอ
บางผ่อง   ฮักฮ่วมซู้             ซมก้อยเกี่ยวกอย
             กอยกมเกี้ยว         มือไลซ้อนไหล่
คือดั่ง      สองก่อมซู้            ซมเหง้าส่วงเหงา ฯ
             น้อยดุ่งเท้า           เถิงเหล่าดอนเลา
             ไพรสณฑ์แสน        ด่านกวางดูกว้าง
บาก็        ผายตนดั้น            ดงยางเยื้อนย่าง
คิดเถิง     แม่และป้า             โหยหิ้วหอดหิว ฯ
ฟังยิน      กดกล่าวท้วง        ลางเหล่าดอนเลา   พุ้นเญอ
             ชะนีนงคราญ        ส่งเสียงสูนเสี้ยง
แม้งหนึ่ง   วันสูรย์ด้าว          ดอยหลวงลมล่วง
             พัดเมฆคล้าย        คือม้าล่วงมา ฯ
                                              (สังข์สินชัย)
(หมายเหตุ ข้อมูลนี้ไม่สามารถระบุผู้เขียน เพราะต้นฉบับที่คัดลอกมาไม่พบชื่อผู้เขียน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น