......................ผมแต่งกาพย์ปู่สอนหลาน โดยพยายามเลือกใช้กาพย์ทุกชนิดในสาระคำร้อยกรองไทย ที่มีกาพย์ ๒๔ ชนิด ทั้งที่เคยเรียนมาไม่กี่ชนิดเอง เลยตั้งใจแต่งให้ครบ ๒๔ ชนิดนั่นแหละ แล้วนำมาโพสไว้ที่เวบนี้ครับ เพื่อท่านที่สนใจอาจแวะเข้ามาดูได้ ขอบคุณครับ
ขุนทอง ศรีประจง
๔ สิงหาคม ๒๕๖๒
กาพย์ปู่สอนหลาน | ||
โดยขุนทอง | ||
๒.๒ กาพย์รัสสปักข์ | ||
o..กาพย์ปู่สอนหลาน.......... | ตั้งใจ | |
ตรองแต่งดูเป็นไร | เลือกกาพย์ | |
รัสสปักข์พิไล | งามแบบ | |
บาทเจ็ดคำสามไว | ตรองแต่ง | |
บาทสี่เก้าคำใช้ | แปลกแท้ลองดู | |
o..เอกโทมิต้องชู | ชักชอบ | |
ห้าคำลงตามกรอบ | ดีแน่ | |
วรรคหลังสองทุกรอบ | เจนจัด | |
สัมผัสบาทแรกครอบ | ที่ห้าสามบาท | |
o..มิขาดส่งต่อบท | ถัดไป | |
ปลายบทบาทแรกไว | สัมผัส | |
ที่เหลือเชิ่นเดิมใคร | อยากเล่น | |
ลองเถิดเหมือนโคลงไซร้ | แต่ไร้เอกโท | |
o..ปูหวังขีดเขียนเรื่อง | สั่งสอน | |
ฝากแก่ลูกหลานตอน | มาเยี่ยม | |
ลางคนชอบมานอน | เป็นเพื่อน | |
ฟังนิทานอ่อนอ้อน | เล่าให้สนุกกัน | |
o..อ้ายเปมันอยากฟัง | คำกาพย์ | |
สอนลูกหลานซึมซาบ | นะปู่ | |
เอาเถิดนอนพังพาบ | ฟังเล่า | |
จักสอนพวกแกทาบ | ทามแล้วปองปุน | |
o..หนึ่งเรื่องคุณพระแก้ว | สามดวง | |
ลูกหลานเป็นพุทธพวง | ผุดผ่อง | |
พุทธมามกะปวง | นอบถือ | |
พุทโธธัมโมดวง | รัตน์แก้วแวววาม | |
o..สังโฆแนวงดงาม | ถือมั่น | |
ทำวัตรสวดมนต์สรรค์ | เสร็จสรรพ | |
สมาทานกัน | ตัวข้า | |
ยึดที่พึ่งพลัน | พทธธรรมสังโฆ | |
o..พุทธังมโนนอบ | สักการ | |
ธัมมังสังฆังขาน | ครบเครื่อง | |
นับถือดั่งดวงมาลย์ | นบนอบ | |
คุณจักมีนับนาน | ร่มเย็นในธรรม | |
๒.๑ กาพย์ทีฆปักข์ | ||
o..คำสอนเย็นนักยิ่ง | ซึ้งใจ | |
ละชั่วบาปทำไป | หมองหม่น | |
ทำแต่บุญผ่องใส | ดวงจิต | |
สุขสกลที่ใคร่ | สุขจริง | |
o..สิกขาศีลชัดยิ่ง | สำคัญ | |
ละฆ่าส่ำสัตว์สรรพ์ | ปาณา | |
อทินน์ห่างไกลกัน | กลัวบาป | |
ละกามาบุญพลัน | เพิ่มพูน | |
o..มุสาเว้นค้ำคูณ | ควรยิ่ง | |
เลือกสรรคำพูดจริง | สัจจะ | |
ชนชมชื่นชายหญิง | ยกย่อง | |
เชื่อสาระตำล้วน | ค่าแพง | |
o..สุราดีกรีแรง | ฤทธิ์มาก | |
ติดเข้าเลิกยิ่งยาก | เมาหนัก | |
เขาด่าเป็นขี้กลาก | นามเหล้า | |
คนที่รักตนให้ | ห่างมัน | |
o..อิมานิปัญจะ | สิกขา | |
ตั้งใจยึดนำมา | ปฏิบัติ | |
เป็นกิจประจำพา | ขัดกล่อม | |
ใจผ่องพัฒนา | งามยิ่ง | |
o..ละบาปมวลทิ้งได้ | ใจดี | |
ดังแต่งเครื่องทรงมี | วาดยิ่ง | |
วาดงามนักคนที | ศีลแต่ง | |
เหล่าชายหญิงแซ่ซร้อง | ชื่นชม | |
o..กุสลัสสูปนิยม | สั่งมาก | |
อุปสรรคลำบาก | ฟันฝ่า | |
หวั่งแต่ดีถึงยาก | ทนอยู่ | |
บุญกุศลจักได้ | มากมี | |
o..ดีจิตปริโย | ทปนัง | |
ชะกิเลสก็มลัง | หมดจด | |
ครบสามหลักยัง | จำแม่น | |
ถือดังกฏทำได้ | มงคล | |
๒.๓ กาพย์ตรังคนที | ||
o..ฝึกตนสีลสิกขา | ถือศีลห้าทำไฉน | |
ปาณาเว้นฆ่าได้ | มิกระทำบาปกรรมมวล | |
o..ข้อสองอทินนา | ของเขาอย่าหยิบน่าสรวล | |
เขาเรียกโจรมิควร | เราผู้ดีมีศีลธรรม | |
o..กาเมสุมิจฉา | เจ้าชู้อย่าพบงามขำ | |
เกี้ยวพาเขาบาปกรรม | หัวงูโผล่มิค่อยงาม | |
o..มุสาวาทาเวร | พูดจาเน้นคนไถ่ถาม | |
สัจจริงเหมาะควรยาม | สนทนาน่าชื่นชม | |
o..สุราเมรยะ | ละเสียได้จึงจักสม | |
ผู้คนเขานิยม | ส่วนขี้เมามิค่อยดี | |
o..ห้าเวรเว้นเพราะบาป | จรรยาหยาบเสื่อมเสียศรี | |
เขาหมิ่นค่าด้อยมี | เสื่อมเสียหายอับอายคน | |
o..ถือศีลใส่ใจไว้ | จะเที่ยวไปมิสับสน | |
มีบาปอย่ากังวล | ศีลละเว้นเวรไม่มี | |
๒.๔ กาพย์มหาตรังคนที | ||
o..สิกขาสองเรื่องจิต | สติชิดอย่าหลุดหลบหนี | |
สมถะนั่นแหละดี | ฝึกฝนจิตสนิทใจ | |
o..สมัยสิทธัตถะ | ครั้งท่านละบ้านเมืองไฉน | |
โมกขธรรมมุ่งไป | จักฝึกตนพ้นทุกข์เวร | |
o..กราบอาราฬดาบส | ได้จำจดสิ่งที่เห็น | |
กรรมฐานที่ฝึกเป็น | ทางแห่งฌานสี่ประการ | |
o..บารมีโพธิเพ็ญมา | แก่กล้าเกินแค่ไขขาน | |
สี่ขั้นทรงเชี่ยวชาญ | เรียนจบสิ้นวิชาครู | |
o..ไปพบสำนักสอง | ตามครรลองศึกษาดู | |
สี่ขั้นครบแปดรู้ | สมาบัติแปดครับครัน | |
o..มิลุโมกขธรรม | จำลาจากเสาะสืบสรรพ์ | |
มากมายวิธีนั้น | ยิงมิใช่สิ่งมุ่งมา | |
o..ปัญจวัคคีย์พบ | ยามท่านจบสิ่งที่หา | |
เป็นศิษย์ตามตำรา | ทักทายไว้เมื่อยังเยาว์ | |
o..ล่วงถึงอุรุเวล | เส้นทางดูจะเปลี่ยวเหงา | |
ริมน้ำจึงยึดเอา | ที่พักพิงอิงไทรงาม | |
o..บำเพ็ญเกือบหกปี | ยังมิมีสิ่งใคร่ถาม | |
ล่วงพ้นตายนิยาม | โมกขธรรมเป็นฉันใด | |
o..ทุกกรกิริยา | กระทำมายิ่งยวดไฉน | |
มิอาจบรรลุได้ | จนนึกหน่ายหยุดพักรอ | |
o..หันมารับอาหาร | ทรมารมากเกินหนอ | |
อ่อนแรงคงมีพอ | จะทำกิจการใดใด | |
o..ปัญจวัคคีเห็น | นึกว่าเป็นท้อสงสัย | |
พากับละจากไป | อุรุเวลสงบพลัน | |
o..บำเพ็ญบารมี | ณโพธิ์ศรีพิเศษสรรค์ | |
มินานพบมรรคอัน | พิเศษสุดพุทธคุณ | |
o..สรุปทางที่สิกขา | กระทำมาจนเกื้อหนุน | |
สมถะทางแห่งบุญ | สมาบัติผลชัดเจน | |
o..จนเมื่อเพียรทางใจ | ใช้สติจนแลเห็น | |
รูปนามนั่นคือเกณฑ์ | วิปัสสนาพาลุญาณ | |
o..อรหันต์สัมพุทโธ | ภิญโญยิ่งองอาจหาญ | |
กิเลสริดรอนราน | หมดจดสิ้นผุดผ่องใจ | |
o..กรรมฐานจึงแจกสอง | ครองสมถะมิสงสัย | |
ผลฌานสิ่งที่ได้ | มิใช่สิ้นกิเลสคุณ | |
o..ทรงฌานใจสงบ | มิได้พบกิเลสวุ่น | |
ออกฌานมันรุกรุน | โลภโกรธหลงคงเหมือนเดิม | |
o..ส่วนทางวิปัสนา | ลุโสดาพาส่งเสริม | |
อรหันต์สุดทางเติม | ดับกิเลสหมดสิ้นไป | |
o..มรรคาพิเศษนี้ | ชี้กระจ่างสว่างไข | |
ล่วงโมกขธรรมได้ | เส้นทางนี้พิเศษจริง | |
o..สัตถาประกาศสอน | นรากรเหล่าชายหญิง | |
บริษัทสี่พึ่งพิง | สัตถุศาสตร์ของศาสดา | |
โพสที่ ๓ | ||
๑.๓ กาพย์จิตลดา | ||
o..เป็นพุทธสาวกา | เรียกขาน | |
อุบาสกสีกา | หญิงชาย | |
ถือไตรรัตน์นานนัก | เพราะคุณ | |
ปกปักใจกายมั่น | เดชา | |
o..สองสีลานิปอง | ปฏิบัติ | |
กระทำการเป็นวัตร | ทุกวัน | |
ยามเข้าจักจัดอ้าง | สมาทาน | |
จริยะสรรค์ศีล | มั่นคง | |
o..มิถือมงคลตื่น | ตูมตาม | |
มีเหตุมีผลยาม | รับรู้ | |
รัตนะสามสรรพ | ที่พึ่ง | |
ถือมั่นทุกผู้ล้วน | ทราบดี | |
o..สี่แสวงบุญด้วย | พุทธธรรม | |
ตามกอปรบุญบาปกรรม | ชัดแจ้ง | |
ปุญญเขตจดจำ | เจนจัด | |
หมดจดมิแสร้งสร้าง | อื่นใด | |
o..ส่งเสริมศาสนาใจ | ก่อเกื้อ | |
บำรุงพระเณรใน | อาวาส | |
กุฏศาลาเรื้อร้าง | ซ่อมแซม | |
ใจบุญองอาจน้อม | นบไตร | |
o..เบญจคุณครบในตน | งามยิ่ง | |
กิจวัตรสรรพสิ่ง | สมภาพ | |
ประสกใจจริงดู | ประเสริฐ | |
คนทั่วถิ่นทราบได้ | ชื่นชม | |
๑.๔ กาพย์มหาจิตลดา | ||
o..สมบัติอื่นอีกมี | ควรรู้ | |
ดูแลพระเณรเถร | เคารพ | |
ละอายบาปสู้หลีก | ผลากเสีย | |
สัตย์ซื่อเจนจบ | มาดมั่นคุณธรรม | |
o..ท่องบ่นจำจดคำ | สวดได้ | |
สมาธิฝึกเสมอ | มิขาด | |
ขยั่นหมั่นฝึกให้เชียว | ชาญเชาวน์ | |
สติมั่นมิพลาดการ | ฝึกฝนจัดเจน | |
o..ศึกษาเห็นอรรถธรรม | ถูกต้อง | |
วิเคราะห์เหตผลควร | พึงเชื่อ | |
ละบาปบุญปองเกื่อ | ก่อกูล | |
แจ่มใจอ่อนเอื้อใฝ่ | ธรรมคุณ | |
o..นานากิจคิดครุ่น | ควรทำ | |
กิจก่อคุณทุกกรรม | บุญส่ง | |
จิตพัฒน์พึงบำเพ็ญ | เพียรมาก | |
กิจชั่วละปลงไว้ | อย่าทำ | |
o..บุพพกรรมพึ่งสั่งไว้ | มากมวล | |
คือกิจเกิดคุณควร | สั่งสม | |
นานาประมวลบุญ | มีค่า | |
ควรกระทำสมสร้าง | เสกสร้างสุดสม | |
โพสที่ ๔ | ||
๑.๕ กาพย์สินธุมาลี | ||
o..พรหมแห่งบุตรชายหญิง | ปิตุ | |
มาตาพระคุณห้า | สถาน | |
ความชั่วบาปอย่าลุ | ทำหนา | |
ดีงามควรบรรจุ | มากทำ | |
o..วิชชาจำสั่งไว้ | มีคุณ | |
ดังกุศลผลบุญ | เลอค่า | |
ถงคราวเลือกดรุณ | ดูช่วย | |
มีครอบครัวสกุล | มั่นคง | |
o..สินทรัพย์เจาะจงมอบ | บุตรธิดา | |
มิมากมายแต่มากค่า | คูณควร | |
ครบครันคุณมาตา | ปิตตุ | |
พึงกราบพรหมทังหน้า | แลหลัง | |
o..บำรุงตอบท่านตั้ง | ใจจง | |
เจ็บป่วยมิลืมหลง | ใฝ่เฝ้า | |
ทำตามท่านสอนคง | ห่างชั่ว | |
กรรมที่งามค่ำเช้า | เสกงาม | |
o..สินทรัพย์ตามที่ได้ | รับมา | |
จักแจงเพิ่มพัฒนา | ดียิ่ง | |
บุญกุศลสืบเสาะหา | เสริมส่ง | |
ยามท่านอยู่ดีจริง | บุญบอก | |
o..ออกดียิ่งยินเจ้า | ทำดี | |
พ่อแม่สุดสุขขี | อิ่มเอื้อ | |
ยิ่งรักยามเจ้ามี | บุญก่อ | |
บุญเกิดแม่อิ่มด้วย | อิ่มใจ | |
o..กายจิตพ่อแม่ให้ | เรามา | |
ดูแลตนนั่นหนา | ดีอยู่ | |
ดีเพิ่มดีเลิศพา | ท่านชื่น | |
ทำตนดีควรคู่ | ค่าควร | |
ครูอาจารย์และศิษย์ | ||
๑.๖ กาพย์มหาสินธุมาลี | ||
o..ครูหวังชวนศิษย์ได้ | ดิบดี | |
จึงสั่งสอนวิชชามี | มวลมาก | |
เปิดเผยสรรพสิ่งชี้ | ทางบอก | |
ยกย่องชื่นชมอยาก | ให้ได้ดีงาม | |
o..เป็นศิษย์ตามรับใช้ | คุณครู | |
เรียนท่องจดจำดู | จดแจ้ง | |
ละชั่วทำดีตรู | ประพฤติ | |
พัฒนาคนไม่แย้ง | เพราะได้ครูสอน | |
สามีและภรรยา | ||
o..สามีเขาเรียกด้วย | เสมอนาย | |
นำครอบครัวโดยพาย | เดินหน้า | |
หลบหลีกภัยเสียหาย | ปลอดโปร่ง | |
เป็นสุขครอบครัวถ้า | เก่งกล้าสามี | |
o..ภรรยาเพราะเธอเลี้ยง | ครอบครัว | |
กินอยู่ของลูกผัว | จัดแต่ง | |
เป็นแม่ทุกคนกลัว | เกรงแม่ | |
มีคุณธรรมเสกแสร้ง | แม่ล้ำเลิศคน | |
มิตรสหาย | ||
o..เพื่อนมีดีชั่วล้วน | คบกัน | |
คบง่ายคนดีสรรค์ | เสริมส่ง | |
มีดีประคองกัน | ไกลบาป | |
มิปลอยปละประสงค์ | ช่วยพ้นบาปเวร | |
o..เพื่อนดีเป็นดังแก้ว | ส่องทาง | |
รักใคร่มิจืดจาง | แม่นหมั้น | |
แนะนำมรรคกระจ่าง | ดีชั่ว | |
คุณมิตรดีใฝ่ฝั้น | ฝ่ายข้างทางดี | |
นายและลูกน้อง | ||
o..เป็นนายมีพวกพ้อง | จัดการ | |
มอบกิจควรบริหาร | รอบคอบ | |
จัดกิจเหมาะสมสาน | เสริมส่ง | |
ประมวลกำกับชอบ | เช่นนี้จึงควร | |
o..มีนายรับมอบด้วย | กิจควร | |
ศึกษากระทำชวน | ชืนได้ | |
ผลงานครบกระบวน | ดียิ่ง | |
ทุกสิ่งชวนชื่นไซร้ | ลูกน้องทำดี | |
โพสที่ ๕ ปูสอนหลานอิทธิบาท ๔ | ||
๑.๗ กาพย์นันททายี | ||
o..ทักกันสองเจ็ดแล้ว | กรกฎา | |
หมายส่งญาติกา | ทั่วถ้วน | |
อีกมิตรสหายา | ทุกท่าน | |
เจริญสุขสวัสดิล้วน | อยู่เย็น | |
o..บารมีที่สร้าง | ปางบรรพ์ | |
บุญก่อปัจจุบัน | สั่งสร้าง | |
รวมพลังส่งพรสรรค์ | เสริมส่ง | |
ทุกท่านสบสุขอ้าง | เพราะพรหม | |
o..สมควรจักเอ่ยอ้าง | อิทธิบาท | |
ฉันทะชอบกิจอาจ | ทำได้ | |
วิริยะขยันคาด | งานเสร็จ | |
จิตตะรอบคอบใคร่ | คิดทำ | |
o..วิมังสารอบด้าน | พิจัย | |
อิทธิบทส่องไข | กิจสร้าง | |
สัมฤทธิ์สฤษดิ์นัย | หมายมาด | |
ยึดมั่นคุณธรรมอ้าง | คู่ควร | |
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
ปู่สอนหลานด้วย พรหมวิหาร ๔ | ||
๑.๘ กาพย์มหานันททายี | ||
o..ลุวันยี่สิบเก้า | กอคอ | |
เทพพรหมอวยพรพอ | สุขเกื้อ | |
ลาภยศที่รอจง | สำเร็จ | |
รมย์รื่นพรเอื้อให้ | เกษมสันต์เกษมศรี | |
o..พรหมวิหารสี่ข้อ | คุณธรรม | |
ควรก่อกิจเกิดสรรพ์ | มากไว้ | |
เมตตาจิตนำนัย | โอยอ่อน | |
กรุณจับใจเอื้อ | โอบเอื้ออำนวย | |
o..มุทิตาชอบด้วย | ยินดี | |
คนเขาสุขเรามี | จิตเอื้อ | |
อุเบกขาที่ใจ | สงบ | |
เขาเข้มแข็งเกื้อด้วย | นิ่งด้วยสงบใจ | |
o..คนเป็นผู้ใหญ่ล้วน | บำเพ็ญ | |
ครบสี่ธรรมดีงาม | แบบอย่าง | |
พฤติกรรมเป็นศรี | งามสง่า | |
ควรชื่นชมอ้างได้ | แบบผู้เป็นพรหม | |
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
ปู่สอนหลานด้วย สังคหวัตถุ ๔ | ||
๑.๙ กาพย์วชิรปันตี | ||
o..ชมรมชุมชนนั้น | ต่างผูกพันมั่นหมาย | |
ญาติกันสายเลือดมี | ต่างดูดีจริงเชียว | |
o..บ้างก็เกี่ยวดองกัน | ผูกสัมพันธ์ใกล้ชิด | |
สมสนิทพึงใจ | ต่างรักใครกลมกลืน | |
o..สงเคราะห์ชื่นธรรมสี่ | ทานังมีแบ่งปัน | |
สองสำคัญพาที | งามวจีน่ารัก | |
o..สามก็มักทำตน | ให้เป็นคนมีค่า | |
อัตถจรรยามากมาย | ดูสบายวางตน | |
o..ให้เป็นคนสม่ำเสมอ | จักพบเจอก็ง่าย | |
มีหลากหลายน้ำจิต | มั่นมากมิตรไมตรี | |
o..ชนยินดีคบหา | วาสนายิ่งนัก | |
ผูคนมักนอบน้อม | ผูกมิตรพร้อมอำนวย | |
o..มีกิจช่วยแบ่งเขา | อาสาเข้าให้แรง | |
ช่วยเข้มแข็งชุมชน | ต่างมีมนต์คุณธรรม | |
o..อวยเอื้อนำเกษมสุข | หายไกลทุกข์ภัยเข็ญ | |
อยู่รมเย็นสังคม | ต่างนิยมคุณธรรม ฯ | |
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
ปู่สอนหลานด้วย วุฒิ ๔ | ||
๑.๑๐ กาพย์มหาวชิรปันตี | ||
o..ต่อไปธรรมสำคัญ | คนเข้ารู้กันวุฒิสี่ | |
สัปปบุรุชี้ | คนกันจึงดีจะเจริญ | |
o..ชีพดำเนินมงคุณ | คบได้คือบุญทุกยาม | |
โอกาสตามตนจรรยา | กายใจวาจาแบบงาม | |
o..คู่ควรตามฝึกเป็นคุณ | กุศลอดุลย์พัฒนา | |
ธรรมศึกษาเพราะฟัง | คำสอนจีรังภิญโญ | |
o..โยนิโสใคร่ครวญ | เหตุผลแหละชวนพิจารณ์ | |
สัพธัมมหาญปฏิบัติ | จึงจะจำรัสจำรูญ | |
o..พึงเพ็ญพูนกล่าวมา | ชื่อพัฒนาธรรมวุฒิ | |
ประเสริฐสุดจำเริญ | ชีวิตดำเนินอริยา | |
o..โชคชัยมาเอกอุดม | จึงจักดีสมวุโฒ | |
การภิญโญจำเริญ | ชีพจักดำเนินอริยา ฯ | |
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
สอนหลานเรื่องอคติ ๔ | ||
๑.๑๑ กาพย์พรหมคิติ | ||
เรื่องถัดไปลำเอียง | เหตุมีเพียงสี่ประการ | |
เพราะรักใคร่บันดาล | บ้างโทสะจึงเบี่ยงเบน | |
บางทีก็โง่เขลา | จึงทำเอาเสียหลักเกณฑ์ | |
ข้อสี่ลำเอียงเวร | เพราะเกรงกลัวจนลนลาน | |
ความยุติธรรมพลอยเพี้ยน | เพราะอาเกียรณ์คนเล่าขาน | |
ด้วยเหตุสี่ประการ | ทำเสียชื่อเสียคุณธรรม | |
แม้อยากบริหาร | บริวารมีประจำ | |
ปกครองคนยึดคำ | เที่ยงตรงนำจึงจักดี | |
ยึดหลักแห่งเหตุผล | จักเลือกคนตามวิถี | |
วิทยาปัญญามี | ขยันกิจจรรยางาม | |
สาธุคุณธรรม | นำประพฤติมิต้องถาม | |
เที่ยงตรงแหละทุกยาม | ปฏิบัติจำรัสแล ฯ | |
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
สอนหลานเรื่อง ปธาน ๔ | ||
๑.๑๒ กาพย์มณฑกคติ | ||
o..สวัสดีนะครับคุณ | นับเป็นบุญได้ทักทาย | |
บารมีเทพทังหลาย | แลพรหมช่วยอำนวยพร | |
o..ขอจงสุขเกษม | เอิบอิ่มเอมสโมสร | |
ปธานหนึ่งสังวร | ระวังบาปมิกวนใจ | |
o..บาปมีปหานะ | ลดเลิกละดีไฉน | |
กุศลผลดีให้ | ภาวนาจงเกิดมี | |
o..เกิดแล้วอนุรักษ์ | ความงามจักมิห่างหนี | |
ครบหลักปธานสี่ | พึงบำเพ็ญเป็นประจำ | |
o..ผลบุญที่ก่อเกิด | ล้วนประเสริฐควรกระทำ | |
ดีงามจะกน้อมนำ | ดำเนินไปทางมงคล | |
o..ห่างไกลภัยเคราะห์เข็ญ | สบร่มเย็นมิสับสน | |
โชลาภมิกังวล | ย่อมบังเกิดประเสริฐแล ฯ | |
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
กาพย์สอนหลาน ปาริสุทธิศีล ๔ | ||
๑.๑๓ กาพย์ตุรังคธาวี | ||
o..ปาริสุทธิสีลาอุตตมะจริยากร | ||
หนึ่งปาฏิโมกข์ริฝึกฝนตอนปฏิบัติขจัดบาปบำเพ็ญ | ||
สองอินทรีย์สังวรณ์ก็มีสำรวมระวังเห็น | ||
อาชีวะก็จะพิสุทธิ์เป็นปัจจัยพิจารณ์จิตารมณ์ควร | ||
o..เช้าสมาทานศีลเบญจาทุกสิกขาบททวน | ||
ปาณาติบาทมิฆาตสัตว์ล้วนละเวรสงบมิพบขุ่นเคืองใจ | ||
อทินนามิหยิบนำพาสิ่งของคนอื่นไป | ||
กาเมเว้นกามเวรลูกเมียใครมีควรวุ่นจะขุ่นหมองฤดี | ||
o..ศึกษาสิ้นอรรถก็มียินแล้วเข้าใจเนื้อความ | ||
ปฏิบัติศีลวัตรมานะตามสติก่อจะพอละบาปเวร | ||
สำรวมอินทรีตาหูยินดีระวังตามกฏเกณฑ์ | ||
บาปกรรมปะก็ละดุจจะเห็นกองขยะก็ละหลบหลีกไป ฯ | ||
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
๑.๑๔ กาพย์มหาตุรังคธาวี | ||
o..จะบันทึกและน้อมนำตรึกระทึกขวัญจะขาน | ||
กรรมจะทำสติปัฎฐานสี่จะพบคำรพกายานุปัสนา | ||
สติตามบทบาททุกยามและงามจริยา | ||
คิดและติดสติตามมาจะเคลื่อนไหวก็ให้สติตามรู้ | ||
o..ยืนอยู่อ้อจะเดินแหละหนอมิรอจะตามดู | ||
เดินแหละเพลินสติก็สู้ติดตามเห็นและเย็นสบายอารมณ์ | ||
ย่างแล้วหนอละเอียดละออแหละพอจักชื่นชม | ||
งามติดตามกายาภิรมย์อนุสิทธิ์วิจิตรอิริยาบทงาม ฯ | ||
o..บางคราวขัดเจ็บปวดก็จัดแทบรัดคุกคาม | ||
รู้แหละดูเวทนาตามมิปล่อยวางจะสางจนเข้าใจ | ||
เจ็บมันเหน็บพอรู้ก็เจ็บและเก็บเวทนาไว | ||
เป็นก็เห็นและหายห่างไกลสติติดและจิตตานุปัสนา ฯ | ||
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
กาพย์สอนหลาน เรื่องสติปัฏฐาน ๔ (ต่อ) | ||
๑.๑๕ กาพย์กากคติ | ||
o..บางคราวอารมณ์ก็บมิสมจากนอกมิไกล | ||
กลับเกิดที่จิตเองคิดแจ่มใสแหละควรจักใช้เหนี่ยวนำอารมณ์ | ||
เรียกขานธัมมานุปัสนาหลายท่านนิยม | ||
จักใช้ก็ดีและมีอารมณ์วิริยะสมปฏิบัติชาญ | ||
o.. สติปัฏฐานสี่วิริยะมีมิท้ออาจหาญ | ||
สมาธิเข้มและเต็มคนขานวิริยะวารอุดมพิไชย | ||
อารมณ์สี่อย่างสายเกิดมาทางกายกายานุปัสนา | ||
สุขทุกข์เย็นร้อนก็วอนจะหาจับเป็นอารมณ์ | ||
o..เรียกเวทนาอนุปัสสาสติปัฏฐาน | ||
ตามจิตที่คิดและติดต่อการผสมผสานจิตแหละตามดู | ||
เขาเรียกจิตตาอนุปัสสนาสติตามรู้ | ||
อารมณ์นึกคิดสนิทใจอยู่สติก็สู้ติดตามมิเลือน | ||
o..จัดเป็นธัมมานุปัสสนาสติตักเตือน | ||
สติเป็นใหญ่ มิให้จะเคลื่อนและหลงเลอะเลือนมั่นในอารมณ์ | ||
พฤติกรรมกายก็ตามดูหมายติดตามนิยม | ||
เวทนาเกิดก็เลิศแลสมปัฏฐานชื่นชมช่องทางปัญญา | ||
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
กาพย์สอนหลาน เรื่องธาตุกัมมัฏฐาน ๔ | ||
กาพย์ยานี ๑๑ | ||
ถึงคราวสอนกัมมัฏฐาน | จะคิดอ่านอารมณ์ไหน | |
ยึดถือจึงดีไซร้ | ท่านบอกว่าเลือกตามควร | |
บางคนชอบธาตุดิน | บ้างยลยินอาโปหวน | |
บางคนมิเรรวน | เลือกเตโชเป็นอารมณ์ | |
ยายชอบวาโยค่ะ | วิริยะตามเหมาะสม | |
บริกรรมตามนิยม | เตรียมตัวพร้อมก่อนจึงดี | |
ยามเช้าฤๅยามเย็น | เห็นไหว้พระก่อนเสริมศรี | |
แล้วนั่งภาวนามี | สมาธิเกิดง่ายดาย | |
บริกรรมว่าอาโป | หรือวาโยตามสืบสาย | |
ท่องไปไม่วุ่นวาย | สมาธิก่อเกิดมา | |
จิตตกสู่ภวังค์ | บังเกิดมีนิมิตหนา | |
ยามหลับท่านเรียกว่า | คือการฝันนั่งแหละคุณ | |
ยามทำสมาธิ | วิริยะพาเกื้อหนุน | |
นิมิตเกิดเป็นบุญ | สามระดับเรียกต่างกัน | |
แรกเริ่มจิตแนบนิ่ง | สิ่งที่เป็นอารมณ์สรรพ์ | |
นิ่งด้วยสื่อสัมพันธ์ | กับอารมณ์บังเกิดมี | |
บริกรรมสมาธิ | ยังมิมั่นนานวิถี | |
เสื่อมง่ายยังมิดี | พึงพากเพียรฝึกต่อไป | |
ภวังค์ระดับสอง | ครองนิมิตจิตแจ่มใส | |
หลับตายังเห็นได้ | ดวงนิมิตติดตรีงตรา | |
นิมิตอุคคหะ | จะช่วยให้ใจมั่นหนา | |
ฝึกฝนจนก้าวหน้า | ระดับสามควรชื่นชม | |
ปฏิภาคเป็นนิมิต | จิตแนบแน่นนิมิตสม | |
ควบคุมตามนิยม | เปลี่ยนรูปสีตามพอใจ | |
สมาธิระดับนี้ | ก้าวหน้าดีมิสงสัย | |
หยั่งลงอัปณาได้ | ระดับสูงน่ายินดี | |
อารมณ์กัมมัฎฐาน | ท่านกล่าวมามากวิถี | |
สี่สิบกลมากมี | เลือกกระทำตามอารมณ์ | |
ผลฝึกอย่างเดียวกัน | มีสามชั้นสมาธิ์สม | |
สมถะชนนิยม | สมาบัติคือปลายทาง ฯ | |
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
กาพย์สอนหลาน เรื่องอริยสัจ ๔ | ||
๓.๒ กาพย์ฉบัง ๑๖ | ||
o..อริยสัจสี่อ้าง | มรรคคือเส้นทาง | |
ปฏิบัติธรรมแปดประการ | ||
o..สัมมาทิฐิประสาน | เห็นชอบชำนาญ | |
รู้เหตแหละผลชั่วดี | ||
o..สัมมาสังกัปคุณมี | ดำริชอบที่ | |
คิดอ่านถูกต้องคลองธรรม | ||
o..สัมมาวาจาถ้อยคำ | สุจริตน้อมนำ | |
พูดจาพาทีงดงาม | ||
o..สัมมากันมันตะยาม | ชอบธรรมกิจการ | |
สุจริตมิผิดบาปกรรม | ||
o..สัมมาอาชีพที่ทำ | ดีงามศีลนำ | |
มิผิดศีลวัตรจรรยา | ||
o..วิริยะสัมมา | สติแก่กล้า | |
สมาธิมั่นคงจำเริญ | ||
o..มรรคแปดดำเนิน | ครบถ้วนดีเกิน | |
เกิดอริยสัจจา | ||
o..สมุทัยปัญหา | ก็จักมีมีมา | |
ระงับด้วยมรรคบริบูรณ์ | ||
o..ตัณหาระงับดับสูญ | มรรคดังกองกูณฐ์ | |
เผาผลาญจนดับระงับไป | ||
o..เหตุดับทุกข์ดับดังไฟ | หมดเชื้อดับได้ | |
หมดร้อนสงบสนิทเย็น | ||
o..เยเกจิสมุทยังเห็น | ดับเหตุจึงเป็น | |
ความดับสนิทแท้จริง ฯ | ||
ขุนทองประพันธ์ | ||
กาพย์สอนหลาน เรื่องอธิษฐานธรรม ๔ | ||
๓.๓ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ | ||
o.. | อธิฐานธรรม | |
จิตใจผู้นำ | ตั้งไว้ทางดี | |
ห่างฝ่ายบาปกรรม | น้อมนำส่งศรี | |
คุณงามมากมี | สั่งไว้เป็นคุณ | |
o.. | หนึงคือปัญญา | |
ฉลาดวิทยา | สั่งสมเกื้อหนุน | |
เหตุผลควรชอบ | สอบสวนเป็นบุญ | |
จำเริญการุณ | จำรัสพัฒนา | |
o.. | สัจจะจริงใจ | |
ฝังอยู่เนื้อใน | หนักแน่นอุรา | |
สามกรรมแน่ชัด | วิวัฒนา | |
ซื่อสัตย์นำพา | เชื่อมั่นคุณธรรม | |
o.. | จาคะอุปสรรค | |
ทำดีชอบหัก | ขัดขวางกิจกรรม | |
ละเลยเสียหาย | กับกลายถลำ | |
ปละปล่อยอาจนำ | เสียหายมากมี | |
o.. | อุปสมะใจ | |
สงบเสียได้ | จักมิเสื่อมศรี | |
มองเห็นทางเดิน | จำเริญดูดี | |
คุณธรรมนำชี้ | ที่ถูกที่ควร | |
ขุนทอง ประพันธ์ | ||
กาพย์สอนหลาน ความไม่ประมาทในที่ ๔ สถาน | ||
๓.๔ กาพย์สุรางคนางค์ ๓๒ | ||
o..อันการวางตน | คนเก่าชี้ชวน | |
ลูกหลานก็ล้วน | เชื่อฟังยินดี | |
ทำบุญตักบาตร | มิขาดนวลศรี | |
กตเวที | ผู้มีพระคุณ | |
o..ถือศีลห้าข้อ | มิรอวันศีล | |
บาปมาถึงตีน | ยกข้ามเป็นบุญ | |
มดแมงก็รอด | ปลอดภัยใคร่หนุน | |
งดงามสกุล | จรรยาน่าชม | |
o..อทินนาทาน | เรื่องการรับเอา | |
สิ่งของที่เขา | มิให้ไม่สม | |
เหมือนโจรนั่นไง | มิใช่นิยม | |
ข้อสามคำคม | อย่าหลงเมียใคร | |
o..ลูกสาวเขาหวง | อย่าล่วงลุเกิน | |
อย่าจีบจนเพลิน | มิงามสดใส | |
เขาเรียกเจ้าชู้ | อดสูจริงไหม | |
ละเว้นห่างไกล | มงคลจรรยา | |
o..วจีทุจริต | นึกคิดไถ่ถาม | |
พูดดีทุกยาม | ละทุวาจา | |
พูดปดส่อเสียด | รังเกียจมุสา | |
สัจจะปัญญา | คุณค่ามากมี | |
o..มโนทุจริต | กรรมคิดสำคัญ | |
จำแนกต่างกัน | หนึ่งโลภวิธี | |
สองโทสอาฆาต | พยาบาทกาลี | |
โมหะท่านชี้ | ลุ่มหลงงมงาย | |
o..สุดไม่ประมาท | องอาจงดงาม | |
ทิฐิจริต | นึกคิดสัมมา | |
ถูกต้องดีไซร้ | ห่างไกลมิจฉา | |
กุศลพัฒนา | รุ่งเรืองจำเริญ | |
ขุนทองประพันธ
|
||
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น