วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562
ข้อบกพร่องในการแต่งกาพย์ยานี ๑๑
เยี่ยมเคารพอนุสาวรีย์สุนทรภู่
ผมเขียนกาพย์ยานี ๑๑ มาก่อนร้อยกรองชนิดอื่น ๆ นา ว่าปากเปล่าได้ไม่ติดขัด รู้จักข้อบกพร่องของคำกาพย์ดี จนพอจะเขียนเล่าให้ผู้สนใจอ่านเล่นได้ อ้อ อ่านแล้วอย่าเชื่อ จนกว่าจะได้พิจารณา ชอบด้วยเหตุผล ถึงเชื่อนะครับ ขอบคุณ
ขุนทอง ศรีประจง
3 กันยายน 2562
..อ่านกาพย์ยานี ๑๑ (โพสใหม่ พย.2562)
-------------------------
ปัญหาที่มักพบได้แก่ :---
.. .....1. ใช้คำขาด ๆ เกิน ๆ กาพย์ยานี ๑๑ วรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ เป็นเช่นนี้ทุกบาท ควรใส่คำให้ครบตามนั้นถ้าใส่ไม่ครบก็กลายเป็นกาพย์ชำรุด ไม่ดี
จะลองแต่งกาพย์ยานี................อ่านเพราะดีไม่มากคำ จะ ใส่ให้เกิน
เป็นบทให้เด็กท่องจำ.................ก็ดูง่ายมิน่าเกรงกลัว เด็ก และ เกรง ใส่เข้าไปให้คำเกิน
บงเนื้อก็เนื้อเต้น..........................พิศเส้นสรีรัว
ทั้งร่างและเนื้อตัว.......................ก็ระริกระริวไหว
แลหลังละลามโล ........................หิตโอ้เลอะหลั่งไป
เพ่งผาดอนาถใจ......................... ระกะร่อยเพราะรอยหวาย
อ่านสามัคคีเภท...........................ตอนเกิดเหตุพรามหณ์เป็นสาย
โดนเฆี่ยนเจียนชีพวางวาย...........ทำเป็นหนีเพราะราชทัณฑ์ วาง เพราะ ใส่ให้คำเกิน
ที่แท้เป็นสายลับ...........................จับข่าวสารในเขตขัณฑ์
ลิจฉวีเมืองสำคัญ..........................สามัคคีเขาแกร่งเกิน
ยามเกิดภัยภิบัติ............................ทุกเมืองจัดการประเมิน
ช่วยดับภัยเจริญ...........................แก้ปัญหาสารพัน
คราวหนึ่งแคว้นมคธ.....................ปรากฏเจ้าคนสำคัญ
อชาติศัตรูนั้น.................................หวังจักตีลิจฉวีพลัน
พอทราบเรื่องราวนั้น.....................ต้องรบพุ่งหลายสิบเมือง
คงเอาชนะยาก..............................หากทำศึกยุให้เคือง
หาทางให้เกิดเรื่อง........................ให้แตกแยกสามัคคี
ภาระวัสสการ.................................พราหมฑ์เชี่ยวชาญกลวิถี
อาสาไปทำที.................................ไปขอหลบราชภัย
เขาให้เป็นครูสอน..........................ประชากรมิสงสัย
มินานก็สุมไฟ................................สามัคคีพังทลาย
ส่งข่าวไปมคธ...............................ศึกปรากฏจึงเสียหาย
บ้านเมืองก็วอดวาย.......................เพราะภัยแตกสามัคคี ฯ
........2.แต่งครบก็จริง แต่มีแต่งคร่อมจังหวะ อ่านสะดุด จังหวะของกาพย์ยานี นิยม 2 - 3 และ 3 - 3 ตัวอย่าง สองบทแรกแต่งตามปกติ ส่วนสองบทหลัง จะแต่งให้คร่อมจังหวะ ใช้เป็นตัวอย่างให้ดูจะได้เทียบเคียงง่าย และรู้ว่าจังหวะกาพย์สำคัญมาก
ยานีสิบเอ็ดคำ................เคยจดจำไว้เสนอ
...ตรองแต่งจะต้องเจอ...........สองกับสามวรรคหน้าดี
....วรรคหลังสองจังหวะ.........เป็นคู่กะตรงวิถี
อ่านง่ายแลเพราะมี...............จังหวะชี้งามกาพย์กลอน
หากแม้นจังหวะเคลื่อน..........กาพย์เลื่อนครูมิเคยสอน
อ่านลำบากทุกตอน...............ถึงคำจักครบไม่ดี
นับจำนวนคำครบ..................พบคร่อมจังหวะวิถี
ใครจะแต่งแบบนี้......................อ่านก็สะดุดอย่าทำ ฯ
........2. คำลงท้ายวรรค บทหนึ่งแต่ง 4 วรรค คำท้ายวรรคไม่นิยมคำมีรูปวรรณยุกต์ ถ้ามีก็ไม่ได้ผิด แต่เป็นกาพย์ไม่สวย แต่งประกวดหักคะแนนได้ เพราะทำให้เสียงอ่านไม่เพราะ
ยานีกาพย์สี่วรรค......................คนรู้จักแต่งได้ดี
วางคำเหมาะควรชี้....................สมฝึกปรือเลื่องลอนาน
บางคราวก็ผิดพลั้ง....................มิระวังท้ายวรรคขาน
วรรณยุกต์โผลมาบาน................กาพย์มิสวยบอกให้รู้
อ่านกาพย์อยู่ดีดี........................ลงท้ายมีคำรื่นหู
ไม้โทไยมิดู...............................ปล่อยมาได้ไม่ระวัง ฯ
........3. ใช้คำภาษาพูด ภาษาปาก ต้องใช้อย่างมีศิลปะ ถ้าใช้ไม่ระมัดระวัง จะกลายเป็นจุดบกพร่อง ได้
.......อ่านบทกาพย์ยานี.............เห็นเขามีคำเสกสรรพ์
พูดจาแปลกนักนั่น....................หนุ่มเกี้ยวหนูดูพูดจา
มันบอกกูชอบเอ็ง.......................อยากจะเร่งพ่อไปหา
สู่ขอกับพ่อตา..............................เอาเอ็งมาเป็นคู่ครอง ฯ
........4. ชอบใช้คำศัพท์ภาษาต่างชาติ ที่ยังไม่นิยม เช่นคำบาลี คำอังกฤษ เว้นคำที่ยอมรับกันทั่วไปแล้ว
ชอบใช้คำศัพท์แสง................แกล้งเป็นว่าข้าชำนาญ
เอกซ์เปิร์ทบาลีลาน....................ปริวัตต์สบายสบาย
ทูเดย์ใช่ทูทอด............................มันสุดยอดแม่ค้าขาย
สาวสวยหนุ่มมากมาย..................แวะเวียนซื้อสองสามครา
ได้ไปตัวหนึ่งก่อน........................สักครู่จรกลับมาหา
ขอซื้ออีกตัวบ้า............................แค่อยากจีบสาวนั่นแล
จีรกาลมั่วมากเข้า........................ยกสาวเจ้ามิแยแส
สินสอดใจถึงแท้..........................สมรสกับสาวปลาทู
อยู่กินบ้านมาณพ........................พบคงคุ้มมากนักหนู
ใช้ผัวเก่งน่าดู..............................สมน้ำหน้าหลงภรรยา ฯ
........5. ใช้ถ้อยคำไม่สุภาพ หยาบคาย
กูชื่ออ้ายขุน..........................................บุญที่มึงได้เห็น
ปางก่อนกูก็เป็น......................................ถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน
มีเมียสักสามสิบ......................................ริบมาเอาแทนทรัพย์สิน
พ่อแม่มันโง่กิน........................................เกินฐานะจึงยากจน
มายืมข้าบ่อยบ่อย...................................เอาสาวน้อยยามขัดสน
มาใช้หนี้เป็นคน......................................มันน่ารักนวลอนงค์
ตอนแรกก็ดีดอก.....................................นานเข้าออกจะไหลหลง
เมามัวเป็นมั่นคง.....................................แทบชีพวายตายแน่นอน
ขอบวชหนึ่งพรรษา................................ภรรยาสายสมร
ทำบุญหนาบังอร....................................ออกพรรษาค่อยมาเอา ฯ
.........6..สัมผัสนอกคือสัมผัสบังคับ บทหนึ่ง ๆ จะมี 2 จุดสำคัญ คือ ท้ายวรรคที่ 2 มีหน้าที่รับสัมผลคำท้ายบทต้น กรณีแต่งติดต่อกันหลาย ๆ บท จุดที่สองคือสัมผัสบังคับในบท มีสองคู่คือ คำท้ายวรรคแรก กับคำที่ 3 วรรคสอง อีกคู่คือคำท้ายวรรคที่สอง กับคำท้ายวรรคที่ 3 ส่วนวรรคที่ 4 ปล่อยว่าง คำท้ายบท ถ้าแต่งบทถัดไป จะใช้คำท้ายบทเป็นคำส่งสัมผัสให้บทถัดไป
สัมผัสกาพย์ยานี....................แบบแผนชี้สองสัมพันธ์
วรรคหนึ่งและสองนั้น.............คำท้ายวรรคหนึ่งส่งไป
วรรคสองคำสามรับ................จับให้มั่นมิสงสัย
คู่สองจะบอกให้......................ท้ายวรรคสองวรรคสามตรง
ในบทสองคู่นี้..........................จำให้ดีอย่าลืมหลง
แต่ได้เป็นมั่นคง......................กาพย์เสนาะเพราะอ่านเพลิน
.........7. เห่อเล่นสัมผัสใน ควรเล่นสัมผัสพยัญชนะจะดูดีกว่า เพราะจำนวนคำน้อย วรรคละ 5 และ 6 คำเอง เล่นมากก็รกเปล่า ๆ
กาพย์ยานีดีเสนาะ..................อ่านก็เพราะเสนาะหู
ลองเขียนเพียรตามครู...........ได้ความรู้ดูมากมาย (เพลินจนลืมสัมผัสเลื่อน)
แก้กาพย์กรองกลคำ..............จักจดจำหลักมีหลาย
เล่นคำควรคมคาย..................เสียงเสนาะเสาะสรรค์มา (แก้ไขมาเล่นสัมผัสพยัญชนะแทน)
.........8. สัมผัสซ้ำ ในเส้นสายสัมผัสบังคับ ห้ามใช้คำซ้ำ หรือต่างรูป แต่เสียงเดียวกัน มาใช้ส่ง-รับสัมผัสกัน เชน คำ สัน สรรพ์ สันต์ สันติ์ ถือเป็นคำที่มีเสียงเดียวกัน ไม่ให้ใช้ ขัน ขันธ์ ขรรค์ ไม่ควรใช้ เป็นต้น
ยานีเลือกคำสรรพ์....................จะเสกสันต์เสนาะเสียง
ราวนกเจ้าจำเรียง......................จ้อกจอแจระงมไพร
ริมธารมีมะเดื่อสุก......................ปักษีสุชมิสงสัย
โผผินบินหาไทร........................โพรดกนกเขาคู
.........9. คำเสียงสั้น กับคำเสียงยาว ไม่ให้ใช้สัมผัสบังคับ เสียง อะ -อา นะ....นา จั น....จาน
กลากานต์ระวังนะ.....................สัมผัสมาผิดเพี้ยนหนอ
อะอานี่ไม่พอ...............................มิใช่เสียงสัมผัสกัน
เช้าตื่นมาวันจันทร์.....................จนอังคารค่อยสานฝัน
ดีใจอะไรปาน..............................โรงเรียนหยุดไปเที่ยวเพลิน
.........10. คำลงท้ายบท ไม่ควรใช้เสียงเดียวกันติด ๆสำหรับบทกลอนที่แต่งติดต่อกันหลายบท สมมติ
ลงท้ายกาพย์เสียงใด..................แต่งต่อไปหลายบทดี
จบบทณตรงในี้............................กำหนดใช้สระไอ
แต่งต่อมิยุ่งยาก...........................คำมีหลากมิสงสัย
เรื่อยเรื่อยหลั่งมาไง......................แปลกดีนะชักยังไง
สองบทจบเสียงเดียว..................พอแลเหลียวก็แปลกใจ
เป็นกลอนสระไอ..........................ปล่อยมันไปเลยตามเลย ฯ
.........11. คำคู่ที่ถือเป็นคำมาตรฐานไปแล้ว ไม่ควรนำมาสลับตำแหน่งหน้าหลัง มีคำไหนบ้าง ต้องตรวจดูพจนานุกรมจะได้ความหมายที่ถผูกต้อง เช่น พี่น้อง........น้องพี่ อุ่มชู....ชูอุ้ม ชื่อเสียง...เสียงชื่อ ผิดแผน.......แผนผิด บางคำสลับแล้วความหมายเปลี่ยนไป ใช้ตามปกติดีที่สุด
ยานีบอกพี่น้อง...........................คำที่คล้องสืบเสาะหา
นานแล้วเสาะสืบมา.....................ยังมิเห็นช่างยากเกิน
เห็นมิลืมแล้วนาน........................มิเป็นการยังนึกเขิน
การเป็นแบบเพลินเพลิน...........นานแล้วชักเลือนลาง
.........12. ใช้คำสัมผัสเพี้ยน ๆ ดูรูปคำนึกว่าจะสมผัสกันได้ แต่ลองอ่านดูจะรู้ได้ว่าคนละเสียง เช่น เล็ก เป็ด เลข เป็นคำประสมสระ เอ เหมือนกัน แต่ตัวสะกดต่างกัน เลยออกเสียงต่างกัน
พากเราเหล่าเด็กเด็ก...............มาเรียนเลขกันเถิดหนา
เรียนง่ายเข้าใจครัน...................มาเรียนดูจะเข้าใจ
นี่ทศนิยม..................................นิยมสิบหน่วยความหมาย
หน่วยย่อยต่ำศูนย์ไง.................หน่วยละสิบแจกลงไป
..........14. แต่งไม่ระวังกลายเป็นกาพย์แบบมีละลอกทับละลอกฉลอง ยังกะกลอนแปด ละลอกทับ หมายถึงการมีรูปและเสียงวรรณยุกต์เอกหรือโท ในคำสุดท้ายของวรรครับและวรรครอง ละลอกฉลอง หมายถึงมีรูปและเสียงวรรณยุกต์เอกหรือโทในคำสุดท้ายของวรรคส่ง ไม่ได้ผิดแตไม่สวย
เขียนห้าจุดหนึ่งหนั้น....................คำสำคัญเป็นไฉน
หน่อยย่อยกว่าศูนย์ไซร้...................แจกเป็นสิบหน่วยนั่นแล
ใช้เลขศูนย์ถึงเก้า...........................นับรวมเข้ามิผันแปร
เท่ากันหนึ่งจริงแท้...........................ค่าหนึ่งจุดทศนิยม
เอาหนึ่งจุดแจกต่อ..........................ก็มีสิบย่อยงามสม
ตำแหน่งที่สองชม............................เข้าใจคิดร้อยหน่วยงาม
..........15. ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ในบทกลอนโดยไม่มีเหตุผลสมควร ชัดเจน อ้อคำสมัยหนึ่งอาจหยาบคายเมื่อพูดในอีกสมัยหนึ่ง เช่นคำ เอา กู มึง สมัยนี้เป็นคำหยาบไปแล้ว
เออเล่าเรื่องของกู...............................อยากรู้นักหรือพวกเอ็ง
ครั้งก่อนเป็นนักเลง............................เบ่งไปทั่วมิกลัวใคร
เดินผ่านแผงแม่ค้า............................แค่มองตาเป็นไฉน
มันห่อขนมให้....................................เอาไปกินเถอะพ่อคุณ
แต่แผงยายป้าดา...............................มิกล้าเบ่งกลัวแกฉุน
ห่างไว้จักเป็นบุญ...............................ก็เมียกูเป็นลูกแก
..........16. ใช้คำภาษาพูด ภาษาปาก เว้นแต่ใช้เป็นการบอกเล่า การสนทนา ขะเจ้า ข่าน้อย ยาคู ยาพ่อ
งามแต้หนอหมู่เจ้า...............................ล้วนผู้เยาว์บ้านอยู่ไส
ผู้ข่ามาแต่ไกล.....................................ไทเมืองเลยเด้อข่าน้อย
ขะเจ้าจากเจียงฮาย.............................คนเมืองปายบ้านเติงดอย
ผู้งามนักเรียบร้อย.................................ยินดีนักฮู้จักเจ้า
..........17. ใช้คำภาษาต่างประเทศแบบคำทับศัพท์ เว้นแต่คำที่นอยมใช้กันทั่วไป เช่น เวอรีกู๊ด
บิวทิฟูล โก สกูล โก โฮม กู๊ดบาย คำไทย ๆ มีใช้อยู่ก็ดูดีแล้ว แต่คำบาลีสันสกฤต กลับบอกว่า
เป็นศัพท์ชั้นสูง เช่น ขันติ วิริยะ หิตประโยชน์
...........18.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น