............เวสสันดรคำกลอนชุดนี้ กระผมเขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ให้คนอ่าน ได้รู้เรื่องราวนิทานชาดกสำคัญ ที่สมัยก่อนนำมาเทศน์สอนชาวบ้านช้วงเดือนสี่ จนกลายเป็นฮีตเดือนสี่ ทำบุญพระเวสส์ ปัจจบันความนิยมทำบุญฟังเทศน์ดังกล่าวเสื่อมความนิยมไป ก็อยากให้ผู้อ่านได้รู้เรื่องราวชาดกเรื่องนี้ ทำไมคนสมัยก่อนอยากให้ได้ฟัง ได้รู้กันนัก ผมนำมาถ่ายทอดด้วยกลอนแปด เพื่อให้อ่านได้ง่าย และไม่ยาวเกินไป โอกาสจะอ่านจบ ๑๓ กัณฑ์ก็ไม่ยากอะไร เพราะแค่ ๘๒๘ บรรทัดเอง -------------------------------------------------------------------------------------- |
|||
มหาเวสสันดรคำกลอน โดยขุนทองศรีประจง | |||
------------------------------------------------------------------------------------- | |||
ถึงเดือนสี่มีบุญมหาชาติ | ตามประกาศเฒ่าจ้ำนำบอกขาน | ||
สิบสี่ค่ำโฮมบุญเริ่มของงาน | สิบห้าท่านฟังเทศน์ตลอดวัน | ||
แรมค่ำหนึ่งเก็บกวาดมวลขยะ | ภาชนะสิ่งของทุกสิ่งสรรพ์ | ||
ทำสะอาดศาลาฟังเทศน์กัน | ออกมากันช่วยพระจะได้บุญ | ||
มีคนถามฟังเทศน์สนุกไหม | เคยมีใครฟังจบไหมตาขุน | ||
ยากเหมือนกันแต่เช้าจบคอยลุ้น | ห้าโมงเย็นอุ่นใจจบพอดี | ||
ขับตำนานงานเทศน์แต่ก่อนเก่า | เอาแค่เพียงสามวันหนานวลศรี | ||
วันแรกแห่อุปคุตเช้ามืดที | ทางบ้านมีข้าวพันก้อนมาแห่กัน | ||
ไปถึงวัดนิมนต์อุปคุต | หยุดบนศาลจัดวางเขาสร้างสรรค์ | ||
บริขารครบแปดนี่สำคัญ | อรหันต์สมมติท่านครูบา | ||
ข้าวพันก้อนบูชาพากระหย่อง | มองไปที่โคนเสาธุงนั่นหนา | ||
ปักรายรอบเรียงรายข้างศาลา | ติดพานพากระหย่องวางธูปเทียน | ||
ข้าวพันก้อนวางได้ทีละก้อน | ตอนเสร็จงานเขาเก็บแยกพากเพียร | ||
รวมเป็นเครื่องครุพันมิอาเกียรณ์ | ปีหน้าเวียนมาใช้ได้สบาย | ||
เสร็จการแห่ขึ้นศาลามาไหวพระ | จะรับศีลฟังเทศน์พิเศษหลาย | ||
หกโมงเศษษเริ่มต้นมิวุ่นวาย | สาธยายมหาชาติประกาศกัณฑ์ | ||
บทนำมาลัยหมื่นมาลัยแสน | |||
พรัมมาจโลกาธิปติ | ญาติโยมริเริ่มงานมงคลสรรค์ | ||
นิมนต์ท่านหลวงตามาพร้อมพลัน | อภิวันทน์นิมนต์เทศนา | ||
นะโมตัสสะภควโม | โอกาสนี้จักเริ่มปฐมา | ||
เหตุต้องฟังมหาชาติตามศึกษา | คราหนึ่งพระเถระผู้ทรงฌาน | ||
นามมาลัยเถระชาวสิงหล | ไปเมืองบนดาวดึงส์ด้วยอาจหาญ | ||
ไหว้พระธาตุเกศแก้วจุฬาท่าน | ได้พบพานเทพไทที่เวียนมา | ||
มีหนึ่งท่านทรงนามพระเมตไตรย | กาลต่อไปจักลุไตรสิกขา | ||
เป็นอนุตตระสัมพุทธศาสดา | สนทนาโดยธรรมวาที | ||
ถามถึงการบำเพ็ญโพธิยะ | จักสัมฤทธิ์ปลายกัปป์ตามวิถี | ||
ถามถึงชนมาดประสงค์จักเกิดมี | คราวมีพุทธศาสนายุคพระองค์ | ||
จักต้องทำไฉนจะได้หวัง | เสร็จสมดังตามได้ใจประสงค์ | ||
ท่านบอกให้ใฝ่ผลกุศลบุญ | บำเพ็ญคุณทางชอบระบอบการ | ||
กิจทำบุญมหาชาติสักหนึ่งครั้ง | ตั้งใจฟังเทศน์จบด่วยใจหาญ | ||
ในวันเดียวจดจำนัยนิทาน | มโหฬารบุญได้มากมายมี | ||
จะได้เกิดพบกันทันศาสนา | อาริยเมตไตรยได้เสริมศรี | ||
อาจได้ลุมรรคผลกรณี | แล้วแต่มีวาสนาผลาบุญ | ||
พระมาลัยกลับโลกชุมชาวบ้าน | ได้ฟังท่านบอกเล่าเข้าใจหนุน | ||
ขยันกิจละบาปก่อการุณ | กุศลปุนปองสร้างทางจำเริญ | ||
ชำระจิตผุดผ่องต้องสะอาด | สามหลักปราชญ์สั่งสอนมิขาดเขิน | ||
สิ่งที่หวังคงได้ใช่บังเอิญ | เพราะดำเนินกิจกุศลพลบุญ | ||
จบนิทานมาลัยหมื่นแลแสน | เริ่มสู่แดนมหาชาติคาดบุญหนุน | ||
------------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบมาลัยหมื่นมาลัยแสน | เริม ๑ กัณฑ์ทศพร ๑๙ พระคาถา | ||
------------------------------------------------------------------------------------ | |||
ปฐมบททศพรเจริญคุณ | สิบเก้าสุนทระกถาสถาพร | ||
เริ่มนิทานเล่าถึงแต่ปางก่อน | ตอนทวยเทพผุสดีสิ้นสุดวาร | ||
มีตำนานบอกเล่าก่อรเก่ามา | คราต้องลงเมืองมนุษย์จุดไขขาน | ||
เคยสั่งสมบารมีอธิการ | เป็นมารดาโพธิสัตว์เป็นมั่นคง | ||
ลางบอกเหตุถึงคราวจักจุติ | เบื่อวิมานร้อนจิตพิศวง | ||
เครื่องประดับงดงามตามที่ทรง | กลับหมองลงมิงามตามที่เป็น | ||
สามภูษาเครื่องทรงผลงกต | หมดสง่าดูหมองตรองตามเห็น | ||
พระเสโทโทรมกายทนยากเย็น | รังสีเช่นจะอัเฉาชวนเศร้าใจ | ||
นิมิตห้าเกิดมาคราสิ้นสุด | จักจุตติม่นคงมิสงสัย | ||
รีบรุดเฝ้าอินทาเทวราช | จักคลาคลาดลงเกิดประเสริฐสมัย | ||
ขอพระพรสิบประการพระทรงชัย | ประทานให้สมประสงค์จำนงนวล | ||
หนึ่งขอให้ได้ประทับสีพีราช | ร่วมครองราชเวียงวังดังสงวน | ||
สองมีเนครคมขำงดงามควร | ชวนชื่นชมดุจนัยนาทราย | ||
งามขนงเขียวสดดังสร้อยศอ | มยุราพอกันคิ้วโฉมฉาย | ||
สี่ขอนามผุสดีมิกลับกลาย | ห้าลูกชายยิ่งใหญ่บารมี | ||
ใฝ่กุศลผลบุญคุณประเสริญ | เป็นหนึ่งเลิศน่าชมสมศักดิ์ศรี | ||
โพธิสัตส์ยิ่งใหญ่ในปฐพี | ขออย่ามีพระครรภ์ป่องมิงดงาม | ||
พระถันงามสดสีมิมีเหี่ยว | มิได้เกี่ยววัยชราน่าเกรงขาม | ||
ดังสาวรุ่นรูปทรงของนงราม | สง่ายามพบเห็นเป็นมงคล | ||
แปดเกศาดำดุจปีกแมงภู่ | ฉวีดูดังสุวรรณโดยกุศล | ||
มีอำนาจช่วยเหลือเกื้อทุชน | ให้หลุกพ้นโทษประหารเหลือจำจอง | ||
คงตลอดชีวิตก็พอแล้ว | ช่วยให้คล้วโทษตายคลายใจผอง | ||
กลับมาทำความดีตามครรลอง | สมควรต้องสั่งสอนให้กลับใจ | ||
สิบประการขอพรเทวราช | มีประกาศประทานมิสงสัย | ||
กราบทูลลาพระองค์สหัสสนัย | จุติไปบังเกิดในโลกา | ||
--------------------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบ๑กัณฑ์ทศพร | เริ่ม ๒ กัณฑ์หิมพานต์ ๑๓๔ คาถา | ||
----------------------------------------------------------------------------------------- | |||
เทพบุตรจุติลงมนุษย์โลก | โชคได้เกิดในวังอลังการ | ||
มัทราชราชวังบริพาร | ชื่นชมท่านกุมารีถวายพระพร | ||
ทรงพระนามผุสดีนารีเลิศ | งามประเสริฐยอดหญิงมั่งสมร | ||
เจริญวัยงดงามสวัสดิ์บวร | นาถบังอรเลิศลักษณ์ศิริวิมล | ||
ต่อมาชาวสีพีมีประกาศ | สู่ขอนาถเป็นรานีมิสับสน | ||
แห่งพระเจ้าสญชัยเกริกไกรกล | จันทร์เจิดจนส่องสว่างกลางนภา | ||
ครองสมับัติรัชกาลสราญ์เลิศ | สิ่งประเสรฺฐลาภยศปรากฏหนา | ||
สรรเสริญสุขแรงหนุนเพราะบุญญา | เพชรจินดาไหลหลั่งคลังไพบูลย์ | ||
สองสุขสองสมสองทรงครองราชย์ | พระหน่อนาถบุญใหญ่ครองไอศูรย์ | ||
คราหนึ่งเสด็จเลียบกรุงสีพี | พระผุสดีประสูติราชบุตรวิบูลย์ | ||
เวสสนดรพระโอรสอนุกูล | ฉัททันต์ทูนถวายเศวตคชาธาร | ||
นัยว่าเป็นคู่บุญลงมาเกิด | สิ่งประเสริฐสี่แหล่งมหาศาล | ||
ขุมทรัพย์ใหญ่เกิดด้วยอำนวยการ | พระกุมารจักเพ็ญบุญบารมี | ||
ปัจจนาคนาเคนทร์นามช้างเผือก | ดังทรงเลือกฟ้าฝนดลวิถี | ||
ล้วนอุดมสมบูรณ์พูนทวี | ชาวธานีสุขสันต์สถาพร | ||
เจ้าชายเวสสันดรใจบุญ | ชอบเกื้อหนุนเพ็ญกุศลสโมสร | ||
เปิดโรงทานสี่ทิศทรงบทจร | ประชากรรอรับบำเพ็ญทาน | ||
เสร็จที่หนึ่งจึงผ่านไปที่สอง | ชาวเมืองจ้องภูวนัยต่างไขขาน | ||
อยากจะเห็นพระองค์ยามทรงงาน | สุขสราญที่ได้ชมพระบารมี | ||
กล่าวถึงเรื่องเมืองกลิงคราษฎร์ | ภัยประหลาดผู้คนหม่นหมองศรี | ||
เกิดภัยแล้งนับนานถึงเจ็ดปี | คนไม่มีธัญญาหารลำบากลำบน | ||
ยินข่าวเมืองสีพีไม่มีแล้ง | ดังเทพแต่งน้ำท่าทุกแห่งหน | ||
ล้วนอุดมสมบูรณ์ประชาชน | ไร่นาผลดีมากมิยากการ | ||
ล้วนเพราะบารมีองค์กษัตริย์ | จึงขจัดเภทภัยแผ่ไพศาล | ||
ทั้งยังมีปัจจนาคคชาธาร | ช่วยบัลดาลฟ้าฝนชลธา | ||
หากแม้นเมืองกลิงมีบุญบ้าง | จืดต่อทางสีพีสืบเสาะหา | ||
ขอช้างต้นปัจจนาคเดินทางมา | อยู่พาราจักหยุดแล้งได้แน่นอน | ||
พระราชาเห็นด้วยให้ช่วยคัด | พราหมณ์สันทัดการขอเคยฝึกสอน | ||
ล้วนระดับพ่อครูไปวิงวอน | คชาธรขอได้ไม่ยากเย็น | ||
คณะพราหมณ์แปดคนรับมอบหมาย | บ่ายหน้าไปสีพีแสนทุกข์เข็ญ | ||
หนทางไกลบุกป่าฝ้าดงเป็น | เจ็บป่วยเห็นลำบากหากอดทน | ||
พบแม่น้ำข้ามมาว่าลำบาก | ยิ่งยุ่งยากเขาเขินแลไพรสณฑ์ | ||
นานนับเดือนเขตสีพีที่กังวล | พบผู้คนถามไถ่จนได้ความ | ||
พ่อเมืองทานเมตตามหาเวสส์ | เชษฐ์บุรุษยิ่งใหญ่ใครก็ขาม | ||
ชอบตรวจตราบ้านเมืองทุกเขตคาม | ยามพบเห็นปวงประชาท่านอาดูร | ||
ถามสุขทุกข์บางคนเดือดร้อนหนอ | กราบทูลขอทรงช่วยด้วยเกื้อกูล | ||
เมตตาท่านมากมีทวีคูณ | ท่านเพิ่มพูนบารมีด้วยปรีชา | ||
อภิษกเจ้าหญิงมัททราษฎร์ | นามพระนาถมัทรีกนิษฐา | ||
งดงามเยี่ยงหญิงงามเทพธิดา | จุติมาจากสวรรค์กํดุจกัน | ||
พระเจ้ากรุงสญชัยสละราชย์ | ให้ฝ่าบาทพระเวสสวิเศษสรรพ์ | ||
เป็นราชาสีพีเลิศราชัน | บ้านเมืองนั้นสงบสุขสถาวร | ||
ต่อมามีโอรสและธิดา | คือกัณหาชาลีศรีสมร | ||
เป็นสุดรักแห่งบิดาพระมารดร | ประชากรชมชื่นพระบารมี | ||
กิจวัตรราชามหาเวส | ชอบตรวจเขตพาราสาวถี | ||
ดูสุขทุกข์ปวงประชาชาวบุรี | ทุกข์ภัยชี้ช่วยเหลือเกื้อบรรเทา | ||
ชาวประชาสรรเสริญเจริญสิ้น | ยินดียิ่งพระราชาแห่งพวกเขา | ||
ทศพิธคุณธรรมล้ำชาญเชาวน์ | ทรงถือเอาเป็นวัตรพิพัฒนา | ||
ชาวพาราสีพีสุขีสงบ | พบกษัตริย์ทรงคุณอุ่นหรรษา | ||
สุนติสุขทั่วไปในพารา | ปวงประชาแซ่ซ้องพระภูมี | ||
กล่าวถึงเมืองห่างกันกลิงคราฎร์ | อุบาทว์แห้งแล้งนักดังยักขี | ||
มาสาปแช่งแกล้งคนลนอัคคี | ชีวีแทบดิบดิ้นสิ้นพารา | ||
ราชครูผู้คนเสาะทางแก้ | นับตั้งแต่เรื่องง่ายธรรมดา | ||
แหนางด้งนางแมวก็ทำมา | มัมีท่าฝนจะตกมันแล้งเกิน | ||
ข่าวทางเมืองสีพีอุดมสุข | ทุกแห่งหนชลธามิขาดเขิน | ||
ข่าวลือว่าราชาท่านบังเอิญ | ทรงเจริญช้างทรงมีบุญญา | ||
อยู่หนใดน้ำฝนมิเคยขาด | อาจทำให้หายแล้งได้จริงหนา | ||
ควรส่งคนไปขออัญเชิญมา | ช่วยพาราเมืองกลึงถึงจะดี | ||
พระราชาสั่งให้ได้จัดการ | พราหมณ์ขอทานสุดยอดำปดูถี | ||
แปดยอดพราหมณ์รีบไปมิรอรี | หลายราตรีมาถึงเมืองปลายทาง | ||
พบชาวบ้านสอบถามถึงบ้านเมือง | ได้หลายเรื่องสงสัยได้สรสาง | ||
พระราชาเวสันดรชอบเดินทาง | อ้างตรวจการโรงทานประจำวัน | ||
สี่มุมเมืองโรงทานท่านตั้งอยู่ | มาตรวจดูประจำคำเขาสรรพ์ | ||
เรื่องราชามาเยี่ยมโรงทานนั้น | คนรู้กันกิจวัตรเวสสันดร | ||
โอกาสดีแปดพราหมทำหน้าที่ | พบภูมียามเช้าอุทาหรณ์ | ||
บอกเรื่องราวเดินทางหาภูธร | ด้วยเดือดร้อนบ้านเมืองแห้งแล้งเกิน | ||
ทราบเรื่องบุญบารมีพระปกเกศ | องค์พระเวสใจกุศลคนสรรเสริญ | ||
เมตตาช่วยผู้คนทรงดำเนิน | ใคร่จักเชิญปัจจนาคคชาธาร | ||
ไปโปรดเราชาวกลึงให้หายแล้ง | ฟ้าดินแกล้งเจ็ดปียากจักขาร | ||
เดือดร้อนนักขสดฝนกันมานาน | ขอภูบาลเมตตาทรงปราณี | ||
อนุญาตข้างทรงไปปรากฏ | เป็นเกียรยศชาวกลิงจริงเป็นรศรี | ||
บ้านเมืองจักร่มเย็นทั่วธานี | อาจจักมีฟ้าฝนชลธา | ||
สมเด็จองค์พระเวสส์ทราบเรื่องราว | โอกาสคราวเพ็ญบุญยากนักหนา | ||
ประทานให้ด้ายมีพระเมตตา | สูจงพาปัจจนาคเดินทางไป | ||
เรื่องราวทรงประทานคชาชาติ | ชนเกรี้ยวกราดโกรธเคืองยิ่งไฉน | ||
ยื่นฟ้องร้องพระองค์กรุงสญชัย | จงขับไล่ราชาเวสส์ทันที | ||
ทรงเรียกองค์พระเวสมาปรึกษา | ยามประชาโกรธเคืองตวรหลบหนี | ||
การประจันต่อหน้ายากราวี | อาจจักมีเหตุร้ายศึกดังไฟ | ||
จักขอหลบหลีกหนีลองดูก่อน | บ้านเมืองร้อนเมื่อเย็นเป็นไฉน | ||
คงรู้ดีรู้ขอบตอบต่อไป | คงจักได้คืนบ้านย่านนคร | ||
-------------------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบ๓.ทานกัณฑ์209คาถา | เริม ๔ วนประเวศน์ | ||
------------------------------------------------------------------------------------------- | |||
ก่อนจากไปขอบำเพ็ญกุศลกิจ | ตามที่คิดเอาไว้ไม่ทอดถอน | ||
สตสัตตกมหาบวร | ทานปกรณ์เจ็ดสิ่งเจ็ดร้อยควร | ||
ช้างเจ็ดร้อยมารถก็เจ็ดร้อย | มิใช่น้อยหญิงงามทรามสงวน | ||
เจ็ดร้อยนางทาสชายที่คำนวณ | เจ็ดร้อยถ้วนเท่ากันมาทำทาน | ||
นางทาสีและโคอย่างเจ็ดร้อย | มิใช่น้อยเจ็ดสิ่งตามกล่าวขาน | ||
สตสตกเจ็ดร้อยคำนวนการ | เจ็ดสิ่งท่านเพ็ญบุญบารมี | ||
เลื่องลือไกลมหาทานการกุศล | ล่วงลุบนแดนสวรรค์ในวิถี | ||
ล้วนแซ่ศร้องสรรเสริญทั่วธาตรี | เฉลิมศรีโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญ | ||
เสร็จลำลาพระบิดาคราจำจาก | ถึงคราวพรากอยู่ดีมีพลังหนุน | ||
สุขสวัสดิ์โรคภัยอย่าได้รุน | รุกรนคุณปิตุเรศจงคลาคลาย | ||
พระมารดาสงบสันต์อย่างได้โศก | ถึงวิโยคยังสนิทเสน่หฺสาย | ||
รักบิดามารดาชีวาวาย | จวบจนตายยังรักมั่นนิรันดร | ||
ขอพระคุณบุญคุ้มปิตุเรศ | ปกปักเกศพระมารดาอย่าทอดถอน | ||
กราบลาเสร็จกำหนดบทจร | จากนครสีพีเคยอยู่เย็น | ||
จำจากลาปราสาทเวียงวังแก้ว | จักไกลแล้วห่างไกลสูไพรสณฑ์ | ||
คงเงียบเหงาพงไพรไร้ผู้คน | น่ากังวลคงคะนึงถึงพารา | ||
คงเพราะมีบาปกรรมแต่หนหลัง | จึงจากวังจากเวียงเสียงหรรษา | ||
เสียงดนตรีปี่กลองรำมะนา | เสียงกัญญาร่ำร้องเริงรำบำ | ||
กล่มเสนามาส่งให้กลับไป | สี่องค์ได้บทจรตามลำพัง | ||
เมื่อรถทรงทรงรถมิได้แล้ว | คงมิแคล้วบทจรมิอยากหวัง | ||
ขึ่คอพระบิดาคราเหนื่อยหนัก | ชาลีจักเดินยากแล้วแม่จ๋า | ||
เกาะหลังพ่อสบายหน่อยจนหลับตา | น้องกัณหาแม่อุ้มสลับเดิน | ||
นกอะไรป๊กป๊กมันร่ำร้อง | ก้องในดงลำเนาล้วนเขาเขิน | ||
โพรดกแหละแม่มันเคาพเพลิน | มันบินเหินหาหนอนจรตระเวน | ||
เจอไม้แห้งด้วงหนอชอนไชอยู่ | นกมันรู้สับไม้ไล่จนเห็น | ||
จับได้กินหาเหยื่อดูยากเย็น | ที่แลเห็นนกอะไรหางยาวยาว | ||
นั่นนกยูงบินบนยลที่หาง | ยามย่องยางบนดินอวดสาวสาว | ||
จะแผ่หางรำแพนดูแพรวพราว | เสียงเพราะราวขับเพลงบรรลงพิณ | ||
จู้ฮุกกรูนกเขาอารมณ์ดี | เพราะรู้มีนกสาวอารมณ์ศิลป์ | ||
เพลงเพลินเพราะร้องไปให้ได้ยิน | คงโบยบินมาพบสบคู่ครอง | ||
เสียงเซ็งแซ่สาระพันนี่นันนั่น | สนุกกันต้นไทรสุกทั้งผอง | ||
สนุกกินอิ่มแล้วร่ำทำนอง | ฉันอิ่มท้องลูกไทรอร่อยเกิน | ||
ปักเป้กเป้กเสียงไรแปลกนัดนั่น | เสียงเนื้อมันเรียกคู่บนเขาเขิน | ||
พวกเก้งกวางมากมายมันคงเพลิน | เดินเล็มหญ้าโน่นไงกวางดาว | ||
ละมั่งทรายก็มีดีน่ารัก | มิรู้จักกลัวคนเลยสาวสาว | ||
กะรอกกะแตไล่เล่นมันไต่ราว | บ้างเหินหาวไต่เต้นเกาะกิ่งโยน | ||
มากหมู่ลิงหมู่ค่างบ่างชะนี | มากมายมีโลดไล่ไหนห้อยโหน | ||
มันแคล่วคล่องว่องไวไล่กระโจน | ปลายกิ่งโอนหนักค่างต่างแย่งไป | ||
นับนานเนิ่นเดินดงพ้นพงป่า | เห็นประชาชาวบ้านพาลสังสัย | ||
เก็บของป่าหาชันยางจากไพร | ต้นเต็งใหญ่ตันรังหยาดหยดมี | ||
เป็นยางไม้หยุดไหลลงสู่พื้น | นานวันคืนกองใหญ่ในวิถี | ||
เก็บเอาไปชาวบ้านเรีกยขี้ซี | คุณค่ามีปนน้ำมันทำชันงาม | ||
ฟังเขาบอกต่อนี้เป็นบ้านป่า | เขตพาราเจตราชเชิญไถ่ถาม | ||
เดินอีกสักสองวันเป็นเขตคาม | ดำเนินตามเขาบอกออกเดินจร | ||
ท่านเจ้าเมืองยินข่าวสี่กษัตริย์ | ทรงพลัดพรากไกลห่างกลางสิงขร | ||
ให้คนทูลเชิญสู่นคร | แบ่งภูธรปกครองกึ่งธานี | ||
ทรงขอบคุณน้ำใจเจตราช | ด้วยฝ่าบาทมีกิจตามวิธี | ||
โพธิสัตว์เพ็ญเพียรบารมี | จำต้องหนีห่างไกลในไพรพง | ||
พระราชาเจตราชคาดเลื่อมใส | จัดหาให้สิ่งของต้องประสงค์ | ||
เรียกพรานไพรเจตบุตรสั่งเจาะจง | คุ้มครองวงศ์สี่กระบัตริย์บทจร | ||
พักผ่อนแล้วอำลาพากันจาก | มิยุ่งยากเดินไปในสิงขร | ||
สี่พระองค์อำลามาแรมรอน | ฝ่าดงดอนห่างไกลในแดนดง | ||
ยินคนเล่าคีรีนามวังกฎ | มีดาบสฤาษีล้วงไหลหลง | ||
ไปบำเพญบารมีเป็นมั่นคง | พระประสงค์จักไปคือปลายทาง | ||
ดำเนินต่อเข้าเขตป่าดงดิบ | เนินเขาแลลิบลิบยากสะสาง | ||
นับร้อยเขาพันเขาอินทร์พรหมวาง | ช่างสลับซับซ้อนทางจักไป | ||
นายพรานไพรเจตบุตรก็เป็นห่วง | เดินนำล่วงนับนานมิสงสัย | ||
ทพเครื่องหมายเดินทางกลสงพงไพร | ล่วงเขตได้เคยเทียวจับเก้งกวาง | ||
แต่นี้ไปเขตเขาคีรีวงก์ | ที่พระองค์จักไปแนวไพรขวาง | ||
มีลำธารสายนี้สังเกตทาง | ต้นน้ำอ้างไหลจากยุคันธร | ||
ผ่านคีรีวงกตเจตราษฎร์ | ยังพาดผ่าสีพีศรีนคร | ||
สุดท้ายลงทะเลใหญ่ใคร่จักจร | เดินทางย้อนต้นน่ำไปในดง | ||
คงจักถึงบรรพตนามวงกฏ | ที่ดาบสทั่วไปมักไหลหลง | ||
สงบสงัดงดงามพุ่มไพรพง | ขอโปรดจงดำเนินสวัสดี | ||
กัณหาวิ่งนำหน้าเลียบชลธา | ตามมรรคานำวิถี | ||
คล้ายคนมาแต่งแปลงสะดวกมี | กวาดใบไม้เหมือนชี้ให้ดำเนิน | ||
ชาลีไล่ตามหลังมิยั้งหยุด | ในที่สุดรอก่อนมองผิวเผิน | ||
มีโขดหินต้นไว้งดงามเกิน | แต่บังเอิญสรรพสัตว์มากมายมี | ||
นั่นมดดำมดแดงล้วนแข็งขัน | ช่างขยันหาบหามอันใดหนี | ||
ซากตัวใหญ่อาหารสามัคคี | ประจำที่ลากขนจนเคลื่อนไป | ||
พวกจิ้งจกตุ๊กแกไปห่างห่าง | กีดขวางทางอาจตายมิสงสัย | ||
ทหารมดพิษสงมดคันไฟ | รุมเกิดภัยดับแน่ล้วนเหล็กไน | ||
พวกกบเขียดมากมายหายมิเห็น | มันซ่อนเร้นดีนักชักสงสัย | ||
เขี่ยใบตองคว่ำอยู่พลิกด้านใน | เขียดตกใจโดดลงในลำธาร | ||
ตามไปดูว่ายมาปลาฝูงใหญ่ | เสียงอะไรลงน้ำทำใจหาญ | ||
เลาะมาดูรู้เห็นอาจเป็นการ | ได้อาหารเสียงดูได้รู้จริง | ||
กบเขียดลงดำน้ำมันรีบหลบ | หามีพบง่ายดอกรีบสู่สิง | ||
มีใบไม้ซอกหินหลบแล้วนิ่ง | อย่าไหวติงถึงตายวายชีวา | ||
ทั้งปูปลางูเงี้ยวเที่ยวเสาะอยู่ | หากมันรู้จับตายง่ายนักหนา | ||
หลบให้ดีปลอดภัยได้คืนมา | โชคชตาไม่ดับกลับอีกที | ||
เห็นทางเดินจงกรมยินดีนัก | อยากรู้จักไปเฝ้าเจ้าฤาษี | ||
อจุตตะนามท่านกระทำพลี | เทพอัคคีบนบานมานานนม | ||
ถามหนทางจักไปเขาวงกต | ท่านนักพรตบอกให้ได้ความสม | ||
มิไกลดอกเจ็ดวันชนนิยม | เขตนิคมวงกตมิวุ่นวาย | ||
----------------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบ๔วนประเวศน์๒๐๙พระคาถา | เริ่ม ๕ กัณฑ์ชูชก ๗๙ พระคาถา | ||
---------------------------------------------------------------------------------------- | |||
ชูชกพราหมณ์เรื่องเล่าคนเขาลือ | แกยึดถือขอทานเชี่ยวชาญหลาย | ||
ได้เงินทองสะสมไว้มากมาย | มีสหายอยู่บ้านกลิงบุรี | ||
ได้ฝากเงินกับเพื่อนเหมือนคลังใหญ่ | สบายใจขอทานย่านวิถี | ||
วันเวลาผันผ่านนับนานปี | อยากจักมีบ้านช่องตรึกตรองนาน | ||
ไปขอคืนเงินฝากมิยากนัก | คงพอจักสร้างตนจนเสร็จสาน | ||
มีนาสวนก็ดีมีเรือนชาน | กลับไปบ้านเมืองกลิงพบเพื่อนยา | ||
ขอเงินทองฝากไว้คืนให้ด้วย | คงจักช่วยตั้งตนจึงด้นหา | ||
เพื่อนตกใจแทบตายวายชีวา | เงินแกข้าลงทุนซื้อของไป | ||
คงอีกนานจักคืนแกชูกชก | หากข้ายกลูกสาวจะรับไหม | ||
เป็นเด็กดีรูปงามหนาทรามวัย | เรียกมาให้รู้จักน่ารักนาง | ||
อมิตตาทราบเรื่องมิเคืองขุ่น | กระทำบุญแทนใจได้สะสาง | ||
หนี้สินพ่หลายหมื่นคืนเขาพลาง | ดังทาสข้างตัวเราแทนพระคุณ | ||
ข่าวเล่าลือทั่วบางนางสาวน้อย | หนุ่มหนุ่มคอยฝากรักชักหันหุน | ||
เสียทีตาพราหมณ์เฒ่าเขามีบุญ | ได้เนื้ออุ่นเป็นเมียข้าเสียดาย | ||
ฝ่ายอมิตตาน่ารักรู้จักฮีต | ตามจารีตครองเรือนเหมือนสืบสาย | ||
กุลสตรีดีงามยามมีชาย | ครองคู่หมายเป็นศรีแห่งครอบครัว | ||
ทำกิจบ้านการเรือนเรียบร้อยหมด | ใครเห็นอดสรรเสริญแม่ทูนหัว | ||
เป็นคนดีชั่งกระไรไม่เห็นกลัว | หนักเบาทั่วทำงานตัวเป็นเกลี่ยว | ||
เฒ่าชูชกแสนสบายเมียดียิ่ง | เธอดีจริงงานใดไม่เคยเหลียว | ||
หนักก็เอาเบาก็จำทำเก่งเชียว | ยอดเยี่ยมเทียวแม่เรือนอมิตตา | ||
หนุ่มแก่เห็นกลับไปให้แม่บ้าน | ขยันงานแบบนั้นบ้างสิหนา | ||
เมียชูชกตาเฒ่าเราเห็นมา | ยอดเยี่ยมหาใครเทียบเปรียบนวลนาง | ||
ปากสองปากมิกระไรไม่มีผล | แต่มากคนทั้งเมืองเรื่องจะสาง | ||
พวกแม่บ้านโกรธพลันกันทั้งบาง | โกรธเคืองต่างเจ็บใจไปด่าทอ | ||
นี่แน่ะเฮ้ยอี่นางมีผัวเฒ่า | มึงก็เยาว์ยังสาวรุ่นนี่หนอ | ||
มิรู้คิดหาผัวหนุ่มหนุ่มพอ | ใยมึงขอตาเฒ่ามาครองเรือน | ||
หน้าตาก็สะสวยหาผัวง่าย | จับผู้ชายแก่เฒ่าเราว่าเหมือน | ||
ได้คางคกขึ้นวอหนอดวงเดือน | ทำแชเชือนมีผัวกลัวอดชาย | ||
ก็เป็นด่าค่อนแคะกระแหนะกระแหน | จนย่ำแย่อยากลี้หลบหนีหาย | ||
กลับมาเรือนร่ำให้แทบวางวาย | สุดแสนอายผู้คนหนาพ่อพรามหณ์ | ||
ช่วยหาคนรับใช้มาให้หน่อย | คงจักค่อยดีบ้างช่างน่าขาม | ||
ปากผู้คนดุด่าว่าทุกยาม | บ้างก็ตามถึงบ้านด่าปาวปาว | ||
ชูชกรู้หนักใจไฉนนี่ | ใครจักมีศรัทธาหนาเมียสาว | ||
ให้ลูกเต้าทานให้เป็นเรื่องราว | มาถึงคราวคิดหนักเพราะรักนวล | ||
มีบางคนประชดปดตาเฒ่า | มีคนเขาบอกมาอย่าเพิ่งสรวล | ||
ท่านพระเวสทานแน่อย่าเรรวน | จงรีบด้วนไปขออย่ารอรี | ||
มีพลังฮึดสู้ตูไปแน่ | ด้วยรักแท้มากนักรักโฉมศรี | ||
พี่จักไปขอทานพระภูมิ | หากโชคดีคงจักได้สองกุมาร | ||
อมิตตาจัดเสบียงยัดย่ามใหญ่ต | ตาเฒ่าได้สะพายคล้ายทหาร | ||
ออกเดินทางด้วยหวังจักพบพาน | ผู้จักทานบุตรธิดาอยู่หนใด | ||
ไปสีพีหาข่าวองค์พระเวส | พอเข้าเขตถามหาเป็นไฉน | ||
ถูกชาวเมืองเขาด่าว่าจัญไร | แกจักไปรบกวนพระภูธร | ||
ต้องหลอกลวงหลายเล่ห์จนได้ข่าว | รู้เรื่องราวพระองค์เสด็จจร | ||
จากบ้านเมืองสู่ไพรในสิงขร | พระแรมรอนมุ่งไปในหิมวันต์ | ||
แกะรอยตามเส้นทางอย่างถี่ถ้วน | พระสมควรไปวงกฏกลางพงพี | ||
มินานเดินถึงเขตเขตบุตร | สุดน่ากลัวหมาพรานผ่านวิถี | ||
มับเห่าไล่จักกัดฟัดแน่มี | แกรีบหนีปีนต้นไม้ไล่หมาไป | ||
เจตบุตรยินเสียงหมามันเห่า | มาเห็นเฒ่าขอทานถามไปไหน | ||
จะตามหาพระเวสภูวนัย | ทรงแรมไพรมานานจากบ้านเมือง | ||
คงจะไปรบกวนพระองค์ท่าน | จักสังหารตกตายให้หายเคือง | ||
ชูชกร้องอย่าอย่าเดี๋ยวมีเรื่อง | มิอยากเปลืองคารมเอ็งจงฟัง | ||
ข้าเป็นทูติสีพีมีโองการ | อัญเชิญท่านพระเวสเรื่อหนหลัง | ||
ล้างมลทินหมดได้ให้กลับวัง | ข้ารับสั่งมาเชิญพระภูธร | ||
กระบอกสารนี่ใงไอ้พรานป่า | ดูหมิ่นข้าโทษหนักรีบไถ่ถอน | ||
ไล่พวกหมาห่างไกลใจรอนรอน | น่ากลัวตอนมันจะกัดใจจะวาย | ||
มันอวดบั้งน้ำพริกเป็นตราสาร | เจ้าพรานไพรก็เชื่อเอาเหลือหลาย | ||
เชิญท่านทูติลงมาหมาวุ่นวาย | เดี๋ยวตีตายท่านทูตกลัวพวกแก | ||
พักแรมกับพรานไพรได้คืนหนึ่ง | รุ่งเช้าจึงจากไปมิแยแส | ||
พวกหมาพรานรู้แล้วมันมิแล | เฒ่าพราหมแถเป็นทูติกรุงสีพี | ||
แบกบั้งแจ่วเทิดทูนราชสาส์น | ลับตาพรานยัดลงถุงดีหลี | ||
เดินทำเฉยอันตรายย่อมไม่มี | ขงเขตนี้พรานไพรลาดตระเวณ | ||
เดินทางเหนื่อยหลายวันก็พลันถึง | บ้านตองตึงหลังคาได้มาเห็น | ||
คงมีคนอยู่แน่คงจักเป็น | ดาบสเช่นนักพรตเป็นแน่นอน | ||
เข้ามาใกล้ไหว้ท่านพระฤาษี | ตัวข้านี้ชูชกนำอักษร | ||
ราชสานส์มาส่งองค์ภูธร | เวสสันดรในดงกลางพงไพร | ||
กรุงสีพียกโทษแต่หนหลัง | มีรีบสั่งคืนธานีมิสังสัย | ||
ข้าอัญเชิญตราสารพระทรงไชย | มามอบให้องค์พระเวสรับบัญชา | ||
พระฤาษีรับฟังมิสงสัย | ก็ตามใจพักก่อนหนึ่งคืนหนา | ||
วันพรุ่งค่อยต่อไปในมรรคา | อาตมามิติดใจตามสบาย | ||
เรื่องจักไปคีรีเขาวงกฏ | กำหนดไปพรุ่งนี้ตอนสายสาย | ||
ไปทางนี้เลียบธารมิวุ่นวาย | ผอสัตว์มิมีสะดวกจร | ||
พรุ่งนี้เช้าอาตมาเข้าป่าลึก | ตื่นแต่ดึกท่องไปในสิงขร | ||
สองสามวันค่อยกลับจากดงดอน | เชิญพราหม์ก่อนจากไปไม่ต้องลา | ||
------------------------------------------------------------------------------------------ | |||
จบกัณฑ๕ชูชก๗๙คาถา | เริม ๖ กัณฑ์จุลพน ๓๕ คาถา | ||
----------------------------------------------------------------------------------------- | |||
นายพรานไพรเจตบุตรเจอชูชก | มันยกบั้งแจ่วงบองมองดูนี่ | ||
ราชสาสน์พระเจ้ากรุงสีพี | มีรับสั่งเชิญพระเวสกลับกรุงไกร | ||
กูเดินทางลำบากมากนักนี่ | ยังจะมีหมาบ้ามาจากไหน | ||
จะกัดกูราชทูติได้อย่างไร | เดี๋ยวก็ได้โทษคัดหัวชั่วโคตรแก | ||
เชื่อสนิทเรียกหมามาห่างห่าง | ต้องล่ามอ้างมันดูรู้กระแส | ||
คนเข้าเล่หฺอยากฟัดให้ดับแด | หมามันแลดูออกคนหลวกลวง | ||
เชิญท่านทูตพักเพิงอยู่ทานนั้น | มีแบ่งปันข้าวปลาข้ามิหวง | ||
ทับข้าพักสบายใจภัยทั้งปวง | มิอาจล่วงป้องกันหลายชั้นเชิง | ||
เพิงอยู่สูงเสือสางโดดมิถึง | เป็นที่พึ่งพักพิงมานานเหิง | ||
ข้าทำไว้ดังเรือนแม้แค่เพิง | มั่นคงเกิ่งเรือนชานเบิกบานใจ | ||
ยามเย็นแล้วข้าจักเที่ยวตระเวณ | พวกอีเหนเก้งกวางลงที่ไหน | ||
หากโชคดีจักจับสักตัวไว้ | จึงจะได้กลับบ้านสะเบียงมี | ||
เช้าตืนมาตาพรานบอกชูชก | ตกเขตนี้เริ่มป่าพนาลี | ||
เคยเที่ยวป่าหากินมานานปี | ทึบพงพีมากมายพฤกษ์พงไพร | ||
โน้นคือเขาคันธมาท์นอันลื่อลั่น | มากมายพันธุ์พืชหอมนานาไฉน | ||
กลิ่นตลบอกอวลส่งกลิ่นไกล | ถัดไปนั่นอัญชัญนามคีรี | ||
อุดมมด้วยสมุนไพรนานาชนิด | ดาบสคิดปรุงยานานาวิถี | ||
มักเที่ยวหาเก็บเอามากมวลมี | แถบถิ่นนี้สมุนไพรมีมากมาย | ||
จากนั้นไปอัมวันสวนมะม่วง | ผลดอพวงห้อยย้อยมีหลากหลาย | ||
พวกนักพรตคนธรรม์ชอบกรีดกราย | รสเลิศคล้ายของทิพน์เทพบันดล | ||
ลัฐิวันสวนตาลแน่นขนัด | ขึ้นแออัดมากมายทุแห่งหน | ||
ลูกตาลสุกกลิ่นหอมกระจายสกล | ถัดไปต้นมะพร้าวขึ้นเป็นดง | ||
มีลิงค่าบ่างชะนีที่เทียวท่อง | บ้างก็จ้องเจาะน้ำมิลืมหลง | ||
เนื้ออร่อยเจาะกินไม่พะวง | คนผ่านพงมะพร้าวย่อมยินดี | ||
ลองน้ำหวานชื่นใจยามได้ลิ้ม | เยื้ออ่อนชืมติดใจไม่หน่ายหนี | ||
ดงมะพร้าวคนสัตว์ล้วนมากมี | ส่งเสียงชี้ชื่นชมภิรมย์ใจ | ||
มะพร้าวอ่อนนุ่มเนื้อละมุนนัก | ชิมแล้วมักลุ่มหลงมิสงสัย | ||
อร่อยน้ำอร่อยเนื้อชิมเมื่อใด | มักอยากให้มีมากมากอยากลิ้มลอง | ||
นานาสวนผลไม้ใครปลูกไว้ | เทพแห่งไพรเสกสรรค์กันทั้งผอง | ||
มิมีคนที่ไหนมาจับจอง | ทำสวนต้องเทพไพรให้เกิดมี | ||
นั่นมะม่วงมะขวิดมะชิดประยง | ห้อยย้อยลงมะไฟมะฝ่าหนี | ||
มะยมมะยอมะกอกมะกรูด | มะพูดมะดันมะปรางมะเกลือ | ||
มะตูมมะนาวมะพร้าวมะปราง | มะข่างมะขามมะพลับมะเขือ | ||
มะรุมมุระมขวิดติดเครือ | ขมเหลือมะแว้งมะอึกมะฟือง | ||
มะหวดมะหาดประหลาดมะโอ | พิลึกมะโหหน้าเชียวหน้าเหลือง | ||
สำเนียงก็ดังลูกตาคงเคือง | เดี๋ยวได้เรื่องมะโหพาโลราน | ||
งามแมกไม้ในป่านานาชนิด | ใครนิมิตงามแท้แลไพศาล | ||
มีโมกมันโกฐสะค้านบุนนาคลอย | นั่นแคฝอยราชพฤกษ์แลมะเกลือ | ||
ดอกไม้ซีกบานมากแลหลากสี | มีต้นไทรรักดำกฤษณา | ||
เถาองุ่นจวงจันทน์มัลลิการ์ | โกนทาหนามยามใกล้ให้นึกกลัว | ||
แลหมากไม้นานาสาระพัด | ดังใครจัดมาไว้ให้ชวนหัว | ||
มะขามป้อมมะกอกออกลูกทั่ว | หูตามัวลองลิ้มสว่างตา | ||
มะขวิดมะปรางห่างมะพลับกับมะกอก | มะไฟบอกหวานนักมะนาวหนา | ||
มะปริงเปรียวมะฟืองหวานฟังเขาว่า | มะม่วงปามิหล่นมะเขือพวง | ||
มะยมขาวมะนาวเขียวเปรี้ยวมะกรูด | หวานมะพูดมะนาวมะพร้าวหวง | ||
มะหวดมะหาดดาดเหลือมะเกลือทวง | มะขือพวงมะรุมมะระมี | ||
มีมะอึกมะดันแลมะแว้ง | ตำส้มแตงมะเขือเครือมะนาวสี | ||
มะเขือเปราะมะเขือขื่นชื่นชีวี | อร่อยดีมะเขือเทศมะตูมไทย | ||
ต้มดื่มน้ำก็อร่อยมิน้อยหน้า | แทนน้ำชาเลิศดีมีที่ไหน | ||
มีแต่คนเรียกหาน่าสนใจ | สมุนไพรมะตูมภูมิปัญญา | ||
มากหมู่ไม้มีผลกลใดหนอ | พออยากได้โน้มลงตรงมาหา | ||
ให้หยิบจับเด็ดได้ในอุรา | แสนปรีดาไพรพงอลงกรณ์ | ||
จบจุลพนพรานไพรได้เล่าขาน | พอผ่านถึงแดนไกลในสิงขร | ||
ถิ่นฤาษีอจุตะดำเนินจร | คลายรุ่มร้อนไปถึงจึงนมัสการ | ||
--------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบ ๖. กัณฑ์จุลพน๓๕พระคาถา | เริ่ม ๗. กัณฑ์มหาพน | ||
------------------------------------------------------------------------------------ | |||
ชูกชกเฒ่าเข้าป่าพนาศรี | บุกพงพีเขาเขินเนินไศล | ||
ตามคำเล่าเจตบุตรนายพรานไพร | กระทั่งได้ถึงด่านพระโยคี | ||
อจุตดาบสมันมดเท็จ | กล่องแจ่วเผ็ดมันอ้างต่างวิถี | ||
ขอรับพระดาบสสวัสดดี | ข้ามีงานจักไปส่งสารา | ||
เชิญพระเวสสันดรแลวงศ์วาร | กลับคืนบ้านหนังสือที่ถือมา | ||
ในกระบอกคือสารประทับตรา | คือสาราสีพีกูอัญเขิญ | ||
ช่วยบอกทางไปบรรณศาลเจ้า | จักไปเฝ้าภูวนัยในเขาเขิน | ||
แรกดาบสสงสัยนัยบังเอิญ | มันเก่งเกินเป็นทูตค่อยวางใจ | ||
จัดที่พักหลับนอนมิร้อนจิต | ดูสนิทผ่อนตลายหายสงสัย | ||
ขอท่านทูตสุขสมภิรมย์ฤทัย | จากนี้ไปหนทางช่างลำเค็ญ | ||
รุ่งเช้ามาวันใหม่ได้พบหน้า | พระดาบสยินดีที่พบเห็น | ||
ถามสุขทุกข์ท่านทูตเช้าร่มเย็น | จากนี้เป้นหนทางสูแดนไกล | ||
เขาวงกฏแลเห็นโน่นลิบลับ | จักจับความบอกเล่าลำเนาไศล | ||
ทางดำเนินลำบากยากกระไร | พึงตั้งใจจดจำดำเนินจร | ||
ดูกรท่านชูชกมหาพราหมณ์ | ท่านจักตามเข้าไปในสิงขร | ||
หนทางยากลำบากในดงดอน | ระวังตอนบุกป่าฝ่าไพรพง | ||
แลลิบโน้นเทิองเขาคันธมานท์ | สถานที่เพ็ญเพียรผู้ไหลหลง | ||
กระทำยัญชน์บูชาไตรเพทพงศ์ | ผู้มั่นคงศาสตร์เพทพิเศษชน | ||
อาศรมบทศาลาพระยาเวสส์ | อยูาเขตเขาวงกฏลำบากหน | ||
มีป่าทึบเขาเขินเกินยากคน | จักดั้นด้นไปถึงหนทางไกล | ||
เขาลูกนี้ชื่อว่าคันธมาท์นฺ | ยามแลลานหลากศิลาเนินไศล | ||
องค์พระเวสมันทรีอยู่ด้านใน | ทรงเป็นไปเพียรพรตพรหมจรรย์ | ||
จักเข้าไปเป็นป่ามหาพน | ทุกแห่งหนมืดไม้ในไพรสัณฑ์ | ||
ล้วนประเภทแบบป่าเบญจพรรณ | ไม้สักนั้นโดดเด่นเห็นทั่วไป | ||
มะค่าโมงมิน้อยพลอยเสียดยอด | ประดู่สอดแดงแซมแกมไสว | ||
ครบเบญจชิงชันสำคัญนัย | จึงได้นามว่าป่าเบญจพรรณ | ||
ยังมีไม้อื่นอื่นขึ้นแกมป่า | ต้นรกฟ้าเสลาแดงตะเคียนขัน | ||
มีเปล้าหลวงเปล้าน้อยติ้วแต้วต้น | คำแสดชันเคียงคู่ประดู่ลาย | ||
ต้นขี้อ้ายงิ้วผาอินทนิล | กระมิบกลิ่นหนามเค็ดดูเป็นสาย | ||
ดอกจิกน้ำห้อยย้อยแลเรียงราย | แกว่งกระจายนกกระปีดชอบเกาะโยน | ||
ถัดกันเป็นไผ่นานาสาระพัด | แน่นขนัดมืดมุงลิงห้อยโหน | ||
ชะนีค่างบ่างไล่กันกระโจน | กะรอกโทนลดเลี้ยวเที่ยวไพรพง | ||
กระแตกระเล็นเต้นไต่ไม้เลาะหนี | งูใหญ่รี่ไล่ลัดสะกัดหลง | ||
รอดไปได้โล่งอกตกใขปลง | นึกว่าคงมิรอดดีปลอดภัย | ||
จตุบาทดาดดาในผืนป่า | เจ้าเลียงผาปีนสูงแนวไศล | ||
นั่นผาสูงมันกลับปีว่องไว | สมนามได้เลียงผาน่าชื่นชม | ||
มาฝูงลิงยังคงมาสงกา | จะบอกว่าสองตีนหรือสี่สม | ||
สี่นั่นแหละดีแล้วเดียวมีปม | เขาจะชมเหมือนคนไม่ค่อยดี | ||
เก้งกวางตัวย่อมย่อมนั่นกระจง | ดูรูปทรงดังกวางมากอีหลี | ||
ทั้งแรดช้างเสือดาวซาฟารี | อะไรนี่ชมเพลินเกินไปรา | ||
เปล่าหรอกน่านี่มันป่าเขาวงกฏ | กำหนดก่อนพุทธศาศน์นานนักหนา | ||
ย่อมมีได้หมู่มวลสัตว์แปลกแปลกตา | โน่นเดินมาช้างเผือกเป็นฝูงเลย | ||
อ๋อช้างนอนปลักโคลนจนตัวแห้ง | เหมือทาแป้งขาวโพลนมาอวดเฉย | ||
ช้างเผือกปลอมหนอกน่าคงเช่นเคย | แค่แกล้งเอ่ยชมป่ามหาพน | ||
พวกสัตว์น้ำเล่ามีให้ชมไหม | สบายใจลำธารไหลวกวล | ||
มากมายมีสัตว์น้ำในสายชล | มีเรือกลเรือแพชมสบาย | ||
พระดาบสคงมีเรือยืมได้ | ล่องเรือไปในธานจนสุดสาย | ||
ขอชมมวลสัตว์น้ำก่อนหญิงชาย | จรดฝีพายเบาเบาเอ้าออกเรือ | ||
มาก่อนแล้วอ้างปลิงกระดุดกระดุบ | นึกอยากชุบแป้งทอดคงเด็ดเหลือ | ||
ปลากดดำกดคังกดแดงเขือ | กดเหลืองเมือชนะขาดรสชาติแกง | ||
ปลากระดี่กระเบนแลกระทิง | ว่ายน้ำชิงทสวนน้ำพลังแรง | ||
เผลอเป็นถอยหล่นลงเพื่อนคงแซง | ชนะแย่งต้องเก่งเร่งลอยไป | ||
โน่นกระสงกระสูบแลกระโห้ | ปลาชะโดอวดหล่อพ่อปลาไหล | ||
กะพงกรีดปลากรายเบี้องย่ายใย | เหตุไฉนปลาก้างห่างปลากาดำ | ||
ปลาแค้งัวแค้ยักษ์แถมแค้งู | ปลาเค้าขาวคางเบือนจาดดูขำ | ||
ปลาช่อนดำงูเห่าช่อนข้าหลวง | ปลาชะโดซิวแก้วปลาดุกมูล | ||
โน่นซิวอ้าวดุกด้านแลดุกอุย | ปลาตองลุยปลาฝามันคงสูน | ||
ตะเพียนขาวตะเพียนทองจ้องหินปูน | ปลาค้ำคูนปลาเงินแหละปลาทอง | ||
ปลาเทโพเทพาไหนเทพี | ปลายักขีราหูอยู่น้ำของ | ||
เขาจับมาอวดกันว่าช่ำชอง | แค่ลองเล่นหาใช่จับไว้กิน | ||
ปลาเนื้ออ่อนเนื้อเย็นอยากเห็นนัก | อ้ายหลงฮักนวลหนูเจ้ายุพิน | ||
ทั้งนวลจันทร์ปลาไนใคร่เนื้อนิล | เพียงยลยินก็ใคร่จักชิมชม | ||
เพลินมากหนาฟังเพลินท่านดาบส | แล้มีบทสกุณาน่ายินสม | ||
มากมวลไหมหนอท่านข้านิยม | พนมไพรมากมวลสกุณา | ||
พระดาบสพาทียินดีประสก | ท่านชูชกมากนักพวกปักษา | ||
ทั้งเล็กใหญ่จำเรียงเพียงสัททา | ครุวณาพงไพรจักกระเทือน | ||
เสียงจิ๊บจ้ิบจกจกแกมก๊อกก๊อก | ยินฟักออกเพราะกระไรหาใดเหมือน | ||
มวลปักษาร่อนร้องมิลืมเลือน | ฟังดุจเพื่อนสนทนาคราเดินดง | ||
เสียงเซ็งแซ่แน่ใจลูกไทรสุก | มีทุกนกแห่มาน่าพิศวง | ||
ใครบอกมันต่างรู้อยู้กลางพง | ล้วนบินตรงถูกที่คงปรีดา | ||
ทัดท่าท้านกกระท้าท้าใครเล่า | เจ้านกคุ่มอืดอืดยืดหน่อยหนา | ||
จุกกรูกู้เขาขันสนั่นมา | นกกกกล้าก๊่กก๊ากหัวเราะใคร | ||
ใครตะแลดแต๊ดแตลงแต้วแวด | จิลแล๊ดแล็ดกระเต็นเห็นสิ่งไหน | ||
อ้อหนูนาตังบานหลอกนั่นไง | ถลาใส่โดนตะปบจบชีวี | ||
เสียงนกแขกแกรํกแกร็กแยกกบคู่ | แหกปากกู่ก้องดงคงไม่หนี | ||
มินานคงกลับมาขอคืนดี | ละแวกนี้หมากไทรดกดีเกิน | ||
เจ้าปากห่างก๊ากก๊กาขำอันใด | โดนพรานไล่ร้อนเตือนเพื่อนมิเขิน | ||
รีบไปกันมือปืนมันดุ่มเดิน | จะมาเชิญไปเมืองผีไม่ดีนา | ||
นกยางร้องกรอกกรอกออกจับกบ | สบแกยาวจับได้ยากหลุดหนา | ||
ทั้งกบเขียดกระทั่งพวกปูปลา | ขยะนหาจับเหยื่อนกกระยาง | ||
ใครตะโกนกู๊กกูกนกฮูกร้อง | เรียกพวกพ้อนค่ำนี้มีกิจสาง | ||
หาเหยื่อยากลำบากกันทั้งบาง | ไปลแงต่างถิ่นบ้างหรืออย่างไร | ||
จิลแล้ดแล้วแลดแลดนกกระเต็น | โฉบเฮี่ยวเล่นร่อนงามตามที่ไหน | ||
นั่นคือเขตหาเหยื่อมันตาไว | เห็นจับได้ตั๊กแตนจิงหรีดงาม | ||
กระทั่งปลาเสร็จมันจับทันได้ | เก่งกระไรกระเต็นเห็นนึกขาม | ||
เจอแมงซอนจ้องท่าจะมาตาม | แร้สมถุงยามมั่นลิ่นหมดท่าซี | ||
ใครเรียกหาโกต๊กกลางดงดอน | โกเขาจรกล้บบ้านนานวิถี | ||
ให้อยู่ป่ามิไหวไม่เข้าที | โกแอบหนีกลับบ้านย่านในเมือง | ||
จู้ฮุกกูนกเขาใครล่าฮุก | คงเจ็บจุกซิท่าจนตาเหลือง | ||
ร้องปี๊ดปิ๊ดทั่วป่าจนน่าเคือง | ขนสีเหลือมแกมดำนกปีดแก | ||
หยุดสดับเสียงนกมันผกผัน | ร้องนี่นันต้นไทรไม่แยแส | ||
เราย่องไปใตต้นยังไม่แคร์ | สองตาแลเล็งหน้าไม้นกเขาคู | ||
เรื่องทำบาปเก่งมากมิยากดอก | นกบินออกหนีไปให้อดสู | ||
รอนานหน่อยกลับมาเราก็รู้ | รออยู่ยิงจนคำค่อยเลิกรา | ||
สี่ห้าตัวยินดีได้ทำบาป | เพราะได้ลาบได้แกงนั่นแหละหนา | ||
เราลูกทุ่งห่กินเน่ินนานมา | อยู่ดงป่าหากินแบบคนดง | ||
เพลินชมป่ามหาพนบ่นแลหา | สกุณามากมายพิศวง | ||
ยังมีอีกหลายอย่างในไพรพง | คงเลาะเที่ยวชมไปให้รื่นรมย์ | ||
---------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบ ๗. กัณฑ์มหาพน | เริ่ม ๘. กันฑ์กุมาร | ||
---------------------------------------------------------------------------------- | |||
สดับคำบอกเล่าพระดาบส | กำหนดได้ดำเนินตามวิถี | ||
มุ่งไปยังวงกฏแดนคีรี | สถานที่องค์พระเวสพำนักไพร | ||
นานนับเดือนแต่บุกฝ่าดง | ยังมั่นคงมิท้อเพราะเหตุไหน | ||
อมิตตาเมียรักมันห่วงใย | หาคนใช้ฝากนางช่างยากเย็น | ||
ตัวก็เก่งขอทานเขาลือทั่ว | มิใช่ชั่วลำบากยากจักเห็น | ||
ขอคนไปรับใช้ยากจะเป็น | คนยากเข็ญยังยากจะทำทาน | ||
เขาบอกว่าพระยาเวสทำได้ | ขอสื่งใดมิพลาดท่านอาจหาญ | ||
ช้างตัวโตคนขอแค่วอนวาน | สำเร็จการพระองค์ให้ไม่ยายเลย | ||
นานนับเดือนล่วงถึงเขตวงกฏ | กำหนดมองอากาศเช้าเปิดเผย | ||
เห็นอาศรมดาบสมิคุ้นเคย | ไปเอ่ยขอเกรงอาจผิดพลาดไป | ||
จำพักผ่อนแรมคืนดูดีก่อน | เข้าขอตอนพระมารดาอยู่มิไหว | ||
คงยุงยากผู้หญิงจักทำใจ | ทานลูกได้รอก่อนคงจักดี | ||
ชูชกปีต้นไม้ผูกอู่ผ้า | พักรอท่าโอกาสฉลาดวิถี | ||
ยอดขอทานชั้นครูดูสตรี | ล้วนมักมีใจอ่อนยากรบกวน | ||
กล่าวถึงพระมัทรีศรีสมร | ดึกดื่นนอนฝันร้ายชายหนึ่งหวน | ||
ตัวสูงใหญ่ผิวดำกำยำชวน | กิ่งเกรงล้วนดุร้ายหมายฆ่าฟัน | ||
มันทิ่มแทนตาทั้งสองข้าง | ควักตานางเจ็บปวดรวดร้าวสรรพ์ | ||
ผ่าทรวงอกล้วงเอหัวใจพลัน | ตกใจนั้นตื่นมาน่ากังวล | ||
เช้าไปเฝ้าพระเวสส์เชษฐบุรุษ | มัทรีสุดโศหาพาทีสับสน | ||
ทูลเรื่องร้ายเรื่องฝันเกิดกับตน | อัดอั้นจนร่ำไห้เช้โศกาดูร | ||
พระเวสสฟังลอกเล่าเข้าใจเหตุ | อาเภทแจ้งเป็นลางอาจเสื่อมสูญ | ||
บุตรธิดาคงพรากพรตไพบูลย์ | มุ่งจำรูญจำเริญพระบารมี | ||
ดูกะระมัทรีศรีสวัส | อัตคัตเป็นอยูาดอกโฉมศรี | ||
ส่งผลให้วิปริตธาตุอัคคี | บังเกิดชีแปรปรวนธรรมดา | ||
ขอพระนางพักผ่อนให้มากมาก | เจ้าลำบากสองกุมารหนักนักหนา | ||
เฝ้าเลี้ยงลูกด้วยดีตลอดมา | เป็นบุญญาพี่ได้รับกัยเจ้ามวล | ||
ขอบคุณเจ้าเป็นพลังมิเคยขาด | สามารถดูเรื่องยากมิให้หวน | ||
กลับมาทำร้ายเราเพราะเนื้อนวล | รบกวนเจ้าแล้วหนาแม่มัทรี | ||
ฟัสพระเวสสปลอบใจยังไม่หาย | เกรงเรื่องร้ายลำบากยากหลบหนี | ||
มันจะเกิดอันใดร้ายหรือดี | เข้าพงพีมิอยากไปให้กัวล | ||
เรียกสองหน่อแก้วตามาหาแม่ | จำให้แน่ลูกยาอย่าสับสน | ||
จะเที่ยวเล่นเล่นกันอย่าซุกซน | จงเวียนวนใกล้อาศรมพระบิดา | ||
แม่เดินดงเสาะเผือกผลไม้ | พวกมันไพรเป็นสะเบียงนะลูกหนา | ||
คงบ่ายคล้อยเย็นลงคงกลับมา | ขอลูกยาใกล้ชิดพระบิดดา | ||
จะวิ่งเล่นไล่ก็ก็แถวนี้ | หากภัยมีเร็วไวรีบไปหา | ||
กราบทูลให้ท่านพ่อพิจารณา | คงมิข้าแม่กลับรับขวัญนวล | ||
สั่งเสร็จแม่มัทรีศรีสมร | พระนางจนเข้าป่ามานึกหวน | ||
เรื่องสุบินมิดีนี้มันชวน | มารบกวนคิดมากช่างยากเย็น | ||
จะมีเหตุอันใดภัยหรือสุข | คงเรื่องทุกข์หรือภัยคงได้เห็น | ||
ประหลาดแท้วันนี้ช่างมาเป็น | หมากไม้เช่นวันก่อนมันมากมี | ||
วันนี้หายว่าเปล่าหาลำบาก | ขุดเผือกยากดินแข็งจนต้องหนี | ||
ย้ายไปเรื่อยสายเกินจรลี | จะกลับมีเสือร้ายมาขวางทาง | ||
จะถอยหลัวตัวใหญ่มันไม่หลบ | ซ้ายก็พบอีกตัวยากจะสาง | ||
หลับไปขวาต้วร้ายมองมวาง | กลัวนักนางร้ำร้องก้องพงไพร | ||
ไปมิได้นั่งลงปลงชีพด้วย | ถึงจักม้วยขอทางโปรดจงไข | ||
จะส่งผลกระยาหารพระทรงชัย | สองลูกได้รับประทานอาหารกัน | ||
แล้วจักกลับคืนมาเป็นอาหาร | ของพวกท่านพยัคฆาทุกท่านสรรพ์ | ||
ด้วยสัจจริงโปรดให้ทางไปพลัน | พยัคฑ์นั้นนอนยิ้มสบายใจ | ||
มินมิขู่ขบกัดทำไรหรอก | เพียงมิออกขวางทางนางไฉน | ||
อันธพาลนักเลงมิเกรงใคร | เพียงขู่ให้หยูดอยู่มันรู้ดี | ||
กล่าวถึงเจ้าชูชโกพราหม์นักจอ | มันรอจนพระมารดาเดินป่าหนี | ||
ไปหาเผือกหามันหมากไม้มี | ภาระนี้นางทำประจำวัน | ||
รีบไปเฝ้าถึงองค์พระทรงยศ | ย่อมปรากฏลีลาพาทีสรรค์ | ||
พรรณนาความยากลำบากมัน | ครอบครัวนั้นขาดคนรับใช้งาน | ||
ลำบากเมียอมิตตาภาระหนัก | จับหาคนช่วยนางทางประสาน | ||
รับใช้กิจที่เรือนประจำการ | อยู่ที่บ้านทำแทนการหนักเบา | ||
ทราบพระองค์มีสองบุตรธิดา | มุ่งหมายมาขอทานโฉมเฉลา | ||
โปรดเมตตาข้าจักขอรับเอา | พระบุตรเจ้าไปไว้รับใช้งาน | ||
สองชาลีกัณหากังขาอยู่ | แอบฟังรู้พรามเฒ่าแกไขขาน | ||
ขอพวกตนเป็นทางคาดทำการ | ไปอยู่บ้านรับใช้เมียเฒ่าพราหมณ์ | ||
ชวนกันหาหลบดีที่ตรงไหน | แอบลงไปในสระยังเข็ดขาม | ||
กลัวเหน็บหนาวลับตายากจักตาม | หักห้ามใจแอบใต้ใบบัวกัน | ||
ฝ่่ายพระเวสสันดรฟังชูชก | ที่หยิบยกนานามาอ้างสรรพ์ | ||
พระประสงค์ทำทานคุณอนันต์ | ในจิตนั้นนึกทานบารมี | ||
โอกาสอุปทานระดับสอง | ตามครรลองยากยิ่งมักหลบหนี | ||
ทำมิได้หากใจมิคงที่ | พระยินดีบริจาคมหาทาน | ||
ระลึกถึงบารมีโพธิสัตว์ | พึงวิวัฒนอุดมสัจประทัสถาน | ||
พัฒนาบารมียิ่งยินนาน | ได้พ้นผ่านลุถึงพุทธธรรม | ||
ดูกะระชูชกเรายกให้ | สองบุตรได้แก่เจ้าเอ้างามขำ | ||
อยู่ไหนลูกรีบมาพาก่อกรรม | พ่อบำเพ็ญโพธิมรรคประจักษ์ใจ | ||
ชูชกรู้สองกุมารอยู่สระบัว | คงจะกลัวแอบซ่อนมิสงสัย | ||
ทูลทรงธรรมให้ทราบเป็นนัยนัย | ที่สุดได้สองกุมารประทานมา | ||
สองกุมารเศร้าสร้อยละห้อยหนัก | จำใจจักพรากไปไกลเคหา | ||
จากบิดรจากบ้านจากมารดา | รออำลาแม่ก่อนเถิดพระองค์ | ||
นั่นสินะมินานคงกลับแล้ว | ขอลูกแก้วพบนางอย่างประสงค์ | ||
แล้วค่อยไปกันเถิดดีมั่นคง | ชูชกจงใจแกล้งพิโรธแรง | ||
อุเหม่ทานร่ำลือใจกุศล | ทุกผู้คนสรรเสริญทุกเขตแขวง | ||
กระทำทานกลับมีข้อพลิกแพลง | หรือจะแกล้งล้มเลิกมีทำทาน | ||
มิอยากทานอย่าทานก็สิ้นเรื่อง | มาขัดเคืองหน่วงไว้เพียงบอกขาน | ||
มิเต็มใจก็เลิกกระทำการ | ข้าก็หาญยกเลิกตามพระทัย | ||
เปล่าเปล่าน่าพ่อพรเหมณ์มิใช่ดอก | อยากจะบอกเด็กกลัวอย่าสงสัย | ||
หากพูดจาพาทีคงเข้าใจ | ได้ยินแล้วขึ้นเถิดสองลูกยา | ||
พ่อตั้งใจบำเพ็ญโพธิสัตว์ | ทานวิวัฒน์อุปจารนัานแหละหนา | ||
ปรมัตถ์ทานด้วยด้วยต้องพึ่งพา | ทั้งบุตราบุตรีมีคุณธรรม | ||
ช่วยพ่อสานบารมีนะลูกรัก | แล้วเราจักข้ามโอฆะได้วามขำ | ||
ไปสู่แดนพุทธเขตพิเศษกรรม | ที่กระทำครั้งนี้ตึงสมควร | ||
สองกุมารได้ยินคำพ่อไข | ย่อมเข้าใจรำตรึกตรึกได้หวร | ||
มาคิดได้ยอมขึ้นแลชักชวน | กราบบาทล้วนยินดีมิโศกา | ||
เพราะลูกน้อยช่วยพ่นี้สิหนอ | บุญของพ่อทำทานยากนักหนา | ||
อุปทานปรมัตถ์ใกล้เข้ามา | พราะลูกยาเกื้อกูบุญเหลือเกิน | ||
พระสั่งเสียลูกยารับฟั่งเฒ่าชูชก | ผู้ปกครองต่อไปใช่ผิวเผิน | ||
ติดตามไปรับใช้ตั้งใจเดิน | เชิญพ่อพราหมณ์รับไว้สองกุมาร | ||
มันหาเชือกผูกมือสองหน่อนาถ | กระทืบบาทอวดโอ่ทำโวหาร | ||
ต่อจากนี้ข้าคือผู้บันดาล | หลานจักตายหรือเป็นอยู่ที่เรา | ||
ตามมาเสียดีดีตีก็เบื่อ | ถ้าเหลืออดตีแรงอย่าทำเขลา | ||
ทำข้าโกรธระวังอย่าดูเบา | มาสองเจ้าเดินตามแต่โดยดี | ||
มันกระชากสองคะมำล้มคว่ำหน้า | พระบิดาทำเลือนเบือนหน้าหนี | ||
ทรงร่ำให้ในอกโศกโศกี | นับแต่นี้ห่างกันแล้วหนอแก้วตา | ||
ชูชกเฒ่าอำลาพระยาเวสส | จากเหตุนี้แม้พระองค์ปรารถนา | ||
จะไถ่คืนยินดีมีทรัพย์มา | คณนาอย่างละร้อยถึงจะยอม | ||
ทาสทาสีช้างม้าโคกระบือ | เงินคำถือหน่วยร้อยต้องมีพร้อม | ||
เสร็จสั่งความันกะชากมิประนอม | มิยากกล่อมมีแต่ขูดูน่ากลัว | ||
บัดดลเกิดพยับเมฆมืดมัวมิด | ฟ้าก็ปิดแปลบปลาบเสียววาบหัว | ||
ครืนครืนก้องกำปนาทฟ้าฟาดทั่ว | มันฟาดมั่วมีเรื่องมันเคืองใคร | ||
สักครู่หายกลายเป็นปกติ | ทรงดำริฟ้าดินมิสงสัย | ||
อำนวยพรบารมีทานเข้าใจ | พระองค์ได้สาธุการด้วยเปรมปรีดิ์ | ||
สาธุธรรมนำมาซึ่งปราโมทย์ | ยังประโยชน์พุทธธรรมนำวิถี | ||
พึงสำเร็จสมประสงค์จงเกิดมี | บุญนำชี้อมตะนิพพานเทอญฯ | ||
--------------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบ ๘. กุมารกัณฑ์ เริ่ม ๙. กัณฑ์มัทรี | |||
--------------------------------------------------------------------------------------- | |||
กล่าวถึงพระมัทรีศรีสวัสดิ์ | เดินป่าลัดไพรพงศ์จำนงสรรพ์ | ||
ผลหมากรากไม้ดังทุกวัน | อัศจรรย์แปลกใจให้สงกา | ||
วานนี้มีผลมากหลากเต็มต้น | วันนี้หล่นเสียหายไปหมดหนา | ||
ดูต้นอื่นนิดหน่อยปลิดเอามา | จนเหนื่อยล้าจักกลับอาศรมไพร | ||
นองขวางหน้าพยัคฆาเจ้าเสือเหลือง | ยังนึกเคืองหวาดกลัวหลบทางไหน | ||
ลองไปซ้ายลายโคร่งปิดทางไป | ทางขวาไซร้เสือดำตาลุกวาว | ||
หนทางถอยเสือดำสองตัวเฝ้า | ไหว้แหละเจ้าเปิดทางห่วงลูกสาว | ||
หนูกัณหาชาลีคงหิวคราว | แม่อยู่ยาวเวลาช้าเกินการ | ||
ขอเทพไทรุกขาปราณีด้วย | โปรดจงช่วยมัทรีที่ไขขาน | ||
จำเป็นมากอยากลับจนลนลาน | จงประทานทางให้ไปด้วยเทอญ | ||
นางร่ำไห้โศกาคราหมดหวัง | นางถูกขังกับที่ที่เขาเขิน | ||
ไปมิได้มันขวางหนทางเดิน | เชิญเจ้าที่เมตตาปล่อยข้าไป | ||
เสือมันเฉยดูหน้าท่าแบบยิ้ม | แต่ก็พิมพ์อย่างเสือดุไฉน | ||
คงมิกล้าฝ่าแนวกลัวเภทภัย | หนักอกใครจะมาเท่าเจ้ามัทรี | ||
จนเลยเที่ยงอ้าวโคร่งโย่งโย่ย่าง | ลุกเปิดทางเปิดช่องย่องหลบหนี | ||
เจ้าเสือเหลืองเสือดาวมิรอรี | เดินตามพี่คุณโคร่งโล่งอุรา | ||
คุณเสือดำสองตัวหายไปแล้ว | ค่อยผ่องแผ้วในอกวาสนา | ||
คงกลับได้แล้วหนอมิรอช้า | ดำเนินมากลับคืนสะอื่นฤทัย | ||
เขามาเขตศาลาเลียบอาศรม | ก่อนภิรมย์ลลูกยามารับไฉน | ||
วันนี้เงียบมิเห็นสองทรามวัย | เล่นกันไกลอาศรมพระบิดา | ||
วู้ลูกรักมิเห็นรับกับแม่หนอ | นวลละออเที่ยวไกลไฉนหนา | ||
กลับคืนเถิดลูกน้อยเร็วแม่มา | ผลผลาเผือกมันแม่มากมี | ||
ล้วนอร่อยแม่สรรมันมาฝาก | เจ้าลำบากแสบท้องแน่สองศรี | ||
มาแม่มารีบมาอย่ารอรี | เงียบมิดีภัยทุกข์มาคุกคาม | ||
พระมัทรีร่ำไห้แทบใจขาด | เฝ้าพระบาทสวามีพาทีถาม | ||
เห็นสองหน่อบ้างไหมพระองค์ราม | ข้าติดตามทุกที่มิเห็นเลย | ||
โพธิสัตว์เวสสันดรร้อนในอก | หากจะยกเรื่องราวมาเปิดเผย | ||
ทุกข์มหันต์ระทบจิตทรามเชย | จำจักเอ่ยบริภาษให้หวาดกลัว | ||
ให้นางโกรธเสียก่อนค่อยย้อนบอก | หลอกให้โกรธแกล้งด่าว่าน่าหัว | ||
ปล่อยลูกหายไปเที่ยวไปแต่ตัว | มิห่วงผัวห่วงลูกเลยหรือไร | ||
หรือแอบเจอคนธรรพ์หรือดาบส | กลับมาปดลูกหายหรือไฉน | ||
เจ้ามัทรีเจ้าดื้อหรือทรามวัย | นางร่ำไห้นึกเคือพระสามี | ||
ที่สุดองค์พระเวสบอกความจริง | แน่ะน้องหญิงตั้งจิตให้มั่นถี | ||
วันนี้พราหม์มาขอพระชาลี | และน้องพี่ได้ประทานกัณหาไป | ||
ด้วยหวังเพญบารมีเป็นที่สุด | บรรลุพุทธโพธิญาณสว่างไสว | ||
พระมัทรีคับแค้นแน่นหทัย | กรรแสงได้จนสลบชวนเวทนา | ||
พระหยิบผ้าชุบชลวนซับพัตร์ | โอน้องรักร่วมแรงแสวงหา | ||
โพธิธรรมบารมีด้วยบุญญา | เจ้าฟันฝ่ากับพี่มิท้อเลย | ||
ปรมัตทานบุตรสุดยากยิ่ง | พี่ทำจริงเพ๊ญธรรมนำเปิดเผย | ||
ฟื้นมาเถิดแม่งามเจ้าทรามเชย | มาเอื้อนเอ่ยความในใจเนื้อนวล | ||
สักครูใหญ่พระมัทรีมีสติ | นาดำริเรื่องราวคราวแย้มสรวล | ||
ประทานโทษพี่ยาข้ารบกวน | ทำพี่ป่วนในอกยกโทษนาง | ||
ทำทานลูกน้อยน้องกัฒหา | พ่อชาลีอีกด้วยช่วยสะสาง | ||
เป็นมรรคาโพธิธรรมนำเบิกทาง | พึงสว่างส่องแจ้งชัชวาลย์ | ||
สาธุาะอนุโมทนาด้วย | บุญจงช่วยแผ่ไกลจงไพศาล | ||
บรรลุถึงโพธิธรรมเริงสราญ | ผลบันดาลบรรลุอนุโมทนา ฯ | ||
--------------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบ ๙. กัณฑ์มัทรี เรื่ม ๑๐. กัณฑ์สักกบรรพ์ | |||
--------------------------------------------------------------------------------------- | |||
สักบรรพ์บั้นองค์มฆวาน | เกษมศานต์ชื่นชมบุญกุศล | ||
องค์พระเวสสันดรเพ้ญเพียรพล | จนฟ้าดินกัมปนาทโมทนา | ||
มากังวลวันหนึ่งในอนาคต | ใครกำหนดหวังได้พระชายา | ||
จักทูลขอก็ได้ทรงเมตตา | เกิดปัญหาแก่พระองค์ผู้ทรงญาณ | ||
มิมีผู้ดูแลจัดสรรหา | เตรียมภัตตาจัดให้จักไขขาน | ||
หาผู้ใดจักรู้พระภูบาล | เท่านงคราญแม่มัทรีมิมีเลย | ||
ขากมัทรีมีปัญหาฝ่าพระบาท | ชะตาขาดแน่ใจไม่อาจเฉย | ||
ต้องลงไปจัดการเหมือนดังเคย | จักไปเอ่ยทูลขอพระชายา | ||
จำแลกายเป็นพราหมณ์ดูแก่เฒ่า | ขอนงเยาว์พระมัทรีสิเนหา | ||
อยากได้นางขอองค์พระราชา | ประทานข้าเป็นบุญทูลทรงไชย | ||
ลำดับนั้นโพธิสัตว์เวสสันดร | เรียกงามงอนพระมัทรีอยู่ที่ไหน | ||
มาหาพี่มีเรื่องฟนาทรามวัย | มีคนใคร่รับเจ้าเป็นบริวาร | ||
พี่รักเจ้ามากมายดังดวงเนตร | เพียงเพราะเหตุพี่รักจักประสาน | ||
บารมีพุทธธรรมดำเนินการ | สุดยอดทานปรมัตถบารมี | ||
บุตรทั้งสองทานไปได้สิ้นสุด | อุตรทานยิ่งนวลฉวี | ||
เจ้าเป็นเมี่ยดีเยี่ยมเทียมใจพี่ | มัทรีเจ้านางแก้วแท้แก้วตา | ||
พี่นี้รักแหนหวงดังดวงจิต | มิเคยคิดทอดทิ้งเจ้าดอกหนา | ||
ปรมัตถแก่งทานบุตรภรรยา | ทานชีวาปรมัตถ์อรรถแห่งทาน | ||
อยากฟังเจ้าคิดไหนในกุศล | นฤมลบอกพี่พาทีขาน | ||
พระมัทรีเห็นไฉนหนอนงคราญ | วานบอกพี่จักพินิจพิจารณา | ||
พระนาถน้อยสร้อยเศร้าเข้ากราบทูล | พระพูนเพ็ญมัทรีนี่หรรษา | ||
คอยส่งเสริมเพิ่มพูนแต่เดิมมา | ข้ายืนดีส่งเสริมพระทรงชัย | ||
แม้ชีวิตยินดีมอบพระองค์ | หากประสงค์ขอถวายมิสงสัย | ||
จะประทานแก่พราหมณ์ก็ย่อมได้ | ยินดีไปเป็นทาสตาเฒ่าพรหมณ์ | ||
โพธิสัตว์รับฟังทรงยิ้งคิด | เจ้าขวัญจิตมัทรีศรีบุญสม | ||
สหชาติภริยาน่าชื่นชม | ภิรมย์นักรักเจ้าเทียมชีวา | ||
เพื่อเพ๊ญทานปรมัตถ์ | จำตัดรักทั่งปวงคักห่วงหา | ||
จำใจทานเจ้าให้พราหมณา | สาธุธรรมนำเกิดประเสริฐคุณ | ||
บัดดลเกิดวิปริตแห่งอาเภท | ยามพระเวสส์เพ็ญทานที่เกื้อหนุน | ||
ภริยาเป้นทานยอดแห่งบุญ | ฟ้ามืดมิดทั่วไปในจักรวาล | ||
ปฐพีหวั่นไหวกัมปนาท | เฉลิมบาทบารมีศรีผสาน | ||
โพธิธรรมมรรคาพุทธญาณ | มั่นคงปานรัตนามรรคาเพ็ญ | ||
ปกติทานบารมีกระทำแล้ว | ดังลาดแก้วอุปทานที่ได้เห็น | ||
สุดยอดทานปรมัตถมิยากเย็น | พระทำเช่นปกติบริบูรณ์ | ||
พราหม์จำแลงแปลงกายคืนมา | เป็นอินทาเทวราชอวยพรพูน | ||
แปดประการพรเกิดเจิดจำรูญ | อนุกูลแก่องค์พระทรงชัย | ||
หนึ่งทรงเป็นปิตุเรศเปี่ยมเมตตา | กลับพารานิรโทษคนคุกไข | ||
โทษหนักเบารับล้วนควรอภัย | ผ่อนปรนได้ทั่วถ้วนควรแก่การ | ||
พึงได้ทำอนุเคราะห์คนยากจน | มิกังวลบทสตรีที่อาจหาญ | ||
บุตรธิดาอายุมั่นยืนนนาน | เจ็ดประการฝนแก้วพึงเกิดมี | ||
ตกในเขตแห่งเมืองเรืองรุ่งเลิศ | ประเสริฐยิ่งชาวประชาเกษมศรี | ||
ร่ำรวยรัตนชาติทั่วบุรี | สิ้นชีพนี้ขอกลับดุสิตวิทาน | ||
อมรินทร์อวยพรจงสมหมาย | เคราะห์คลาคลายบุญประสาน | ||
อีกมีช้าคงจักได้พบพาน | สงบศานติ์ด้วยแรงบุญบารมี | ||
เสร็จอำลากลับไปดาวดึงส์ | พระเวสจึงไคร่ครวญธรรมวิถี | ||
ทุกสิ่งทำบำเพ็ญเป็นกรรมดี | เป็นช่องชี้โพธิมรรคจักจำเริญ ฯ | ||
--------------------------------------------------------------------------------------- | |||
จบ ๑๐.กัณฑ์สักบรรพ์ เริ่ม ๑๑. กัณฑ์มหาราช | |||
--------------------------------------------------------------------------------------- | |||
ย้อนกล่าวถึงชูชกรัประทาน | สองกุมารจากพระเวสเชิษฐบิดา | ||
มันสำแดงอำนาจเปล่งวาจา | แต่นี้ข้าเป็นนายจำให้ดี | ||
สองเจ้าเป็นทาสชั่วชีวี | รับหน้าที่กิจการงานนานา | ||
ไปถึงบ้านจักมีนายผู้หญิง | นายตัวจริงรูออยู่ที่เคหา | ||
ต่อนี้ไปเดินทางหลายเวลา | ข้าจักพาไปบ้านด่านปลายดง | ||
สองกุมารขัดขืนฝืนตัวไว้ | สองร่ำไห้พ่อจ๋าอย่าลืมหลง | ||
ยังมิได้ลาแม่ไปไพรพง | น้องยังคงหิมนมโปรดเมตตา | ||
เสียงลูกน้อยละห้อยได้จุกใมนอก | ชลนัยน์ตกห่วงใยเจ้านักหนา | ||
เพราะเพียรเพ็ญบารมีดอกลูกยา | จำต้องมาพลัดพรากจากกันไป | ||
พ่อพราหมณ์จ๋าค่อยจาอย่าดุด่า | สองกำพร้าเป็นทาสแล้วไฉน | ||
ต้องพึ่งพาตาพรหมณ์ยามห่างไกล | ขอจงได้เมตตาอย่าด่าตี | ||
มันเตรียมไว้แซ่หวายได้ลายหลัง | จงระวังเดินมาอยาหลบหนี | ||
ต่อหน้าพระบิดาข้าก็ตี | หวดสองมีเดินมาช้าอยู่ใย | ||
มองบืดาผินพระพักตร์หันหลังให้ | เจ็บปวดใจหกล้มหัวคะมำ | ||
ชกมันกระชากลากไม่หยุด | เดนสะดุดยังตีสองขามขำ | ||
รอยแส้เป็นเส้นเส้นสีดำคล้ำ | ห้อเลือดจำต้องเดินตามมันไป | ||
ตกกลางคืนสองกุมารมัดสองมือ | เอ็งอย่าดื้อดิ้นหลุดดูหนไหน | ||
มันป่าทึกเสือสางล้วนเป็นภัย | หลับหนีได้เป็นเหยือพวกเสือมัน | ||
นอนอยู่ที่โคนไม้นี่แหลดี | บารมีข้าคุ้มได้พร้อมสรรพ์ | ||
ทั้งเสือสางภูติผีมนต์ข้ากัน | แค่ร่มไม้ตรงนี้อย่าหนีเลย | ||
ส่งเสริจมันปีนขึ้นบนต้นไม้ | เลือกเหมาะได้ผูกเปลผ้านอนเฉย | ||
ผ่านคืนวันหลายวันก็เช่นเคย | โอ้เด็กเอ๋ยหอดหิวแทบเป็นลม | ||
มันมาหาอะไรให้เด็กบ้าง | ดีแต่อ้างรีบไปน่าขื่นขม | ||
ฮุดกระชากจนต้องร้องระงม | สุดระทมสองกุมารจากบ้านมา | ||
รุกขเทพสงสารเฝ้าติดตาม | ยามคำคืนเป็นคนเข้าไปหา | ||
ให้ดื่มนมกินเผือกกินมันพา | กล่อมสองราหลับนอนด้วยอ่อนเพลีย | ||
หลายวันล่วงมาไกลในไพนสณฑ์ | จนมาถึงทางแยกพราหม์หัวเสีย | ||
มันหลงลืมหนทางคงห่วงเมีย | มึนงัวเงียขวาซ้ายไปไหนดี | ||
มันหลงทางกระชากลากสองน้อย | เดินตาลอยไปผิดอผกวิถี | ||
มินัมิรู้เป็นทางไปสีพี | เห็นชาลีเขาจำได้ไปกราบทูล | ||
ปู่สญชัยและย่าปรีดานัก | ได้หลานรักกลับมาหาได้สูญ | ||
ถามชูชกรู้เรื่องโศกาดูร | พ่อพราหมณ์พูนสวัสดิ์จรัสเจริญ | ||
ขอไถ่หลานตามคาดแกมาดไว้ | เงินทองได้ร้อยชั่งมิขาดเขิน | ||
ทั้งผ้าผ่อนแพรพรรณมิขากเดิน | ร้อยพับเชิญตรวจตรามากมวลมี | ||
ช้างกับม้าเพียงพอให้ใช้สอย | อย่างละร้อยสัตว์เลี้ยงเอาเยี่ยงไหน | ||
วัวควายหมูสรรมาหาเป็ดไก่ | นับร้อยให้ไถ่หลานเรายินกี | ||
ชูชกบอกหิวมากอยากกินข้าว | สญชัยเจ้านึกขำทำไมเล่า | ||
สั่งพ่อครัวจัดการอาหารเยี่ยม | เทียมทิพยฺโภชจัดมาอย่าดูเบา | ||
ปล่อยชูกชกสำราญอาหารเรา | จัดใหเจาเต็มที่อย่างดีเลย | ||
สั่งเสร็จปู่ย่าพาหลันรัก | เข้าที่พักเวียงวังฟังเปิดเผย | ||
เหตุไฉนชอบทานเหมือนดังเคย | สองทรามเชยทำทานได้อย่างไร | ||
สองหลานน้อยเล่าเรื่องแล้วเคืองนัก | ลูกมักจักบ้าทานกันถึงไหน | ||
ช่างเถอะหลานตอนนี้อย่่าสนใจ | เมืองเราไซร้ยินดีหลานคืนมา | ||
ให้สมโชรับขวัญสองหลานรัก | คนรู้จักชื่นชมพระนัดดา | ||
ครบสามวันสามคืนฉลองใหญ่ | จัดของกินเลือกได้มากมายหนา | ||
มีหมูเนื้อวัวควายแลปูปลา | ผลผลามากมีเลี้ยงผู้คน | ||
สามวันผ่านรางวัลพราหม์ยังอยู่ | มิมีผู้มารับชวนฉงน | ||
เขามาทูลชูชกเฒ่ากังวน | กินเสียจนท้องแทบแตกจนวางวาย | ||
จนรุ่งสางดิบดิ้นสิ้นสังขาร์ | จึงรีบมากราบทูลเกรงเสียหาย | ||
ให้ประกาศทายาททั้งหญิงชาย | ทรัพย์ทั้งหลายของชูชกมาเอาไป | ||
นับเวลาเจ็ดวันมาเอาเถิด | เกิดมิมาจักเก็บอย่าสงสัย | ||
คืนเข้าคลังคราต่อไป | ขอจงได้แสดงสิทธิ์ลูกหลานพราหมณ์ | ||
รั่งสั่งเจ็ดวันงานศพให้สมเกียรติ | เจียดทรัพย์สินจัดงานการงดงาม | ||
เรียบร้อยกิจกระทำดำเนินตาม | ทุกเขตคามชื่นชมพระทรงชัย | ||
สองชาลีกัณหาอยู่กับย่า | วิ่งหาปู่ตามประสาอายุขัย | ||
ปู่และย่าเพลิดเพะลินเจริญใจ | ได้ทราบข่าวพระโอรสกำสรดครวญ | ||
นานแล้วหนาจากไปในไพรสณฑ์ | เงืนไขคนโกรธเคืองก็กลับหวน | ||
ช้างปัจจนาคเขาคืนมาทั้งมวล | พร้อมสินทรัพย์รางวัลมากมวลมี | ||
บ้านเมืองเขาฟื้นฟูอยู่เย็นแล้ว | นำช้างแก้วคืนมาแสนเปรมปรีด์ | ||
ชาวเมืองต่างสำนึกทำมิดี | อยากไปที่เขาวงกฏขอโทษภัย | ||
พระบิดายินดีมีรับสั่ง | ตั้งกรมการเตรียมทัพจักเดินไป | ||
เชิญพระเวสมัทรีกลับเร็วไว | เจ็ดวันให้เคลื่อนทัพรับลูกยา | ||
---------------------------------------------------------------------------------- | |||
๑๒. กัณฑ์ฉักขัตติ ถัดไป | ๑๓. กัณฑ์ นคร | ||
--------------------------------------------------------------------------------- | |||
ได้เวลาจักเสด็จไปแดนดง | เขาวงกฏเชิญพระเวสกลับธานี | ||
ทั้งสองหลานกัณหาพระชาลี | ต่างยินดีนั่งรถกำหนดจร | ||
ขบวนธงนำริ้วให้นั่งม้า | ควบอาชางดงามตามสลอน | ||
สี่สิบม้าสี่แถวครบสิบตอน | ธงปลิวว่อนงดงามตามกันไป | ||
ขบวนช้าวสิบเชือกขนาบข้าง | เดินขอบทางเคียงราชรถไฉน | ||
ระวังมวลศัตรูราชภัย | มิยอมให้ทำร้ายพระราชา | ||
ต่อท้ายรถมหาดเล็กยกทั้งกอง | ถัดไปผองบริพารเหล่าเสนา | ||
ตามถัดด้วยทวยราษฏร์มาดไปเฝ้า | พระหน่อเจ้าองค์พระเวสพระเขษฐา | ||
หกสิบโยชน์ทางไกลในพนา | ประมาณว่าแปดเดือนถึงพอดี | ||
จนล่วงเข้าขอบเขตเขาวงกฏ | ทรงกำหนดยับย้ังหว่างวิถี | ||
วันรุ่งขึ้นค่อยไปในคีรี | เจ้าชาลีบอกโน้นบรรณสาลา | ||
จากนี้ไปเกือบเที่ยงคงถึงได้ | ถึงมิไกลขบวนเราใหญ่เกินหนา | ||
ค่อยค่อยไปก็คงจักเชื่องช้า | พระเจ้าตาอยากเห็นแม่มัทรี | ||
พระเจ้ากรุงสญชัยเข้าใจหลาน | บอกมินานได้เพิ่มเฉลิมศรี | ||
ได้พบหน้ามารดาแน่ชาลี | นั่งรถซีนั่งม้าอันตราย | ||
ฝ่าป่าพงดงดอนรอนแรมไป | ป่าดงใหญ่รุกขชาติดาดาดหลาย | ||
ขบวนม้าคนรถต่างกระจาย | เลาะเลียบย้ายหาทางเยื้อย่างไป | ||
มัทรีตื่นตระหนกเสียงอื้ออึง | มัวนึกถึงพายุหรือไฉน | ||
แลท้องฟ้ายังโปร่งโล่งกระไร | หามีไม่เมฆหมอกมาหลอกตา | ||
สักครูเสียงคนร้องเรียกแม่แม่ | ชะแง้มองจริงหรือคือกัณหา | ||
จนได้กอดแน่ใจโนลูกยา | พ่อชาลีกอดด้วยร่ำโศกี | ||
ท่านปู่ยามาถึงได้ทักทาย | พ่อบุตรชายพระเวสพิเศษหนี | ||
ต้องโทษขับจากบ้านจากบุรี | เพราะพ่อนี้โง่เขลาเบาปัญญา | ||
ต่างรำพึงรำพันจนรันทด | โสกสลดเศร้าสร้อยน้อยหรือหนา | ||
สลบไสลใจวับดังดับคา | ล้มพับมาระเนระนาดประหลาดใจ | ||
ฝ่ายไพร่คนพลเมืองรู้เรื่องเห็น | สงสารเป็นเรื่องเร้าเศร้าไฉน | ||
ต่างร่ำร้องสงสารพระภูวนัย | สลบไปทั้งหมดกำลังพล | ||
ร้อนถึงองค์อมรินทร์ปิ่นสวรรค์ | วันนี้ใยบัลลังยังสับสน | ||
บัดเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็นเป็นกังวล | ฤๅมีคนเดือดร้อนร้อนถึงเรา | ||
จังสอดส่องเรดาทิพยเนตร | ตาวิเศษส่องทั่วทุกป่าเขา | ||
ส่องไปโลกมักมีพวกผู้เยาว์ | พวกขาดเขลาต้องช่วยเป็นประจำ | ||
อ้อเจอแล้วอาศรมพระยาเวส | มันเกิดเหตุล้มตายแต่น่าขำ | ||
แค่ดีใจพบหน้ากันเกิดกรรม | ดีใช้ซ้ำสลบไสลขาดใจตาย | ||
แม้นมิช่วยม้วยแน่สมน้ำหน้า | มิเข้าท่าเป็นเทพจักเสียหาย | ||
เขาจะหมิ่นอินทร์อะไรเจอเรื่องร้าย | มิช่วยคลายปัดเป่าก็เข้าใจ | ||
จะตักน้ำสาดใส่คนละขัน | คงมิทันตายแน่ทำไฉน | ||
มนต์เสกเป่าฝนทิพย์ตกลงไป | ใช้ฝนโบกขรณีแหละสมควร | ||
เป่าพรวดเดียวฝนมาเป็นห่าใหญ่ | สหัสสนัยน์เก่งมากอยากให้หวน | ||
ไปทางบ้านเราบ้างอยากจะชวน | เป่าสักม้วนมนตราให้ฝนลง | ||
ฝนพิเศษอินทาโปรยมาให้ | จำชื่อได้ฝนโบกขรคง | ||
เม็ดสีแดงหล่นลงเป็นเม็ดเม็ด | เด็ดใบไม้มารองพิศวง | ||
มันมิเปียกกลิ้งไปจนหล่นลง | สำคัญตรงมิเปียกเพียงชุ่มเย็น | ||
ใครอยากเปียกย่อมได้มันไหลอาบ | กำซาบซ่านสดใสได้มาเห็น | ||
ฝนประหลาดหล่นใส่คนได้เป็น | กลับฟื้นเช่นสุขสมสถาพร | ||
จนต้องมีบันทึกจารึกไว้ | ฝนยิ่งใหญ่หนึ่งครั้งครานี้หนอ | ||
คราวพระเจ้าสญชัยไปคอยรอ | ชวนพระหน่อบุตรชายให้กลับเมือง | ||
เสียงแซ่ซ้องสรรเสริญกังวาลนัก | แผ่นดินมักสะเทือนเลือนลั่นเคือง | ||
ไยเงียบเสียงเสียเล่ามาเข้าเรื่อง | ดินกระเดื่องพสุธาสั่นทั่วไป | ||
คงเริ่มได้แม่พระธรณี | อวยฤทธีโลกสั่นมิสงสัย | ||
ฉะนี้ไซร้ฟ้าดินกระเทือนไกล | ครั้งที่ได้เชิญพระเวสกลับพารา | ||
พนักงานกราทูลความแต่เค้า | ตามพระเจ้าสญชัยปรารถนา | ||
อัญเชิญพ่อพรเวสกลับเมืองมา | เป็นราชาสีพีจึงเหมาะควร | ||
พระบิดามารดาไม่ว่าแล้ว | ทานช้างแก้วตัวหนึ่งซึ่งพอหวน | ||
มันโง่เขลาเกินไปใยมาชวน | ป่วนให้เราขับลูกจากพารา | ||
ชาวกลึงนำช้างมาคืนแล้ว | บ้านเมืองแผ้วสร่างทุกข์สุกหรรษา | ||
มีแก้วแหวนแพรพรรณเป็นบรรณา | เขานำมาบอกนบจบสักการ | ||
มัทรีน้อมภูษามาถวาย | จงคลาคลายลาสึกขอไขขาน | ||
หากมิสึกอาจเจอภัยคนพาล | ปลุกปล้ำท่านนักบวชให้ปวดใจ | ||
นางแค่คิดในใจเท่านั้นดอก | เราเอ่ยออกพระเวสมิสงสัย | ||
ยินยอมลาสิกขาณทันใด | กอดเอาไว้แม่ลูกล้วนผูกพัน | ||
กระบวนทัพพักผ่อนหลายเพลา | ค่อยกลับมาสีพีมีสุขสันต์ | ||
เถลิงราชสมบัติอีกครั้งพลัน | ฉลองกันด้วยปิติพระทรงชัย | ||
นับเจ็ดวันเจ็นคืนล้วนชื่นสุข | พระปัดทุกข์ทวยราษฎร์ทุกสมัย | ||
อุดมด้วยฟ้าฝนชุ่มชลไป | ชาวบ้านได้ทำเกษตรจำรูญจำเริญ | ||
---------------------------------------------------------------------------------------- | |||
๑๓. นครกัณฑ์ กัณฑ์สุดท้าย | |||
---------------------------------------------------------------------------------------- | |||
สมเด็จเจ้าสญชัยมหาราช | ประภาษเชิญพระเวสให้นิวัตร | ||
กลับสีพีกรุงไกรเจิดจรัส | ผ่านสัมบัติเอกอัครราชา | ||
เป็นมหาจักรพรรดิราชเจ้า | เสด็จเข้ากรุงศรีเถิดลูกยา | ||
ทรงดำรัสตอบึพระบิดา | ข้าพระบาทยังงุนงงก่อนทำคุณ | ||
ดำรงในทศพิธราชธรรม | นำบ้านเมืองเรืองรุ่งมุ่งเพ็ญบุญ | ||
กลับเกิดโทษเป็นภัยไล่รุกรุน | คนเคืองขั่นขับไสไล่จากเมือง | ||
บัดนี้กลับมาชวนกลับปีอีก | จะหลบหลีกบาปกรรมที่ขุ้นเคือง | ||
กลัวจักมาฟ้องร้องจักเอาเรื่อง | เกรงจักเปลืองคุณธรรมยากนำพา | ||
ของพระคุณพระบิดาเมตตานัก | ลูกก็รักสองพระองค์มากนักหนา | ||
ยังคำนึงถึงพระคุณอุ่นเมตตา | กลับพารายังมิคิดโปรดทุเลา | ||
สญชัยเจ้ากรุงไกรได่สดับ | พ่อยอมรับทำการอันขาดเขลา | ||
เพียงเพ็ญทานเป็นบุญคุณของเจ้า | มิควรเอาเป้นโทษเพราะเป็นบุญ | ||
เป็นเพราะฟังคำสอพลอพวกคนพาล | มันกล่าวขานเป็นโทษจนเคืองขุ่น | ||
ขับเจ้าออกจาเมืองเรื่องทารุณ | บาปกระตุ้นรุมเร้าร้อนรุกรน | ||
อยู่บ้านเมืองเคืองขุ่นมิอุ้นอก | ยากจักยกบาปกรรมทำสับสน | ||
ไฉนพ่อใจร้ายเกินผู้คน | ลูกของตนผลักไสไม่ปราณี | ||
พ่อทำผิดคิดได้ก็สายแล้ว | ขอลูกแก้วคาดโทษมิหลบหลี้ | ||
ยิมรับหมดลูกยาพ่อยินดี | กลับสีพีเถิดหนาช้าอยู่ใย | ||
พระอม่เจ้าผุสดีวอนลูกรัก | ยามนี้จักพึ่งเจ้าแล้วไฉน | ||
มีลูกเต้าเฒ่ามามองหาใคร | มาจอมใจกลับบ้านเวสสันดร | ||
ทั้งกัณหาลีก็กลับแล้ว | สองลูกแก้วมัทรีศรีสมร | ||
อยู่ป่าดงลำบากนักบังอร | กลับนครครองเมืองรุ่งเรืองรมย์ | ||
มิต้องหาเผือกมันผลไม้ | เพียงอยากได้คนหามาเสร็จสม | ||
ประกอบเป็นอาหารหวานคาวจม | มาแม่ชมคิดถึงเจ้าซึ้งใจ | ||
พระนางสอดสะใภ้ร่ำไห้หนัก | อกแทบหักเศร้าสร้อยหนักไฉน | ||
พลับสลบดังหลับคอพับไป | สององค์ได้กอมกันพลอยล้มลง | ||
สี่กษัตริย์อัดอั้นตันดวงจิต | พอได้พิศสองพระนางพิศวง | ||
นึกว่าทิวคีพปลดปลง | ทุกพระองค์โสกาแทบวายปราณ | ||
จนหมดแรงสลบสไลไปทั้งสิ้น | ทุกผู้ยินยลกันพลันไขขาน | ||
ต่าร่ำร้องโศกาใจแหลกราน | สลบเต็นลานล้วนพวกไพร่พล | ||
ร้อนถึงท่านอินทาเทวราช | เกิดอุบาทอันใดอีกฉงน | ||
ส่อง้รดาทืพยเนตรท่วสากล | พบผู้คนสลบไสลชาวะารา | ||
บริเซณอาศรมพระยาเวส | จู้แจ้งเหตุอีกแล้วจริงสิหน้า | ||
ต้องฝนโบกขรพัสตร์กันอีกครา | เสกมนตราโปรยโบกขรณี | ||
ชึ่มพื้นพสุธานานาสัตว์ | ตื่นสลัดมึนงงหลงวิถี | ||
เป็นออะไรมาหลับกลางพงพี | ก็พอดีเห็นพระเวสนมัสการ | ||
สนทนพาทีถามสุขทุกข์ | ปลุกปลอบใจคลายเศร้าเข้าผสาน | ||
ขออภัยเรื่องราวแต่ก่อนกาล | เกษมศานต์สวบสันต์สถาพร | ||
สญชัยเจ้าจัดการอภิเษก | ให้เป็นนเอกอัครราชเวสสันดร | ||
ครองสีพีกรุงไกรผ่านนคร | ประชากรแซ่ซ้องพระบารมี | ||
ครบสามวันยกขบวนชวนกันกลับ | ยาตราทัพยิ่งใหญ่ในวิถี | ||
มหาราชเวสสันดรกลับบุรี | เถลิงศรีราชสมบัติวิวัฒนา | ||
พระมัทรีศรีสมรราชินี | ชาวบุรีชื่นชมแลหรรษา | ||
ถวายพรทุกวันสุขสันต์มา | อีกชาลีแลกนิษฐอิฎฐารมย์ | ||
พระปกเกล้าอาณาประชาสุข | นิรทุกข์ผ่องแผ้วสงบสม | ||
บารมีแผ่ไกลไทนิยม | ล้วนชื่นชมจักรพรรดิเวสันดร | ||
เป็นกษัตริ์ย์ทรงคุณอันประเสริฐ | นับเป็นเลิศทศพิธราษฎร์ทุกข์ถอน | ||
แผ่นดินรุ่งวัฒนาสถาวร | ประชากรน้อบนบจบมากคุณ | ||
พระทรงมีทศพิธราชธรรม | นำให้เกิดฝนรัตนหนุน | ||
ตกทั่วเมืองสีพีเชิญแปลงปุน | ล้วนอบอุ่นเก็บได้ให้พอดี | ||
เมื่อเหลือแล้วเก็บเข้าพระคลังไว้ | อาจต้องใช้วันหน้าแท้ดีหลี | ||
ประชาช่วยเก็บกวาดส่งคลังมี | ล้วนปรีดาบ้านเมืองรุ่งเรืองเกิน | ||
จบแล้วนะ |
วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2563
เวสสันดรคำกลอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น